หลักธรรมในพระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช ที่ข้าราชการและประชาชนต้องศึกษา
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ชีวิตลิขิตได้ด้วยตนเอง บทนิพนธ์ใน สมเด็จพระสังฆราช
คำคมที่ว่า "ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน"
ผลเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่...
อ่านคำตอบในเนื้อหาดังต่อไปนี้...
"ชีวิตลิขิตได้ ด้วยตนเอง" บทนิพนธ์ใน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก...
หนังสือเทิดพระเกียรติคุณสังฆราช
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา
มูลนิธิจิตอิ่มบุญบารมี จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดำเนินการส่งเสริม
และสนับสนุนสันติสุขให้บังเกิดมีแก่สังคมทุกระดับ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา
ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การอ่านหนังสือธรรมะ
จะสำเร็จประโยชน์ เกิดความรู้ความเข้าใจนั้น ผู้อ่านควรอ่านแบบ
โยนิโสมนสิการ คือ อ่านอย่างมีสติ ค่อยๆคิด ค่อยๆอ่าน ไม่ต้องรีบร้อน
ถ้ายังไม่เข้าใจก็อ่านใหม่ อ่านหลายๆรอบ ปัญญาจักคมขึ้น สามารถเข้าใจ
ธรรมะได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เปรียบเหมือนการเคี้ยวอาหาร ต้องค่อยๆเคี้ยว
ค่อยๆขบ ยิ่งเคี้ยวนาน เคี้ยวให้ละเอียด รสชาติก็ยิ่งโอชากลมกล่อม
ก่อคุณประโยชน์แก่ร่างกายอย่างเต็มที่
"อ่านสิบรอบ คิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตสนุก สุข สงบ เย็น"
การให้ธรรรม ชนะการให้ทั้งปวง ผู้ให้ธรรมทั้งด้วยการให้หนังสือธรรม และทั้งปฏิบัติ
ด้วยตนเองให้ปรากฎเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นแบบอย่างของสัตบุรุษ กล่าวว่า
เป็นผู้ให้เหนือกว่าการให้ทั้งปวง เพราะการพยายามช่วยให้คนเป็นผู้มีธรรม
ก็เท่ากับพยายามช่วยคนบนดินคือต่ำเตี้ยให้เข้าใกล้ฟ้าคือสูงส่ง พูดง่ายๆว่า
ช่วยคนให้เป็นคนดีนั้นเอง ....พระวรคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ
คติทางพระพุทธศาสนามีอยู่ว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาล้วนเป็นไปตามอำนาจของบุญและบาป
เป็นผลมาจากการกระทำที่เรียกว่า กรรม...ผลของกรรมดีเรียกว่าบุญ เช่น
บุคคลหนึ่งเกิดมาในตระกูลเศรษฐี มีผิวพรรณผ่องใส อยากได้อะไรก็ได้ดังใจนึก
เรียกคนเช่นนี้ว่า คนมีบุญ ส่วนผลของกรรมชั่วนั้นเรียกว่าบาป เช่น คนบางคนพอเกิดมา
ก็มีร่างกายพิกลพิการ เรียกคนเช่นนี้ว่า คนมีบาป หรือคนมีกรรมเป็นต้น
พระนิพนธ์เรื่องนี้ทรงมุ่งสอนให้คนเรานั้น ตระหนักถึงผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่าจะส่งผล
ต่อชีวิตของผู้ทำแตกต่างกันอย่างไร และทรงย้ำว่าสิ่งต่างๆที่แต่ละคนประสบพบผ่านนั้น
ล้วนแล้วเกิดจากกรรมคือการกระทำของเขาเองทั้งสิ้น ดังความตอนหนึ่งในบทพระนิพนธ์ว่า
"อันเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น นับว่าเป็นกรรมของคน หมายความว่า การที่คนทำขึ้น
และไม่ใช่ว่ากรรมเก่าอะไรที่คนไม่รู้ แต่เป็นกรรมคือการกระทำที่รู้ๆกันอยู่นี่แหละ เมื่อก่อขึ้น
ด้วยกิเลสก็เป็นเหตุทำลายล้าง เมื่อก่อขึ้นด้วยธรรมก็เป็นเหตุเกื้อกูลให้มีความสุข
ในฐานะเช่นนี้ผู้เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า ย่อมใช้ศรัทธาในกรรม และการให้ผลของกรรม
ทำกรรมที่ผิดไว้ก็ต้องรับผิดต่างๆ ทำกรรมที่ชอบไว้ก็ต้องรับชอบต่างๆ จะเลือกเอาอย่างหนึ่ง
อย่างใดหาได้ไม่"
วงจรชีวิต ใครลิขิตให้เราเกิด
อะไรทำให้เราเกิด-ตายไม่รู้จบ
ปัญหาข้อหนึ่งที่คนชอบตั้งคำถามกัน
ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาจนถึงทุกวันนี้
คือ ตายเกิด หรือ ตายสูญ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงในข้อนี้
จึงสิ้นปัญหาในสิ่งที่รู้แล้ว ดังที่ได้ตรัสว่า
กรรม เป็นเหมือนนา (กมฺมํ เขตฺต์)
วิญญาณ เป็นเหมือนพืชที่หว่านลงในนา (วิญฺญานํ พีชํ)
ตัณหา เป็นเหมือนยางเหนียวมีอยู่ในพืช อันจะทำให้พืชนั้น
ปลูกงอกงามขึ้นได้* (ตณฺหา สิเนโห)
เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีกรรม วิญญาณและ
ตัณหาอยู่ ก็ยังจะต้องไปเกิดในภพต่างๆ
*ในคัมภีร์อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนบาต นวสูตร
พระอรรถกถาจารย์(อาจารย์ผู้แต่งหนังสืออธิบายความบาลี
ในพระไตรปิฏก) อธิบายเรื่องความเกิดขึ้นในภพภูมิต่างๆ
ของสัตว์โลกไว้ว่า "กรรม คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม
เป็นเหมือนนา เพราะเป็นสถานที่เกิดขึ้นแห่งร่างกายเพื่อรับผลกรรม,
วิญญาณ คือ อภิสังขารวิญญาณที่เกิดพร้อมกับกรรม เป็นเหมือนพืช
เพราะเป็นเหตุให้เกิดขึ้น, ตัณหา คือ ความอยาก เป็นเหมือนยางเหนียว
เพราะเป็นเครื่องผูกใจสัตว์ให้ติดอยู่ในภพ ทำให้การเกิดในภพใหม่ยังมีอยู่ต่อไป"
จากคำอธิบายสรุปได้ว่า เราเกิดมาได้ด้วยอำนาจของตัณหาความอยากในใจของเราเอง
เพราะเมื่อตัณหาเกิดขึ้น จะเป็นแรงผลักดันให้ทำกรรมต่างๆดีบ้าง ชั่วบ้าง เมื่อชีวิตนี้
สิ้นสุดลงก็จะชักนำวิญญาณให้ไปปฏิสนธิใหม่เพื่อรับผลของกรรมที่ทำไว้ ท่านจึงเปรียบ
ตัณหาว่าเป็นเหมือนยางเหนียวที่ยึดเอาความเกิดในภพชาติต่อๆไปอย่างไม่สิ้นสุด
แต่พระอรหันต์ที่ท่านหมดตัณหาคือหมดยางเหนียวแล้ว จึงไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
เราสร้างความอยากเอง=เราสร้างความเกิดใหม่อีก
ทางพระพุทธศาสนา ปัญหาเรื่องตายแล้วเกิดใหม่อีกหรือไม่
เป็นเรื่องประกอบเท่านั้น เพราะมุ่งสอนให้คนละความไม่ดี
ให้ทำความดีในชาตินี้ แต่ส่วนมากก็อดสงสัยมิได้ในเรื่องเกิดตาย
และกล่าวได้ว่า ส่วนมากเชื่อว่าตายแล้วเกิดอีก
สรุปความในตอนนี้ว่า เรื่องตาย เกิดหรือไม่เกิด ใครจะเชื่อหรือไม่
อย่างไร ไม่สำคัญ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ความจริงเป็นอย่างไร
ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด ปัญหาจึงมีว่า ใครจะเป็นผู้บอกได้
จะรู้จริงได้อย่างไร...ตอบได้ว่า ผู้บอกมีอยู่แล้ว คือ พระพุทธเจ้า
ท่านตอบไว้ในหลักอริยสัจสี่ ถอดความมาสั้นๆว่า
มีตัณหา(ความอยาก) ก็มีชาติ(ความเกิด) สิ้นตัณหา ก็สิ้นชาติ"
แต่จะรู้จริงด้วยตนเองได้นั้น มีผู้แนะว่าต้องทำสมาธิจนได้ดวงตาชั้นใน
มองเห็นความจริงได้ด้วยตนเอง จึงจะสิ้นสงสัย ถ้ายังไม่ได้ดวงตาชั้นใน
อย่างดีก็ต้องอาศัยศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าไปก่อน...
ในครั้งพุทธกาล มีแม่ทัพใหญ่ผู้หนึ่งชื่อ ท่านสีหะ ไปเฝ้ากราบทูลถามว่า
จะทรงอาจบัญญัติแสดงผลทานที่มองเห็นได้ในปัจจุบันได้หรือไม่...
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ได้ คือ เป็นที่รักของชนมาก, เป็นที่คบหาของคนดี,
มีเสียงพูดถึงในทางดีงาม, กล้าเข้ามาหมู่คนชั้นต่างๆ, ตายไปสุคติ(ไปดี)โลกสวรรค์
ท่านแม่ทัพสีหะกราลทูลว่า 4 ข้อต้น ไม่ต้องถึงความเชื่อต่อพระพุทธเจ้า
เพราะรู้ได้ด้วยตนเอง ส่วนข้อหลังไม่รู้ แต่ก็ถึงความเชื่อต่อพระพุทธเจ้าในข้อนั้น
ท่านแม่ทัพเป็นทหาร ทราบทูลตรงๆ รู้ว่ารู้ ไม่รู้ว่าไม่รู้ แต่ก็มีศรัทธาต่อพระพุทธองค์มั่นคง
ฉะนั้น ถึงไม่รู้ แต่มีผู้รู้เป็นผู้นำทาง และมีความเชื่อฟังผู้รู้ ก็ย่อมเดินถูกทางแน่
เราเกิดมาทำไม
ตอบปัญหานี้ได้ต้องอาศัยการอนุมานและการศึกษา
เราเกิดมาทำไม ปัญหานี้ถ้าตั้งขึ้นคิด ก็น่าจะจน
เพราะขณะเมื่อทุกคนเกิดนั้น ไม่มีใครรู้
มารู้เมื่อเกิดมาและพอรู้เดียงสาแล้วว่า
มีตัวเราขึ้นคนหนึ่งในโลก
แต่ทุกๆคนย่อมมีความไม่อยากตาย กลัวความตาย
อยากจะดำรงชีวิตอยู่นานเท่านาน นอกจากนี้
ยังมีความอยากในสิ่งต่างๆอีกมากมาย คล้ายกับว่า
ความที่ต้องเกิดมานี้ ไม่อยู่ในอำนาจของตนเอง
มีอำนาจอย่างหนึ่งทำให้เกิดมา ตนเองจึงไม่มีอำนาจ
หรือไม่มีส่วนที่จะตั้งวัตถุประสงค์แห่งความเกิดของตนว่า
เกิดมาเพื่อทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือเพื่อเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ดูล้ายๆกับจะเป็นดังที่ว่ามานี้ ที่ว่าดูคล้ายๆก็เพราะความไม่รู้
หรือจะเรียกว่า "อวิชชา" ก็น่าจะได้
แต่ถ้าจะยอมจำนนต่อความไม่รู้ก็ดูจะมักง่ายมากไป
น่าจะลองทำตามหลักอันหนึ่งที่ว่า อนุมาน และศึกษา
คือสิ่งที่ประจักษ์แก่สายตาก็รู้ได้ง่าย แต่สิ่งที่ไม่ประจักษ์
แก่สายตาก็ใช้อนุมาน โดยอาศัยการสันนิษฐานและ
ใช้การศึกษาในถ้อยคำของท่านผู้ตรัสรู้
เกิดมาเพื่อสนองความอยาก
และสนองกรรมของตนเอง
พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ ได้ตรัสไว้แปลความว่า
"ตัณหา(ความอยาก)ยังคนให้เกิด" และว่า
"โลก คือ หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม"
ลองอนุมานดูตามคำของท่านผู้ตรัสรู้นี้
ดูตามความอยากในกระแสปัจจุบันก่อนว่า
สมมติว่า อยากเป็นผู้แทนราษฎร ก็สมัครรับเลือกตั้ง
และทำการหาเสียง เมื่อได้ชนะคะแนน ก็ได้เป็น
นี้คือ ความอยาก เป็นเหตุให้ทำกรรม คือ ทำการต่างๆ
ตั้งต้นแต่การสมัคร การหาเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุ
ให้ได้รับผล คือได้เป็นผู้แทน หรือแม้ไม่ได้เป็น ถ้าจะ
ตัดตอนเอาเฉพาะความเกิดมาในช่วงแห่งชีวิตตอนนี้
ก็จะตอบปัญหาข้างต้นนั้นได้ว่า "เกิดมาเพื่อเป็นผู้แทน"
ตัวอย่างนี้เป็นรายละเอียดเฉพาะเรื่อง ถ้าจะตอบให้
ครอบคลุมทั้งหมดก็ควรจะตอบได้ว่า
"เกิดมาเพื่อสนองความอยาก และสนองกรรมของตนเอง"
ทุกคนมีความอยากฝังในจิตสันดาน
แต่การกล่าวดังนี้ เป็นการกล่าวครอบคลุมทั้งหมด
เหมือนอย่างที่เรียกกันว่า พูดอย่างกำปั้นทุบดิน
เพราะยังอาจกล่าวจำแนกออกไปได้อีกหลายลักษณะ
หลายประการ และถ้าจะแย้งว่า ตอบอย่างนั้นมันพอฟังได้
สำหรับกระแสชีวิตปัจจุบัน แต่เมื่อเกิดมาทีแรกยังมองไม่เห็น
เพราะไม่รู้จริงๆ ถ้าแย้งดังนี้ ก็ต้องตอบว่า ฉะนั้นจึงว่า
ต้องใช้วิธีอนุมานโดยสันนิษฐาน ถ้ารู้จริงแล้วจะต้องอนุมานทำไม
และอาศัยคำของท่านผู้ตรัสรู้เป็นหลัก ดังจะลองอนุมานต่อไปว่า
จริงอยู่ เมื่อเกิดมาไม่รู้ แต่เมื่อรู้ขึ้นแล้ว ก็มีความกลัวตาย
อยากดำรงชีวิตอยู่นานเท่านาน แสดงว่า ทุกคนมีความอยาก
ที่เป็นตัวตัณหานี้ เพราะความตาย เป็นความสิ้นสุดแห่งชีวิต
ในภพชาติอันหนึ่งๆ เมื่อยังมีความอยากดำรงชีวิตอยู่ในจิตสันดาน
ก็เท่ากับความอยากเกิดอีก เพื่อให้ดำรงอยู่ตามที่อยากนั้น
ทั้งต้องเกิดตามกรรม เป็นไปตามกรรม จึงสรุปได้ว่าเราเกิดมา
ด้วยตัณหา คือ ความอยาก และ กรรม เพื่อสนองตัณหาและกรรม
ของตนเอง ตัณหาและกรรมจึงเป็นตัวอำนาจหรือผู้สร้างให้เกิดมา
และสนองกรรมของตนเอง
พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ ได้ตรัสไว้แปลความว่า
"ตัณหา(ความอยาก)ยังคนให้เกิด" และว่า
"โลก คือ หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม"
ลองอนุมานดูตามคำของท่านผู้ตรัสรู้นี้
ดูตามความอยากในกระแสปัจจุบันก่อนว่า
สมมติว่า อยากเป็นผู้แทนราษฎร ก็สมัครรับเลือกตั้ง
และทำการหาเสียง เมื่อได้ชนะคะแนน ก็ได้เป็น
นี้คือ ความอยาก เป็นเหตุให้ทำกรรม คือ ทำการต่างๆ
ตั้งต้นแต่การสมัคร การหาเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุ
ให้ได้รับผล คือได้เป็นผู้แทน หรือแม้ไม่ได้เป็น ถ้าจะ
ตัดตอนเอาเฉพาะความเกิดมาในช่วงแห่งชีวิตตอนนี้
ก็จะตอบปัญหาข้างต้นนั้นได้ว่า "เกิดมาเพื่อเป็นผู้แทน"
ตัวอย่างนี้เป็นรายละเอียดเฉพาะเรื่อง ถ้าจะตอบให้
ครอบคลุมทั้งหมดก็ควรจะตอบได้ว่า
"เกิดมาเพื่อสนองความอยาก และสนองกรรมของตนเอง"
ทุกคนมีความอยากฝังในจิตสันดาน
แต่การกล่าวดังนี้ เป็นการกล่าวครอบคลุมทั้งหมด
เหมือนอย่างที่เรียกกันว่า พูดอย่างกำปั้นทุบดิน
เพราะยังอาจกล่าวจำแนกออกไปได้อีกหลายลักษณะ
หลายประการ และถ้าจะแย้งว่า ตอบอย่างนั้นมันพอฟังได้
สำหรับกระแสชีวิตปัจจุบัน แต่เมื่อเกิดมาทีแรกยังมองไม่เห็น
เพราะไม่รู้จริงๆ ถ้าแย้งดังนี้ ก็ต้องตอบว่า ฉะนั้นจึงว่า
ต้องใช้วิธีอนุมานโดยสันนิษฐาน ถ้ารู้จริงแล้วจะต้องอนุมานทำไม
และอาศัยคำของท่านผู้ตรัสรู้เป็นหลัก ดังจะลองอนุมานต่อไปว่า
จริงอยู่ เมื่อเกิดมาไม่รู้ แต่เมื่อรู้ขึ้นแล้ว ก็มีความกลัวตาย
อยากดำรงชีวิตอยู่นานเท่านาน แสดงว่า ทุกคนมีความอยาก
ที่เป็นตัวตัณหานี้ เพราะความตาย เป็นความสิ้นสุดแห่งชีวิต
ในภพชาติอันหนึ่งๆ เมื่อยังมีความอยากดำรงชีวิตอยู่ในจิตสันดาน
ก็เท่ากับความอยากเกิดอีก เพื่อให้ดำรงอยู่ตามที่อยากนั้น
ทั้งต้องเกิดตามกรรม เป็นไปตามกรรม จึงสรุปได้ว่าเราเกิดมา
ด้วยตัณหา คือ ความอยาก และ กรรม เพื่อสนองตัณหาและกรรม
ของตนเอง ตัณหาและกรรมจึงเป็นตัวอำนาจหรือผู้สร้างให้เกิดมา
เราคือผู้สร้างอำนาจตัณหา และอำนาจกรรม
ใครเล่าเป็นผู้สร้างตัวอำนาจนี้ ตอบได้ว่า คือ ตนเอง
เพราะตนเองเป็นผู้อยากเอง และเป็นผู้ทำกรรมเอง
จึงกล่าวได้ว่า ตนเองนี้แหละ เป็นผู้สร้างตนเองให้เกิดมา
ผู้ถือทางไสยกล่าวว่า ชีวิตของคนเรานี้ มีพรหมลิขิต คือ
พระพรหมกำหนดเหมือนอย่างเขียนมาเสร็จ ว่าจะเป็นอย่างไร
แต่ผู้ถือทางพุทธมักใช้ว่า กรรมลิขิต คือ กรรมกำหนดมา
โดยผลก็เป็นอย่างเดียวกัน คือ มีสิ่งกำหนดให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
น่าพิจารณาว่า ทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้จริงๆอย่างไร?
ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า "มากตเหตุ อย่าถือว่าเพราะเหตุ
แห่งกรรมที่ได้ทำไว้" คือ อย่าถือว่าทุกๆอย่างที่จะได้รับ มีเพราะ
เหตุแห่งกรรมที่ได้ทำไว้แล้ว เพราะถ้าถืออย่างนั้น ก็จะไม่ต้องทำ
อะไรขึ้นใหม่ รออยู่เฉยๆอย่างเดียว เพื่อให้กรรมเก่าสนองผลต่างๆ
ขึ้นเอง ถือเอาความดังนี้ ก็เท่ากับไม่ให้ถือกรรมลิขิตนั่นเอง
มีปัญหาว่า ถ้าเช่นนั้น พระพุทธศาสนาแสดงเรื่องกรรมไว้ทำไม?
พิจารณาดูจะตอบได้ว่า แสดงเรื่องกรรมไว้เพื่อให้รู้ว่า กรรม เป็นเหตุ
ให้วิบาก คือ ผล ตั้งแต่ให้กำเนิดเกิดมา และติดตามให้ผลต่างๆแก่ชีวิต
ทำนองกรรมลิขิตนั่นแหละ
ทุกวันเราต้องมุ่งมั่นสร้างอำนาจกรรมดี
แต่กระบวนการของกรรมที่ทำไว้ มีความสลับซับซ้อนมาก ทั้งเกี่ยวกับเวลา
ที่กรรมให้ผล ข้อสำคัญที่สุด คือ เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของแต่ละบุคคล
ในปัจจุบัน คือ ทางพระพุทธศาสนาสอนให้ไม่เป็นทาสของกรรมเก่า เช่นเดียวกับ
ให้ไม่เป็นทาสของตัณหา แต่ให้ละกรรมชั่ว กระทำกรรมดี และชำระจิตใจของตน
ให้บริสุทธิ์สะอาดตามหลักพระโอวาท 3 หรือกล่าวโดยทั่วไป มีกิจที่ควรทำ
ก็ทำโดยไม่ต้องนั่งรอนอนรอผลของกรรมเก่าอะไร ความพิจารณาเพื่อให้รู้กรรม
และผลของกรรมนั้น ก็เพื่อให้จิตเกิดอุเบกขา ในเวลาที่เกิดเหตุการณ์เหลือที่จะ
ช่วยแก่ทั้งคนที่เป็นที่รักและที่ชัง กับเพื่อจะได้ปฏิบัติตนตามหลักพระโอวาท 3 ข้อนั้น
ใครเล่าเป็นผู้สร้างตัวอำนาจนี้ ตอบได้ว่า คือ ตนเอง
เพราะตนเองเป็นผู้อยากเอง และเป็นผู้ทำกรรมเอง
จึงกล่าวได้ว่า ตนเองนี้แหละ เป็นผู้สร้างตนเองให้เกิดมา
ผู้ถือทางไสยกล่าวว่า ชีวิตของคนเรานี้ มีพรหมลิขิต คือ
พระพรหมกำหนดเหมือนอย่างเขียนมาเสร็จ ว่าจะเป็นอย่างไร
แต่ผู้ถือทางพุทธมักใช้ว่า กรรมลิขิต คือ กรรมกำหนดมา
โดยผลก็เป็นอย่างเดียวกัน คือ มีสิ่งกำหนดให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
น่าพิจารณาว่า ทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้จริงๆอย่างไร?
ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า "มากตเหตุ อย่าถือว่าเพราะเหตุ
แห่งกรรมที่ได้ทำไว้" คือ อย่าถือว่าทุกๆอย่างที่จะได้รับ มีเพราะ
เหตุแห่งกรรมที่ได้ทำไว้แล้ว เพราะถ้าถืออย่างนั้น ก็จะไม่ต้องทำ
อะไรขึ้นใหม่ รออยู่เฉยๆอย่างเดียว เพื่อให้กรรมเก่าสนองผลต่างๆ
ขึ้นเอง ถือเอาความดังนี้ ก็เท่ากับไม่ให้ถือกรรมลิขิตนั่นเอง
มีปัญหาว่า ถ้าเช่นนั้น พระพุทธศาสนาแสดงเรื่องกรรมไว้ทำไม?
พิจารณาดูจะตอบได้ว่า แสดงเรื่องกรรมไว้เพื่อให้รู้ว่า กรรม เป็นเหตุ
ให้วิบาก คือ ผล ตั้งแต่ให้กำเนิดเกิดมา และติดตามให้ผลต่างๆแก่ชีวิต
ทำนองกรรมลิขิตนั่นแหละ
ทุกวันเราต้องมุ่งมั่นสร้างอำนาจกรรมดี
แต่กระบวนการของกรรมที่ทำไว้ มีความสลับซับซ้อนมาก ทั้งเกี่ยวกับเวลา
ที่กรรมให้ผล ข้อสำคัญที่สุด คือ เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของแต่ละบุคคล
ในปัจจุบัน คือ ทางพระพุทธศาสนาสอนให้ไม่เป็นทาสของกรรมเก่า เช่นเดียวกับ
ให้ไม่เป็นทาสของตัณหา แต่ให้ละกรรมชั่ว กระทำกรรมดี และชำระจิตใจของตน
ให้บริสุทธิ์สะอาดตามหลักพระโอวาท 3 หรือกล่าวโดยทั่วไป มีกิจที่ควรทำ
ก็ทำโดยไม่ต้องนั่งรอนอนรอผลของกรรมเก่าอะไร ความพิจารณาเพื่อให้รู้กรรม
และผลของกรรมนั้น ก็เพื่อให้จิตเกิดอุเบกขา ในเวลาที่เกิดเหตุการณ์เหลือที่จะ
ช่วยแก่ทั้งคนที่เป็นที่รักและที่ชัง กับเพื่อจะได้ปฏิบัติตนตามหลักพระโอวาท 3 ข้อนั้น
เราเกิดมา ตามที่ตั้งใจไว้ว่าจะมาทำ
คนเรามีจิตใจที่เป็นต้นเดิมของกรรมทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นกรรมเก่า หรือกรรมใหม่ เพราะจะต้อง
มีจิตเจตนาเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงทำกรรมอะไรออกไป
ฉะนั้น จึงสามารถจะทำอธิษฐาน คือ ตั้งใจว่า
จะประสงค์ผลอันใด เมื่อประกอบกรรมให้เหมาะ
แก่ผลอันนั้น ก็จะได้รับความสำเร็จ
ดังนั้น จึงสามารถตอบปัญหาว่า "เราเกิดมาทำไม"
ได้อีกอย่างหนึ่งว่า "เราเกิดมา ตามที่ตั้งใจไว้ว่าจะมาทำ"
เป็นอันไม่พ้นจากคำตอบที่ว่า เราเกิดมาเพื่อสนองตัณหา
และกรรมของตนเอง...แต่คนดี ย่อมมีอธิษฐานใจที่ดี
ดังพระโพธิสัตว์ทรงอธิษฐานพระหทัยเพื่อบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง
ความเกิดของพระองค์ในชาติทั้งหลาย เพื่อบำเพ็ญบารมี คือ
ความดีต่างๆ ให้บริบูรณ์
*บารมี 10 ภาษาธรรมเรียกว่า สมติงสบารมี แปลว่า บารมี 30 ทัศ
โดยท่านจัดลำดับการบำเพ็ญออกเป็น 3 ระดับ คือ
บารมี การทำความดีในระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ การให้สมบัตินอกกาย
อุปบารมี การทำความดีในระดับกลาง เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การให้อวัยวะ
ปรมัตถบารมี การทำความดีในระดับสูง เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การให้ชีวิต เป็นต้น
เราเกิดมา เพื่อทำความดี
อันที่จริง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะถือว่าตนเกิดมาเพื่อบำเพ็ญความดีให้มากขึ้น
และสามารถที่จะบำเพ็ญความดีได้
ความสำนึกเข้าใจตนเองไว้ว่า "เราเกิดมาเพื่อทำความดี"
"เราเกิดมาเพื่อเพิ่มพูนปัญญา คือ ความรู้ความฉลาด"
ดังนี้ ย่อมมีประโยชน์ ไม่มีโทษ เพราะจะทำให้ขวนขวายทำความ
คือ ผลของกรรม และกิเลสของตนเอง
แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง คือ ความดีที่แต่ละคนได้อบรมสั่งสมมา
อันเรียกว่า บารมี คือ ความดีที่เก็บพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งจะส่งเสริมจิตใจให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง และ ดำเนิน
ไปในทางที่ถูก
*บารมี แปลว่า ปฏิปทาเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง, ข้อปฏิบัติเป็นไป
เพื่อประโยชน์สุขอันยิ่งใหญ่ หมายถึง คุณความดีที่ได้
บำเพ็ญไว้ในอดีตอย่างยิ่งยวด โดยปกติจะใช้เรียกคุณความดี
ในอดีตของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญมาอย่างยาวนาน
เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ตัวอย่างการบำเพ็ญ
บารมีที่ได้ยินกันบ่อย เช่น เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก
ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี เป็นต้น
บารมี มี 10 อย่าง คือ ทาน มีใจเอื้อเฟื้อในการให้,
ศีล รักษากายวาจาเป็นปกติ, เนกขัมมะ ดำริออกจากกาม,
ปัญญา ความรู้ทุกอย่างจริงแท้, วิริยะ แน่วแน่พากเพียรทำไป,
ขันติ อดทนได้ในทุกสถานการณ์, สัจจะ ยึดมั่นในความจริง,
อธิษฐาน ไม่ละทิ้งความตั้งใจ, เมตตา ให้ความรักต่อผู้คน,
และอุเบกขา วางตนเป็นกลาง
คนเรามีจิตใจที่เป็นต้นเดิมของกรรมทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นกรรมเก่า หรือกรรมใหม่ เพราะจะต้อง
มีจิตเจตนาเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงทำกรรมอะไรออกไป
ฉะนั้น จึงสามารถจะทำอธิษฐาน คือ ตั้งใจว่า
จะประสงค์ผลอันใด เมื่อประกอบกรรมให้เหมาะ
แก่ผลอันนั้น ก็จะได้รับความสำเร็จ
ดังนั้น จึงสามารถตอบปัญหาว่า "เราเกิดมาทำไม"
ได้อีกอย่างหนึ่งว่า "เราเกิดมา ตามที่ตั้งใจไว้ว่าจะมาทำ"
เป็นอันไม่พ้นจากคำตอบที่ว่า เราเกิดมาเพื่อสนองตัณหา
และกรรมของตนเอง...แต่คนดี ย่อมมีอธิษฐานใจที่ดี
ดังพระโพธิสัตว์ทรงอธิษฐานพระหทัยเพื่อบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง
ความเกิดของพระองค์ในชาติทั้งหลาย เพื่อบำเพ็ญบารมี คือ
ความดีต่างๆ ให้บริบูรณ์
*บารมี 10 ภาษาธรรมเรียกว่า สมติงสบารมี แปลว่า บารมี 30 ทัศ
โดยท่านจัดลำดับการบำเพ็ญออกเป็น 3 ระดับ คือ
บารมี การทำความดีในระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ การให้สมบัตินอกกาย
อุปบารมี การทำความดีในระดับกลาง เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การให้อวัยวะ
ปรมัตถบารมี การทำความดีในระดับสูง เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การให้ชีวิต เป็นต้น
เราเกิดมา เพื่อทำความดี
อันที่จริง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะถือว่าตนเกิดมาเพื่อบำเพ็ญความดีให้มากขึ้น
และสามารถที่จะบำเพ็ญความดีได้
ความสำนึกเข้าใจตนเองไว้ว่า "เราเกิดมาเพื่อทำความดี"
"เราเกิดมาเพื่อเพิ่มพูนปัญญา คือ ความรู้ความฉลาด"
ดังนี้ ย่อมมีประโยชน์ ไม่มีโทษ เพราะจะทำให้ขวนขวายทำความ
คือ ผลของกรรม และกิเลสของตนเอง
แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่ง คือ ความดีที่แต่ละคนได้อบรมสั่งสมมา
อันเรียกว่า บารมี คือ ความดีที่เก็บพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งจะส่งเสริมจิตใจให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง และ ดำเนิน
ไปในทางที่ถูก
*บารมี แปลว่า ปฏิปทาเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง, ข้อปฏิบัติเป็นไป
เพื่อประโยชน์สุขอันยิ่งใหญ่ หมายถึง คุณความดีที่ได้
บำเพ็ญไว้ในอดีตอย่างยิ่งยวด โดยปกติจะใช้เรียกคุณความดี
ในอดีตของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญมาอย่างยาวนาน
เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ตัวอย่างการบำเพ็ญ
บารมีที่ได้ยินกันบ่อย เช่น เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก
ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี เป็นต้น
บารมี มี 10 อย่าง คือ ทาน มีใจเอื้อเฟื้อในการให้,
ศีล รักษากายวาจาเป็นปกติ, เนกขัมมะ ดำริออกจากกาม,
ปัญญา ความรู้ทุกอย่างจริงแท้, วิริยะ แน่วแน่พากเพียรทำไป,
ขันติ อดทนได้ในทุกสถานการณ์, สัจจะ ยึดมั่นในความจริง,
อธิษฐาน ไม่ละทิ้งความตั้งใจ, เมตตา ให้ความรักต่อผู้คน,
และอุเบกขา วางตนเป็นกลาง
สั่งสมปัญญาบารมี=ลิขิตชีวิตตนให้ได้ดี
ท่านกล่าวไว้ว่า มนุษย์เราเกิดมาด้วยอำนาจของกุศล
คือ กุศลจิตและกุศลกรรม ไม่ว่าจะเกิดมายากดีมีจนอย่างไร
เพราะมนุษยภูมิ* เป็นผลของกุศล ทุกคนจึงชื่อว่ามีกุศล
หนุนมาให้เกิดด้วยกันทั้งนั้น จึงได้ชื่อว่า มนุษย์
ที่แปลอย่างหนึ่งว่า ผู้มีใจสูง คือ มีความรู้สูง ดังจะเห็นได้ว่า
คนเรามีพื้นฐานปัญญาสูงกว่าสัตว์เดรัจฉานมากมาย
สามารถรู้จักเปรียบเทียบในความดีความชั่ว ความควรทำ
ไม่ควรทำ รู้จักละอาย รู้จักเกรง รู้จักปรับปรุงสร้างสรรค์สิ่งที่
เรียกว่า "วัฒนธรรม" "อารยธรรม" "ศาสนา"เป็นต้น
แสดงว่า มีความดีที่ได้สั่งสมมา โดยเฉพาะปัญญา เป็น
รัตนะอันส่องแสงสว่างนำทางแห่งชีวิต ถึงดังนั้นก็ตาม
คนเราก็ยังมีความมืดที่มาเกิดกำบังจิตใจ ให้เห็นผิดเป็นชอบ
ความมืด ที่สำคัญนั้นคือ กิเลสในจิตใจ และกรรมเก่างทั้งหลาย**
*การจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ต้องเป็นผู้ได้บำเพ็ญกุศลธรรมคือ
ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 (ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย 3 อย่างคือ
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม, ทางวาจา 4 อย่างคือ
ไม่พูดโกหก, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดให้เกิดความผิดใจกัน,
ไม่พูดเหลวไหลไร้สาระ, ทางใจ 3 อย่างคือ ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น,
ไม่พยาบาทปองร้ายใคร, มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)
มาแล้วในอดีตชาติ จึงจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
**เพราะเหตุที่คนยังมีกิเลส และกรรมเก่า ท่านจึงได้แบ่งประเภทคน
ออกเป็น 4 ประเภท คือ
-ผู้มืดมาแล้วมืดไป เกิดมาพบกับความลำบากในการดำเนินชีวิต
แต่ก็ยังคิดไม่ได้ว่าเป็นไปตามกรรม เมื่อตายไปก็ย่อมไปสู่ทุคติ
-ผู้มืดมาสว่างไป เกิดมาเหมือนบุคคลข้างต้น แต่มีจิตสำนึกคิดได้ว่า
ตนสร้างกรรมมาไม่ดี ในชาตินี้จึงตั้งมั่นในการทำความดี
-ผู้สว่างมามืดไป เกิดมาในชาตินี้มีความสมบูรณ์พร้อม แต่เกิด
ความประมาทในชีวิตหลงผิดทำชั่ว ต้องพบความหมองมัวทั้งในชาตินี้
และชาติหน้า
-ผู้สว่างมาสว่างไป เกิดมาชาตินี้ก็ดีพร้อมและไม่หยุดหย่อนในการทำดี
ให้ยิ่งๆขึ้นไป มีโอกาสได้เกิดในภพภูมิที่สูงยิ่งขึ้นไปกว่ามนุษยภูมิ
ท่านกล่าวไว้ว่า มนุษย์เราเกิดมาด้วยอำนาจของกุศล
คือ กุศลจิตและกุศลกรรม ไม่ว่าจะเกิดมายากดีมีจนอย่างไร
เพราะมนุษยภูมิ* เป็นผลของกุศล ทุกคนจึงชื่อว่ามีกุศล
หนุนมาให้เกิดด้วยกันทั้งนั้น จึงได้ชื่อว่า มนุษย์
ที่แปลอย่างหนึ่งว่า ผู้มีใจสูง คือ มีความรู้สูง ดังจะเห็นได้ว่า
คนเรามีพื้นฐานปัญญาสูงกว่าสัตว์เดรัจฉานมากมาย
สามารถรู้จักเปรียบเทียบในความดีความชั่ว ความควรทำ
ไม่ควรทำ รู้จักละอาย รู้จักเกรง รู้จักปรับปรุงสร้างสรรค์สิ่งที่
เรียกว่า "วัฒนธรรม" "อารยธรรม" "ศาสนา"เป็นต้น
แสดงว่า มีความดีที่ได้สั่งสมมา โดยเฉพาะปัญญา เป็น
รัตนะอันส่องแสงสว่างนำทางแห่งชีวิต ถึงดังนั้นก็ตาม
คนเราก็ยังมีความมืดที่มาเกิดกำบังจิตใจ ให้เห็นผิดเป็นชอบ
ความมืด ที่สำคัญนั้นคือ กิเลสในจิตใจ และกรรมเก่างทั้งหลาย**
*การจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ต้องเป็นผู้ได้บำเพ็ญกุศลธรรมคือ
ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 (ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย 3 อย่างคือ
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม, ทางวาจา 4 อย่างคือ
ไม่พูดโกหก, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดให้เกิดความผิดใจกัน,
ไม่พูดเหลวไหลไร้สาระ, ทางใจ 3 อย่างคือ ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น,
ไม่พยาบาทปองร้ายใคร, มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)
มาแล้วในอดีตชาติ จึงจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
**เพราะเหตุที่คนยังมีกิเลส และกรรมเก่า ท่านจึงได้แบ่งประเภทคน
ออกเป็น 4 ประเภท คือ
-ผู้มืดมาแล้วมืดไป เกิดมาพบกับความลำบากในการดำเนินชีวิต
แต่ก็ยังคิดไม่ได้ว่าเป็นไปตามกรรม เมื่อตายไปก็ย่อมไปสู่ทุคติ
-ผู้มืดมาสว่างไป เกิดมาเหมือนบุคคลข้างต้น แต่มีจิตสำนึกคิดได้ว่า
ตนสร้างกรรมมาไม่ดี ในชาตินี้จึงตั้งมั่นในการทำความดี
-ผู้สว่างมามืดไป เกิดมาในชาตินี้มีความสมบูรณ์พร้อม แต่เกิด
ความประมาทในชีวิตหลงผิดทำชั่ว ต้องพบความหมองมัวทั้งในชาตินี้
และชาติหน้า
-ผู้สว่างมาสว่างไป เกิดมาชาตินี้ก็ดีพร้อมและไม่หยุดหย่อนในการทำดี
ให้ยิ่งๆขึ้นไป มีโอกาสได้เกิดในภพภูมิที่สูงยิ่งขึ้นไปกว่ามนุษยภูมิ
ผู้ปกครองดีดี ช่วยเราสร้างกรรมใหม่ดีดี
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กรรมมี 2 อย่าง คือ
1. ปุราณกรรม ได้แก่ กรรมเก่า
2. นวกรรม ได้แก่ กรรมใหม่
อะไรคือกรรมเก่า ไม่มีอธิบายอื่น จะอธิบายอย่างมองเห็น
เช่น พระพุท่ธาธิบายที่ตรัสไว้ความว่า "กรรมเก่า คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะ(ใจ)" กล่าวคือ ร่างกายที่
ประกอบด้วยอายตนะทั้ง 6 นี้แหละเป็นตัวกรรมเก่า
เป็นกรรมเก่าที่ทุกๆคนมองเห็น
นอกจากนี้ ยังเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งกรรมใหม่ทั้งปวงอีกด้วย
เพราะกรรมที่ทำขึ้นในปัจจุบันจะเป็น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ก็อาศัยกรรมเก่านี้แหละ เป็นเครื่องมือกระทำ
ทั้งกรรมเก่านี้ ยังเป็นชนวนให้เกิดเจตนาที่ทำกรรมใหม่ๆทั้งหลายด้วย
อะไรคือกรรมใหม่ ก็ได้แก่ การงานที่ ทำ พูด คิด ด้วยเจตนา
มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะ ตา หู เป็นต้น มิใช่ว่าจะมีไว้เฉยๆ
ต้องดูต้องฟัง แล้วก็ก่อกิเลส เช่น ราคะ (ความติดความยินดี),
โทสะ (ความขัดเคือง), โมหะ (ความหลงไหล), ให้เกิดขึ้น
ขณะที่ร่างกายเจริญในวัยหนุ่มสาว กล่าวได้ว่า กรรมเก่ากำลังเติบโต
เป็นหนุ่มสาว ตาหู เป็นต้น ก็ยิ่งเป็นสื่อแห่งราคะ โทสะ และเป็นสื่อ
แห่งกรรมต่างๆ ตามอำนาจของจิตใจที่กำลังระเริงหลง จึงจำต้องมี
การควบคุมปกครอง จะปล่อยเสีย หาได้ไม่ ถ้าตนเองควบคุมตนเองได้
ก็เป็นวิเศษที่สุด แต่ถ้าควบคุมตนเองไม่ได้ ก็ต้องมีผู้ใหญ่ เช่น
มารดา บิดาและผู้ใหญ่ต่างๆที่เกี่ยวข้องควบคุมให้อยู่ในระเบียบ
วินัยที่ดีงาม ให้เกิดความสำนึกว่า "เรานี่ เกิดมาเพื่อทำความดี"
พระพุทธองค์นอกจากทรงแสดงกรรมเก่าและกรรมใหม่ไว้แล้ว
ยังทรงแสดงความดับกรรม และวิธีดับกรรมทั้ง 2 อย่างไว้ว่า
"บุคคสัมผัสวิมุตติ(ความหลุดพ้น) เพราะความดับกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม นี้ชื่อว่าเป็นความดับกรรม มรรคมีองค์ 8 คือ
เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ นี้ชื่อว่าเป็นข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับกรรม" ดังนั้น หลักการแก้กรรมตามหลักพุทธศาสนาก็คือ
การหยุดทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ ด้วยการปฏิบัติตามหลักมรรค 8
เมื่อย่อให้สั้นก็คือปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กรรมมี 2 อย่าง คือ
1. ปุราณกรรม ได้แก่ กรรมเก่า
2. นวกรรม ได้แก่ กรรมใหม่
อะไรคือกรรมเก่า ไม่มีอธิบายอื่น จะอธิบายอย่างมองเห็น
เช่น พระพุท่ธาธิบายที่ตรัสไว้ความว่า "กรรมเก่า คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะ(ใจ)" กล่าวคือ ร่างกายที่
ประกอบด้วยอายตนะทั้ง 6 นี้แหละเป็นตัวกรรมเก่า
เป็นกรรมเก่าที่ทุกๆคนมองเห็น
นอกจากนี้ ยังเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งกรรมใหม่ทั้งปวงอีกด้วย
เพราะกรรมที่ทำขึ้นในปัจจุบันจะเป็น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ก็อาศัยกรรมเก่านี้แหละ เป็นเครื่องมือกระทำ
ทั้งกรรมเก่านี้ ยังเป็นชนวนให้เกิดเจตนาที่ทำกรรมใหม่ๆทั้งหลายด้วย
อะไรคือกรรมใหม่ ก็ได้แก่ การงานที่ ทำ พูด คิด ด้วยเจตนา
มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะ ตา หู เป็นต้น มิใช่ว่าจะมีไว้เฉยๆ
ต้องดูต้องฟัง แล้วก็ก่อกิเลส เช่น ราคะ (ความติดความยินดี),
โทสะ (ความขัดเคือง), โมหะ (ความหลงไหล), ให้เกิดขึ้น
ขณะที่ร่างกายเจริญในวัยหนุ่มสาว กล่าวได้ว่า กรรมเก่ากำลังเติบโต
เป็นหนุ่มสาว ตาหู เป็นต้น ก็ยิ่งเป็นสื่อแห่งราคะ โทสะ และเป็นสื่อ
แห่งกรรมต่างๆ ตามอำนาจของจิตใจที่กำลังระเริงหลง จึงจำต้องมี
การควบคุมปกครอง จะปล่อยเสีย หาได้ไม่ ถ้าตนเองควบคุมตนเองได้
ก็เป็นวิเศษที่สุด แต่ถ้าควบคุมตนเองไม่ได้ ก็ต้องมีผู้ใหญ่ เช่น
มารดา บิดาและผู้ใหญ่ต่างๆที่เกี่ยวข้องควบคุมให้อยู่ในระเบียบ
วินัยที่ดีงาม ให้เกิดความสำนึกว่า "เรานี่ เกิดมาเพื่อทำความดี"
พระพุทธองค์นอกจากทรงแสดงกรรมเก่าและกรรมใหม่ไว้แล้ว
ยังทรงแสดงความดับกรรม และวิธีดับกรรมทั้ง 2 อย่างไว้ว่า
"บุคคสัมผัสวิมุตติ(ความหลุดพ้น) เพราะความดับกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม นี้ชื่อว่าเป็นความดับกรรม มรรคมีองค์ 8 คือ
เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ นี้ชื่อว่าเป็นข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับกรรม" ดังนั้น หลักการแก้กรรมตามหลักพุทธศาสนาก็คือ
การหยุดทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ ด้วยการปฏิบัติตามหลักมรรค 8
เมื่อย่อให้สั้นก็คือปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
ภาพชีวิตของแต่ละคน
วาดภาพอนาคต ต้องกำหนดแบบแผน
คำว่า ชีวิต มิได้มีความหมายเพียงความเป็นอยู่แห่งร่างกาย
แต่หมายถึงความสุขความทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม
ของบุคคลในทางต่างๆ ด้วย
บางคนมีปัญหาว่า จะวาดภาพชีวิตของตนอย่างไรในอนาคต
หรืออะไรควรจะเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต และจะไปถึงจุด
ที่มุ่งหมายนั้น หรือที่นึกวาดภาพไว้นั้น ด้วยอะไร
ปัญหาที่ถามคลุมไปดังนี้ น่าจะตอบให้ตรงจุดเฉพาะบุคคลได้ยาก
เพราะไม่รู้ว่าทางแห่งชีวิตของแต่ละบุคคลตามที่กรรมกำหนดไว้
เป็นอย่างไร และถ้าวาดภาพของชีวิตอนาคตไว้เกินวิสัยของตน
ที่จะพึงได้พึงถึง แบบที่เรียกว่าสร้างวิมานบนอากาศ ก็จะเกิด
ความสำเร็จขึ้นมาไม่ได้แน่ หรือแม้วาดภาพชีวิตไว้ในวิสัยที่จะพึงได้
พึงถึง แต่ขาดเหตุที่จะอุปการะให้ไปถึงจุดหมายนั้น ก็ยากอีกเหมือนกัน
ที่จะเกิดเป็นความจริงขึ้นมา
ภาพของชีวิตที่วาดไว้ ก็จะเปรียบได้กับแบบแปลนของสิ่งที่
จะสร้างขึ้นในกระดาษพิมพ์เขียว คนที่ไม่มีบ้าน คิดจะ
สร้างบ้านอยู่ของตนเอง จะต้องมีที่ทางมีทุนก่อสร้าง
ทีแรกก็จะต้องมีแบบแปลนในแผ่นกระดาษตามที่ตนชอบ
แต่ก็ต้องตามควรแก่กำลังทรัพย์ของตน ถ้าอยากจะได้บ้าน
ที่ใหญ่โตเกินกำลังมากไป ก็จะทำไม่ได้แน่ แต่ตัวอย่างนี้
ก็มีจุดมุ่งหมายชัดเจนอยู่แล้วว่าจะสร้างบ้าน
ส่วนปัญหาข้างต้นที่ว่า อะไรควรจะเป็นจุดหมายของชีวิตนั้น
ยังไม่มีจุดหมายชัดเจน จึงว่าเป็นปัญหาที่ถามคลุมตอบได้ยาก
เหมือนอย่างจะถามว่าจะสร้างอะไรจึงจะดี ซึ่งตอบได้ยาก
วางแผนและพัฒนาตลอดชีวิต พิชิตความฝันแน่
อันจุดหมายชีวิตของคนนั้นมีต่างๆกัน และภาพชีวิตที่ทุกคนวาดไว้
เมื่อตอนเป็นเด็ก หรือในวัยรุ่น กับชีวิตจริงเมื่ออายุ 60 อาจต่างกันมาก
ทุกคนขณะอยู่ในวัยเด็กหรือในวัยรุ่น อาจจะวาดภาพชีวิตอนาคตตนเอง
ไว้ด้วยตน หรือบางทีผู้ใหญ่ช่วยคิดแนะนำให้ โดยปกติก็ต้องสังเกตดู
สติปัญญา ความถนัด ความชอบ และต้องพิจารณาถึงกำลังสนับสนุนต่างๆ
ตลอดถึงอัธยาศัย นิสัย การศึกษาตั้งแต่ในเบื้องต้น คือ ประถมศึกษา
กับมัธยมศึกษา ตลอดไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เป็นเครื่องช่วยชี้บอก
ได้ว่าทางอนาคตจะไปได้อย่างไร
ผู้ที่มีพื้นสติปัญญาต่ำ เรียนได้แค่ประถมศึกษา ก็จะต้องไปทำงาน
ด้านใช้กำลังกายมากกว่าใช้สมอง แต่เมื่อจับอาชีพถูกทาง มีความขยัน
หมั่นเพียร รู้จักเก็บหอมรอมริบ ก็อาจตั้งตัวได้ดีเหมือนกัน ผู้ที่มี
สติปัญญาปานกลางเรียนได้จบมัธยมศึกษา หรือเรียนจบทางการช่างต่างๆ
เป็นต้น ก็สามารถทำงานใช้วิชาได้บ้าง เมื่อตั้งใจทำงานให้ดีและ
ประพฤติตนดีดังกล่าว ก็ตั้งตนได้ตามสภาพ ส่วนผู้ที่มีสติปัญญาดี ทั้งมี
ปัจจัยสนับสนุนเรียนสำเร็จอุดมศึกษาทางใดทางหนึ่ง จะสามารถ
ทำงานได้ประณีตกว่า อาจตั้งตนได้ดีมาก
แต่ความสำเร็จผลอย่างดีนั้น นอกจากต้องอาศัยกำลังสติปัญญาวิชาความรู้
ดังกล่าว ยังต้องอาศัยปัจจัยอุปถัมภ์อย่างอื่นอีก ฉะนั้น
คนที่บรรลุความสำเร็จ เช่น เป็นพ่อค้าใหญ่ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เป็นชาวนาชาวสวนที่มีฐานะมั่นคง เป็นต้น จึงมิใช่เป็นผู้ที่มาจาก
มหาวิทยาลลัย จากวิทยาลัยเทคนิค หรือจากโรงเรียนมัธยมเสมอไป
ใครจะถึงความสำเร็จแค่ไหน เพียงไหนนั้น เมื่อได้ผ่านบางตอน
ของชีวิตไปแล้ว ก็พอจะคิดคาดคะเนเอาได้ว่า จะไปได้สูงเพียงไหน
เว้นแต่มีเหตุพิเศษทั้งในด้านสนับสนุนทั้งในด้านตัดรอน
วาดภาพอนาคต ต้องกำหนดแบบแผน
คำว่า ชีวิต มิได้มีความหมายเพียงความเป็นอยู่แห่งร่างกาย
แต่หมายถึงความสุขความทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม
ของบุคคลในทางต่างๆ ด้วย
บางคนมีปัญหาว่า จะวาดภาพชีวิตของตนอย่างไรในอนาคต
หรืออะไรควรจะเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต และจะไปถึงจุด
ที่มุ่งหมายนั้น หรือที่นึกวาดภาพไว้นั้น ด้วยอะไร
ปัญหาที่ถามคลุมไปดังนี้ น่าจะตอบให้ตรงจุดเฉพาะบุคคลได้ยาก
เพราะไม่รู้ว่าทางแห่งชีวิตของแต่ละบุคคลตามที่กรรมกำหนดไว้
เป็นอย่างไร และถ้าวาดภาพของชีวิตอนาคตไว้เกินวิสัยของตน
ที่จะพึงได้พึงถึง แบบที่เรียกว่าสร้างวิมานบนอากาศ ก็จะเกิด
ความสำเร็จขึ้นมาไม่ได้แน่ หรือแม้วาดภาพชีวิตไว้ในวิสัยที่จะพึงได้
พึงถึง แต่ขาดเหตุที่จะอุปการะให้ไปถึงจุดหมายนั้น ก็ยากอีกเหมือนกัน
ที่จะเกิดเป็นความจริงขึ้นมา
ภาพของชีวิตที่วาดไว้ ก็จะเปรียบได้กับแบบแปลนของสิ่งที่
จะสร้างขึ้นในกระดาษพิมพ์เขียว คนที่ไม่มีบ้าน คิดจะ
สร้างบ้านอยู่ของตนเอง จะต้องมีที่ทางมีทุนก่อสร้าง
ทีแรกก็จะต้องมีแบบแปลนในแผ่นกระดาษตามที่ตนชอบ
แต่ก็ต้องตามควรแก่กำลังทรัพย์ของตน ถ้าอยากจะได้บ้าน
ที่ใหญ่โตเกินกำลังมากไป ก็จะทำไม่ได้แน่ แต่ตัวอย่างนี้
ก็มีจุดมุ่งหมายชัดเจนอยู่แล้วว่าจะสร้างบ้าน
ส่วนปัญหาข้างต้นที่ว่า อะไรควรจะเป็นจุดหมายของชีวิตนั้น
ยังไม่มีจุดหมายชัดเจน จึงว่าเป็นปัญหาที่ถามคลุมตอบได้ยาก
เหมือนอย่างจะถามว่าจะสร้างอะไรจึงจะดี ซึ่งตอบได้ยาก
วางแผนและพัฒนาตลอดชีวิต พิชิตความฝันแน่
อันจุดหมายชีวิตของคนนั้นมีต่างๆกัน และภาพชีวิตที่ทุกคนวาดไว้
เมื่อตอนเป็นเด็ก หรือในวัยรุ่น กับชีวิตจริงเมื่ออายุ 60 อาจต่างกันมาก
ทุกคนขณะอยู่ในวัยเด็กหรือในวัยรุ่น อาจจะวาดภาพชีวิตอนาคตตนเอง
ไว้ด้วยตน หรือบางทีผู้ใหญ่ช่วยคิดแนะนำให้ โดยปกติก็ต้องสังเกตดู
สติปัญญา ความถนัด ความชอบ และต้องพิจารณาถึงกำลังสนับสนุนต่างๆ
ตลอดถึงอัธยาศัย นิสัย การศึกษาตั้งแต่ในเบื้องต้น คือ ประถมศึกษา
กับมัธยมศึกษา ตลอดไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เป็นเครื่องช่วยชี้บอก
ได้ว่าทางอนาคตจะไปได้อย่างไร
ผู้ที่มีพื้นสติปัญญาต่ำ เรียนได้แค่ประถมศึกษา ก็จะต้องไปทำงาน
ด้านใช้กำลังกายมากกว่าใช้สมอง แต่เมื่อจับอาชีพถูกทาง มีความขยัน
หมั่นเพียร รู้จักเก็บหอมรอมริบ ก็อาจตั้งตัวได้ดีเหมือนกัน ผู้ที่มี
สติปัญญาปานกลางเรียนได้จบมัธยมศึกษา หรือเรียนจบทางการช่างต่างๆ
เป็นต้น ก็สามารถทำงานใช้วิชาได้บ้าง เมื่อตั้งใจทำงานให้ดีและ
ประพฤติตนดีดังกล่าว ก็ตั้งตนได้ตามสภาพ ส่วนผู้ที่มีสติปัญญาดี ทั้งมี
ปัจจัยสนับสนุนเรียนสำเร็จอุดมศึกษาทางใดทางหนึ่ง จะสามารถ
ทำงานได้ประณีตกว่า อาจตั้งตนได้ดีมาก
แต่ความสำเร็จผลอย่างดีนั้น นอกจากต้องอาศัยกำลังสติปัญญาวิชาความรู้
ดังกล่าว ยังต้องอาศัยปัจจัยอุปถัมภ์อย่างอื่นอีก ฉะนั้น
คนที่บรรลุความสำเร็จ เช่น เป็นพ่อค้าใหญ่ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เป็นชาวนาชาวสวนที่มีฐานะมั่นคง เป็นต้น จึงมิใช่เป็นผู้ที่มาจาก
มหาวิทยาลลัย จากวิทยาลัยเทคนิค หรือจากโรงเรียนมัธยมเสมอไป
ใครจะถึงความสำเร็จแค่ไหน เพียงไหนนั้น เมื่อได้ผ่านบางตอน
ของชีวิตไปแล้ว ก็พอจะคิดคาดคะเนเอาได้ว่า จะไปได้สูงเพียงไหน
เว้นแต่มีเหตุพิเศษทั้งในด้านสนับสนุนทั้งในด้านตัดรอน
ประสบการณ์ชีวิต ทำให้คนมีความคิดเห็น ต่างกัน
ชีวิตนี้ต้องการอะไร? อาจจะเป็นปัญหาเดียวกับปัญหาที่ว่า
ควรจะวาดภาพชีวิตอนาคตอย่างไร หรืออาจจะต่างกันก็ได้
สุดแต่ความประสงค์ของผู้ถาม อาจจะมุ่งถึงผลทางวัตถุ
หรือทางโลกทั่วๆไปก็ได้ อาจจะหมายถึงผลที่พิเศษไปกว่านั้นก็ได้
ว่าถึงผลทางวัตถุ หรือทางโลกทั่วๆไป ทุกคนก็น่าจะมีทางของตน
หรือมีความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการเรียน อาชีพการงานเป็นต้น
แต่ถ้าหมายถึงผลที่พิเศษไปกว่านั้นก็น่าคิด นอกจากสิ่งต่างๆ
ที่เป็นบุคคล เป็นวัตถุ เป็นชื่อเสียง เป็นต้น ที่โลกต้องการแล้ว
ชีวิต และเหตุการณ์ของชีวิต ทำให้คนมีความเห็นต่อชีวิตต่างๆกัน
บางคนรื่นเริงยินดีอยู่กับชีวิต มักจะเป็นคนวัยรุ่น กำลังมีร่างกาย
เจริญเติบโต มองเห็นอะไรในโลกยิ้มแย้มแช่มชื่นไปทั้งนั้น
บางคนระทมอยู่กับชีวิต จนถึงคิดหนีชีวิตก็มี เพราะความไม่สมหวังน้อยหรือมาก
บางคนก็ดูเฉยๆต่อชีวิต แต่มิใช่เฉยเพราะรู้สัจจะของชีวิต หากเฉยๆ
เพราะไม่รู้ ทั้งไม่ต้องการที่จะศึกษาเพื่อรู้ จึงอยู่ไปทำไปตามเคยวันหนึ่งๆ
โดยมากน่าจะอยู่ในลักษณะนี้ ไม่สู้จะเป็นสุขหรือทุกข์อะไรมากนัก
เพราะไม่อยากจะคิดรู้อะไรมากนัก หรือเพราะไม่มีอะไรจะทำให้เป็นสุข
หรือเป็นทุกข์มากนัก สรุปลงว่า ยินดีต่อชีวิตบ้าง ยินร้ายต่อชีวิตบ้าง
หลงงมงายเช่นที่มีความเฉยๆ เพราะไม่รู้ดังกล่าวบ้าง
คนทั่วๆไปย่อมเป็นดังนี้ จะต้องพบทั้งความยินดี ยินร้าย ทั้งความหลง
ในชีวิต จะต้องพบกับทั้งสุง ทั้งทุกข์ ทั้งได้ ทั้งเสีย
รู้เท่าทันโลกในชีวิตจริง จะไม่แพ้โลก
ว่าถึงชาวโลกทั่วไป เมื่อได้มีประสบการณ์จากโลกทั้ง 2 ด้านแล้ว
จึงจะรู้จักโลกดีขึ้น แต่ก็มีอยู่ 2 จำพวกเหมือนกันคือ
พวกหนึ่ง แพ้โลก คือ ต้องเป็นทุกข์น้อยหรือมาก ไม่สามารถจะแก้ทุกข์ได้
คล้ายกับรอให้โลกช่วย คือ ให้เหตุการณ์ข้างดีตามที่ปรารถนาเกิดขึ้น
อีกพวกหนึ่งไม่แพ้โลก คือ ไม่ยอมเป็นทุกข์ ถึงจะต้องเป็นทุกข์บ้าง
อย่างสามัญชนก็ไม่ยอมให้เป็นมากหรือเป็นนานนัก พยายามแก้ทุกข์
ไม่ต้องรอให้เหตุการณ์ข้างดีที่ปรารถนาต้องการเกิดช่วย ซึ่งเป็นการ
ไม่แน่ แต่ทำความรู้จักโลกนั่นแหละให้ดีขึ้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรง
สั่งสอนไว้ เช่นว่า "สูลงมาดูโลกนี้...ที่พวกคนเขลาติดอยู่
แต่ผู้รู้...หาข้อง ...อยู่ไม่"
คือ ศึกษาทำความรู้ชนิดที่ไม่ติดข้องให้เกิดขึ้น ปล่อยโลกให้เป็นไป
ตามวิถีของโลก เหมือนอย่างไม่คิดถึงดวงอาทิตย์ให้หยุดหรือให้กลับ
ซึ่งเป็นไปไม่ได้
หน้าที่ของบุคคลคือ ดึงใจให้หยุด หรือให้กลับจากกิเลสและความทุกข์
ให้ดำเนินไปในทางที่ดี ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ชีวิตและโลก
ดังนั้น คนเราจึงต้องพบชีวิต หมายถึง เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
แก่ชีวิตตามที่ปรารถนาไว้ก็มี ที่มิได้ปรารถนาก็มี
http://www.tairomdham.net/index.php?topic=5691.0
ชีวิตนี้ต้องการอะไร? อาจจะเป็นปัญหาเดียวกับปัญหาที่ว่า
ควรจะวาดภาพชีวิตอนาคตอย่างไร หรืออาจจะต่างกันก็ได้
สุดแต่ความประสงค์ของผู้ถาม อาจจะมุ่งถึงผลทางวัตถุ
หรือทางโลกทั่วๆไปก็ได้ อาจจะหมายถึงผลที่พิเศษไปกว่านั้นก็ได้
ว่าถึงผลทางวัตถุ หรือทางโลกทั่วๆไป ทุกคนก็น่าจะมีทางของตน
หรือมีความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการเรียน อาชีพการงานเป็นต้น
แต่ถ้าหมายถึงผลที่พิเศษไปกว่านั้นก็น่าคิด นอกจากสิ่งต่างๆ
ที่เป็นบุคคล เป็นวัตถุ เป็นชื่อเสียง เป็นต้น ที่โลกต้องการแล้ว
ชีวิต และเหตุการณ์ของชีวิต ทำให้คนมีความเห็นต่อชีวิตต่างๆกัน
บางคนรื่นเริงยินดีอยู่กับชีวิต มักจะเป็นคนวัยรุ่น กำลังมีร่างกาย
เจริญเติบโต มองเห็นอะไรในโลกยิ้มแย้มแช่มชื่นไปทั้งนั้น
บางคนระทมอยู่กับชีวิต จนถึงคิดหนีชีวิตก็มี เพราะความไม่สมหวังน้อยหรือมาก
บางคนก็ดูเฉยๆต่อชีวิต แต่มิใช่เฉยเพราะรู้สัจจะของชีวิต หากเฉยๆ
เพราะไม่รู้ ทั้งไม่ต้องการที่จะศึกษาเพื่อรู้ จึงอยู่ไปทำไปตามเคยวันหนึ่งๆ
โดยมากน่าจะอยู่ในลักษณะนี้ ไม่สู้จะเป็นสุขหรือทุกข์อะไรมากนัก
เพราะไม่อยากจะคิดรู้อะไรมากนัก หรือเพราะไม่มีอะไรจะทำให้เป็นสุข
หรือเป็นทุกข์มากนัก สรุปลงว่า ยินดีต่อชีวิตบ้าง ยินร้ายต่อชีวิตบ้าง
หลงงมงายเช่นที่มีความเฉยๆ เพราะไม่รู้ดังกล่าวบ้าง
คนทั่วๆไปย่อมเป็นดังนี้ จะต้องพบทั้งความยินดี ยินร้าย ทั้งความหลง
ในชีวิต จะต้องพบกับทั้งสุง ทั้งทุกข์ ทั้งได้ ทั้งเสีย
รู้เท่าทันโลกในชีวิตจริง จะไม่แพ้โลก
ว่าถึงชาวโลกทั่วไป เมื่อได้มีประสบการณ์จากโลกทั้ง 2 ด้านแล้ว
จึงจะรู้จักโลกดีขึ้น แต่ก็มีอยู่ 2 จำพวกเหมือนกันคือ
พวกหนึ่ง แพ้โลก คือ ต้องเป็นทุกข์น้อยหรือมาก ไม่สามารถจะแก้ทุกข์ได้
คล้ายกับรอให้โลกช่วย คือ ให้เหตุการณ์ข้างดีตามที่ปรารถนาเกิดขึ้น
อีกพวกหนึ่งไม่แพ้โลก คือ ไม่ยอมเป็นทุกข์ ถึงจะต้องเป็นทุกข์บ้าง
อย่างสามัญชนก็ไม่ยอมให้เป็นมากหรือเป็นนานนัก พยายามแก้ทุกข์
ไม่ต้องรอให้เหตุการณ์ข้างดีที่ปรารถนาต้องการเกิดช่วย ซึ่งเป็นการ
ไม่แน่ แต่ทำความรู้จักโลกนั่นแหละให้ดีขึ้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรง
สั่งสอนไว้ เช่นว่า "สูลงมาดูโลกนี้...ที่พวกคนเขลาติดอยู่
แต่ผู้รู้...หาข้อง ...อยู่ไม่"
คือ ศึกษาทำความรู้ชนิดที่ไม่ติดข้องให้เกิดขึ้น ปล่อยโลกให้เป็นไป
ตามวิถีของโลก เหมือนอย่างไม่คิดถึงดวงอาทิตย์ให้หยุดหรือให้กลับ
ซึ่งเป็นไปไม่ได้
หน้าที่ของบุคคลคือ ดึงใจให้หยุด หรือให้กลับจากกิเลสและความทุกข์
ให้ดำเนินไปในทางที่ดี ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ชีวิตและโลก
ดังนั้น คนเราจึงต้องพบชีวิต หมายถึง เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
แก่ชีวิตตามที่ปรารถนาไว้ก็มี ที่มิได้ปรารถนาก็มี
อยากได้ในสิ่งที่ปรารถนา
อย่าลืมเตรียมใจพบความผิดหวัง
ว่าถึงปัญหาที่ว่า คนเราควรจะวาดภาพชีวิต
อนาคตของตนอย่างไรหรือจะให้ชีวิตเป็นอย่างไร
ถ้าตอบตามวิถีชีวิตทั่วไป ก็คงจะว่า จะให้เป็น
ชีวิตที่บริบูรณ์ด้วยผลตามที่ปรารถนากัน
ทางโลกทั่วไปนี้แหละ รวมเข้าก็คือ ลาภ ยศ
สรรเสริญ สุข อันเรียกว่า โลกธรรม
(ธรรมคือเรื่องของโลก) ส่วนที่น่าปรารถนาพอใจ
แต่ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ชีวิตจะต้องพบส่วนที่
ไม่ได้ปรารถนาอีกด้วย คือ ส่วนที่ตรงกันข้าม
รวมเข้าก็คือ ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
ชีวิตของทุกคนจะต้องพบกับโลกธรรมทั้ง 2 ฝ่ายนี้อยู่ด้วยกัน
คำว่า โลกธรรม พูดง่ายๆ ก็คือ ธรรมดาโลก เพราะขึ้นชื่อว่า
โลก ย่อมมีธรรมดา เป็นความได้ ความเสีย หรือ
ความทุกข์เช่นนั้น ส่งที่ได้มาบางทีรู้สึกว่าให้ความสุขมาก
เหลือเกิน แต่สิ่งนั้นเองกลับให้ความทุกข์มากก็มี
อย่ายินดีในสุขจนเกินไป
อย่ายินร้ายในทุกข์จนระทมตรมตรอม
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสชี้ให้เห็นทุกข์ไว้ก่อน
ดังเช่นเมื่อมีเทพมากล่าวคาถา แปลความว่า
"ผู้มีบุตรย่อมบันเทิงเพราะบุตร ผู้มีโคย่อมบันเทิง
เพราะโค นรชนย่อมบันเทิงเพราะทรัพย์สมบัติ
ผู้ไม่มีทรัพย์ย่อมไม่บันเทิง"
พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก้ว่า "ผู้มีบุตรย่อมโศกเพราะบุตร
ผู้มีโคย่อมโศกเพราะโค นรชนย่อมโศกเพราะทรัพย์สมบัติ
ผู้ไม่มีทรัพย์สมบัติ (เป็นเหตุอก่อกิเลส) ย่อมไม่โศก"
คำของเทวดากล่าวได้ว่า เป็นภาษิตทางโลก เพราะ
โลกทั่วไปย่อมเห็นดังนั้น ส่วนคำพระพุทธเจ้า กล่าวได้ว่า
เป็นภาษิตทางธรรม แต่ก็เป็นความจริง เพราะเป็น
ธรรมดาโลก ที่จะต้องพบทั้งสุขและทุกข์ ที่แม้เกิดจาก
สิ่งเดียวกัน
ฉะนั้น ทุกๆคน ผู้ต้องการโลก คือ ปรารถนาจะได้สิ่งที่
น่าปรารถนา หรือต้องการที่จะให้เป็นไปตามปรารถนา
ก็ควรต้องการธรรมอีกส่วนหนึ่งที่จะเป็นเครื่องช่วยรักษา
ตนทั้งในคราวได้ ทั้งในคราวเสีย
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชึวิตของทุกๆคน
ตรงจุดนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้พิจารณาว่า
สุขหรือทุกข์ข้อนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
เมื่อพิจารณาอยู่ดังนี้จนเกิดปัญญาเห็นจริง สุขหรือทุกข์นั้นๆ
ก็จะไม่ตั้งครอบงำจิตอยู่ได้ ผู้ที่มีปัญญาพิจารณาเห็นจริง
อยู่ดังนั้น จะไม่ยินดีในเพราะสุข จะไม่ยินร้ายในเพราะทุกข์นั้นๆ
ความสงบจิตซึ่งเป็นความสุขจะมีได้ด้วยวิธีนี้
อย่าลืมเตรียมใจพบความผิดหวัง
ว่าถึงปัญหาที่ว่า คนเราควรจะวาดภาพชีวิต
อนาคตของตนอย่างไรหรือจะให้ชีวิตเป็นอย่างไร
ถ้าตอบตามวิถีชีวิตทั่วไป ก็คงจะว่า จะให้เป็น
ชีวิตที่บริบูรณ์ด้วยผลตามที่ปรารถนากัน
ทางโลกทั่วไปนี้แหละ รวมเข้าก็คือ ลาภ ยศ
สรรเสริญ สุข อันเรียกว่า โลกธรรม
(ธรรมคือเรื่องของโลก) ส่วนที่น่าปรารถนาพอใจ
แต่ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ชีวิตจะต้องพบส่วนที่
ไม่ได้ปรารถนาอีกด้วย คือ ส่วนที่ตรงกันข้าม
รวมเข้าก็คือ ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
ชีวิตของทุกคนจะต้องพบกับโลกธรรมทั้ง 2 ฝ่ายนี้อยู่ด้วยกัน
คำว่า โลกธรรม พูดง่ายๆ ก็คือ ธรรมดาโลก เพราะขึ้นชื่อว่า
โลก ย่อมมีธรรมดา เป็นความได้ ความเสีย หรือ
ความทุกข์เช่นนั้น ส่งที่ได้มาบางทีรู้สึกว่าให้ความสุขมาก
เหลือเกิน แต่สิ่งนั้นเองกลับให้ความทุกข์มากก็มี
อย่ายินดีในสุขจนเกินไป
อย่ายินร้ายในทุกข์จนระทมตรมตรอม
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสชี้ให้เห็นทุกข์ไว้ก่อน
ดังเช่นเมื่อมีเทพมากล่าวคาถา แปลความว่า
"ผู้มีบุตรย่อมบันเทิงเพราะบุตร ผู้มีโคย่อมบันเทิง
เพราะโค นรชนย่อมบันเทิงเพราะทรัพย์สมบัติ
ผู้ไม่มีทรัพย์ย่อมไม่บันเทิง"
พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก้ว่า "ผู้มีบุตรย่อมโศกเพราะบุตร
ผู้มีโคย่อมโศกเพราะโค นรชนย่อมโศกเพราะทรัพย์สมบัติ
ผู้ไม่มีทรัพย์สมบัติ (เป็นเหตุอก่อกิเลส) ย่อมไม่โศก"
คำของเทวดากล่าวได้ว่า เป็นภาษิตทางโลก เพราะ
โลกทั่วไปย่อมเห็นดังนั้น ส่วนคำพระพุทธเจ้า กล่าวได้ว่า
เป็นภาษิตทางธรรม แต่ก็เป็นความจริง เพราะเป็น
ธรรมดาโลก ที่จะต้องพบทั้งสุขและทุกข์ ที่แม้เกิดจาก
สิ่งเดียวกัน
ฉะนั้น ทุกๆคน ผู้ต้องการโลก คือ ปรารถนาจะได้สิ่งที่
น่าปรารถนา หรือต้องการที่จะให้เป็นไปตามปรารถนา
ก็ควรต้องการธรรมอีกส่วนหนึ่งที่จะเป็นเครื่องช่วยรักษา
ตนทั้งในคราวได้ ทั้งในคราวเสีย
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชึวิตของทุกๆคน
ตรงจุดนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้พิจารณาว่า
สุขหรือทุกข์ข้อนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
เมื่อพิจารณาอยู่ดังนี้จนเกิดปัญญาเห็นจริง สุขหรือทุกข์นั้นๆ
ก็จะไม่ตั้งครอบงำจิตอยู่ได้ ผู้ที่มีปัญญาพิจารณาเห็นจริง
อยู่ดังนั้น จะไม่ยินดีในเพราะสุข จะไม่ยินร้ายในเพราะทุกข์นั้นๆ
ความสงบจิตซึ่งเป็นความสุขจะมีได้ด้วยวิธีนี้
ศึกษาทั้ง 2 ด้านของชีวิตผ่านโลก
ปัญญาเกิดได้ เพราะเข้าใจโลก
ทั้งด้านสุข และด้านทุกข์
พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ แปลความว่า
"ความโศกย่อมเกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ภัยคือความกลัว ย่อมเกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจากสิ่งเป็นที่รัก
จะไม่มีความโศก ภัยจักมีแต่ที่ไหน"
พระพุทธภาษิตนี้ ดูคล้ายกับมองโลกในทางร้ายว่า
สิ่งเป็นที่รัก เป็นแหล่งเกิดความโศก และภัยเสมอ
แต่ก็เป็นความจริงที่ความโศก และภัยทุกอย่าง
เกิดจากแหล่งรักทั้งนั้น ใครก็ตามที่ได้รับความสุข
จากสิ่งเป็นที่รักเพียงอย่างเดียว ยังไม่ชื่อว่าได้พบโลก
หรือผ่านโลกทั้ง 2 ด้าน ต่อเมื่อได้รับความทุกข์
จากสิ่งเป็นที่รักอีกอย่างหนึ่ง จึงจะเชื่อได้ว่า
ได้ผ่านพบโลกครบทั้ง 2 ด้าน เป็นโอกาสที่ทำให้
รู้จักโลกดีขึ้น
ชีวิตที่ดำเนินผ่านสุขทุกข์ต่างๆในโลก หรือผ่าน
โลกที่มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ เท่ากับเป็นการศึกษาให้เกิด
เจริญปัญญาขึ้นอยู่เสมอ อาจจะมีการหลงผิดไปใน
บางคราว ก็ไม่ใช่ตลอดไปและทุกคนที่เกิดมา
ย่อมมีพื้นปัญญาที่จะเพิ่มเติมขึ้นได้เสมอ
ปัญญา จะเป็นปัญญาสมบูรณ์ขึ้นได้ ก็เพราะรู้ทั้ง 2 ด้าน
คือ รู้ทั้งสุข รู้ทั้งทุกข์ ถ้ารู้จักแต่สุข ไม่รู้จักทุกข์
ก็ยังไม่ใช่ปัญญาสมบูรณ์
คนเราจะรู้จักทุกข์ได้ ก็ต้องประสบกับความทุกข์
และดูเข้าไปที่ทุกข์ หรือดูเข้ามาที่จิตใจ
อันมีทุกข์ ว่าจิตใจนี้มีทุกข์ ดูอาการจิตใจที่มีทุกข์
ว่าเป็นอย่างไร อาการคือ แห้งผากใจ ปราศจาก
ความสดชื่น เหมือนอย่างต้นไม้เหี่ยว คร่ำครวญใจ
ด้วยความคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ไขว่คว้าในสิ่งที่สิ้นไป หายไปแล้ว เหมือนอย่างไล่จับเงา
กลัวสิ่งที่ยังอยู่ว่าจะหายไปเสีย กลัวว่าอะไรที่น่ากลัว
จะเกิดขึ้น ตรอมใจไม่มีความผาสุก คับแค้นใจ
เหมือนอย่างถูกอัดถูกบีบ
ปัญญาเกิดได้ เพราะเข้าใจโลก
ทั้งด้านสุข และด้านทุกข์
พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ แปลความว่า
"ความโศกย่อมเกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ภัยคือความกลัว ย่อมเกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจากสิ่งเป็นที่รัก
จะไม่มีความโศก ภัยจักมีแต่ที่ไหน"
พระพุทธภาษิตนี้ ดูคล้ายกับมองโลกในทางร้ายว่า
สิ่งเป็นที่รัก เป็นแหล่งเกิดความโศก และภัยเสมอ
แต่ก็เป็นความจริงที่ความโศก และภัยทุกอย่าง
เกิดจากแหล่งรักทั้งนั้น ใครก็ตามที่ได้รับความสุข
จากสิ่งเป็นที่รักเพียงอย่างเดียว ยังไม่ชื่อว่าได้พบโลก
หรือผ่านโลกทั้ง 2 ด้าน ต่อเมื่อได้รับความทุกข์
จากสิ่งเป็นที่รักอีกอย่างหนึ่ง จึงจะเชื่อได้ว่า
ได้ผ่านพบโลกครบทั้ง 2 ด้าน เป็นโอกาสที่ทำให้
รู้จักโลกดีขึ้น
ชีวิตที่ดำเนินผ่านสุขทุกข์ต่างๆในโลก หรือผ่าน
โลกที่มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ เท่ากับเป็นการศึกษาให้เกิด
เจริญปัญญาขึ้นอยู่เสมอ อาจจะมีการหลงผิดไปใน
บางคราว ก็ไม่ใช่ตลอดไปและทุกคนที่เกิดมา
ย่อมมีพื้นปัญญาที่จะเพิ่มเติมขึ้นได้เสมอ
ปัญญา จะเป็นปัญญาสมบูรณ์ขึ้นได้ ก็เพราะรู้ทั้ง 2 ด้าน
คือ รู้ทั้งสุข รู้ทั้งทุกข์ ถ้ารู้จักแต่สุข ไม่รู้จักทุกข์
ก็ยังไม่ใช่ปัญญาสมบูรณ์
คนเราจะรู้จักทุกข์ได้ ก็ต้องประสบกับความทุกข์
และดูเข้าไปที่ทุกข์ หรือดูเข้ามาที่จิตใจ
อันมีทุกข์ ว่าจิตใจนี้มีทุกข์ ดูอาการจิตใจที่มีทุกข์
ว่าเป็นอย่างไร อาการคือ แห้งผากใจ ปราศจาก
ความสดชื่น เหมือนอย่างต้นไม้เหี่ยว คร่ำครวญใจ
ด้วยความคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ไขว่คว้าในสิ่งที่สิ้นไป หายไปแล้ว เหมือนอย่างไล่จับเงา
กลัวสิ่งที่ยังอยู่ว่าจะหายไปเสีย กลัวว่าอะไรที่น่ากลัว
จะเกิดขึ้น ตรอมใจไม่มีความผาสุก คับแค้นใจ
เหมือนอย่างถูกอัดถูกบีบ
ฝึกมองให้ชัดว่า จะสุขจะทุกข์ก็เป็นอาการชั่วคราว
อาการใจเหล่านี้ แสดงออกมาให้เห็นทางกาย
อันเป็นเรือนอาศัยของจิตใจ
อวัยวะทางกายที่บอกใจอย่างดีที่สุด คือ ดวงตา
และสีหน้า ดวงตาจะเศร้า สีหน้าจะหมอง
ร่างกายทั่วไปจะซูบ อาการทางกายเหล่านี้
กล่าวได้ว่าเป็นผลพลอยเสีย...
ดูอาการจิตใจที่มีทุกข์ว่าเป็นอย่างนี้ๆดูให้เห็นชัด
ให้คล้ายกับส่องกระจกเห็นเงาหน้าของตนชัดเจน
เมื่อดูจนเห็นแล้วก็ศึกษา คือ พยายามค้นหาความจริง
ในจิตใจของตนเองต่อไปว่า ความทุกข์ที่ประสบนี้
เป็นอาการประจำหรือเป็นอาการจร เทียบอย่าง
เป็นโรคประจำ หรือ เป็นโรคจร มีอะไรเป็นเหตุสมุฎฐาน
และเมื่อค้นหาความจริงเช่นนี้ก็จะเห็นว่า เป็นอาการจร
เพราะแต่ก่อนนั้นไม่เคยมี เคยเป็น เคยมีแต่อาการ
ที่เป็นความสุขอันตรงกันข้าม
ถึงอาการที่เป็นความสุขก็เหมือนกัน คือ เป็นอาการจร
เพราะแต่ก่อนนั้นก็ไม่เคยมีเคยเป็น ได้แก่ เมื่อเป็นเด็กนั้น
ยังไม่มีอาการจิตใจเช่นนี้ มาเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อย่างเข้า
ดรุณวัย เริ่มมีสิ่งเป็นที่รักขึ้น ตั้งแต่หนึ่งสิ่ง สองสิ่ง
สามสิ่ง เป็นต้น เมื่อศึกษาจิตใจของตนเองไป ดังนี้
ก็จักได้พบสัจจะขึ้นสมจริงตามพระพุทธพยากรณ์
นี้แหละเป็นเหตุเป็นสมุฎฐาน
การหัดศึกษาให้รู้จักกระบวนแห่งจิตใจของตนนั้น
เป็นข้อที่ควรทำทั้งในคราวมีสุขและในคราวมีทุกข์
เหตุแห่งสุขและทุกข์ ข้อที่สำคัญก็คือ สิ่งที่เป็นที่รัก
ในขณะที่มีสุข จะยกไว้ก่อน จะกล่าวแต่ที่มีทุกข์
ฝึกมองให้ได้ว่าทุกข์เกิดในใจ เพราะไปยึดมั่นถือมั่น
ในคราวมีทุกข์ ให้รวมจิตใจดูที่ตัวความทุกข์ที่กำลังเสวยอยู่
ดูอาการของจิตที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอย่างไร มีอาการเศร้าหมอง
อย่างไร ห่อเหี่ยวอย่างไร หมดรส หมดความสำราญอย่างไร
ดูความคิดว่า ในขณะที่จิตเป็นทุกข์เช่นนี้ จิตมีความคิดอย่างไร
จิตคิดถึงอะไร ถึงจะรู้ว่า กำลังคิดถึงเรื่องที่ทำให้ทุกข์นั่นแหละ
เพราะจิตผูกอยู่กับเรื่องนั้นมาก ความผูกจิตมีมากในเรื่องใด
ก็ดึงจิตให้คิดถึงเรื่องนั้นมากและเป็นทุกข์มาก
ฉะนั้น ความทุกข์ จึงเป็นผลตามความผูกจิต(สังโยชน์) ซึ่ง
คอยดึงจิตให้คิดไปถึงเรื่องที่ผูกไว้ในใจ
อันที่จริงเรื่องที่ผูกใจนี้ มิใช่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นที่รักเท่านั้น
ถึงสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็ผูกใจไว้เหมือนกัน จึงเกิดความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ถ้าไม่มีความผูกใจไว้เสียเลย ก็จะไม่มีทุกสิ่ง
คือ ที่รักก็ไม่มี ที่ไม่รักก็ไม่มี ตลอดถึงความยินดียินร้ายก็จะไม่มี
ตามที่กล่าวมานี้ เป็นกระบวนการทางจิต กล่าวสั้นๆ คือ
ความผูกจิตอยู่กับเรื่องอันเรียกว่า อารมณ์ ที่ทุกๆคน
ประสบพบผ่านมาทางอายตนะมีตา หู เป็นต้น และความคิด
ที่ถูกดึงให้คิดไปในเรื่องที่ผูกใจอยู่เสมอ ถ้าเป็นเรื่องของ
สิ่งที่เป็นที่รัก และไม่เป็นไปตามที่ปรารถนาต้องการ
ยิ่งคิดไปก็ยิ่งเป็นทุกข์ไป จิตครุ่นคิดไปด้วย เสวยทุกข์ไปด้วย
จึงมีคำที่กล่าวกันอยู่เสมอว่า "หยุดคิดเมื่อใด ก็หยุดทุกข์ลงเมื่อนั้น"
อาการใจเหล่านี้ แสดงออกมาให้เห็นทางกาย
อันเป็นเรือนอาศัยของจิตใจ
อวัยวะทางกายที่บอกใจอย่างดีที่สุด คือ ดวงตา
และสีหน้า ดวงตาจะเศร้า สีหน้าจะหมอง
ร่างกายทั่วไปจะซูบ อาการทางกายเหล่านี้
กล่าวได้ว่าเป็นผลพลอยเสีย...
ดูอาการจิตใจที่มีทุกข์ว่าเป็นอย่างนี้ๆดูให้เห็นชัด
ให้คล้ายกับส่องกระจกเห็นเงาหน้าของตนชัดเจน
เมื่อดูจนเห็นแล้วก็ศึกษา คือ พยายามค้นหาความจริง
ในจิตใจของตนเองต่อไปว่า ความทุกข์ที่ประสบนี้
เป็นอาการประจำหรือเป็นอาการจร เทียบอย่าง
เป็นโรคประจำ หรือ เป็นโรคจร มีอะไรเป็นเหตุสมุฎฐาน
และเมื่อค้นหาความจริงเช่นนี้ก็จะเห็นว่า เป็นอาการจร
เพราะแต่ก่อนนั้นไม่เคยมี เคยเป็น เคยมีแต่อาการ
ที่เป็นความสุขอันตรงกันข้าม
ถึงอาการที่เป็นความสุขก็เหมือนกัน คือ เป็นอาการจร
เพราะแต่ก่อนนั้นก็ไม่เคยมีเคยเป็น ได้แก่ เมื่อเป็นเด็กนั้น
ยังไม่มีอาการจิตใจเช่นนี้ มาเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อย่างเข้า
ดรุณวัย เริ่มมีสิ่งเป็นที่รักขึ้น ตั้งแต่หนึ่งสิ่ง สองสิ่ง
สามสิ่ง เป็นต้น เมื่อศึกษาจิตใจของตนเองไป ดังนี้
ก็จักได้พบสัจจะขึ้นสมจริงตามพระพุทธพยากรณ์
นี้แหละเป็นเหตุเป็นสมุฎฐาน
การหัดศึกษาให้รู้จักกระบวนแห่งจิตใจของตนนั้น
เป็นข้อที่ควรทำทั้งในคราวมีสุขและในคราวมีทุกข์
เหตุแห่งสุขและทุกข์ ข้อที่สำคัญก็คือ สิ่งที่เป็นที่รัก
ในขณะที่มีสุข จะยกไว้ก่อน จะกล่าวแต่ที่มีทุกข์
ฝึกมองให้ได้ว่าทุกข์เกิดในใจ เพราะไปยึดมั่นถือมั่น
ในคราวมีทุกข์ ให้รวมจิตใจดูที่ตัวความทุกข์ที่กำลังเสวยอยู่
ดูอาการของจิตที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอย่างไร มีอาการเศร้าหมอง
อย่างไร ห่อเหี่ยวอย่างไร หมดรส หมดความสำราญอย่างไร
ดูความคิดว่า ในขณะที่จิตเป็นทุกข์เช่นนี้ จิตมีความคิดอย่างไร
จิตคิดถึงอะไร ถึงจะรู้ว่า กำลังคิดถึงเรื่องที่ทำให้ทุกข์นั่นแหละ
เพราะจิตผูกอยู่กับเรื่องนั้นมาก ความผูกจิตมีมากในเรื่องใด
ก็ดึงจิตให้คิดถึงเรื่องนั้นมากและเป็นทุกข์มาก
ฉะนั้น ความทุกข์ จึงเป็นผลตามความผูกจิต(สังโยชน์) ซึ่ง
คอยดึงจิตให้คิดไปถึงเรื่องที่ผูกไว้ในใจ
อันที่จริงเรื่องที่ผูกใจนี้ มิใช่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นที่รักเท่านั้น
ถึงสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็ผูกใจไว้เหมือนกัน จึงเกิดความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ถ้าไม่มีความผูกใจไว้เสียเลย ก็จะไม่มีทุกสิ่ง
คือ ที่รักก็ไม่มี ที่ไม่รักก็ไม่มี ตลอดถึงความยินดียินร้ายก็จะไม่มี
ตามที่กล่าวมานี้ เป็นกระบวนการทางจิต กล่าวสั้นๆ คือ
ความผูกจิตอยู่กับเรื่องอันเรียกว่า อารมณ์ ที่ทุกๆคน
ประสบพบผ่านมาทางอายตนะมีตา หู เป็นต้น และความคิด
ที่ถูกดึงให้คิดไปในเรื่องที่ผูกใจอยู่เสมอ ถ้าเป็นเรื่องของ
สิ่งที่เป็นที่รัก และไม่เป็นไปตามที่ปรารถนาต้องการ
ยิ่งคิดไปก็ยิ่งเป็นทุกข์ไป จิตครุ่นคิดไปด้วย เสวยทุกข์ไปด้วย
จึงมีคำที่กล่าวกันอยู่เสมอว่า "หยุดคิดเมื่อใด ก็หยุดทุกข์ลงเมื่อนั้น"
หมายเหตุ ถึงพระองค์พักรักษาธาตุขันธ์ อยู่ที่โรงพยาบาลจุฬา แต่ได้ทำหน้าที่อยู่เสมอ จากบทความพระลิขิต ทางธรรมในการปกป้องและสืบทอดพระศาสนา ซึ่งไม่มีพระองค์ใดทำได้เสมอพระองค์ ในปัจจุบันและอนาคต ?
ด่วน ข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบั นพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ได้ที่https://docs.google.com/ file/d/0B_ nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit
ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุ ญบารมี
ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุ
จาก สมเกียรติ กาญจนชาติ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ