ประวัติศาสตร์ ๒๒๙ ปี เทวสถาน รักชาติคงต้องศึกษา ?
พระเทวสถาน สำหรับพระนคร(โบสถ์พราหมณ์)
เลขที่ ๒๖๘ ถ.บ้านดินสอ ( เยื้องวัดสุทัศน์ ฯ ตรงข้ามลานคนเมือง ด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร )
แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๒๒๒-๖๙๕๑ http://www.devasthan.org/
เลขที่ ๒๖๘ ถ.บ้านดินสอ ( เยื้องวัดสุทัศน์ ฯ ตรงข้ามลานคนเมือง ด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร )
แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๒๒๒-๖๙๕๑ http://www.devasthan.org/
ตามคติโบราณในการสร้างพระนครใหม่นั้น ให้สร้างเทวสถานและเสาชิงช้า เพื่อบูชาพระศิวะ ผู้ทรงประทานพร พระนารายณ์ผู้ทรงรักษา พระพรหมผู้สร้าง เมื่อจัดตั้งเทวสถานแล้วก็เป็นสถานที่จะกราบไหว้เทพเจ้าสำคัญ และการสร้างเสาชิงช้าก็เป็นคติในการทำให้บ้านเมืองแข็งแรง พิธีที่ทำให้ประเทศชาติมั่นคงตามลัทธินั้น คือ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งจะทำพิธีโล้ชิงช้าแสดงตำนานเทพเจ้าตอนสร้างโลก เมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วถือว่าการสร้างพระนคร ได้สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ เมื่อสร้างพระนครเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป
พระราชพิธีนี้ บวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร
โบสถ์พราหมณ์เทวสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โดย รณธรรม ธาราพันธุ์
1 ปฐมกำเนิดเสาชิงช้า...
กรุงเทพมหานครหรือกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงของสยามประเทศมาช้านาน นับได้แต่เริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลต้นแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์สถาปนาเมืองขึ้นที่ชัยภูมิใหม่อันอยู่ตรงข้ามกับทำเลเดิมซึ่งคือ ธนบุรี แลมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นอยู่ ครั้นสร้างพระนครในปีพุทธศักราช 2325 ล่วงแล้วได้ 2 ปี มีพราหมณ์ชาวสุโขทัยท่านหนึ่งชื่อ พราหมณ์กระต่าย กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงธรรมเนียมการสร้างพระนครว่า...
ปกติการสร้างเมืองหลวงให้เป็นอุดมมงคลย่อมต้องคำนวณฤกษ์ยามให้ถี่ถ้วน ตลอดจนบวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป
ครั้นพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลต้นทรงสดับ ก็ทรงเห็นพ้องดีงามจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนายศให้พราหมณ์กระต่ายเป็น พระครูสิทธิชัย และดำเนินการสร้างหอเทวาลัยขึ้นในปีพุทธศักราช 2327 เพื่อประดิษฐานเทวรูปมหาเทพและเพื่อประกอบพิธีต่าง ๆ ทางพราหมณ์ จากนั้นจึงดำเนินการสร้าง เสาชิงช้า ขึ้นพร้อม ๆ กับ วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยกำหนดว่า ณ วัดสุทัศน์ ฯ แลเสาชิงช้านั้นคือใจกลางพระนคร
เสาชิงช้า ถูกสร้างขึ้นในวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2329 ซึ่งแต่เดิมเสาชิงช้ามิได้ตั้งอยู่ ณ บริเวณปัจจุบัน แต่อยู่ตรงหน้าเทวสถานเลยทีเดียว หากภายหลังมีการสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้น จึงย้ายเสาชิงช้ามาตั้งไว้ยังสถานที่ดังทุกวันนี้
เสาชิงช้าเป็นไม้สักล้วนมีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานนั้นก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาวพื้นปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีเสาชิงช้าแกนกลางหนึ่งคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย
เมื่อสร้างเสาชิงช้าและเทวสถานแล้วเสร็จ ชาวพราหมณ์ที่มาจากเมืองศรีธรรมาโศกราชหรือนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับพระครูสิทธิชัย (พราหมณ์กระต่าย) ประกอบพิธีโล้ชิงช้าขึ้นเพื่อแสดงเหตุการณ์ตอนพระเจ้าสร้างโลก หมายให้พระราชพิธีนี้เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร
เมื่อทำพิธีโล้ชิงช้าเรียบร้อยแล้วจึงถือว่าการสร้างพระนครได้สำเร็จลงอย่างสมบูรณ์ จากนั้นค่อยประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป
พระราชพิธีนี้ บวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร
โบสถ์พราหมณ์เทวสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โดย รณธรรม ธาราพันธุ์
1 ปฐมกำเนิดเสาชิงช้า...
กรุงเทพมหานครหรือกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงของสยามประเทศมาช้านาน นับได้แต่เริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลต้นแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์สถาปนาเมืองขึ้นที่ชัยภูมิใหม่อันอยู่ตรงข้ามกับทำเลเดิมซึ่งคือ ธนบุรี แลมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นอยู่ ครั้นสร้างพระนครในปีพุทธศักราช 2325 ล่วงแล้วได้ 2 ปี มีพราหมณ์ชาวสุโขทัยท่านหนึ่งชื่อ พราหมณ์กระต่าย กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงธรรมเนียมการสร้างพระนครว่า...
ปกติการสร้างเมืองหลวงให้เป็นอุดมมงคลย่อมต้องคำนวณฤกษ์ยามให้ถี่ถ้วน ตลอดจนบวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป
ครั้นพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลต้นทรงสดับ ก็ทรงเห็นพ้องดีงามจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนายศให้พราหมณ์กระต่ายเป็น พระครูสิทธิชัย และดำเนินการสร้างหอเทวาลัยขึ้นในปีพุทธศักราช 2327 เพื่อประดิษฐานเทวรูปมหาเทพและเพื่อประกอบพิธีต่าง ๆ ทางพราหมณ์ จากนั้นจึงดำเนินการสร้าง เสาชิงช้า ขึ้นพร้อม ๆ กับ วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยกำหนดว่า ณ วัดสุทัศน์ ฯ แลเสาชิงช้านั้นคือใจกลางพระนคร
เสาชิงช้า ถูกสร้างขึ้นในวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2329 ซึ่งแต่เดิมเสาชิงช้ามิได้ตั้งอยู่ ณ บริเวณปัจจุบัน แต่อยู่ตรงหน้าเทวสถานเลยทีเดียว หากภายหลังมีการสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้น จึงย้ายเสาชิงช้ามาตั้งไว้ยังสถานที่ดังทุกวันนี้
เสาชิงช้าเป็นไม้สักล้วนมีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานนั้นก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาวพื้นปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีเสาชิงช้าแกนกลางหนึ่งคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย
เมื่อสร้างเสาชิงช้าและเทวสถานแล้วเสร็จ ชาวพราหมณ์ที่มาจากเมืองศรีธรรมาโศกราชหรือนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับพระครูสิทธิชัย (พราหมณ์กระต่าย) ประกอบพิธีโล้ชิงช้าขึ้นเพื่อแสดงเหตุการณ์ตอนพระเจ้าสร้างโลก หมายให้พระราชพิธีนี้เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร
เมื่อทำพิธีโล้ชิงช้าเรียบร้อยแล้วจึงถือว่าการสร้างพระนครได้สำเร็จลงอย่างสมบูรณ์ จากนั้นค่อยประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ