คัมภีร์ปราบมารอภิบาลคนดี ปกป้องสถาบันต้องศึกษา ?
หน้าที่ของเทพพรหมเทวาทั้งหลายที่จะมาทำหน้าที่อุปถัมภ์ค้ำชูทนุบำรุงสืบพระศาสนาขององค์สมณโคดม
โลกยังต้องเป็นที่บำเพ็ญของลูกหลานในอนาคตอีกมาก จะให้ถูกทำลายไปไม่ได้ พวกเขาจึงควรหาทางประหารกันด้วยวิธีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลก เช่น การฆ่ากันด้วยอาวุธทางจิตวิญญาณ ซึ่งจะดีกว่า แม้เราไม่อาจห้ามเขาไม่ให้ฆ่ากันได้ แต่เราก็ปกป้องโลกนี้ให้ยืนยาวนานได้ บทความฉบับนี้ ล่อแหลมต่อการปฏิบัติผิดทางก็จริง แต่เชื่อว่าไม่ผิดปกติของกลียุค ที่จะเผยแพร่บทความเช่นนี้
ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ได้ที่ https://docs.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit
ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุญบารมี ถวายสมเด็จพระสังฆราช ครับ
การบำเพ็ญธรรมแบบพราหมณ์
ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อนิพพาน แต่มีจุดประสงค์เพื่อการเป็นสาวกที่ดีและศาสดาที่ดีในอนาคต
หรือก็คือ การบำเพ็ญของเหล่าพระโพธิสัตว์นั่นเอง ทั้งนี้
ก่อนจะเข้าถึงการบำเพ็ญธรรมของพราหมณ์ ขออธิบายการบำเพ็ญธรรมสามรูปแบบ
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจร่วมกันเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
๑) การบำเพ็ญเพื่อนิพพาน
เป็นการบำเพ็ญธรรมของมนุษย์ในช่วงธรรมกาลของพระพุทธศาสนา
(ช่วงที่โลกยังมีศาสนาพุทธ) ซึ่งจะอยู่ในช่วงที่มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ย ๑๐๐ ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี ปัจจุบัน
มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยลดลง ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี มีกรรมมาก มีความยากที่จะบรรลุนิพพานได้
แต่พุทธศาสนาก็ยังไม่สูญสิ้นไปจากโลกมนุษย์ จึงจัดอยู่ในโลกยุคพิเศษ ดังนั้น
การบำเพ็ญธรรมเพื่อนิพพาน ก็สามารถทำได้เพราะยังอยู่ในธรรมกาลของพุทธศาสนา
แต่จะได้มรรคผลนิพพานก็ในกลุ่มคนที่มีกรรมน้อย
ชดใช้กรรมได้หมดทันก่อนอายุขัยดับเท่านั้นเอง ในกลุ่มคนกลุ่มอื่นๆ
จำต้องบำเพ็ญธรรมแบบอื่นแทน
๒) การบำเพ็ญเพื่ออายุยืนยาวเป็นอำมตะ
เป็นการบำเพ็ญธรรมของนักพรตจีนโบราณ นักพรตเต๋า และโยคีโบราณ เป็นส่วนใหญ่
ที่มุ่งเน้นร่างกายมากกว่าจิตใจ โดยไม่ละเลยเรื่องจิตวิญญาณ
การบำเพ็ญจึงเป็นการปฏิบัติทางจิตวิญญาณเพื่อร่างกายเนื้อที่มีอายุขัยยืนนานนั่นเอง
ได้แก่ การบำเพ็ญโยคะ การบำเพ็ญด้านลมปราณ ฯลฯ การบำเพ็ญแบบนี้
มักเกิดในยุคที่มนุษย์มีอายุขัยต่ำกว่า ๑๐๐ ปี
เพราะอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์มีน้อยเกินกว่าจะเล่าเรียนปฏิบัติธรรมให้เจนจบได้
จึงต้องอาศัยวิธีการทางโยคะเพื่อยืดอายุขัยของบุคคลผู้ศึกษาเล่าเรียนนั่นเอง
บางท่านที่บำเพ็ญสำเร็จ สามารถมีอายุยืนนานได้เป็นหมื่นปี ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรเลย
เพราะมนุษย์นั้นสามารถยืดอายุได้เป็นแสนปีอยู่แล้ว ในยุคที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
ก็อยู่ระหว่าง ๑๐๐ ปี ถึง ๑๐๐,๐๐๐
ปี เป็นปกติ แต่ทว่า มนุษย์ทุกคนย่อมมีอนิจจัง ถึงวันแตกดับ ดังนั้น
แม้จะยืดอายุได้ แต่ก็ต้องตายในวันหนึ่งอยู่ดี ตัวอย่างนักปฏิบัติธรรมแนวนี้ เช่น
หลวงปู่เทพโลกอุดร, หลวงปู่ละมัย เป็นต้น
๓) การบำเพ็ญเพื่อสลายกายทิพย์สู่สวรรค์
เป็นการบำเพ็ญธรรมของนักปฏิบัติจิต ปฏิบัติสมาธิขั้นสูง
ที่มุ่งเน้นบำเพ็ญบารมีเพื่อพุทธภูมิ แล้ววางแผนการตายไปจุติยังภพภูมิที่ต้องการได้
ปกติ ภพภูมิที่นิยมกำหนดเพื่อสลายกายทิพย์ไปจุติก็คือ “สุขาวดีพุทธเกษตร” บางท่านก็พุ่งจิตไปจุติใหม่ยังแดนนิพพานก็มี แต่ในกรณีนี้
จะไม่หมดสิ้นชาติภพเหมือนการบำเพ็ญเพื่อนิพพานโดยตรง กล่าวคือ จุติไปเกิดใหม่
เมื่อหมดวาระผลบุญก็จุติลงมาเกิดใหม่บนโลกมนุษย์อีก
การบำเพ็ญแบบนี้พบในพุทธศาสนานิกาย “สุขาวดี” ในพระลามะทิเบตที่มุ่งปรารถนาพุทธภูมิทั้งหลาย
และในนักปฏิบัติสายมโนมยิทธิ ที่เน้นการบำเพ็ญเพียรสร้างบุญ
แล้วนั่งสมาธิกำหนดจิตไปแดนนิพพานจนเคยชิน
เมื่อตายลงจิตนิมิตเห็นแดนนิพพานก็จุติเกิดใหม่ที่แดนนิพพานทันที
เพราะนิพพานแท้นั้นไม่มีนิมิต แต่การบำเพ็ญแบบนี้ มีนิมิตนำ
จึงทำให้ไปเกิดยังแดนนิพพาน ทั้งยังสามารถกลับมาจุติใหม่
เพื่อบำเพ็ญตามความปรารถนาพุทธภูมิได้อีก ไม่ใช่นิพพานแท้ๆ
ตัวอย่างผู้ปฏิบัติธรรมแนวนี้ เช่น พระอรหันต์ชินปัญจระ, พระอมิตาภพุทธเจ้า
สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อนิพพานนั้น ผู้เขียนได้แนะนำแนวทางไว้มากมายแล้ว
บทความฉบับหลังๆ จะขอกล่าวถึงแนวทางในการบำเพ็ญธรรมเพื่อพุทธภูมิ
หรือการบำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้ในภายหลังที่ได้ฉุดช่วยเวไนยสัตว์บ้าง
จะขอกล่าวถึงการบำเพ็ญแนวพราหมณ์ เพื่อพลังความสามารถพิเศษ ที่จะนำไปใช้ในการโปรดสัตว์
ปราบมาร และการบำเพ็ญเพียรที่มุ่งเน้น อิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์ ต่อไป
อันจะเหมาะสมกับยุคสมัยดังกล่าวข้างต้นดังนี้
ในกลุ่มคนที่ปฏิบัติโยคะ หรือปฏิบัติสายพราหมณ์
อย่าที่เราเคยเห็นในวรรณะคดีเรื่องรามเกียรติ์
จะเห็นได้ว่ามีฤษีมากมายที่บำเพ็ญจนได้รับพลังและของทิพย์วิเศษ เช่น นิ้วเพชร
ที่ชี้เป็นชี้ตายผู้อื่นได้ แล้วเกิดหลงในอิทธิฤทธิ์ของตน
กลายเป็นยักษ์มารและถูกปราบในที่สุด นี่คือ
วรรณคดีที่อธิบายเป็นนิทานเพื่อให้เกิดความเข้าใจเป็นเบื้องต้น อันที่จริงก็ไม่ต่างจากความจริงนัก
มนุษย์สามารถบำเพ็ญเพียรทางจิต จนรับพลังพิเศษจากจักรวาลได้ อันอาจมาจากเทพ, มหาเทพ, พระอรหันต์,
พระโพธิสัตว์, พระพุทธเจ้า ฯลฯ
ได้ตามบุญวาสนาที่ตนได้ทำมา (ถ้าไม่มีบุญกรรมที่ทำไว้ก่อน
ก็ไม่มีเทพเทวดาองค์ใดจะประทานสิ่งวิเศษให้ได้ เพราะจะละเมิดกฎแห่งกรรม)
พลังพิเศษเหล่านี้ ถูกเรียกว่า “พลังจักรวาล” ในกลุ่มผู้ศึกษาวิชชาพลังจักรวาล ซึ่งเพิ่งมารื้อฟื้นและค้นพบใหม่อีกครั้ง
จึงนึกว่าเป็นเรื่องใหม่ หรือของใหม่ อันที่จริง สิ่งเหล่านี้มีมานานแล้ว
ก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้เสียอีก พลังทิพย์ชนิดต่างๆ ที่พอจะจำแนกได้
มีดังต่อไปนี้
๑) พลังการทำนายของพระพรหม
พรหมที่อยู่ในพรหมโลก เป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติพิเศษทางจิต
ที่เหนือกว่าเทวดาทั่วไป คือ ความสามารถในการหยั่งรู้และทำนายทายทัก
พร้อมเมตตาบารมี ซึ่งในหมู่พรหมมีมาก ทำให้เกิดความน่าเลื่อมใสศรัทธาของผู้ฟัง ผู้ที่ได้รับพลังนี้
จะมีความสามรถพิเศษในการหยั่งรู้ทำนายทายทักอนาคตผู้อื่น
ทั้งยังได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากคนทั่วไปตามกำลังของพลังที่ได้รับ
มีลักษณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน คือ การทรงเจ้า ทรงองค์พรหม
สำหรับกลุ่มคนทรงเจ้าที่เป็นคนทรงจริงไม่หลอกลวง ปัจจุบันสามารถสัมภาษณ์พูดคุย
และทดสอบ พิสูจน์ความแม่นยำของการทำนายได้
๒) พลังการรักษาโรคของเทพเซียน
เทพเซียนบางองค์
มีความรู้และความสามารถที่ได้บำเพ็ญเพียรมาทางด้านการรักษาโรค เช่น
ท่านชีวกโกมารภัทร (หมอประจำตัวของพระพุทธเจ้า), เซียนองค์ที่สามในโป๊ยเซียน (เคยสำรวจพบท่านประทับทรงรักษาโรคให้คนป่วย),
พระอรหันต์จี้กง (ในอดีตชาติเคยใช้ขี้ไคล รักษาโรคให้คนป่วย) ฯลฯ
สำหรับท่านที่ฝึกจิตจนได้รับพลังในการรักษาโรค
ก็จะสามารถใช้พลังนี้ในการรักษาผู้ป่วยได้ ตามกำลังความสามารถที่ได้รับพลังนั้นๆ
มา คือ ถ้าได้รับพลังมามาก ใช้ได้มาก ก็รักษาโรคให้คนได้มาก
ได้ถึงขั้นโรคที่รักษาในโรงพยาบาลไม่หายก็สามารถรักษาให้หายได้
คนที่ได้รับพลังในการรักษานี้ ส่วนมากจะถูกเลือกแล้วว่าให้บำเพ็ญในด้านนี้ได้
ไม่กระทบกฎแห่งกรรม
๓) พลังในการปราบไสยเวทย์มนต์ดำ
เป็นพลังของเทพ, มหาเทพ
หรือพระโพธิสัตว์ที่เคยบำเพ็ญเพียรด้านการปราบมารมาแล้ว เช่น พระอวโลกิเตศวร,
พระศรีอาริยเมตตรัย, พระนาราย เป็นต้น
พลังเหล่านี้มีความแตกต่างกัน เช่น พลังของพระอวโลกิเตศวร ภาคต๊กม้อ
ค่อนข้างมีรุนแรงและไม่ยั้งมือ กล่าวคือ มารอาจตายไม่รอดได้
สำหรับพลังของพระศรีอาริยเมตตรัย จะไม่รุนแรงสามารถยั้งมือเพื่อเจรจาให้กลับตัวกลับใจได้
ส่วนพลังของพระนารายจะรุนแรงรบแล้วต้องชนะ คือ มารตายสถานเดียว
ซึ่งเป็นพลังปราบมารที่รุนแรงที่สุด เสี่ยงต่อการก่อกรรมมากที่สุด
เพราะใช้การรบให้ชนะเพื่อปราบมารนั่นเอง ปัจจุบัน
การบำเพ็ญของเหล่าเทพและโพธิสัตว์ก้าวหน้าไปมาก
จึงมักหาวิธีการลงมือที่ไม่รุนแรงเป็นสำคัญ พลังเหล่านี้
ผู้ที่ได้รับไปจะรู้สึกได้ว่าไม่ถูกกับพวกมาร พวกเล่นคุณไสย
ถึงขนาดอยู่ในเขตบริเวณเดียวกันไม่ได้ก็มี บางรายเป็นพระเล่นคุณไสย
ร้อนจนทนไม่ได้ต้องออกมาไล่ฆราวาสที่มีพลังขององค์นารายอยู่ เพื่อให้ออกไปไกลๆ
จากตนก็มี สำหรับพลังที่อ่อนโยนที่สุดเป็นของพระอวโลกิเตศวรกวนอิม
(ภาคเจ้าแม่กวนอิม) คือ พลังในการล้างอาถรรพ์มนต์ดำ (พลังจากน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์)
ผู้ปกครอง และผู้นำประเทศต่างๆ ระดับต่างๆ ล้วนต้องมีบารมีทั้งสิ้น จึงจะสามารถครอบครองแผ่นดิน
ครองใจคนจำนวนมากได้ สำหรับท่านที่ไม่มีบารมี แต่มีบุญ
หรือใช้อิทธิฤทธิ์เข้าครอบครองอำนาจ มักพบจุดจบอนาถ คือ
ผู้คนเกลียดชังและรุมก่อการปฏิวัติในที่สุด นี่เพราะบารมีมีไม่พอ นั่นเอง ดังนั้น
หลายท่านที่อยากเป็นใหญ่ จึงต้องแก่งแย่งกันสร้างบารมีก็ดี ใช้บารมีก็ดี
หรือแม้แต่แสวงหาวิธีเสริมบารมีตนเองด้วยไสยศาสตร์ก็มี พลังบารมีเหล่านี้
ในทางด้านการปกครอง ถือว่า บารมีขององค์นาราย หรือมหาเทพต่างๆ
สามารถปกครองโลกมนุษย์ได้ เช่น ผู้มีบารมีองค์นารายก็สามารถเป็นนักปกครองได้
แต่หากมีผู้อื่นได้บารมีองค์นารายเช่นกัน ก็ต้องเทียบกันว่าใครได้มากกว่า
แต่หากบางท่านได้มากกว่าหนึ่งองค์ เช่น ได้ทั้งขององค์นารายและองค์ศิวะ
ก็ต้องนำมาเทียบอีกว่ารวมแล้วใครมากกว่า ในศาสตร์วิชชาทางฮินดูนั้น พลังฝ่ายชาย
(หยาง) ที่สูงสุด คือ พลังตรีมูรติ ซึ่งมนุษย์จะไม่สามารถเป็นองค์ตรีมูรติได้
เพราะตรีมูรติหมายถึงมหาเทพทั้งสามองค์
แต่มนุษย์สามารถรับพลังของทั้งสามองค์รวมกันได้
ก็จะมีพลังบารมีมากกว่าผู้ที่มีพลังบารมีเพียงองค์เดียว นอกจากนี้ พลังฝ่ายหญิง
(หยิน) คือ พลังพระแม่เทวีต่างๆ สามารถครอบงำให้ฝ่ายชายหลงใหลเคลิบเคลิ้ม
ตกหลุมรักได้ ทำให้ฝ่ายหญิงสามารถควบคุมฝ่ายชายได้ คือ พระลักษมี คุมพระนาราย, พระอุมา คุมพระศิวะ, พระสุรัสวดี คุมพระพรหม ส่วนองค์ตรีมูรติ นั้น
ต้องใช้พลังบารมีของพระแม่ทุกองค์รวมกัน จึงจะคุมได้ นอกจากนี้ พลังของพระแม่ต่างๆ
ยังมีผลต่อการปราบอสูรตนต่างๆ ด้วยแตกต่างกันไป เช่น พลังของพระกาลีปราบอสูรทารุณ,
พลังของพระแม่ทุรคาปราบอสูรมหิงสา เป็นต้น
๕) พลังในการตรัสรู้และสร้างศาสนา
สามารถทำได้ ทำให้ผู้คนนับถือและยกย่อง
ถึงขั้นยอมตายถวายชีวิตพลีให้เลยทีเดียว เป็นพลังบารมีเฉพาะขององค์ศิวะ
อันเกิดจากอดีตชาติที่องค์ศิวะได้บำเพ็ญเป็นฤษีมายาวนาน
และเป็นผู้มอบมรรควิธีในการปฏิบัติทางจิตต่างๆ ให้มนุษย์ เช่น โยคีนิกายทิคัมพร
(ชีเปลือย นุ่งลมห่มฟ้า) ผู้ที่ได้พลังนี้ไปแล้ว จะมีแรงบันดาลใจ
มีพลังแรงจูงใจในการออกแสวงหาสัจธรรม มีพลังแรงจูงใจในการประกาศศาสนา
หรือการแสดงตนเพื่อโปรดสัตว์ จะมีผู้คนเข้ามาหาและนับถือศรัทธาจำนวนมาก
๖) พลังพุทธคุณและพลังรัตนตรัย
เป็นพลังบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า, พระอรหันต์ และพระธรรม คือ ธรรมชาติแท้ๆ
ที่บริสุทธิ์เปลือยเปล่าไร้การปรุงแต่งใดๆ มีลักษณะที่เบาสบายโล่งเย็น อบอุ่น
สงบสุข สงัดจากกามอารมณ์ใดๆ ช่วยให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า
ช่วยชำระจิตวิญญาณที่สกปรกเต็มไปด้วยพันธะและภาระทุกข์ที่รุมเร้าให้ผ่อนคลายสงบร่มเย็นได้
สังเกตได้ว่า ท่านที่เข้าวัดทำบุญก็ดี มักมีจิตสงบเย็นกว่าตอนก่อนเข้าวัดทำบุญ,
ท่านที่ได้ไปกราบพระอรหันต์จะมีจิตที่สงบเย็นมากขึ้น, ท่านที่ได้พบพระพุทธเจ้าหรือกราบพระธาตุก็ดี
กราบพระประธานที่มีพลังพุทธคุณก็ดี มักมีความสงบเย็นที่สัมผัสได้ เบาสบายใจ
จากที่เคยทุกข์หนักอกหนักใจ เคยเร้าร้อนด้วยตัณหาราคะ
ก็สงบเย็นได้อย่างแปลกประหลาด พลังบารมีเหล่านี้มีจริง พิสูจน์ได้ สัมผัสได้ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะพลังพุทธคุณและพระรัตนตรัย เป็นพลังที่เอื้อต่อทุกสรรพชีวิต
สัมผัสได้ง่ายกว่าพลังเทพและมหาเทพทั้งหลาย แต่ต้องอาศัยการสังเกต
การมีสติที่ว่องไว การทีจิตที่ละเอียดอ่อน ก็สามารถแยกแยะความรู้สึกได้ไม่ยาก
ว่าพลังเหล่านี้มีจริง ตรงกันข้าม หากพลังเหล่านี้เริ่มหดหายไป ด้วยสาเหตุใดก็ช่าง
สถานที่นั้นๆ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
มีคนกลุ่มแตกต่างไปจากเดิมเข้ามาแทนที่ เป็นต้น
เป็นพลังในตนเอง ที่เปล่งฉายออกมาทางศีรษะได้
อย่างที่เราเห็นในภาพวาดว่าพระพุทธเจ้าจะทรงมีฉัพพรรณรังสีรูปวงกลมสีขาว
มีรัศมีสีทองเป็นต้น อันที่จริง
พระพุทธเจ้าจะทรงมีรัศมีที่เป็นแสงทิพย์เจ็ดสีด้วยกัน สำหรับคนทั่วไป
หากฝึกจิตได้บริสุทธิ์ก็จะมีฉัพพรรณรังสีวงกลมสีขาวได้
และมีรัศมีฉายออกมาเป็นสีต่างๆ ตามแต่จะสามารถบำเพ็ญเพียรได้ สามารถถ่ายภาพออร่า
(เทคโนโลยีการถ่ายด้วยกล้องเคอร์เลี่ยนที่องค์การนาซ่าใช้สำรวจสิ่งมีชีวิตต่างดาว)
ปัจจุบัน ได้มีการศึกษาค้นคว้าจากศาสตร์ความรู้ของประเทศทิเบต
เรื่องคุณสมบัติของฉัพพรรณรังสีต่างๆ จนได้รวบรวมเป็นศาสตร์วิชชาทางออร่าขึ้น
มีการศึกษาในขั้นสูงที่ประเทศรัสเซีย เป็นต้น ฉัพพรรณรังสีต่างๆ
นี้เป็นพลังภายในของเราเอง ในขณะที่พลังบารมีจากพลังจักรวาลนั้น
จะเป็นพลังจากภายนอก ที่ลงมาครอบขันธ์ห้าของเราไว้อีกที
ทำให้พลังของเราแท้จริงถูกซ่อนไว้ก่อน
ทำให้ร่างทรงถูกทักว่าเป็นเทพองค์นั้นองค์นี้ได้ ตามแต่จะได้รับพลังจากเทพองค์ใดมาครอบขันธ์ห้าของตนไว้
คุณสมบัติของฉัพพรรณรังสีต่างๆ มีตัวอย่างดังนี้ สีเขียวสว่าง ใช้รักษาโรค, สีม่วง ใช้พลังทางจิต, สีทอง ใช้ในด้านคุณธรรม, สีขาว
ใช้เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ฯลฯ เป็นต้น
มนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ห้า คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร
และวิญญาณ โดยมีจิตที่บริสุทธิ์อยู่ตรงกลางคอยเป็นนายผู้รู้ ผู้สั่งการต่างๆ
ขันธ์ห้าของมนุษย์มีลักษณะอนัตตา คือ
ไม่สามารถปิดกั้นยึดไว้เป็นตัวกูของกูตลอดไปได้ มีความอนิจจัง
เปลี่ยนแปลงเป็นเนืองนิตย์ ดังนั้น แม้แต่สังขาร ก็มีความเกิดแก่เจ็บตาย
ร่วงโรยดับสลายไป แม้แต่วิญญาณก็มีการถ่ายเทเข้าออกได้ตลอดเวลา
การไหลเข้าออกของส่วนประกอบของวิญญาณเราเรียกว่า “การหมุนเวียนลมปราณ” เหมือนการหมุนเวียนเข้าออกของลมหายใจนั่นเอง
ลมปราณหากเก็บสะสมไว้ภายในเรียกว่า“พลังวัตร” ซึ่งจะสะสมไว้ตาม จักระต่างๆ ของร่างกายเจ็ดแห่ง หากได้รับมาจากแหล่งภายนอกร่างกาย
เราเรียกพลังนั้นว่า “พลังจักรวาล” เมื่อก่อนร่างกายจะมีการไหลเวียนของลมปราณเข้าออกระหว่างร่างกายและภายนอกได้น้อย
แต่เมื่อฝึกเปิดจักระออกแล้ว ทะลวงชีพจร (ชีพจรคือท่อไหลเวียนของลมปราณในร่างกาย
ซึ่งสอดคล้องกับเส้นโลหิต ทำให้สามารถจับชีพจรของโลหิตก็ได้
จับการไหลเวียนของลมปราณก็ได้) เปิดการไหลเวียนภายในร่างกายได้ดีแล้ว
ก็จะเกิดการไหลเวียนลมปราณเข้าออกทั้งภายนอกและภายในได้มากขึ้นในสังขารร่างกายเนื้อของเรานี้
มีกายทิพย์ หรือวิญญาณซ้อนอยู่ โดยกายทิพย์หรือวิญญาณนี้
มีลักษณะคล้ายร่างกายเนื้อของคนผู้นั้น แต่มีความเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า
ยืดหยุ่นกว่า ทั้งยังมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆ เหมือนคนหลายคนซ้อนๆ กันอยู่
แต่ละชั้นของกายทิพย์เกิดจากจิตที่ก่อกรรมไว้
ปรุงแต่งด้วยวิญญาณให้เกิดกายทิพย์แบบนั้นๆ เมื่อเรามาเกิดใหม่ๆ
กายทิพย์ยังไม่ซับซ้อนมาก เมื่อเราเริ่มก่อกรรมซ้ำรอยกรรมรอยเกวียนเดิมในอดีตชาติ
เพราะความที่จิตไม่ได้รับการฝึกฝนเปลี่ยนแปลง จึงต้องรับกรรมซ้ำๆ
จนกว่าจะหมดจะเลิก จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาชำระกรรมเป็นร้อยๆ
ชาติกว่าจะหมดหนึ่งกรรม ทำให้กายทิพย์ถูกสร้างขึ้น ปรุงแต่งขึ้นจากการกระทำกรรม
จนทำให้วิญญาณก่อตัวเป็นกายทิพย์รูปแบบต่างๆ ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ซับซ้อนมากขึ้น
บางท่านได้รับพลังจากเทพ ในรูป “กายทิพย์” ที่ไม่มีจิตมาร่วมด้วย กล่าวคือ เทพองค์นั้นมีวิชชามโนมยิทธิ
เนรมิตกายทิพย์อีกกายหนึ่งลงมาครอบขันธ์คนผู้นั้นไว้
แล้วใช้จิตบังคับกายทิพย์นั้นๆ ทำให้คนผู้นั้นมีอาการเหมือนถูกสิงได้
เรียกว่าการเข้าทรงนั่นเอง จากนั้น คนผู้นั้นก็ได้รับพลังพิเศษจากเทพนั้นๆ
ให้ทำกิจต่างๆ ได้มากกว่าคนปกติ นี่คือ
ลักษณะของวิญญาณหรือกายทิพย์ที่ลงมาครอบขันธ์มนุษย์ ในอีกกรณีหนึ่งคือ
การฝึกดับขันธปรินิพพาน หรือการทำสมาธิสลายวิญญาณขันธ์ทั้งๆ ที่ยังไม่ตาย
ทำให้สามารถลบล้างชาติภพที่ก่อกรรมไว้
ได้ด้วยการสลายกายทิพย์ที่เกิดจากกรรมในชาตินั้นๆ ทำให้กายทิพย์ลดจำนวนลง
ซับซ้อนน้อยลง จนในที่สุด จิตบริสุทธิ์เหลือแต่กายทิพย์ที่เป็นธรรมกาย
ของทิพย์ ก็มีลักษณะคล้ายของใช้ของมนุษย์ที่เกิดจากธาตุสี่ แต่ของทิพย์เป็นพลังงาน ตาเปล่ามองไม่เห็น เป็นของที่เทวดาใช้กัน เพื่อการดำรงอยู่ในแบบเทวดา เช่น พระขรรค์ทิพย์, จักรทิพย์, ลูกแก้วทิพย์ ฯลฯ ของทิพย์เหล่านี้มีอะไรบ้าง มีที่มาอย่างไร ดังนี้
๑) จักรทิพย์ (ใช้ปราบมารศาสนาและผู้ทำลายชาติไทย ทุกท่านสามารถทำได้)
ในกายทิพย์ของนักปกครองบางท่าน จะมี “จักรทิพย์” ที่ได้รับโดยมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
อันเนื่องมาจากการทำคุณงามความดีแก่สัตว์โลกได้ เช่น
ในกรณีที่นักปกครองกล้าหาญที่จะปฏิรูปประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น จะต้องปราบมาร
อภิบาลคนดี หลายครั้งที่ได้รับ “จักรทิพย์”มาอยู่ในกายทิพย์ เพราะการบำเพ็ญเพียรนั้น
ทำให้มีความสามารถพิเศษในการปราบมาร ปราบอสูร หรือคนเลวร้ายต่างๆ คนที่ทำคุณไสย
มีอสูรช่วยใช้งาน หลายครั้ง พ่ายแพ้ภัยตนเอง เพราะนักปกครองเหล่านี้
มีพลังจากจักรทิพย์เหล่านี้ปกป้องอยู่นั่นเอง การที่จะจัดการนักปกครองที่มีจักรทิพย์ลงได้
ต้องจัดการจักรทิพย์นี้เสียก่อน ทำให้ฤทธิ์อำนาจลดลง
แล้วก็สามารถจัดการได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ
สามารถปราบและต่อสู้จนถึงแก่ชีวิตได้โดยไม่ต้องมีสงครามให้ลำบากผู้คน
ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ซึ่งจะดีกว่าการใช้ฤทธิ์อำนาจทางการทหาร อนึ่ง จักรทิพย์นี้
เป็นสิ่งที่ภูตผีปีศาจ เกรงกลัวกันมาก เพราะสามารถใช้ฆ่าภูตผีปีศาจได้
และสามารถฆ่าได้ถึงเทวดา เช่น หากมีเทวดามาร มาช่วยศัตรูเรา
เราก็สั่งใช้จักรทิพย์ไปตัดคอเทวดามารได้ ซึ่งจะส่งผลให้เราต้องรับกรรมปานาฯ
ไปด้วย
๒) ธรรมจักรทิพย์
พบในพระสงฆ์ที่บำเพ็ญเพียรขั้นสูง เช่น พระลามะ, พระโพธิสัตว์ หลายครั้ง
ท่านไม่ได้ตำแหน่งใหญ่โตทางการเมืองก็ดี ทางพุทธจักรก็ดี ทางโลกก็ดี
ไม่อาจเข้าใจท่าน ไม่เห็นปัญญาของท่าน ธรรมจักร
อันมีความเป็นทิพย์ก็บังเกิดขึ้นด้วยผลจากการบำเพ็ญบารมี ขับเคลื่อนพุทธจักร
ให้ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องได้มรรคได้ผลแท้จริง บางครั้ง
ธรรมจักรทิพย์ก็ได้รับเพราะมีเทพเทวดาที่มีธรรมจักรทิพย์มอบให้
มาไว้ในกายทิพย์ของพระสงฆ์รูปนั้น เพื่อช่วยปกป้องกันภัย และช่วยในการบำเพ็ญบารมี
ที่อาจต้องพบกับเหล่ามารอสูร พวกเล่นคุณไสย ฯลฯ ก็จะรอดปลอดภัย
ธรรมจักรอันเป็นทิพย์นี้ พบได้ในพระสงฆ์มากกว่าปุถุชน ในปุถุชน
คนใดมีธรรมจักรทิพย์ มักเป็นพระโพธิสัตว์มาเกิด แต่บ้างก็ไม่ใช่โพธิสัตว์
แต่มาฝึกจิตจนได้ธรรมจักรทิพย์ก็มี คุณสมบัติของธรรมจักรทิพย์คือ
สามารถขับสิ่งไม่ดีออกจากร่างกายได้ เช่น คุณไสยที่มีผู้ทำใส่เรา
ก็สามารถหมุนธรรมจักรสลัดออกได้ง่าย ทั้งยังสามารถหมุนธรรมจักรทิพย์ดูดเข้า
ดึงเอาพลังงานที่ดีงาม พลังทิพย์ต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ด้วย
๓) ลูกแก้วทิพย์
ลูกแก้วทิพย์ พบมากในพญานาค พวกพญานาคเมื่อบำเพ็ญตบะมากแล้ว
จะรวมพลังจิตเป็นรูปลูกแก้ว เรียกว่าลูกแก้วพญานาค อันเป็นทิพย์ มองด้วยตาเนื้อไม่เห็น
ในบางกรณี พญานาคมีร่างกายเนื้อเป็นสัตว์เดรัจฉาน
สามารถใช้ธาตุสี่ในร่างกายสร้างลูกแก้วที่เกิดจากธาตุสี่ขึ้นมาได้
เพื่อประจุพลังทิพย์เข้าไว้ แล้วคายลูกแก้วพญานาคออกมาเก็บไว้
เพราะหากมีลูกแก้วอยู่ในกายมากเกินไป ก็จะรู้สึกอึดอัดทำการใดก็ลำบาก ลูกแก้วที่เกิดขึ้นจากการบำเพ็ญต่างกัน
ก็มีลักษณะและคุณประโยชน์ต่างกัน เช่น ลูกแก้วพญานาคบางชนิดสีแดง, เขียว, ส้ม,
น้ำเงิน ฯลฯ แต่ละสีก็มีคุณสมบัติต่างกันไป เช่น คงกระพัน, แคล้วคลาด, เมตตามหานิยม ฯลฯ ตามการบำเพ็ญนั้นๆ
ในคนสามารถบำเพ็ญเพื่อสร้างลูกแก้วทิพย์ในร่างกายได้ แล้วอัดพลังลงในลูกแก้วที่เกิดจากธาตุสี่
เช่น ลุกแก้วที่เอาแก้วมาหลอมไว้ ก็ได้ เมื่ออัดพลังลงแล้ว
ลูกแก้วนั้นก็จะมีคุณสมบัติตามที่ลูกแก้วทิพย์มี สามารถมอบให้แก่ผู้อื่นได้เช่นกัน
๔) พระขรรค์ทิพย์
บางครั้ง คนสร้างวัตถุจำลองเป็นรูปพระขรรค์ แล้วอัดพลังทิพย์ หรือปราณ
ลงไปในพระขรรค์จำลองนั้น พระขรรค์จำลองนั้นก็มีความเป็นทิพย์อยู่ภายใน
มีคุณสมบัติตามพลังปราณที่อัดลงไป ประจุลงไปนั้นๆ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง” ทำให้พระขรรค์มีความศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผีสางเทวดาเกรงกลัว เป็นต้น
พระขรรค์ทิพย์บางชนิด นอกจากจะมีพลังอยู่อาศัยในวัตถุธาตุจำลองแล้ว
ยังสามารถเคลื่อนตัวตามเจ้าของไปได้อีกด้วย เช่น ในขณะถอดกายทิพย์ออกไป
แล้วพบศัตรู พระขรรค์ทิพย์บางชนิดสามารถปรากฏเป็นอาวุธให้แก่ผู้นั้นได้อีกด้วย
อนึ่ง พระขรรค์ทิพย์เป็นอาวุธอันเป็นทิพย์ใช้ในการเข่นฆ่ากันกับเทวดา
จึงนำมาซึ่งกรรม มากกว่าบุญ ปกติ มนุษย์ไม่ใช้กัน
นอกจากจะเป็นเทวดาที่ต้องต่อสู้กับคู่อริบนสวรรค์
หรือการปลุกเสกเพื่อให้แก่เทวดาประจำตัว, พระภูมิเจ้าที่
ให้ช่วยเหลือคน เป็นต้น
๕) ตาทิพย์
ตาทิพย์มีลักษณะเหมือนอวัยวะ อวัยวะหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งของอันเป็นทิพย์
จึงมักติดอยู่กับกายทิพย์เสมอ ในส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น บริเวณจักระที่หกด้านหน้า
หรือระหว่างคิ้ว เยื้องขึ้นบนเล็กน้อย แต่ตาทิพย์ ก็สามารถมีปรากฏได้ทั่วกายทิพย์
เช่น บนฝ่ามือ, บนหลัง, ด้านหลังของศีรษะ ฯลฯ บางท่านฝึกเต๋า
สามารถฝึกให้รูขุมขนกลายเป็นตาทิพย์ทั้งหมดก็สามารถทำได้
บางท่านฝึกตาทิพย์ด้านหน้าเพื่อดวงตาเดียว แต่มีกำลังในการหยั่งรู้สูงมากก็มี เช่น
มองเห็นทะลุได้ทุกสิ่ง มองเห็นไกลได้ตาใจปรารถนา มองเห็นสิ่งใด
เห็นเหตุผลได้จากอดีตถึงอนาคต ฯลฯ ตาทิพย์แต่ละท่าน มีคุณสมบัติไม่เท่ากัน
มีความสามารถไม่เท่ากัน บ้างมองเห็นของทิพย์ บ้างมองเห็นธรรม บ้างมองเห็นอนาคต
อดีต ของผู้อื่นได้ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญมาอย่างไร
ความสัมพันธ์ของพลังทิพย์และของทิพย์
กายทิพย์สามารถดึงดึงพลังทิพย์เข้ามาในร่างกายได้เพื่อสร้างของทิพย์ขึ้น เช่น ในกลุ่มนาค สามารถนั่งสมาธิดึงดูดพลังวัตรไว้ที่ท้องสะสมจนเกิดดวงแก้วอันเป็นทิพย์ได้ พบในกลุ่มนักปฏิบัติธรรมสายธรรมกาย ที่เน้นเพ่งดวงแก้วธรรมกายด้วย นอกจากนี้ กายทิพย์ของบางท่านมีความแข็งแกร่งถึงขนาดย่อยสลายของทิพย์ได้ด้วย เช่น เมื่อถูกคุณไสยเป็นเข็มทิพย์ แทงในท้อง สามารถใช้กายทิพย์ย่อยสลายเข็มทิพย์ที่แทงอยู่ในท้องได้ ดังนั้น ยังคงเป็นไปตามหลัก สสาร ที่แปรเปลี่ยนเปลี่ยนเป็นพลังงาน และพลังงานที่แปรเปลี่ยนเป็นสสารได้ (ตามหลักฟิสิกส์ของไอน์สไตน์) ซึ่งเครื่องเปลี่ยนในที่นี้คือ กายทิพย์ โดยเฉพาะกายทิพย์ของสัตว์กึ่งเทพ เช่น นาค ที่มีความเป็นกึ่งกลางระหว่างความเป็นทิพย์และความเป็นกายเนื้อธาตุสี่ มีผู้ค้นพบว่า พระธาตุหลายครั้ง สามารถหายไป ลดลง หรือเพิ่มจำนวนได้ งอกได้ เป็นต้น นี่คือ พลังทิพย์ที่อยู่ในพระธาตุ ที่แปรเปลี่ยนเป็นวัตถุธาตุนั่นเอง ปรากฏการณ์เช่นนี้ พบได้ในวัตถุธาตุหลายชนิด เช่น เหล็กไหลที่งอกเองได้ เป็นต้น อันของทิพย์และพลังทิพย์เหล่านี้ อันที่จริง อยู่นอกเหนือความจำเป็นในการดำรงชีพของมนุษย์ แต่มนุษย์จำนวนมาก ต้องการสิ่งที่เกินจำเป็นนี้เสมอ พวกเขาหลายๆ ครั้งใช้วัตถุธาตุสี่ เพื่อการประหัตประหารกัน เช่น การใช้
ระเบิดทำลายล้างกัน การเรียนรู้ที่จะใช้พลังทิพย์ ที่ย่อยสลายง่าย
ไม่เหลือเศษวัตถุธาตุสี่อันเป็นอันตราย เช่น ขยะ, เศษปฏิกรณ์ปรมาณู ฯลฯ จึงน่าจะเป็นทางออก
ให้มนุษย์ที่ยังมีความทะยานอยากได้เลือกใช้ อย่างเหมาะสม อย่างน้อย
แม้พวกเขาจะถูกอวิชชาครอบงำ ไม่สามารถละวางได้ และต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย ก็ยังไม่ส่งผลกระทบต่อโลกมากนัก
เมื่อเทียบกับการใช้วัตถุธาตุสี่เข้าประหารกัน ดังนั้น สงครามนิวเคลียร์
และสงครามอวกาศ จึงเป็นอันตรายต่อโลกมาก
โลกยังต้องเป็นที่บำเพ็ญของลูกหลานในอนาคตอีกมาก จะให้ถูกทำลายไปไม่ได้
พวกเขาจึงควรหาทางประหารกันด้วยวิธีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลก เช่น
การฆ่ากันด้วยอาวุธทางจิตวิญญาณ ซึ่งจะดีกว่า แม้เราไม่อาจห้ามเขาไม่ให้ฆ่ากันได้
แต่เราก็ปกป้องโลกนี้ให้ยืนยาวนานได้ บทความฉบับนี้
ล่อแหลมต่อการปฏิบัติผิดทางก็จริง แต่เชื่อว่าไม่ผิดปกติของกลียุค
ที่จะเผยแพร่บทความเช่นนี้
วิธีฝึกโคจรลมปราณ
การฝึกลมปราณไม่ใช่การจดจำท่าแล้วทำตามแต่ภายนอกเท่านั้น
แต่ที่สำคัญที่สุด จิตของผู้ฝึกต้องมีการฝึกด้วย จิตต้องเป็นส่วนที่ควบคุมลมปราณ
แล้วให้ลมปราณนำทางร่างกายไป จิตเฝ้าระวังมีสติประคองตลอด
ปรับสภาวะของตนตามธรรมชาติ รักษาสมดุลธรรมชาติในตน
แล้วคู่ปะทะที่ขาดการดูแลสมดุลธรรมชาติ จะถึงแก่การพ่ายแพ้เอง การฝึกลมปราณที่ดี
เมื่อได้ปลุกลมปราณแล้ว ทะลวงลมปราณแล้ว ขั้นต่อไปคือการฝึกโคจรลมปราณ
ควรทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะการโคจรลมปราณ
ช่วยชำระล้างภายในร่างกายของเราให้บริสุทธิ์ สุขภาพของผู้ฝึกจะดีขึ้นมาก
การฝึกโคจรลมปราณ มักใช้ควบคู่กับท่าร่ายรำต่างๆ อย่างสอดคล้องต่อเนื่องกลมกลืนดุจการร่ายรำ
มีวิธีฝึกดังนี้
พื้นฐานก่อนเข้าสู่การฝึกโคจรลมปราณ
กำลังภายใน
๑) ลมปราณ ฟ้า-ดิน คือ
ลมปราณภายนอกร่างกาย จากฟ้าและดิน
๒) ลมปราณ หยิน-หยาง คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย
จากหญิงและชาย
๓) ลมปราณ อิม-เอี๊ยง คือ
ลมปราณภายนอกร่างกาย จากการตายและการเกิด
๔) ลมปราณ จักรวาล คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากจักรวาลทุกชนิด
๕) ลมปราณ อาทิตย์-จันทร์ คือ ลมปราณจากดวงอาทิตย์ยามเช้า, จันทร์เต็มดวง
๖) ลมปราณ อื่นๆ เช่น ลมปราณจากต้นไม้, ลมปราณจากไฟ ฯลฯ
ความสัมพันธ์ระหว่างลมปราณภายในและภายนอก
การฝึกลมปราณจะเริ่มจากกำลังภายในก่อน
จากนั้นจึงทะลวงลมปราณจากภายในออกภายนอก แล้วจึงประสานลมปราณภายนอกและในเป็นหนึ่งเดียวกัน
หลอมรวมเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือขั้นสูงสุดของการฝึกลมปราณ
ซึ่งจะต้องเปิดจิตเปิดใจ เปิดทวารร่างกาย ในการเปิดรับและถ่ายออก
หมุนเวียนลมปราณภายในและภายนอกเพื่อปรับให้ร่างกายให้สมดุล ซึ่งการฝึกมีหลายขั้น
จำต้องศึกษาให้ถูกต้องเป็นขั้นๆ ไป
จักระทั้งเจ็ด เป็นแหล่งพลังวัตรที่สำคัญในร่างกาย
และแหล่งสะสมพลังวัตรต่างๆ ดังนี้
๑) จักระที่หนึ่ง (บริเวณก้นกบ) เป็นแหล่งพลังกุณฑาริณี
จะตื่นเมื่อกรณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น ตกใจสุดขีด, มีเพศสัมพันธ์ถึงสุดยอด,
หนาวถึงที่สุด ฯลฯ เป็นพลังที่มีปริมาณมาก
และเกิดขึ้นชั่วระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่พลังต่อเนื่องระยะยาวนัก
๒) จักระที่สอง (บริเวณท้องน้อย) เป็นแหล่งพลังสำคัญ แบบเส้าหลินมักฝึกกัน
ปลุกให้ตื่นได้ง่ายกว่า เก็บง่าย และใช้ได้บ่อย ต่อเนื่อง แต่พลังจะไม่พุ่งทะยานในระยะเวลาสั้นๆ
ปริมาณมากๆ แบบกุณฑาริณี ใช้ในการต่อสู้ส่งพลังทางขามาก
๓) จักระที่สาม (บริเวณใต้ลิ้นปี่) เป็นแหล่งพลังสำคัญ ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการต่อสู้
อยู่ศูนย์กลางกาย สำหรับผู้ฝึกธรรมกาย จะใช้ในการสะสมพลังวัตร
ที่เรียกว่าลูกแก้วธรรมกาย จนพร้อมเต็มที่ก็จะได้เป็น “ธรรมกาย” อยู่ในจักระนี้
๔) จักระที่สี่ (บริเวณหัวใจ) เป็นแหล่งพลังสำคัญ ใช้ในการต่อสู้ ส่งพลังทางแขนมาก
สอดคล้องกับชีพจรทั่วร่าง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ
๕) จักระที่ห้า (บริเวณลูกกระเดือก) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่มักไม่ได้ใช้ในการต่อสู้
ยกเว้นในกลุ่มที่ต่อสู้ด้วยเสียงจะใช้มาก นักร้องจะใช้พลังจากจักระนี้ด้วย
ร่วมกับพลังจากจักระที่สอง (ท้องน้อย) เพื่อให้เสียงมีพลังกึกก้องกังวาน
๖) จักระที่หก (บริเวณตาที่สาม) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญใช้ในการต่อสู้ เนื่องจากควบคุมการรับรู้และสติปัญญา
เป็นทางเปิดตาทิพย์ เพื่อการรับรู้ที่เหนือปกติ
๗) จักระที่เจ็ด (บริเวณกระหม่อม) เป็นแหล่งรับพลังงานจากภายนอก เรียกว่าพลังจักรวาล
หรือองค์เทพที่จะประทับทรง หรือมอบพลังให้ จะส่งผ่านมาทางจักระนี้
๑) ตานเถียนบน คือ จักระที่ ๖ หรือตรงตำแหน่งตาที่สาม เวลาเราหลับตาแล้วยังไม่หลับไป
เราเพ่งภาพขณะหลับตาอยู่ จะเสมือนมีตาเดียวตรงกลางดูภาพนั้นอยู่
หรือให้จินตนาการว่ามีลูกตาทั้งสองเปิดอยู่ตามปกติ แล้วเพ่งมารวมตรงกลางเป็นตาเดียว
นั่นคือ ตำแหน่งของตานเถียนบน เป็นศูนย์กลางบริเวณหัว
๒) ตานเถียนกลาง คือ จักระที่ ๔ หรือตรงตำแหน่งหัวใจ เวลาหลับตาไม่ได้ลืมตามองกระจก
หรือไม่ได้เอามือคลำดู จะกะประมาณตำแหน่งไม่ถูก ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น ตุ้บๆ
เป็นตำแหน่งของหัวใจ เวลากำหนดจิต
สามารถใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นจังหวะในการเคลื่อนลมปราณได้
เป็นศูนย์รวมพลังวัตรร่างกายท่อนบน และแขนทั้งสองข้างเป็นสำคัญ จักระนี้
ฝึกเพ่งเสียงชีพจรได้ผลดี
๓) ตานเถียนล่าง คือ จักระที่ ๒ หรือตรงตำแหน่งท้องน้อย เวลาหลับตาไม่ได้ใช้มือคลำและดูกระจก
กะระยะไม่ได้ ให้นั่งสมาธิหย่อนลำตัวท่อนบนลงมาหน่อย ท้องน้อยจะป่องขึ้นเล็กน้อย
กะเอาบริเวณศูนย์กลางที่ท้องป่องเป็นตานเถียน (หากไม่มีทิพยจักษุ
มองไม่เห็นอวัยวะในร่างกาย จึงต้องจับความรู้สึกแทน)
การปลุกพลังวัตรในตานเถียนให้เป็นลมปราณไหลเวียน
๑) นั่งสมาธิเพชรจะดี (หากทำไม่ได้
ให้ขัดสมาธิธรรมดาก็ได้) หลับตา ผ่อนคลายร่างกาย จิตใจทั่วร่าง ให้รู้สึกเบาสบาย
ไม่อึดอัด โล่งโปร่ง สงบระงับ ละเอียดนิ่ง
๒) หายใจเข้า รวมจิตสู่ศูนย์กลางตานเถียน บน, กลาง หรือล่าง
จุดใดจุดหนึ่งที่ต้องการปลุกพลังวัตรให้เคลื่อนไหวเป็นลมปราณ จากนั้นค่อยๆ
จับความรู้สึกถึงลมปราณที่เคลื่อนตัวจากตานเถียนนั้นๆ ไปยังจุดต่างๆ
ตามการโคจรแบบต่างๆ
๓) หายใจออก ขับเคลื่อนลมปราณออกจากตานเถียนนั้นๆ
ไปตามเส้นทางการโคจรลมปราณแบบต่างๆ
ตรวจดูแต่ละจุดในร่างกายด้วยความรู้สึกว่าตรงไหนติดขัด หากมีจุดที่ติดขัด
ก็ใช้ลมปราณทะลวงจนลมปราณไหลเวียนผ่านได้สะดวก
๔) โคจรลมปราณเป็นวงจร ให้ครบรอบ
จากตานเถียนที่สะสมพลังวัตร กลับยังตานเถียนที่สะสมพลังวัตรเดิม ไม่ควรทำขาดวงจร
หรือไม่ครบรอบ จนรู้สึกสบาย
๕) เส้นทางโคจรลมปราณของแต่ละแบบแตกต่างกันไป
ซึ่งจะแสดงรายละเอียดบางแบบต่อไป การโคจรลมปราณระยะแรก
ควรสอดคล้องกับลมหายใจเข้าออกก่อน
๖) หากมีการปลุกลมปราณจากแหล่งไหนมา
ควรเคลื่อนลมปราณให้ครบวงจรแล้วเก็บเข้าที่ ที่แหล่งนั้นๆ
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลมปราณตกค้างในอวัยวะต่างๆ
ในบางกรณีจะมีเคล็ดการหายใจเพื่อเคลื่อนลมปราณ แตกต่างจากนี้เล็กน้อยเช่น
หายใจเข้าโคจรลมปราณครึ่งรอบ ไปไว้ตานเถียนบน
จากนั้นหายใจออกขับจากตานเถียนบนมาล่าง แบบนี้ก็ได้เช่นกัน
เมื่อชำนาญแต่ละแบบแล้วจะสามารถเลือกใช้ได้ตามเหมาะสม
๑) โคจรลมปราณพลังกุณฑาริณี (จักระหนึ่ง – จักระเจ็ด)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่หนึ่ง
นั่งสมาธิแล้วปลุกลมปราณด้วยวิธีลับเฉพาะแบบกุณฑาริณี (ยังไม่ขอเผยแพร่ทางนี้)
แล้วเคลื่อนลมปราณผ่านทุกจักระไล่ขึ้นไปสู่จักระที่เจ็ด
ทะลวงทุกจักระที่มีลมปราณติดค้างหรือติดขัดให้โปร่งโล่งสบายทั่วร่าง จากนั้น
จึงเริ่มวงจรใหม่ ปกติมักทำได้ไม่มากครั้ง พลังก็จะลดลงจนสัมผัสไม่ได้
การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และเป็นพื้นฐานในการทะลวงชีพจรของกังฟู
ข้อควรระวัง กุณฑาริณีที่ตื่นแล้วแต่ทะลวงออกจักระเจ็ดไม่ได้
จะดันศีรษะเหมือนงูไชหัว ทำให้ปวดหัวอย่างหนักคล้ายจะเป็นบ้า เหมือนคนกำลังจะประสาทเสียได้
ให้พึงระวังด้วย
๒) โคจรลมปราณพลังจักรวาล (จักระเจ็ด - จักระหก – จักระหนึ่ง)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่หนึ่ง
นั่งสมาธิแล้วปลุกลมปราณจากจักระที่หนึ่งออกไปสู่จักระที่เจ็ด
แล้วดึงจากจักระที่เจ็ดลงไปอาบทั่วร่าง จากจักระเจ็ดลงไปหนึ่ง หมุนเวียนให้ครบวงจร
การโคจรพลังจักรวาล จำต้องผ่านการเดินลมปราณกุณฑาริณีให้ได้ก่อน
เมื่อได้กุณฑาริณีแล้ว จึงอาศัยจังหวะที่ระบายกุณฑาริณีออก
เพื่อเปิดรับพลังจักรวาลเข้ามาแทน แล้วควบคุมปราณจากจักรวาลให้อาบลงทั่วร่าง
เรียกว่า “อาบน้ำทิพย์”บางท่านจะใช้หลักพลังพีรามิดมาช่วยในการฝึกลมปราณจักรวาล
ด้วยการใช้พีรามิดวางไว้รอบตัวตามจุดต่างๆ กัน
เพื่อเหนี่ยวนำพลังปราณจักรวาลเข้ามาขณะทำสมาธิ
แล้วให้ปราณจักรวาลเข้าทางจักระเจ็ด ถ่ายลงอาบไปทั่วร่าง
(แบบนี้ขอไม่แสดงรายละเอียด) จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ทำหลายๆ ครั้ง จนรู้สึกเบาสบายกายใจ
กระชุ่มกระชวยดี การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ
และเป็นพื้นฐานการรับถ่ายพลังภายนอก ข้อควรระวังในการเปิดรับพลังจักรวาล คือ
ต้องเลือกรับพลังเฉพาะที่ดีต่อร่างกาย เป็นพลังด้านบวกไม่ใช่พลังด้านลบ
จิตผู้ฝึกพึงระวังให้มีแต่กุศลแต่ส่วนเดียว เพื่อป้องกันพลังด้านลบ
๓) โคจรลมปราณธรรมจักร (ได้ทุกจักระ โดยเฉพาะเจ็ด)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระใดจักระหนึ่งก็ได้
โดยปกติแล้วให้เริ่มฝึกจากจักระเจ็ด แล้วค่อยๆ หมุนลงไปยังจักระอื่นๆ ต่อไป
หรือบางท่านจะเริ่มจากจักระหก ไปเจ็ด แล้วลงหนึ่ง เวลาฝึกให้ระลึกว่ามีอะไรบางอย่างหมุนวนรอบศูนย์กลางจักระนั้นๆ
ให้ระลึกเป็นภาพเหมือนจักรจริงๆ ก็ได้ โดยหมุนเวียนขวาเท่านั้น (ซ้ายไปหน้า
ขวาไปหลัง) ในการหมุนจักรสามารถใช้ท่า “กวนสมุทร” โดยเอาจุดศูนย์กลางคือท้องน้อยเป็นหลักได้
การนับวงจรเมื่อครบหนึ่งรอบนับ ๑ วงจร
ทำจนรู้สึกสบายในแต่ละจักระ การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่สุขภาพร่างกาย
ในจักระที่โคจรลมปราณ ซึ่งแต่ละจักระจะทำหน้าที่ดูแลร่างกายแตกต่างกันไป
ข้อควรระวัง อย่าเดินลมปราณทวนทิศ ห้ามหมุนซ้าย
๔) โคจรลมปราณจักรวาลน้อยแบบเต๋า (ตานเถียนล่าง - ตานเถียนบน)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่ตานเถียนล่าง
เดินลมปราณไปสู่จักระหนึ่งทางด้านหน้า แล้ววนไปด้านหลัง จากจักระหนึ่ง ไปสอง ไปสาม
ไปสี่ ไปห้า ไปหก ไปเจ็ด แล้ววนกลับมาด้านหน้าจากจักระเจ็ด ไปหก ไปห้า ไปสี่ ไปสาม
ไปสอง ครบหนึ่งรอบ จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ จากตานเถียนล่าง (จักระสอง)
ในวงจรเดิม การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่สุขภาพร่างกาย ทั่วทุกระบบโดยรวม
ข้อควรระวัง อย่าเดินลมปราณทวนทิศ
เพราะจะเกิดผลร้ายต่อชีวิตร่างกายได้อย่างคาดไม่ถึง
มีอาการที่ตรวจแล้วไม่รู้โรคได้
๕) โคจรลมปราณพลังสิงโตคำราม (ตานเถียนล่าง – จักระห้า - จักระเจ็ด)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่ตานเถียนล่าง หายใจเข้าสั้นๆ
แล้วผ่อนหายใจยาวๆ ไปสู่จักระห้า (กล่องเสียง) แล้วออกเป็นเสียง “โอม” ยาวๆ ให้คำว่า“โอม” เหมือนออกจากจักระที่เจ็ด
แผ่ออกไร้ประมาณ เกิดคลื่นเสียงทั่วกระหม่อม สร้างพลังความสั่นสะเทือนให้มากที่สุด
จนกระทั่งทุกสิ่งด้านหน้าสั่นตามคลื่นเสียงของเรา นับเป็นหนึ่งรอบโคจร จากนั้น
จึงเริ่มวงจรใหม่ ลองเปลี่ยนเป็นว่า “อา” หรือ ไล่เสียงตามตัวโน๊ตก็ได้
การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่พลังเสียง เหมาะสำหรับผู้ต้องใช้เสียงต่างๆ
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้พลังมากเกินไป เพราะจะทำลายกล่องเสียงได้ ควรฝึกในระดับที่พอดีในแต่ละครั้ง
๖) โคจรลมปราณฟ้าดิน – หยินหยาง (ฝ่ามือสองข้าง - จักระสี่)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่สี่ (หัวใจ)
ยกฝ่ามือขึ้นขนานพื้น ฝ่ามือหงายขึ้นไว้ระดับหน้าอก
หายใจเข้ารวมปราณที่ฝ่ามือและหัวใจ หายใจออกแผ่ปราณออกทางฝ่ามือสองข้าง
พร้อมดันฝ่ามือข้างหนึ่งขึ้นบน ข้างหนึ่งลงล่าง สลับกันไปมา
เมื่อยืดฝ่ามือไปสุดแล้ว ปลายนิ้วทั้งสิบจะพุ่งชี้ฟ้ากับชี้ลงดิน
จังหวะหายใจเข้าให้ดึงลมปราณฟ้าและดิน (บนและล่าง) เข้ามารวมที่หัวใจ
แล้วหมุนสลับดันลมปราณออก พร้อมสลับมือซ้ายขวา ดังนั้น จะมีวงจรพลังฟ้าดินสองวงจร คือ
วงจรฝ่ามือซ้ายและขวา คือ เมื่อขวาขึ้นบนดึงด้านบน ขวาลงล่างปล่อยลงล่าง
ซ้ายลงล่างดึงด้านล่าง ซ้ายขึ้นบนปล่อยขึ้นบน เวลาดึงลมปราณฟ้าดิน
ดึงเข้ามาพร้อมกันทั้งสองฝ่ามือ มารวมตรงกลาง
แล้วเวลาปล่อยก็ปล่อยพร้อมกันสองฝ่ามือ ออกจากกลางกายไปไกลสุดแสนไกลไร้ประมาณ จากนั้น
จึงเริ่มวงจรใหม่ ปกติมักทำได้ไม่ครั้ง ก็จะรู้สึกลมระบาย (ผายลม) ได้ทันที
การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และในด้านการถ่ายปราณเข้าออกของกังฟู
๗) โคจรลมปราณเก้าอิม – เก้าเอี๊ยง
(กงเล็บกระดูกขาว)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่สี่ (หัวใจ) ยกฝ่ามือขึ้นกางออกขนานพื้น
กางกงเล็บออก ท่านี้ผู้หญิงสามารถฝึกเก้าอิมได้ แต่ผู้ชายให้ฝึกเก้าเอี๊ยง
ในที่นี้จะเผยแพร่เฉพาะเก้าเอี๊ยง โดยก่อนโคจรพลังเก้าอี๊ยงให้โคจรพลังฟ้า-ดินก่อน เพื่อปรับสภาพและกระตุ้น
หยินหยาง เราจะใช้พลังเก้าอิม สร้างเก้าเอี๊ยง โดยดูดพลังอิมเข้าทางกงเล็บ
จนรู้สึกแขนเยือกเย็นแข็งทื่อ (จะรู้สึกปวดท่อนแขนนิดหน่อย เหมือนมีอะไรมาอัดแน่น)
จากนั้น โคจรพลังเก้าอิมไม่นาน ผู้ชายจะเกิดพลังเก้าเอี๊ยงขึ้นเองโดยธรรมชาติ
จะรู้สึกอุ่นๆ ที่กลางลำตัว เช่น ท้องน้อย แล้วจะกระชุ่มกระชวย
ร่างกายจะเริ่มอบอุ่นหายหนาว ไม่หนาวไม่ร้อน
เมื่อโคจรพลังด้วยการคว้าจับดึงดูดพลังเก้าอิมจากพื้นดินรอบตัวได้มาก
เก้าเอี๊ยงก็ถูกกระตุ้นออกมามาก เมื่อพอสมควรแล้ว
ให้ถ่ายเก้าอิมออกจากแขนสองข้างให้หมด จึงจะรู้สึกเบาแขน และหายปวดแขน
เวลาถ่ายออกให้รำฝ่ามือแทน เพราะกงเล็บจะมีพลังดึงดูด ไม่ใช่พลังผลักดันออก
โดยเพ่งกระแสปราณออกทางนิ้วทั้งสิบ ให้ทดลองใช้กงเล็บกระดูกขาว
ดูดพลังเอี๊ยงจากฟ้าในช่วงท้องฟ้ามืดครึ้มเหมือนฝนจะตก
หากฝึกช่วงฟ้าแลบฟ้าร้องด้วยจะดี ด้วยการฝึกคล้ายเดิม
แต่เปลี่ยนเป็นการดูดปราณจากฟ้า แทนที่จะดูดปราณจากดิน โดยเพ่งระลึกไปที่ประจุไฟฟ้าบนฟ้าแทน
ข้อควรระวังในการฝึกเก้าอิม คือ ช่วงแรกกระดูกฝ่ามือจะมีอาการแปลกๆ
และอาจกระทบต่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ชายจึงไม่ควรฝึกเก้าอิม
ให้ฝึกเฉพาะเก้าเอี๊ยงเท่านั้น
ผู้ฝึกจะใช้ผ้าที่มีความพลิ้วไหวและมีน้ำหนักพอเหมาะ
ในการร่ายรำโดยใช้ “ผ้า” เพื่อเป็นเครื่องแสดงสภาวธรรม ความเปลี่ยนแปลงในผ้า
เพื่อปรับท่าร่ายรำให้สอดคล้องกลมกลืนกับผ้านั้น จนราวกับผ้ามีชีวิต
ชีวิตเราเป็นผ้า ผ้าและเราเป็นหนึ่งเดียวกัน
ผู้ฝึกจะใช้ปะคำคล้องสองมือไว้ด้วยกัน
ในการร่ายรำโดยใช้ “ปะคำ” นี้เพื่อเป็นเครื่องแสดงสภาวธรรม ความเปลี่ยนแปลงในปะคำ
โดยใช้สองมือประสานกันไป หากสองมือขาดการประสานที่ดี แยกไปคนละทาง
จะดึงรั้งจนปะคำขาดกลางได้
ผู้ฝึกจะใช้ปะคำหมุนอยู่ตลอดเวลาในแขนข้างใดข้างหนึ่ง
มืออีกข้างจะร่ายรำไปคนละแบบ แบบนี้เป็นการฝึกสองมือขัดแย้ง
โดยที่ต้องประคองให้ปะคำอีกข้าง ยังคงหมุนได้อย่างต่อเนื่อง (ฝึกปราณธรรมจักร)
ปะคำจะเป็นเครื่องแสดงสภาวธรรม หากผู้รำขาดสติ จะถูกปะคำฟาดตัว
หากขาดสมาธิปะคำจะหยุดหมุน จึงต้องมีสมาธิในการหมุนปะคำอยู่ตลอด
และมีสติในการระวังปะคำที่หมุนนั้น
ผู้ฝึกต้องฝึกจนคล่องให้ปะคำและตนประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน
ปะคำมีชีวิตหมุนไม่หยุดนิ่ง และคนไม่ขัดแย้งกับปะคำ
ผู้ฝึกจะเลือกสถานที่ฝึกในป่า แล้วหาพื้นที่ป่าที่มีไม้เถาวัลย์ขึ้นระโยงรยางค์บางส่วน
ไม้เถาวัลย์มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงในตัว ให้ผู้ฝึกหลับตาร่ายรำไทเก๊ก
พร้อมกับเอาเถาวัลย์เป็นคู่ต่อสู้ ปรับสภาวะของตนตามเถาวัลย์
อาศัยความยืดหยุ่นของเถาวัลย์เป็นเครื่องสะท้อนแรงตนเอง
เมื่อฝึกได้ดีแล้วให้ฝึกกับพงหญ้าต่อ อาศัยหญ้าที่ไม่มีอันตราย
ใช้ไม้เป็นเครื่องสัมผัสกับหญ้า แล้วปรับสภาวะไม้กับหญ้าเป็นคู่ต่อสู้ประสานไปมา
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ผู้ฝึกไทเก๊กด้วยกันเป็นคู่ซ้อม
โดยให้ทั้งคู่เดินลมปราณแล้วหลับตาร่ายรำท่าไทเก๊ก ห้ามให้อีกฝ่ายตั้งท่ารอ
เพื่อตนจะได้เลือกท่ารับ ให้ใช้จิตสัมผัสทั้งหมด ร่ายรำแบบมองไม่เห็นกัน
แล้วปรับประสานสภาวะของตน พึงระวังไม่ให้ตนเองล้มลง
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเสมือนถูกตอกลึกลงในพื้นดิน
แล้วใช้ขาข้างที่เหลือ ในการเคลื่อนและหมุนไปรอบๆ ขณะที่มีการโคจรลมปราณและร่ายรำ
สิ่งสำคัญคือห้ามเขยื้อนเท้าข้างที่เป็นเสมือนเสาหลักออกจากตำแหน่งเดิม
ผู้ร่ายรำจะหมุนไปรอบๆ ด้วยท่าทางต่างๆ ตามกระบวนการโคจรลมปราณได้ตามปกติ
(ขณะฝึกควรหลับตา)
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาทั้งสองข้างในการร่ายรำเป็นหลัก
กระบวนท่าทั้งหมด จะพัฒนาจาก “หมัดเมา” ให้สองมือเสมือนถือจอกเหล้า
โคจรลมปราณไปสู่แขนสองข้างราวกับงูเลื้อยไปมา
แล้วปรับร่างกายให้เคลื่อนไปตามพลังปราณที่เคลื่อนไปสู่แขนข้างใดข้างหนึ่ง ดังนั้น
จึงถือเอาแขนนำ แล้วขาตาม โดยไม่สนใจว่าขาทั้งสองข้างจะก้าวอย่างไร
ทั้งนี้ให้โคจรลมปราณธรรมจักร หมุนรอบขาสองข้าง เพื่อให้ขาทั้งสองมีสมดุลในตัว
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาทั้งสองข้างในการร่ายรำเป็นสำคัญ
สองมือจะใช้การร่ายรำฝ่ามือ โคจรลมปราณธรรมจักรลงเท้าทั้งสองข้าง
ราวกับขาทั้งสองข้างคือสว่านที่เจาะลงดิน ในการก้าวแต่ละครั้ง จะเสมือนก้าวลงตอไม้
หากเก้าผิดก็ร่วงลงจากตอไม้ การก้าวแต่ละครั้งจะลงน้ำหนักแรง คือ
กระทืบเท้าค่อนข้างแรง แต่จะก้าวเท้าค่อนข้างช้า ในการก้าวเท้าแต่ละครั้ง
จะดึงเท้าขึ้นใกล้เอว จากนั้น จึงส่งแรงจากท้องน้อยลงปลายเท้าด้วย
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาทั้งสองข้างในการสืบเท้าไปข้างหน้าและถอยหลัง
มือทั้งสองข้างจะถือดาบญี่ปุ่น หรือสมมุติว่าถือดาบญี่ปุ่นอยู่
มีการก้าวสืบเท้าแล้วแทงสลับกับการฟัน
ในการฝึกนี้จะช่วยให้ผู้ฝึกไทเก๊กเข้าใจวิธีการต่อสู้ในแบบของดาบญี่ปุ่นได้
เข้าใจจังหวะการเข้าและถอย ซึ่งในผู้ใช้ดาบนั้น เป็นตายเกิดขึ้นได้ในพริบตา
ในดาบเดียวเท่านั้น
ผู้ฝึกจะเลือกใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางพุ่งออกเสมือนกระบี่
ในการร่ายรำ เท้าทั้งสองข้างค่อนข้างจะทื่อตรง
แขนทั้งสองข้างหมุนเป็นวงกลมต่อเนื่อง ประกอบด้วยท่าแทงและปัดเป็นสำคัญ
สำหรับผู้ใช้กระบี่แล้ว จะแทงเป็นหลัก จะปัดเพื่อปกป้อง
เป็นจุดแตกต่างจากผู้ใช้ดาบ กระบี่ดรุณีจะร่ายรำอ่อนช้อยเหมือนนางงามร่ายรำ
สองมือเสมือถือกระบี่คู่ ประสานกระบี่คู่อย่างสอดคล้องกัน กระบี่แรกนำ
กระบี่สองต้องตามติด เป็นหนึ่งเดียว
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ท่ากงเล็บแบบเส้าหลินในการร่ายรำ
แต่โคจรพลังธรรมจักร จึงมีความอ่อนพลิ้วไหวจากภายใน
ท่ากงเล็บมังกรจะใช้พลังค่อนข้างมาก ผู้ฝึกจะรู้สึกเหนื่อยกว่าท่าอื่นๆ
กงเล็บจะงองุ้มสามนิ้วสำคัญ คือ นิ้วโป้ง, ชี้, กลาง อีกสองนิ้วที่เหลือจะไม่ใช้นัก
จุดนี้จะแตกต่างจากกงเล็บกระดูกขาว และเป้าหมายจู่โจมจะไม่พุ่งไปที่ศีรษะ
แต่มุ่งไปที่จุดอ่อนต่างๆ ของร่างกายแทน เช่น ลูกตา, ลูกกระเดือก,
ข้อมือ (กรณีรับและปัดป้อง)
รูปแบบการร่ายรำไทเก๊กแบบต่างๆ
ได้รับการพัฒนามาจากพื้นฐานของมวยสายอื่นๆ มาก่อน ปรมาจารย์ “จางซานฟง” ในอดีตได้เคยฝึกมวยเส้าหลิน
ทั้งยังได้ปะลองฝีมือกับคู่แข่งมากมายในยุคนั้น จึงพัฒนาและปรับปรุงมวยสายอื่นๆ
ให้เป็นแบบไทเก๊กเพื่อลดจุดอ่อน พัฒนาเป็นจุดแข็ง
และกลายเป็นมวยไทเก๊กในแบบเฉพาะของตนเอง
สิ่งที่สำคัญของไทเก๊กจึงไม่ใช่กระบวนท่าภายนอก แต่เป็นความหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติจากภายใน
ไม่ว่าจะอาศัยกระบวนท่าจากมวยสำนักไหน ก็สามารถปรับเป็นไทเก๊กได้ทั้งหมด
และยังทำให้มวยสายนั้นๆ พัฒนาจุดแข็งมากขึ้น ลดจุดอ่อนลงได้อีกด้วย
ในบทความฉบับนี้ขอแนะนำเพียงย่อ ที่เหลือแล้วแต่พรสวรรค์ของผู้อ่านจะพึงฝึกเองเถิด
๑) การใช้คลื่นเสียงกระตุ้นกำลังภายใน
ในการฝึกแรกๆ ลมปราณยังตื่นไม่มาก
ทำให้ยากต่อการจับการเคลื่อนไหวของลมปราณในร่างกาย
ผู้ฝึกหากได้เครื่องช่วยกระตุ้นลมปราณ จะทำให้สามารถจับความเคลื่อนไหวของลมปราณได้ชัดเจนขึ้น
เช่น ใช้ความเย็น, ใช้คลื่นเสียงกระตุ้น
ในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้เสียงเพลงสวดมนต์ พร้อมเคาะระฆังเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
๒) การหลอมรวมเป็นหนึ่งกับธรรมชาติ
การฝึกลมปราณในขั้นสุดท้าย
จะต้องปลดปล่อยลมปราณภายในออกมาสู่ธรรมชาติ และดึงลมปราณบริสุทธิ์จากธรรมชาติเข้าไปภายใน
หลอมรวมกายจิตวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ไม่แยกจากกัน
ทะลายเกราะร่างกายที่ปิดกั้นออกทั้งหมด
จึงจะเปิดทะลวงชีพจรออกสู่ภายนอกได้ทั่วร่าง และรับพลังจากธรรมชาติได้สูงสุด
๓) การผ่อนคลายร่างกายจิตใจเป็นอิสระ
การฝึกลมปราณจะไม่ได้ผลเลย หรือได้ผลช้ามาก
หากมีความอยากได้, จดจ่อให้เกิด, จงใจให้เกิด, บังคับ, เร่งเกินไป,
เคร่งครัดเกินไป, เกร็ง ฯลฯ
อาการเหล่านี้ล้วนบั่นทอนการฝึกให้ลดลงอย่างยิ่ง ผู้ฝึกจำต้องผ่อนคลายร่างกายจิตใจ
ปลดปล่อยความรู้สึกให้ไปสุดประมาณ เพื่อปลดปล่อยลมปราณให้ไหลเวียนสะดวกที่สุด
๔) การรู้ความพอดีของกำลังภายในร่างกาย
ตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนลมปราณในร่างกาย
จิตของผู้ฝึกต้องมีสติในการจับความเปลี่ยนแปลงของลมปราณแบบต่างๆ ในร่างกายตลอดเวลา
พึงระวังว่าลมปราณที่มากเกินไปก็เป็นผลร้าย, คั่งค้างก็เป็นผลร้าย, ติดขัดก็เป็นผลร้าย ดังนั้น
จำต้องรู้จักความพอดีของร่างกาย และลมปราณทั้งภายในและภายนอกที่หมุนเวียนเข้าออก
๕) การรู้ความเข้ากันได้ของกำลังภายนอก
ในการดึงลมปราณภายนอกเข้ามาภายใน
และถ่ายลมปราณภายในออกภายนอกนั้น จะเป็นการชำระล้างลมปราณเสียๆ ภายในร่างกาย
แต่การรับเข้าก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน หากสิ่งที่รับเข้ามานั้นไม่ดีต่อร่างกาย, เป็นของเสีย, หรือเกินขนาด
ดังนั้น จำต้องให้จิตรับรู้จดจำได้ว่าลมปราณแบบใดที่ควรดึงเข้าและแบบใดควรนำออก
๖) ความว่างจากสิ่งเจือปนใดๆ ในจิตขณะฝึก
ในการฝึกลมปราณ ต้องไม่คิดเรื่องใดๆ
ในหัวสมองต้องว่างโล่งโปร่งไปหมด ทิ้งหรือลืมเรื่องต่างๆ ไปชั่วคราว
แล้วจดจ่ออยู่กับลมปราณขณะร่างกายเคลื่อนไหวเท่านั้น
๗) สมาธิจดจ่อความเคลื่อนไหวลมปราณในร่างกาย
ระหว่างการฝึกลมปราณ จิตต้องเพ่งอยู่กับลมปราณ
ไม่ควรละสมาธิออกไปสู่เรื่องอื่น
การปันสมาธิมีผลให้การฝึกไม่ได้อะไรเลยและการถูกรบกวนสมาธิทำให้ฝึกไม่ได้ผล
๘) สติเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทุกขณะ
การฝึกลมปราณจำต้องมีสติมาก ละเอียด
และสูงกว่าการฝึกอย่างอื่น
สติของคนเราจะสูงที่สุดเมื่อถูกจู่โจมหรือความตายมาเยือน ดังนั้น
ระหว่างการฝึกจะขาดสติไม่ได้
๙) ปัญญาปรับสภาวะกาย-จิต-วิญญาณให้สมดุลกับธรรมชาติ
สิ่งนี้คือจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการฝึกลมปราณ
หากฝึกลมปราณขัดแย้งกับธรรมชาติแล้ว เราจะถูกทำลายเอง พึงระลึกว่า “ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”
จารึกโดย สมเกียรติ กาญจนชาติ http://www.facebook.com/thaihistory?ref=hl
ประวัติศาสตร์ จารึกวัดบวรนิเวศ http://www.facebook.com/thaihistory?ref=hl#!/media/set/?set=a.258806637498779.62591.161446187234825&type=3
ข้อมูลมารศาสนา ศึกษาที่ http://www.facebook.com/ssomkiert#!/media/set/?set=a.199590660058927.52541.100000239827913&type=3
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ