ฉลองและถวายพระกุศล ๑๐๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช




สำนักข่าวไทย 20 ก.ย.- พระราชรัตนมงคล ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เปิดเผยว่า เนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3 ตุลาคม ปีนี้ ซึ่งทรงมีพระชนมายุครบ 99 ชันษาเต็ม ย่างเข้า 100 ชันษา และเป็นปีพิเศษที่ผู้นำชาวพุทธ 32 ประเทศถวายพระเกียรติยศสูงสุดแด่สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็น "ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา" เป็นครั้งแรกของโลก จะมีการจัดหลายกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1-7 ตุลาคม เพื่อฉลองและถวายพระกุศลที่วัดบวรนิเวศวิหาร เช่น การจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียติเกี่ยวกับพระประวัติ หนังสือในพระนิพนธ์ พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร การเปิดปูชนียสถานสำคัญของวัดให้ประชาชนเข้ากราบนมัสการ

สมเด็จพระญาณสังวร สังฆราชาผู้เลิศด้วยความสำรวม
“คำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นสั่งสอนอยู่ในภายใน ปฏิบัติได้อยู่ในภายใน รู้ยิ่งเห็นจริงได้เองทุก ๆ คน มีเหตุตรองตามให้เห็นได้จริงทุกๆคน ปฏิบัติก็ได้ผลจริงทุก ๆ คน เพราะไม่ได้สอนในภายนอก แต่ว่าสอนในภายใน แล้วก็เป็นเหตุเป็นผลที่ ตรองตามให้เห็นได้ ปฏิบัติได้”
หากให้ “เดา”ว่าพระธรรมเทศนาด้านบนนี้เป็นของพระภิกษุรูปใด เชื่อได้ว่ามีคนไม่น้อยทีเดียวที่จะต้อง “เดา” ว่าพระภิกษุผู้เป็นเจ้าของ พระธรรมเทศนาด้านบนนี้ต้องเป็นพระสายปฎิบัติฝ่ายอรัญวาสีหรือที่เราๆ ท่านๆ มักเรียกว่า “พระป่า” หรือ “พระกรรมฐาน” ด้วยคำสอนนั้นเน้นให้พิจารณา “สิ่งที่อยู่ภายในกายตน” ซึ่งมักเป็นคำสอนของ “พระป่า”
หาก แต่เมื่อทำการเฉลยแล้วอาจทำให้หลายๆท่านแปลกใจว่า พระภิกษุเจ้าของพระธรรมเทศนานี้เป็นพระที่สำเร็จด้านปริยัติธรรมสูงสุดคือ เปรียญธรรม9 ประโยค และมีสมณศักดิ์เป็นถึงสมเด็จพระราชาคณะที่ ดำรงตำแหน่ง “สังฆราชา” แห่งสังฆมลฑลไทย
ใช่แล้วครับพระธรรมเทศนาด้านบนนี้เป็นพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก(เจริญ สุวัฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน

หาก จะเขียนถึงสมเด็จพระญาณสังวรโดยไม่กล่าวถึงพระประวัติเกรงจะทำให้ขาดอรรถรส ไปบ้างพอสมควรดังนั้นก็ขอกล่าวแต่เพียงสังเขปพอได้ใจความเพราะเกรงจะเป็นการ เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร นามฉายาว่า สุวัฑฒโน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ลำดับที่ ๖ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔เป็นต้นมา
สมเด็จฯ มีชาติภูมิอยู่ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนบุตร ๓ คน ของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาติกาล ณ บ้านวัดเหนือ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เวลา ๐๔.๐๐ น. เศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
อายุ ได้ ๘ ขวบ ได้เข้าศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม และโรงเรียนในสมัยนั้นก็คือ ศาลาวัดนั่นเอง จบชั้นประถม ๓ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ มีอายุย่างเข้าปีที่ ๑๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม มีพระครูอดุลสมณกิจ (ดี พุทธโชติ) เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อ ออกพรรษาแล้วได้ไปเรียนบาลีไวยากรณ์ที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม ในพรรษานั้น เพื่อกลับมาสอนที่วัดเทวสังฆาราม ในพรรษาต่อมาคือ พ.ศ. ๒๔๗๒ พระครูอดุลสมณกิจได้พาสมเด็จฯ มาถวายตัวต่อเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์(พระ ยศในขณะนั้นของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ประทานนามฉายา ว่า“สุวัฑฒโน”
พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุ ๑๗ ปี สอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญ ๔ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จฯ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้กลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเทวสังฆาราม พระครูอุดมสมณกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วอยู่จำพรรษาช่วยสอนปริยัติธรรม ณ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา ออกพรรษาแล้วจึงกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุตอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (พระสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในขณะนั้น) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้จะกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ก็ยังคงไปมาช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่อีก ๒ ปี
พ.ศ. ๒๔๗๖ อายุ ๒๑ ปี สอบได้เปรียญ ๕ ประโยค จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ ๒๙ ปี ก็สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค








ใน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๘ สมเด็จฯ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต เป็นพื้นฐานได้ศึกษาด้วยตนเองในเวลาต่อมา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ สมเด็จฯ ทรงนำมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ สมเด็จฯ ยังได้ศึกษาภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสด้วย โดยใช้เวลาว่างในตอนเย็นหรือกลางคืน ศึกษากับครูคฤหัสถ์ที่มาสอนเป็นการส่วนตัว แต่เนื่องจากไม่มีเวลาศึกษาอย่างติดต่อ ภายหลังจึงได้เลิกร้างไปเมื่อ สอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว สมเด็จฯ ก็เริ่มรับภาระหน้าที่ต่างๆ ทั้งวัดบวรนิเวศวิหาร ของคณะสงฆ์ และขององค์กรต่างๆ ทางพระพุทธศาสนามาโดยตลอด
ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔ จนถึงปัจจุบัน สมเด็จฯ ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่
พระโสภณคณาภรณ์
พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม



พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จออกทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ ทรงเลือกสมเด็จฯ เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างที่ทรงผนวช และก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์รักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกา ในศกนี้





พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจากพระพรหมมุนี
(ผิน สุวโจ)

พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร

พ.ศ. ๒๕๓๒ วันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๓๒ ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

มีประกาศพระนามตามพระสุพรรณบัตรว่า


"สมเด็จ พระญาณสังวรบรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมลสกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัท คารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสีอรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช"

หากบทความนี้จะจบลงแค่เพียงพระประวัติของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็เกรงว่าจะไม่ได้อรรถรสและคงไม่ทำให้การนำเสนอ ใน“Blog Dhammayos”นี้ต่างจากการนำเสนอจากแหล่งอื่นในโลกไร้พรมแดนนี้ คงเหมือนกับการรับประทานปลากระป๋องที่ต่างกันเพียงแค่ “ฉลาก” แต่รสชาติก็เหมือนๆกันซ้ำซากจำเจ ...
แต่งานเขียนนี้ก็ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่มีที่ใดเหมือน...
ในตอนต้นที่นำเสนอพระธรรมเทศนานั้นจะไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยหากมีใครสักคนเดาว่าเป็น “คำสอน”จาก พระธุดงค์กรรมฐานที่เลิศยิ่งด้านวิปัสนาธุระ ด้วยว่าสมเด็จพระญาณสังวรนี้ถึงแม้ว่าท่านจะทรงภูมิศึกษาพระปริยัติธรรมจน ถึงขึ้นสูงสุดคือเปรียญธรรม 9 ประโยคแล้ว ท่านก็มิได้ทรงละเลยด้านการปฏิบัติธรรมเลย ดังจะเห็นได้อยู่เสมอเมื่อครั้งที่สังขารขันธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านยัง แข็งอยู่โดยจะทรงหาโอกาสไปศึกษาด้านจิตตภาวนากับพระวิปัสนาจารย์ฝ่าย อรัญวาสีอยู่เป็นประจำทั้งที่มีอายุพรรษามากกว่าเช่น หลวงปู่แหวน สุิจิณโณวัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี (จ.หนองบัวลำภูในปัจจุบัน) หลวงปู่เทศน์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร และวัดถ้ำขาม จ.สกลนคร โดยจะเสด็จไปประทับอยู่เป็นเวลาหลายวันเพื่อสนทนาธรรมและปฏิบัติภาวนาส่วน พระองค์หรือหากเป็นพระผู้มีอายุกาลพรรษาใกล้เคียงกัน หรือแม้แต่น้อยกว่า หากแต่เป็นผ้มีความชำนาญด้านปฏิบัติภาวนาแล้วพระองค์ก็เสด็จไปศึกษาด้วยเช่น กัน อาทิ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้าตาด จ.อุดรธานี พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม จ.สกลนคร พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูิริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานีเป็นต้น
หรือ หากพระเถรานุเถระทั้งหลายนี้มีกิจนิมนต์มาที่กรุงเทพก็จะเข้าำพำนักที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งมีองค์สมเด็จพระญาณสังวรเป็นเจ้าอาวาสทุกคราวไปตัวอย่างเช่นพระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโนเมื่อครั้งที่ยังไม่ได้มีการสร้าง “สวนแสงธรรม”ที่พุทธมณฑล สาย 3 เมื่อ มีกิจที่จะต้องมาำพำนักในกรุงเทพฯ ท่านก็จะมาพำนักที่ วัดบวรนิเวศวิหารเสมอเป็นเหตุให้ท่านมีความคุ้นเคยกับสมเด็จพระญาณสังวรเป็น อย่างดี เนื่องจากมีอายุเท่ากันและพรรษาที่ใกล้เคียงกัน ...



เรื่อง ข้อวัตรปฏิบัตินี้เจ้าพระคุณสมเ็ด็จฯท่านก็ถือปฏิบัติเคร่งครัดยิ่งนัก จะมีน้อยคนที่รู้ว่าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯถือธุดงควัตรอยู่ข้อหนึ่งคือ ทรงเสวยมื้อเดียวมาตลอดเว้นแต่ทรงพระปชวร ดังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่าในคราวหนึ่งเมื่อครั้งที่ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวรมีพระชน มายุ60 พรรษา เศษแล้ว ได้เสด็จไปประทับที่วัดถ้ำขาม เพื่อศึกษา และปฏิบัติภาวนากับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดนี้ตั้งอยู่บนยอดเขา เวลาบิณฑบาต ต้องเดินลงมาที่ศาลารับบิณฑบาตซึ่งอยู่ข้าล่าง ทางเดินเป็นหินที่ค่อนข้างชัน และลำบาก พระเณรจึงกราบทูลพระองค์ว่าไม่ต้องเสด็จลงไปรับบิณฑบาตข้างล่าง เพราะพระเณรจะรับบิณฑบาตมาถวายเอง แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอม จึงเสด็จลงเขาไปรับบิณฑบาตจากชาวบ้านร่วมกับพระเณรด้วยพระองค์เองทุกวัน หรือแม้แต่การเสวยก็ทรงเสวยมื้อเดียว และเสวยในบาตรเฉกเช่นวัตรที่ “พระป่า” ถือปฏิบัติมาเช่นกัน
ด้วย เหตุนี้จึงเป็นหตุให้พระเถระฝ่ายอรัญญวาสีเหล่านั้นจึงมักเอ่ยชื่นชมแล ยกย่องถึงพระองค์อยู่เสมอเช่นหลวงปู่แหวน สุจิณโณ และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่แม้ท่านจะเป็นพระวิปัสสนาจารย์ซึ่งไม่ใคร่ที่จะให้คนยึดติดกับวัตถุมงคล นัก หากแต่ก็อนุโลมหากเป็นไปเพื่อการก่อสร้างถาวรวัตถุัและสาธารณกุศล นั่นเป็นเหตุให้เหล่าผู้นิยมพระปฏิบัติดี แลพระขลังต่างมุ่งหน้าบุกป่าฝ่าดงไปนมัสการท่านถึง
อารามที่ำำพำนัก...
แต่ แล้วพระเถระผู้เฒ่านั้นกลับแนะนำชาวกรุงเทพฯที่อุตสาห์ดั้นด้นมาเป็นร้อยๆ กิโลเมตรว่า ไม่จำเป็นต้องมากราบท่านถึงที่วัดก็ได้ เพราะหนทางไกล และลำบาก หากอยากกราบพระดี ให้ไปกราบสมเด็จฯวัดบวรก็ได้...



หากกล่าว ถึงสมณศักดิ์ของพระเถรานุเถระแล้วบางสมณศักดิ์ก็เป็นสมณศักดิ์ที่สืบทอดกัน มาหากองค์หนึ่งถึงแก่มรณภาพแล้วสมณศักดิ์นั้นก็จะได้รับพระราชทานให้แก่พระ เถระที่เหมาะสมต่อไปเช่น สมณศักดิ์ที่ “พระภาวนาพิศาลเถร”ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ของพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ซึ่งมีพระเถระที่เคยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์นี้คือ พระภาวนาพิศาลเถร (หนู ฐิตปัญโญ) หรือ พระภาวพิศาลเถร (พุธ ฐานิโย) เป็นต้น
แต่ ในบางคราวได้มีการตั้งสมณศักดิ์ใหม่เป็นพระกรณีพิเศษเพื่อพระราชทานอย่าง จำเพาะเจาะจงให้กับพระภิกษุบางรูปซึ่งสมณศักดิ์นั้นจะมีความหมายแสดงนัยถึง คุณลักษณะของพระรูปนั้นโดยเฉพาะเช่น พระญาณวิทยาคม (สมณศักดิ์พระราชาคณะชั้น “สามัญ”) ,พระราชวิทยาคม (สมณศักดิ์พระราชาคณะชั้น “ราช”) ,พระเทพวิทยาคม (สมณศักดิ์พระราชาคณะชั้น “เทพ”) สมณศักดิ์เหล่านี้มีความหมายแสดงโดยนัยว่าพระเถระที่ได้รับสมณศักดิ์นี้ย่อมมี “ความเด่น”ทางด้านวิทยาคมอย่างยิ่ง ซึ่งพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์นี้คือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา นั่นเอง...
และหากพิจารณาถึงสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะที่“สมเด็จพระญาณสังวร” นั้นเป็นตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ซึ่งตามพระนามหมายถึงผู้ที่ความสำรวมในความรู้อย่างยิ่ง (“ญาณ”หมายถึง ความรู้ และ “สังวร”หมายถึง สำรวม) หรือหากอ้างถึงพระอรรถกถาความหมายของ “ญาณสังวร”จะเป็นหัวข้อหนึ่งในสังวรวินัย 5 คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร และวิริยสังวร.
และดังได้มีอรรถาธิบายความหมายของ “ญาณสังวร”ว่า
สังวรที่ตรัสไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนอชิตะ

กระแส(ตัณหา)เหล่าใดในโลกมีอยู่
สติย่อมเป็นเครื่องห้ามกระแสเหล่านั้น
เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็นเครื่องระวังกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านั้นอันบุคคลย่อมละด้วยปัญญานี้เรียกว่าญาณสังวร.
สมณศักดิ์ที่ ”สมเด็จพระญาณสังวร” นี้ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานแก่พระอาจารย์สุก วัดราชสิทธาราม(วัด พลับ) พระเถระที่เลื่องลือด้านวิปัสนาธุระและเปี่ยมด้วยเมตตายิ่ง ถึงขนาดมีตำนานเล่าว่าสามารถแผ่เมตตาให้ไก่ป่าที่ได้ชื่อว่าปราดเปรียวและ ระแวงภัยยิ่ง ให้เชื่องเหมือนไก่บ้านได้ ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร(สุก) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ชาวประชาทั้งหลายจึงมักพากันขนานนามท่านว่า “สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน” นับตั้งแต่เมื่อครั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็มิได้มีพระเถระรูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระญาณสังวร” อีกเลยเป็นเวลานานถึง 152 ปี ( พ.ศ. 2463 ถึง 2515) จนได้มีการพระราชทานสมณศักดิ์นี้แด่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯเป็นที่สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฒโณ) เมื่อปี พ.ศ.2515
นอก จากนี้หากนับความพิเศษในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านก็มีความพิเศษอยู่อีกข้อหนึ่งซึ่งสมควรบันทึกไว้ คือเมื่อพระองค์ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้พระนาม “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก” เป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นราชวงศ์ เนื่องจากตามปกติ สมเด็จพระสังฆราชที่มิใช่พระราชวงศ์จะออกพระนามว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก” แล้ววงเล็บพระนามตามหลังเหมือนกันหมดทุกประองค์ เช่น สมเด็จพระอริวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศ เป็นต้้น





นอก จากนี้ในคราวที่สมเด็จพระญาณสังวรได้รับโปรดเกล้าฯเป็นสมเด็จพระสังฆราชได้ มีรับสั่งให้จัดทำพัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นกรณีพิเศษ โดยมีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์อยู่ตรงกลางพัดยศสมณศักดิ์นั้น และในปี พ.ศ.2536 ในคราวที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ยังได้รับพระราชทานพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย เหล่านี้นับว่าพระองค์ได้รับการถวายพระเกียรติยศ ที่สมเด็จพระสังฆราชที่มิใช่พระราชวงศ์จะพึงได้รับ อย่างสูงที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทีเดียว...

http://blog.eduzones.com/ppall/87221

ประชาสัมพันธ์ ร่วมบริจาคบูชาศิลปะวัตถุ ๑๐๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช ที่
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2012/09/blog-post_23.html

โครงการสร้างบุญบารมีถวาย ๑๐๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช ที่
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2012/09/blog-post_5.html


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง