"เป็นการกราบบังคมทูลด้วยข้อความอันเป็นเท็จ เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ?



หมายเหตุอะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ
"ภาพที่คนทั้งโลกเห็น แต่..มหาเถรสมาคมไม่เห็น"


ภาพ พระสุธีธรรมานุวัตร หรือเจ้าคุณเทียบ ป.ธ.9 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ทำการต้อนรับและเป็นไก๊ด์ นำประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก พร้อมด้วยนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เยี่ยมชมวัดโพธิ์ ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั่วโลก

อีก 2 วันถัดมา คือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ทางสำนักงานพระพุทธศาสนา ก็ได้ประกาศมติมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการเสนอชื่อพระสงฆ์เพื่อขอเข้ารับพระราชทานเลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์ ในระดับพระราชาคณะ จำนวน 66 รูปด้วยกัน ซึ่งเมื่อสำรวจดูบัญชีรายนามทั้งหมดแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีชื่อของ "พระสุธีธรรมานุวัตร" ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ด้วย


คำถามจึงมีว่า มหาเถรสมาคมมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของพระภิกษุเพื่อเสนอขอรับพระราชทานเลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์อย่างไร ในท่ามกลางสายตาของชาวโลกและประชาชนคนไทยทั่วไป ล้วนแต่มองเห็นภาพของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า และนางฮิลลารี คลินตัน สนทนากับพระสุธีธรรมานุวัตร ในบรรยากาศที่อบอุ่นในอ้อมกอดของวัดพระเชตุพน ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การทำงานของพระสุธีธรรมานุวัตรในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการทำงานเพื่อประเทศชาติพระศาสนา แม้ว่าจะเป็นเวลาสั้นๆ เพียง 30 นาที แต่ก็มีบทบาทที่โดดเด่นมิต่างไปจากบทบาทการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของนายกรัฐมนตรี ร้อยวันพันปีจึงจะมีวันนี้วันหนึ่ง ซึ่งจะเป็นจุดขายของพระพุทธศาสนาให้แก่นานาชาติ ซึ่งมหาเถรสมาคมก็เคยย้ำนักย้ำหนาว่า "อยากให้ประกาศพระพุทธศาสนาแบบไทยๆ ไปทั่วโลก"

แต่ถามว่า ทำไม ? มหาเถรสมาคมจึง "มองไม่เห็น" ถึงบทบาทความสำคัญของการทำงานเช่นนี้ โผเจ้าคุณที่ออกมาในปีนี้ ถ้าจะวิจารณ์ถึงคุณสมบัติของหลายรูปที่เป็นทั้ง "เด็กเส้น" หรือ "เด็กก้นกุฏิ" ของผู้มีอำนาจในวงการคณะสงฆ์แล้ว ก็มิแคล้วว่าจะเละตุ้มเป๊ะ บางท่านถึงกับวิจารณ์ว่า "เป็นการกราบบังคมทูลด้วยข้อความอันเป็นเท็จ เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ด้วยซ้ำไป แต่จะเป็นรูปไหน องค์ใด ก็ขอให้พิจารณากันเอาเอง

การมองไม่เห็นการทำงานเพื่อประเทศชาติเช่นที่เจ้าคุณเทียบทำในครั้งนี้ของมหาเถรสมาคม ก็ย่อมฟ้องไปในตัวแล้วว่า มหาเถรสมาคมมิได้สนใจในกิจการบ้านเมือง สนแต่เรื่องกิจการส่วนตัวเท่านั้น เพราะเบียดบังเอาตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์ไว้แต่ในหมู่คณะของตัวเอง ทำนองเล่นพรรคเล่นพวก แม้แต่พระสงฆ์ที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติโต้งโด่งดังไปทั่วโลก ก็ยังมองไม่เห็น จะมิให้เรา-อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม ทักท้วงได้อย่างไร ว่าพวกท่านหลับหูหลับตาทำอะไรอยู่

เหตุใด พระสงฆ์ที่ทำงานเพื่อพระศาสนาและมีผลงานอย่างชัดเจนเช่นนี้ จึงไม่ได้รับการพิจารณายกย่องจากมหาเถรสมาคม เพราะถ้าหากเทียบกับพระสงฆ์ทั้ง 66 รูป หรือทั้งโผแล้ว ถ้าให้ประชาชนทั่วประเทศไทยลงมติโหวตให้เป็นเจ้าคุณในปีนี้ รับรองว่าชื่อของพระสุธีธรรมานุวัตร ต้องได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจว่า กรรมการมหาเถรสมาคมทำงานกันอย่างไร มีเป้าหมายเพื่ออะไร

เพื่อตัวเองหรือเพื่อประเทศชาติพระศาสนา ?

อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม
20 พฤศจิกายน 2555


มหาวอ "ไม่เข้ากฎเกณฑ์" เป็นเจ้าคุณ
เพราะเราใช้ระบบ "โควต้า"
นพรัตน์ระบุ "ระบบ" เจ้าคุณของมหาเถรสมาคม

นั่นนะสิฮะ ทำงานเพื่อพระศาสนา มหาเถรสมาคมมองไม่เห็น แต่ถ้าทำงานเพื่อเจ้านาย เลียแข้งเลียขาเหมือนหมาเหมือนแมวอยู่ในกุฏิ กลับยกย่องว่าดี เหมาะสมจะเป็นพระราชาคณะ มิน่ายิ่งตั้งพระราชาคณะเพิ่มขึ้น พระพุทธศาสนากลับยิ่งสาละวันเตี้ยลงทุกวัน ความจริงแล้ว ตัวนายนพรัตน์นั่นแหละ ที่ไม่มีคุณสมบัติจะเป็น ผอ.สำนักพุทธฯเลย เพราะยิ่งทำงานก็ยิ่งเหลวไหล เป็นเลขามหาเถรฯยังไงถึงไม่รายงานพระที่ทำงานเพื่อพระศาสนา ทำงานไม่เป็นก็ลาออกไปเสียไป๊ !


'ว.วชิรเมธีวืดสมณศักดิ์อีกปี

ไร้ชื่อ 'ว.วชิรเมธีเลื่อนสมณศักดิ์ปี 55 เผยแม้มีผลงานมากแต่ไร้คุณสมบัติที่จะได้ตำแหน่ง 'เจ้าคุณตามกฎเกณฑ์ มส. : ไตรเทพ ไกรงูรายงาน

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)กล่าวว่า บัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาเลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ประจำปี 2555 จำนวน 66 รูปแล้ว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2555 แต่ไม่มีรายชื่อของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือรู้จักกันดีในนามปากกา "ว.วชิรเมธี" ที่มีชื่อเสียงว่า "เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียน และนักบรรยายธรรม"

ทั้งนี้ นายนพรัตน์ ได้ให้เหตุผลว่า แม้ว่า ว.วชิรเมธี จะมีผลงานที่เด่นชัด 
แต่ไม่เข้าหลักเกณฑ์และระเบียบใดๆ ของมหาเถรสมาคม (มส.) ทั้งสิ้น การพิจารณาสมณศักดิ์ต้องไล่ที่ระดับ ต้องดูโควตา โดยมีเสนอตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาส ทั้งนี้ ท่านจะได้ก็ต่อเมื่อ ต้องเสนอแต่งตั้งให้เป็นกรณีพิเศษจริงๆ ไม่มีเกณฑ์ใดที่จะเสนอทั้งสิ้น

ด้านพระธรรมคุณาภรณ์ หรือเจ้าคุณพิมพ์ รองเจ้าคณะภาค 7 และเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กทม. พระผู้ซึ่งรวบรวมและคิดค้นโปรแกรมการตั้งราชทินนามพระราชาคณะ บอกว่า เป็นเรื่องยากที่ท่านจะได้สมณศักดิ์ เมื่อท่านออกจากสำนักวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม. ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะได้สมณศักดิ์ โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของพระที่ได้สมณศักดิ์ คือเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์อย่างน้อย 55 ปี ถ้าเป็นผู้ช่วยพระอารามหลวงอย่างน้อย 1 ปี ถึงจะมีคุณสมบัติขอสมณศักดิ์ได้ แต่ ณ วันนี้ ว.วชิรเมธี ไม่มีคุณสมบัติใดๆ ตามเกณฑ์ของมหาเถรสมาคม

ในอดีต การพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ เป็นพระราชอำนาจและเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก มีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชนแล้ว ก็จะพระราชทานสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจ ในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าสกลมหาสังฆปริณายกอยู่นั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้

ปัจจุบันเป็นหน้าที่คณะสงฆ์จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไป แต่ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราช หรือสมเด็จพระราชาคณะ คณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูป เพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว

แหล่งข่าวจาก มส. ให้ข้อมูลกับ "คมชัดลึก" ว่า ตามหลักการเสนอพระมหาเปรียญธรรม 9 ประโยค ที่จะขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญหรือท่านเจ้าคุณ ตามระเบียบต้องเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง หรือเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ขึ้นไป หรือมีตำแหน่งปกครองตั้งแต่เจ้าคณะตำบล อำเภอ จังหวัดขึ้นไป ทั้งนี้ต้องมาตามลำดับขั้นตอน ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ก็จะไม่มีการทำประวัติขอ เพราะทราบด้วยตัวเองอยู่แล้ว่าต้องเป็นไปตามหลักการ แต่มหาเถรสมาคมอาจจะเห็นว่าเป็นพระที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมพระพุทธศาสนา ก็จะสามารถขอพระราชทานสมณศักดิ์ให้ได้ แต่ในที่สุดแล้วก็ต้องงดเป็นไปตามกระบวนการอยู่ดี

ในกรณีของ ว.วชิรเมธี ถึงแม้ว่าจะเสนอไปตามหลักเกณฑ์ก็ต้องมาพิจารณาว่าใครมีผลงานมากน้อยกว่ากัน เหมาะสมที่จะให้หรือไม่ ถ้าให้ไปแล้วจะเหมาะในเขตปกครองนั้นๆ หรือไม่ เช่น หากมีพระอยู่ที่อาวุโส และมีตำแหน่งปกครองที่สูงกว่าอยู่ แต่ยังไม่ได้เป็นท่านเจ้าคุณ เจ้าเอาประโยค 9 ขึ้นเป็นเจ้าคุณเลยภาพที่ออกมาก็จะเป็นการกระโดดข้ามเกินไป เพราะส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนก็จะเคารพพระผู้อาวุโสในเขตปกครองนั้นอยู่

"พระ ป.ธ.9 ส่วนใหญ่ท่านรู้ภาวะของตัวเองว่าจะของสมณศักดิ์ได้หรือไม่ กรณีท่าน ว.วชิรเมธี เข้าใจว่าท่านรู้ตัวว่าไม่อยู่ในเกณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้น แม้จะมีผลงาน เว้นแต่กรณีที่ท่านทำงานต่อพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น พรรษามากขึ้น มหาเถรฯ อาจจะพิจารณาให้กรณีเดียวกับพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) โดยไม่มีตำแหน่งปกครอง ซึ่งนับจากนี้ไปน่าจะไม่ต่ำกว่า 10 ปี" แหล่งข่าวจาก มส.ระบุ
ข่าว : คมชัดลึก
21 พฤศจิกายน 2555

ความคิดเห็น

  1. ทำด้วยความ บริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
    สะสมบารมี ไว้เป็นเสบียง คือเกียรติยศ อันประเสริฐสุด
    สาธุ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ9 ธันวาคม 2555 เวลา 00:41

    ความชั่วก็มี ความดีก็ปรากฏ คนทำดีก็อด คนใจคดก็รับไป กฎเกณฑ์งี่เง่า วัดราษฎร์ 55 ปี ฮ่าๆๆๆ คนมีปัญญาเห็นแล้ว ก็อดเวทนาพระดีๆ ไม่ได้

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ ได้ฝากความคิดเห็นไว้ที่บทความของคุณ "คำเตือน ! ถึง..ทักษิณ ชินวัตร":

    ขอนำเสนอบทความต่อไปนี้ ประกอบความรู้สึกของผู้ที่ได้อ่านก่อนตัดสินใจเรื่องที่อ่านว่า จริง ไม่จริง เชื่อได้ เชื่อไม่ได้ จะเลือกฝ่ายใด จะสนับสนุนอย่างไร ที่สำคัญต้องจบลงด้วยความสุขของทุกคน "ความสุขคืออะไร" ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอในครั้งหน้า บทความที่ขอฝากไว้คือ ....กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
    1. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
    2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
    3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
    4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
    5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
    6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
    7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
    8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
    9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
    10.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
    ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว[2]

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ