บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

จารึกประวัติศาสตร์ ผลงานมหาเถรสมาคม

รูปภาพ
ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ได้ที่ https://docs.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุญบารมี ถวายสมเด็จพระสังฆราช ครับ ต่ออายุกรรมการมหาเถรสมาคม รุ่นเก่า แต่ต่ออายุให้ใหม่ ใครอยากเห็นคนต่ออายุตัวเองได้ ก็เชิญชม "ตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม"  เป็นตำแหน่งผูกขาดของเจ้าคณะใหญ่ในหนต่างๆ ที่เอาตัวเองเข้าไปนั่งกินตำแหน่งจนตาย และยังสำรองป้องกันอำนาจไว้ โดยการนำเอาพระลูกวัดหรือในเครือข่ายเข้าไปดำรงตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นวัดบวรนิเวศวิหาร วัดสระเกศ วัดปากน้ำ วัดชนะสงคราม ล้วนแต่เล่นการเมือง ตั้งพรรคประจำวัดของตัวเองขึ้น แล้วก็วางหมากวางเกมกันแย่งชิงอำนาจในคณะสงฆ์ไทย สุดท้ายก็คือ  สร้างความแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า  เอามหาเถรสมาคมเป็น  "ตรายาง"  ใครๆ ก็เอาบัญชีของตัวเองเข้าไปปั๊ม แล้วก็อ้างว่า  "ผ่านมหาเถรสมาคมแล้ว"  หนังพระไตรปิฎกและตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 เป็นตัวอย่างอันชัดเจนที่สุด เรื่องพรรค์นี้ หนีไม่พ้นสายตาพญาอินทรีย์อย่าง  "ธัมมชโย"  ไปพ้นดอก วันนี้ มี "...

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิ (ประวัติศาสตร์ที่ชาวไทยไม่ทราบ)

รูปภาพ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) พระนครศรีอยุธยา (ความมั่นคงของชาติ) ๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย ในวันที่ 18 มกราคม 2550 ประกาศเป็น วันกองทัพไทย เป็นปีแรก ซึ่งก่อนหน้านี้คือ “วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” “วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ อันตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” (แทนวันที่ ๒๕ มกราคม เนื่องจากนายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ที่กำหนดเป็นวันที่ ๒๕ มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง) และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เ...

อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม (สมเด็จพระสังฆราช)

รูปภาพ
พระมหากรุณาที่ทรงมุ่งแสดงให้เห็นอำนาจกรรม     พระพุทธองค์ก่อนจะทรงดับขันธปรินิพพาน ทรงพระประชวรด้วยพระโรคลงพระโลหิต เหตุด้วยทรงรับประเคนอาหารสุกรมัททวะจากนายจุนทะ ผู้มีศรัทธายิ่งนักในพระพุทธองค์ เสวยอาหารนั้นแล้วก็ทรงลงพระโลหิต ข้อที่พึงสังเกตก็คือ เมื่อทรงรับประเคนอาหารจานนั้น ทรงทราบดีแล้วว่าเป็นอาหารมีพิษ จึงรับสั่งให้นำไปฝังเสีย มิให้ประเคนแก่พระอื่น ๆ ที่ตามเสด็จไปด้วย พระองค์เสวย และก็ทรงได้รับพิษจากอาหารนั้น เป็นความทรมานพระองค์มิใช่น้อย ด้วยเหตุทรงมีพระชนมายุมากแล้วถึง   80   พรรษา     ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย น่าจะได้แลเห็นพระมหากรุณาที่ต้องทรงมุ่งแสดงให้เห็นอำนาจแห่งกรรม ที่ไม่อาจมีผู้หนีพ้นได้ นึกถึงพระมหากรุณาคุณข้อนี้ให้อย่างยิ่ง ให้ซาบซึ้งถึงใจ ทรงมุ่งแสดงให้ประจักษ์แจ้งชัดเจน จนถึงทรงเป็นตัวอย่างด้วยพระองค์เอง ทรงเสียสละด้วยพระมหากรุณาใหญ่ยิ่งถึงเพียงนี้ ควรหรือที่จะไม่พากันนอบน้อมยอมรับพระมหากรุณานั้นไว้เหนือเศียรเกล้า แล้วมุ่งปฏิบัติตามที่ทรงแสดงสอนด้วยพระวิริยะอุตสาหะลำบากยากแค้นแสนสาหัส จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ก็ยั...

เมื่อมารศาสนาลบหลู่พระศาสนาและทวยเทพ ต้องรับกรรม

รูปภาพ
การปราบมารอภิบาลคนดี โดยสวด โอม นะมัส ศิวาย   เช้า-เย็น และขอพรพระองค์ ให้ มารศาสนาและผู้ทำลายสถาบันได้รับกรรมของตน   ประวัติศาสตร์ คำทำนาย กรุงรัตนโกสินทร์ และ คติธรรมควรศึกษา www.facebook.com/thaihistory ตามคติโบราณในการสร้างพระนครใหม่นั้น ให้สร้างเทวสถานและเสาชิงช้า เพื่อบูชาพระศิวะ ผู้ทรงประทานพร พระนารายณ์ผู้ทรงรักษา พระพรหมผู้สร้าง เมื่อจัดตั้งเทวสถานแล้วก็เป็นสถานที่จะกราบไหว้เทพเจ้าสำคัญ และการสร้างเสาชิงช้าก็เป็นคติในการทำให้บ้านเมืองแข็งแรง พิธีที่ทำให้ประเทศชาติมั่นคงตามลัทธินั้น คือ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งจะทำพิธีโล้ชิงช้าแสดงตำนานเทพเจ้าตอนสร้างโลก เมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วถือว่าการสร้างพระนคร ได้สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ เมื่อสร้างพระนครเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป พระราชพิธีนี้ บวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร...