ประวัติศาสตร์ (วันตำรวจแห่งชาติ ๑๓ ตุลาคม)

                                                 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

สำหรับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ปัจจุบันอายุ 58 ปี เป็นชาวจังหวัดนครพนม จบการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 29 รับราชการในกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ก่อนจะได้เติบโตในสายงานเรื่อยมา จนได้เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในปี พ.ศ.2545 จากนั้นได้เป็น ผบช.ภาค 3, ผบช.ภาค 9 และเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. จนกระทั่งดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.เมื่อปี พ.ศ.2553 ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) อีกตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2554

วันตำรวจ ของไทย ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันประกาศรวม "กรมพลตระเวน" กับ "กรมตำรวจภูธร" เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมตำรวจ" (ในภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ")

กรมตำรวจจึงถือเอาวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น "วันตำรวจ" โดยมีการประกอบพิธีในวันตำรวจอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งขณะนั้น พล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นได้จัดให้มีพิธีเดินสวนสนาม และปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นได้ระงับการจัดพิธีเดินสวนสนาม ประกอบแต่พิธีทางศาสนาและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพียงอย่างเดียว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้จัดให้มีพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของเหล่าข้าราชการตำรวจ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ขึ้น ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี



ประวัติกรมตำรวจ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกรมตำรวจ หรือบางคนอาจจะเรียกกันติดปากว่า กรมตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบัน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ดูแลกิจการเกี่ยวกับตำรวจในประเทศไทย


ประวัติ ตำรวจไทยยุคต้น (ก่อน พ.ศ. 2403)

กิจการตำรวจ มีมาก่อน พ.ศ. 2403 แต่หลักฐานที่แน่ชัดพอจะหาได้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มีตำรวจขึ้นด้วยและให้ขึ้นอยู่กับเวียง มีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา
กิจการตำรวจครั้ง นั้นแบ่งออกเป็นตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง มีเจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานในบทพระอัยการระบุตำแหน่งนายพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น ดังนี้
ตำรวจภูธร หลวงวาสุเทพ เจ้ากรมมหาดไทย ตำรวจภูธร ศักดินา 1,000 ขุนพิศณุแสนปลัดขวา ศักดินา 600
ตำรวจภูบาล หลวงเพชรฉลูเทพ เจ้ากรมมหาดไทย
ตำรวจภูบาลศักดินา 1,000 ขุนมหาพิชัย ปลัดขวา ศักดินา 600 ขุนแผลงสะท้าน ปลัดซ้าย ศักดินา 600
นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าบุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้นต้องคัด เลือกจากผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำคุณความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว กิจการตำรวจในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่าง ประเทศตะวันตก

ตำรวจไทยยุคปฏิรูปการปกครอง

กิจการ ตำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2403 ถึง พ.ศ. 2475 เป็นสมัยที่ได้มีการปฏิรูปการปกครองประเทศไทยอย่างขนาดใหญ่ในทุกๆ ด้าน ตามแบบอย่างอารยประเทศตะวันตก ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือในปี พ.ศ. 2405 ได้ว่าจ้าง กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์ (Captain Sammoal Joseph Bird Ames) ชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงรัฐยาภิบาลบัญชา มาเป็นผู้พิจารณาวางโครงการจัดตั้งกองตำรวจ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตนครหลวงตามแบบอย่างยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก แต่เนื่องจากเหตุทางการเมืองระหว่างประเทศในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคที่ประเทศ อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส ฮอลันดา กำลังแข่งขันกันหาเมืองขึ้นในทวีปเอเชีย การจัดระเบียบการปกครองประเทศขณะนั้นจึงเพ่งเล็งไปในด้านป้องกันประเทศเป็น หลักใหญ่ นโยบายการตำรวจก็ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ และทหารด้วยเป็นธรรมดา

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 การปรับปรุงการตำรวจ นอกจากได้ขยายงานตำรวจนครบาลโดยให้ นาย เอ.เย.ยาดิน (A.J.Jardine) มาช่วยงานเพิ่มขึ้นแล้ว ยังได้จัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นในรูปทหารโปลิศ เมื่อ พ.ศ. 2419 สำหรับเป็นกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาคและให้สามารถปฏิบัติการ ทางทหารได้ด้วย โดยว่าจ้าง นาย ยี.เชา. (G.Schau) ชาวเดนมาร์คมา เป็นผู้วางโครงการ ผู้บังคับบัญชาส่วนมากก็โอนมาจากนายทหาร ต่อมาใน พ.ศ. 2420 ได้เปลี่ยน "กองทหารโปลิศ" เป็น "กรมกองตระเวนหัวเมือง" จนถึงปี พ.ศ. 2440 ได้ตั้ง "กรมตำรวจภูธร" ขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง โดยมี พลตรีพระยาวาสุเทพ (ยี.เชา.) เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร

ในปี พ.ศ. 2444 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อผลิตนายตำรวจออกรับราชการตำแหน่งผู้บังคับหมวดในส่วนภูมิภาค แม้ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 จะได้ย้ายมาตั้งที่ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม ก็ถือกันว่า โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ซึ่งตั้งขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนนายร้อยตำรวจปัจจุบัน

กำลังพลในระยะแรกใช้ตำรวจ แต่ต่อมาเมื่อทางทหารได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทางตำรวจภูธรก็ได้ขออนุมัติใช้กฎหมายฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้เกณฑ์คนเข้าเป็นตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อได้จัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแล้ว ก็ได้พยายามขยายการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ เพื่อให้มีกำลังตำรวจสำหรับป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย อำนวยความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ประชาชาชน

ต่อมาได้ขยายกิจการตำรวจภูธรไปยังหน่วยการปกครองส่วน ภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ทางด้านตำรวจนครบาลก็ได้ว่าจ้าง นาย อีริค เซนต์ เจ.ลอซัน (Mr. Eric Saint J.Lawson) ชาวอังกฤษเข้ามาช่วยอีกคนหนึ่ง

กิจการตำรวจในยุคนี้ขึ้นอยู่กับ 2 กระทรวงคือ กระทรวงนครบาล (กรมพลตระเวน หรือ ตำรวจนครบาล) และกระทรวงมหาดไทย (กรมตำรวจภูธร) และต่อมาได้รวมเป็นกรมเดียวกันภายใต้การบังคับบัญชาของอธิบดีคนเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เรียกว่า "กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน" กรมตำรวจจึงถือว่าวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันตำรวจ และในปลายปีนั้นเองได้เปลี่ยนเป็น "กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล" ยกฐานะเจ้ากรมขึ้นเป็นอธิบดี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงนครบาลกับกระทรวงมหาดไทยเข้าเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกว่า กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลจึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2469 ได้เปลี่ยนนามกรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลเป็น "กรมตำรวจภูธร" แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภทคือ

ตำรวจนครบาล คือตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้ายไต่สวน ทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง
ตำรวจภูธร คือตำรวจที่ทำการจับกุมโจรผู้ร้ายได้แล้วส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการฟ้องศาลอาญาประจำจังหวัดนั้นๆ
จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 จึงได้เปลี่ยนนามกรมตำรวจภูธรเป็น "กรมตำรวจ"

ตำรวจไทยยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การ ตำรวจยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบัน จะเรียกว่า ตำรวจยุคปัจจุบัน หรือตำรวจสมัยระชาธิปไตยก็ได้หลังจากที่ ประเทศไทยได้เปลี่ยน แปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตยแล้วโดยประกาศเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เรื่องการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ. ๒๔๗๕ กิจการตำรวจได้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ


ส่วนที่ ๑ เป็นหน่วยบริหารงานส่วนกลางและสำนักบริหาร ของอธิบดีกรมตำรวจมีกองขึ้นตรง ๖ กอง คือ


๑. กองกลาง
๒. กอง บัญชี
๓. กองโรงเรียน
๔. กองคดี
๕. กองตรวจคนเข้าเมือง
๖. กองทะเบียนกลาง


ส่วนที่ ๒ คือ ตำรวจนครบาล

ส่วนที่ ๓ คือ ตำรวจภูธร

ส่วนที่ ๔ คือ ตำรวจสันติบาลเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังที่ได้ยกเลิก ตำรวจภูบาล ตำรวจกลาง และตำรวจกองพิเศษ

จากนั้นกิจกการตำรวจก็ได้มีการปรับปรุงให้สามารถรองรับการ เปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยลำดับ และในปี ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติโอนกรมตำรวจ จากสังกัดกระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

คำกล่าวปฏิญาณตนของข้าราชการตำรวจข้าพเจ้า จักจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
ข้าพเจ้าจักยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อระงับทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน ตามหน้าที่ของผู้พิทักษ์สัติราษฎร์
ข้าพเจ้า จักปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดมั่นศิลธรรมเป็นหลักประจำใจ
ข้าพเจ้า จักยึดมั่นอยู่ในวินัย และรักษาไว้ซึ่งระเบียบแบบแผน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้าพเจ้า จักเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และจักปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความเที่ยงธรรม อย่างเคร่งครัด
อุดมคติตำรวจ
เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
กรุณาปราณีต่อประชาชน
อดทนต่อความเจ็บใจ
ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล
มุ่งบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม
กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต

http://www.baanmaha.com/community/thread14429.html

ขอให้กำลังใจตำรวจทุกท่าน และขอให้ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ ผู้บันทึก เคยเดินทางไปพบท่านที่ จ.ยะลา "ท่าน อดุลย์ เป็นตำรวจที่ดี"

บันทึกประวัติศาสตร์ ที่  http://www.facebook.com/thaihistory?ref=hl

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง