ความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ?



(ภาพ) พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมหามกุฏราชวิทยาลัย เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2552 ขณะที่พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร. ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มมร. ในปี 2547


มจร.-มมร. มอบดุษฎีบัณฑิต ให้พระต่างนิกาย
อาจารย์ มจร. ระบุ "ไม่มีสี การเมืองหรือนิกายเข้ามาเกี่ยวข้อง" ก็น่าเชื่อแหละว่าไม่มีสี ไม่มีการเมือง และไม่มีนิกายเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเรื่องให้กันนี้มันมีแต่ "ผลประโยชน์ต่างตอบแทน" เท่านั้น ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างอื่นไม่เกี่ยวเลยฮ่ะ ! ดูตัวอย่าง "แม่ชีทศพร วัดพิชัยญาติ" หาเงินหาข้าวมาเลี้ยงพระที่ มจร. บ่อยๆ หน่อย ประเดี๋ยวเดียวคุณเธอพาสชั้นขึ้นเป็นด๊อกเตอร์เรียบร้อยแล้ว แถมยังได้ "รุ่นเดียว" กับพระเทพปริยัติวิมล องค์อธิการบดี มมร. ด้วยนะ น่าภูมิใจไหมฮะ




ดร.กิตติมศักดิ์ มจร.

คุณค่าปริญญาพอๆ กับปริญญากล้วยแขก

 ว่าแต่เรื่องให้ปริญญาระหว่างสถาบันนี้ ถือว่าเป็นเทรนด์ฮิตของผู้บริหารการศึกษาคณะสงฆ์ เพราะถ้าจะเอาดุษฎีบัณฑิตในมหาลัยของตัวเองมันก็น่าเกลียด ประเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า "ชงเอง-กินเอง" เพื่อให้เนียนหน่อยก็โยนลูกไปให้มหาลัยอีกนิกายหนึ่งช่วย "ขอให้" จากนั้นก็ "ต่างคนต่างขอให้กัน" หมูไปไก่มา ไปเช็คบัญชีดูได้เลย ไล่ตั้งแต่อธิการบดี มจร.-มมร. ผอ.สำนักพุทธฯ ทุกสมัย รอง ผอ. และใครต่อใครในสองนิกายนี้ ล้วนแต่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตต่างตอบแทนทั้งสิ้น ที่สำคัญเวลานี้ พระทั่วประเทศล้วนแต่มีปริญญาของ มจร. มมร. ไว้แทบทุกวัดแล้ว ไม่ได้มาโดยการศึกษาจากสถาบัน ก็มาจากวิธีการอันพิเศษเช่นที่ว่านี้แหล เขารู้กันทั้งบาง

 
ปริญญา มจร.-มมร ใครยังไม่ได้บ้าง ยกมือขึ้น !


 
คมชัดลึกลงข่าว "มหานิกายมอบ ป.เอก ธรรมยุต ย้ำภาพทำลายกำแพง" หุหุ ก็ขอให้ "ทำลายกำแพง" ให้หมดสิ้นไปซะทีนะฮะ อย่าแค่ทุบกำแพงดิน แล้วสร้างกำแพงเหล็กแทนล่ะ
'มหานิกาย' มอบป.เอก 'ธรรมยุต' ย้ำภาพทำลายกำแพงนิกาย : สำราญ สมพงษ์รายงาน
ภาพความร่วมมือระหว่างพระทั้งสองนิกายในประเทศไทยคือมหานิกายกับธรรมยุตไม่ได้ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนเท่าใดนัก ทั้งๆที่มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ทราบกันก็เฉพาะในวงในเท่านั้น

อย่างภาพที่พระธรรมสุธี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ฝ่ายมหานิยาย พร้อมด้วยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ได้ร่วมพิธีถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺสาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16,17,18 ฝ่ายธรรมยุต และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) วิทยาเขตสิรินธร อ้อมใหญ่ จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา

หรืออย่างเช่นกรณีประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน โดยได้พิจารณารายชื่อพระเถรานุเถระที่จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ประจำปี 2555 ซึ่งปีนี้มีตำแหน่งชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกาย ว่างจำนวน 1 ตำแหน่ง

ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้พิจารณาเห็นควรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และอธิการบดี มจร ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะรูปใหม่ มีราชทินนามว่า พระพรหมบัณฑิตสร้างความปลาบปลื้มให้กับชาว มจร และชาวพุทธไม่น้อย

ข้อมูลเช่นนี้ก็ทราบอยู่เฉพาะในวงจำกัดเช่นเดียวกัน ไม่เหมือนกับกรณีพฤติกรรมของพระสงฆ์ที่ผิดพระธรรมวินัย มั่วสีกา ค้ายาเสพติด เต้นโคโยตี้เป็นต้น เมื่อมีข้อมูลทางลบเช่นนี้ถูกเผยแพร่ออกมา จะมีการเผยแพร่ต่อทางสังคมออนไลน์โดยเฉพาะทางเฟซบุ๊กอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีเสียงเรียกร้องจากพระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดี มจร ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ต้องการให้ มส.ตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบควบคุม

ความจริงแล้วความร่วมมือของพระทั้งสองนิยายหรือแม้นแต่พระนิกายต่างๆในต่างประเทศ ก็มีมาอย่างต่อเนื่องดูการจัดงานวันวิสาขะโลกเป็นตัวอย่าง ทั้งการปกครองและการศึกษา มมร.ก็เคยพิจารณาพิธีถวายปริญาดุษฏีบัณฑิตแก่พระเถระฝ่ายมหานิกายเช่นเดียวกัน

ต่อกรณีนี้
"สมหมาย สุภาษิต" รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังมคม มจร ชี้แจงว่า การที่ มจร ถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ ฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะมีกิจกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกระบวนการการเสนอชื่อให้สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติไปตามคุณสมบัติอย่างแท้จริง โดยไม่มีสี การเมืองหรือนิกายเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

ภาพ มจร พิธีถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระธรรมวราจารย์ พระเถระฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการย้ำการทุบกำแพงนิกายโดยแท้ ทั้งนี้เพราะทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งบนหลักของ "วิชชา" ไม่ยึดฝักฝ่ายหรือนิกายเป็นที่ตั้ง

หากยังมี "อวิชชา" ความเป็นนิกาย สี หรือแม้นแต่ความเป็นศาสนาจนทำให้เห็นภาพวัดพุทธในบังคลาเทศถูกเผา ทำให้ชาวพุทธต้องรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้ยุติพฤติกรรมการทำลายล้างเพราะศาสนาเป็นต้นเหตุ ภาพความร่วมมือของทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็คงไม่เกิด ฝ่ายการเมืองจะเอาเป็นแบบอย่างความปรองดองก็คงจะเกิดขึ้นได้


ข่าว : คมชัดลึก

13 ตุลาคม 2555
 ประจักษ์แจ้งขบวนการทำลายสถาบัยพระศาสนา ที่ ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ได้ที่ https://docs.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit
ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุญบารมี ถวายสมเด็จพระสังฆราช ครับ

http://www.alittlebuddha.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง