ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันพระควรศึกษา ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน


ความเป็นมาของวันพระ

วันพระ

ในสมัยพุทธกาล เหล่านักบวชนอกศาสนาได้ประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เป็นปกติ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ เกิดความคิดว่า น่าที่เหล่าสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อความเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าชน เฉกช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้นได้รับ จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงอนุญาตตามนั้น
การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาต ได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พร้อมแสดงอาบัติ คือ เปิดเผยข้อผิดพลาดในวินัยต่อผู้อื่น ให้เป็นกิจกรรมในวันอุโบสถ คือวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
จากที่สงฆ์ถือปฏิบัติทุกวันอุโบสถ คือ ๓ ครั้งต่อปักษ์ (ปักษ์หนึ่ง = ๒ สัปดาห์) จนกระทั่งท้ายที่สุด ทรงบัญญัติชัดเจนว่า ให้สงฆ์ประชุมกันเพื่อสวดปาฏิโมกข์เพียงปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ทุก ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เท่านั้น ซึ่งสงฆ์ได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นั่นคือ แม้วันอุโบสถ หรือ วันพระ จะมีทั้งในวัน ๘ ค่ำ และวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำก็จริง แต่ก็ประชุมกันเฉพาะในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ตามพุทธานุญาตเท่านั้น
วันขึ้น (แรม) ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
กำหนดโดยถือการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ จากเดือนเต็มดวงจนถึงเดือนมืด และกลับเป็นเดือนเต็มดวงอีกครั้ง โดยคืนพระจันทร์เต็มดวงเรียก ขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์ค่อย ๆ ดับนับ แรม ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ ตามลำดับ ถึง ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์ดับพอดี จากนั้นเริ่มนับขึ้น จากวันขึ้น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันครบรอบ ๑ เดือน
ความสำคัญของวันอุโบสถ
จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก และเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่า แสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นี้สืบต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
๑. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพระสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวน และเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฎการณ์เด่นชัด เมื่อครั้งพุทธกาล คือ เมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกัน ภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษที่เรียกว่า “วันสามัคคีอุโบสถ”
๒. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหาย และทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้

วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาก็จริง แต่ในชีวิตประจำวันแล้ว โลกภายนอกสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเต็มไปด้วยข้อจำกัดในการกระทำความดีเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ดังนั้น วันอุโบสถ จึงเป็นการปรารภเหตุที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีโอกาสหันกลับมาทบทวนการทำดีดังกล่าว โดยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มากขึ้นเป็นพิเศษ
ในส่วนของพุทธศาสนิกชนนั้น การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เป็นห้วใจของพระพุทธศาสนา ผ่านการแสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยการ
ประเภทของอุโบสถ
การรักษาอุโบสถ…ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเอื้อต่อการเลือกปฏิบัติตามความพร้อมของพุทธศาสนิกชน โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ปกติอุโบสถ คือ อุโบสถที่รับรักษากันตามปกติเฉพาะวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คือ อุโบสถที่รับรักษาเป็นพิเศษกว่าปกติธรรมดา คือ รักษาคราวละ 3 วัน จัดเป็นวันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งอีกวันหนึ่ง

แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ทั้งสองประเภทก็มีขึ้นเพื่อมุ่งให้พุทธศาสนิกชนมีโอกาสรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ตามหัวใจของพระพุทธศาสนานั่นเอง
ศีลที่นิยมถือในวันอุโบสถ คือ ศีล 8 อันได้แก่

. เว้นจากการฆ่า
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการดื่มสุรา และเมรัย
๖. เว้นจากการบริโภคอาหารหลังจากเที่ยงวันแล้ว
๗. เว้นจากการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับและของหอม และเว้นจากการดูการละเล่นต่าง ๆ
๘. เว้นจากการนอนที่นอนอันอ่อนนุ่ม และสูงใหญ่

ข้อพึงปฏิบัติในเวลารักษาอุโบสถ
วันอุโบสถ สาธุชนจะไปทำบุญที่วัดใกล้บ้าน มีการถวายภัตตาหารพระ รักษาศีล และเจริญภาวนา ทำความสะอาดวัด นิมนต์พระเทศน์ให้ฟัง เพราะถ้าไม่มีการสอนธรรมะแล้ว ความรู้ที่แท้จริงก็จะเลือนหายไป เนื่องจากสังคมทุกวันนี้ คนเชื่อ คิด ทำ ต่าง ๆ นานา จนมักไปทำความชั่วหรือดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้กิจกรรมในวันอุโบสถเอื้อต่อการรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ด้วยดี พุทธศาสนิกชนจึงควรถือปฏิบัติดังนี้

- มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี
– รักษากาย วาจา ใจ ให้สงบ
– อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความปรองดอง
– ตั้งใจทำกุศลกรรมยิ่งขึ้นไป
– ตั้งใจรักษาศีล

ในอดีต…วันพระ มิใช่เป็นเพียงวันของพระสงฆ์เท่านั้น หากเป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะได้สั่งสมบุญกุศลของตนเองให้เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งทางราชการก็สนับสนุน โดยให้วันโกน และวันพระเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ในครั้งนั้นพุทธศาสนิกชนจึงมีโอกาสได้ไปวัด ทำทาน รักษาศีล และฟังพระธรรมเทศนาที่วัดกันเป็นประจำ เพราะมีวันหยุดที่พ้องตรงกันกับวันอุโบสถซึ่งเป็นวันพิเศษของพระสงฆ์ด้วย นับเป็นความสะดวกด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
แต่ในปัจจุบัน วันหยุดของทางราชการเปลี่ยนแปลงไปเป็นวันเสาร์ และวันอาทิตย์ หากวันสำคัญของพระสงฆ์ยังคงเป็นวันพระดังเดิม ดังนั้นความสะดวกของพุทธศาสนิกชนที่จะประพฤติปฏิบัติชอบในวันดังกล่าวจึงพลอยหายไปด้วย อาจจะมีบ้างบางวัดที่ปรับเปลี่ยนวันเพื่อให้เอื้อกับความสะดวกของสาธุชน แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง จึงเป็นหน้าที่ของเหล่าสาธุชนเองที่จะต้องขวนขวายหาโอกาสนั้น ๆ ด้วยตนเอง
ทั้งนี้…เพื่อให้โอกาสเหล่านั้นเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ และมีเหตุจูงใจสำคัญไม่แพ้ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์ ให้ความสำคัญกับวัน 8 ค่ำ, 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่พุทธศาสนิกชนที่ดีจะได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็นนิมิตหมายในการสั่งสมคุณงามความดี ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ด้วยการหมั่นทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นพิเศษกว่าวันปกติซึ่งเป็นสิ่งที่พึงทำหัวใจของพระพุทธศาสนาเยี่ยงพุทธศาสนิกชนที่ดีอยู่แล้ว
และนอกจากจะได้ถือปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว การทำหน้าที่เชิญชวนคนรอบข้าง และคนในสังคมให้ร่วมระลึกถึงและปฏิบัติด้วยก็ยิ่งเป็นสิ่งประเสริฐ เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ว่า สังคมไม่อาจจะดีได้ด้วยคนเพียงคนเดียว การขยายเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้นรอบกาย รอบสังคม และรอบประเทศ รอบโลก จึงเป็นสิ่งที่ต้องการเป็นพิเศษในสังคมปัจจุบันนี้
มาช่วยกันจรรโลงโลกสังคมนี้ให้น่าอยู่ ด้วยการฟื้นฟูวันพระกันเถิด
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน
สำเร็จด้วยใจ หากบุคคลมีใจขุ่นมัว จะพูดอะไรก็ตาม
จะทำอะไรก็ตาม ทุกข์ย่อมจะติดตามผู้นั้น
เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโคฉะนั้น
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธานสำเร็จด้วยใจ หากคนเรามีใจผ่องใส จะพูดอะไรก็ตาม
จะทำอะไรก็ตาม ความสุขย่อมจะติดตามคนนั้นไป
เหมือนเงาติดตามตัวไป

วันอัฐมีบูชา

ความหมาย
เนื่องด้วยอัฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพอย่างแรงกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้นๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฐมีบูชา”
ความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้นๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ และวัดพระบรมธาตุเป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่
ความสำคัญ
โดยที่วันอัฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยคและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวช และระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล
๑. ทำบุญใส่บาตร
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียนที่วัด
๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
 
 

 
ผลของกรรมดีและผลของกรรมชั่วมีทั้งคุณและมีทั้งโทษอยู่ในตัว คุณหรือโทษจะปรากฎตามการวางใจรับผลนั้น ผลของกรรมดีที่เกิดแก่ผู้ใดก็ตาม แม้ผู้นั้นวางใจรับไม่ถูก ไม่ประกอบด้วยปัญญา ผลดีก็จะไม่สมบูรณ์ ทั้งผลร้ายก็จะต้องตามมา ผู้ได้รับผลดีของกรรมดี คือการได้ประสบโลกธรรมฝ่ายดีคือ ลาภยศสรรเสริญสุขนั่นเอง ต้องรับให้ดี ต้องรับให้ถูก วิธีทำใจให้รับโลกธรรมอย่างถูกต้องที่สุดก็คือ ให้คิดว่าลาภก็ตาม ยศก็ตาม สรรเสริญก็ตาม สุขก็ตาม ล้วนอยู่ในลักษณะของ ไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นไปตามความปรารถต้องการ ได้รับผลดีของกรรมดี คือ ได้ประสบโลกธรรมฝ่ายดีเมื่อไร เมื่อนั้นให้คิดถึงไตรลักษณ์ให้ทันที จะได้รับผลดีของกรรมดีที่ดียิ่งกว่าผลดีทั้งนั้น. จากนิพนจ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
เรื่องพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร
คัมภีร์ปราบมารอภิบาลคนดี ปกป้องสถาบันต้องศึกษา ?http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2012/10/blog-post_5474.html
ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ได้ที่ https://docs.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit
ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุญบารมี ถวายสมเด็จพระสังฆราช ครับ

โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ