ธัมมชโย ต้องคืนเงินหลัก 1000 ล้าน ถึง2ครั้ง ปราชิก2ครั้ง?
ยึด แอนด์ ยอม !
ยึดทรัพย์เพิ่ม "ศุภชัย" ศิษย์เอกธรรมกาย
ธรรมกาย "ยอมคืนเงินบริจาค" 700 ล้าน
อะฮ้า ! งานนี้โดนดีทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์ สะสมผลงานระดับโลกไว้อีกหน้าหนึ่ง ว่าในชีวิตของ "ท่านธัมมชโย" ต้องคืนเงินหลัก 1000 ล้าน ถึง 2 ครั้งสองคราด้วยกัน มันเป็นวิบากกรรมอะไรก็ไม่รู้สิ อุตส่าห์เข้าฌานไปถึงสวรรค์วิมาน โปรดได้แม้กระทั่ง "สตีฟ จ็อปส์" ในปรโลก แต่เรื่องเงินๆ ทองๆ ซึ่งสั่งจ่ายตรงมายังตนเองนั้น ทำเป็นบกพร่องโดยสุจริต ไม่รู้จักแม้กระทั่ง "ลูกรัก" ที่ชื่อ "ศุภชัย ศรีศุภอักษร" ในโลกนี้ก็ยังคงมีคนเชื่อ เพราะความเชื่อเป็นเรื่องส่วนตัว ถึงจะหลายตัวหรือหลายคน มันก็ห้ามกันไม่ได้
พ.ต.อ. สีหนาท ประยูรรัตน์
เลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ศุภชัย ศรีศุภอักษร
อดีตนักการสหกรณ์อันดับหนึ่งของประเทศไทย
กัลยาณมิตร ศุภชัย ศรีศุภอักษร
ผู้สามารถผันเงินสหกรณ์ออมทรัพย์มาเป็นสหกรณ์ออมบุญ
ต่างจากเจ้าคุณเสนาะที่แปรเงินบุญเป็นทรัพย์สิน
นับเป็นวิธีคิดที่แตกต่างกันสิ้นเชิง
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 2/2558 ว่าได้ยึดทรัพย์จากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการดำเนินการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด และพวก ทั้งสิ้น 1,221.6 ล้านบาท ตามราคาประเมินของตราสารทุน พร้อมดอกผล แบ่งเป็น(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
1. หุ้นในบริษัท เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้งกรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 11,100,000 หุ้น มีนายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมมูลค่า 1,110 ล้านบาท
2. หุ้นในบริษัท ไทยยูทีวี จำกัด จำนวน 41,000 หุ้น ซึ่งมีนางชญาดา วรวิริยะฉัตร เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมมูลค่า 4.1 ล้านบาท
3. หุ้นในบริษัท ยูบาย จำกัด จำนวน 1 ล้านหุ้น มีนางชญาดา เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมมูลค่า 100 ล้านบาท
4. หุ้นในบริษัท ยูบาย จำกัด จำนวน 50,000 หุ้น มีนางพิมพ์นภัส ปัทมะสังข์ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมมูลค่า 5 ล้านบาท
5. หุ้นในบริษัท บลูสกาย จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น มีนายศุภชัย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมมูลค่า 2.5 ล้านบาท
พ.ต.อ. สีหนาท กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบข้อมูลการรายงานธุรกรรมทางการเงิน ปรากฏว่า นายศุภชัยได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลักฐานใบสำคัญจ่ายเงินแล้วนำเช็คของสหกรณ์ไปเบิกเงิน จำนวน 878 ฉบับ รวมเป็นเงินกว่า 11,367 ล้านบาท โดยเช็คดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเช็คเงินสด มีการถอนเป็นเงินสด แต่บางฉบับนำฝากเข้าบัญชีธนาคารในชื่อของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร นายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ และนายจิรเดช วรเพียรกุล รวมเป็นเงินกว่า 2,566 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้นายศุภชัยอ้างว่า มีรายได้จากการประกอบอาชีพชิปปิ้งและอาชีพเป็นนายหน้าตราสารระหว่างประเทศ แต่ไม่ได้นำเอกสารหลักฐานแสดงถึงการมีรายได้จำนวนมากจากอาชีพดังกล่าวมายืนยัน ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า นายศุภชัยนำเงินจากการยักยอกทรัพย์สหกรณ์ฯ คลองจั่นไปซื้อหุ้นดังกล่าว ส่วนนายสถาพร นางชญาดา และนางพิมพ์นภัส รับโอนหุ้นจำนวนมากจากนายศุภชัยหลังเดือนเมษายน 2556 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีผู้กล่าวหานายศุภชัยและพวกกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์สหกรณ์ ทำให้เชื่อได้ว่าบุคคลทั้ง 3 มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนายศุภชัยอย่างแน่นแฟ้น จึงได้รับโอนหุ้นไปถือกรรมสิทธิ์แทน คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีมติให้อายัดหุ้นใน 4 บริษัทดังกล่าว รวมราคาประเมิน 1,221 ล้านบาท พร้อมดอกผล
พ.ต.อ. สีหนาทกล่าวต่อไปว่า สำหรับเงินบริจาคที่นายศุภชัยสั่งจ่ายเช็ค 15 ฉบับ ให้กับวัดธรรมกาย 714 ล้านบาท ปปง. ไม่สามารถอายัดได้เพราะตามกฎหมายธรณีสงฆ์และศาสนสมบัติถือเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน แต่ประเด็นนี้ทราบมาว่าทางวัดจะคืนเงินให้กับสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เพราะหากไม่คืนสหกรณ์ก็มีสิทธิ์ยื่นฟ้องขอให้ศาลสั่งให้คืนเงินที่ได้ไปจากการยักยอก
ทั้งนี้ ในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น นายศุภชัย ศรีศุภอักษร และพวก มีพฤติการณ์ร่วมกันกระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกและเบียดบังเงินของสหกรณ์เป็นของตนเองหรือผู้อื่นและสร้างความเสียหายเป็นเงินจำนวน 12,402.90 ล้านบาท รวมไปถึงนำเงินที่ได้จากการยักยอกดังกล่าวไปซื้อทรัพย์สินต่างๆ โดยใส่ชื่อตนเองหรือผู้อื่นเพื่อเจตนาปกปิดซุกซ่อนทรัพย์สิน อันเข้าข่ายเป็นความผิดเกี่ยวกับการยักยอกอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (18) และเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2552
ต่อมาในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน คณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 609 รายการ รวมราคาประเมินประมาณ 3,918.297 ล้านบาท ต่อมานายเผด็จ มุ่งธัญญา ประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ชุดที่ 30 และคณะกรรมการสหกรณ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร และพวก รวม 18 คน เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ในคดีหมายเลขดำที่ 1674/2557 ฐานความผิดร่วมกันละเมิด และเรียกทรัพย์สินที่จำเลยได้ร่วมกันยักยอกคืน ซึ่งโจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยมีการยึดและอายัดทรัพย์สินที่มีการยักยอกไว้ด้วย ทั้งนี้ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ร้องขอแล้ว และได้ส่งหมายยึดและอายัดทรัพย์สินชั่วคราวให้เลขาธิการ ปปง. ทราบแล้ว
จากนั้น สำนักงาน ปปง. จึงดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการรายงานธุรกรรมทางการเงินและทรัพย์สินของนายศุภชัยเพิ่มเติม จนปรากฏข้อมูลว่านายศุภชัยได้เคยครอบครองหรือถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นในบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555 นายศุภชัยถือหุ้นในบริษัท เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้งกรุ๊ป (ประเทศไทยจำกัด) จำนวน 11,100,000 หุ้น รวมมูลค่า 1,110 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2556 ได้มีการโอนหุ้นดังกล่าวให้นายสถาพร และยังคงถือหุ้นอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2557 นายสถาพรถือหุ้นจำนวน 39,950,000 หุ้น
2. เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 นายศุภชัยฯ ถือหุ้นในบริษัท ยู แชนแนล 555 จำกัด จำนวน 41,000 หุ้น รวมมูลค่า 4.1 ล้านบาท ต่อมาบริษัทดังกล่าวเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยยูทีวี จำกัด และเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 นายศุภชัยถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 นายศุภชัยได้โอนหุ้นจำนวนทั้งหมดดังกล่าวให้นางชญาดา
3. เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2555 นายศุภชัยถือหุ้นในบริษัท ยูบาย จำกัด จำนวน 1,050,000 หุ้น รวมมูลค่า 105 ล้านบาท และจากการตรวจสอบพบว่า ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 นายศุภชัยได้โอนหุ้นจำนวนทั้งหมดดังกล่าวให้นางชญาดา และเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557 นางชญาดาได้โอนหุ้นจำนวน 50,000 หุ้น ให้นางพิมพ์นภัส
4. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2556 นายศุภชัยถือหุ้นในบริษัท บลูสกาย (2013) จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น รวมมูลค่า 2.5 ล้านบาท
ด้านนายเผด็จ มุ่งธัญญา ประธานสหกรณ์ฯ คลองจั่นกล่าวว่า การยึดอายัดทรัพย์นายศุภชัยของ ปปง. ในครั้งนี้ถือว่าเป็นข่าวดี หากพ้น 90 วันตามขอบเขตที่ ปปง. อายัดได้ สหกรณ์ฯ คลองจั่นจะดำเนินการฟ้องคดีแพ่งนายศุภชัยกับพวก และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยการยึดอายัดทรัพย์สินทั้ง 1,200 ล้านบาทที่ยักยอกไว้ด้วย ซึ่งก่อนนี้สหกรณ์ฯ คลองจั่นได้ดำเนินการมาแล้วครั้งหนึ่ง กับทรัพย์สิน 609 รายการรวมมูลค่า 3,918 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มสมาชิกที่เคลื่อนไหวเตรียมฟ้องแพ่งนายศุภชัยเพื่อนำมาเฉลี่ยเฉพาะในกลุ่มที่ลงชื่อนั้น ต้องดูขั้นตอนของกฎหมายว่าทำได้จริงหรือไม่
ส่วนประเด็นเงินที่นายศุภชัยนำไปบริจาควัดพระธรรมกายนั้น ที่ผ่านมาสหกรณ์ฯ คลองจั่น ยื่นฟ้องแพ่งเรียกทรัพย์คืน จากทั้งวัดและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) โดยศาลแพ่งนัดเจรจาไกล่เกลี่ยครั้งแรกในวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งก่อนหน้านี้วัดและสหกรณ์ฯ คลองจั่นก็มีการนัดหารือหลายครั้ง โดยสหกรณ์ฯ คลองจั่นยืนยันทุกครั้งว่าวัดและพระต้องคืนเงินทั้งหมด 937 ล้านบาท ส่วนเงื่อนไขการชำระคืนสามารถเจรจากันได้ โดยทางวัดมีข้อเสนอจะคืนเงินบางส่วน นอกจากนี้ ในกรณีที่วัดขอซื้อที่ดินในจังหวัดกาญจนบุรีของสหกรณ์ฯ คลองจั่น ซึ่งก่อนหน้านี้นายศุภชัยบริจาคแก่วัด และวัดได้ก่อสร้างศาสนสถานไปแล้วบางส่วน ขณะนี้นายศุภชัยได้ทำสัญญายอมให้มีการซื้อขาย ในฐานะที่ชื่อนายศุภชัยยังเป็นเจ้าของโฉนดอยู่ รวมทั้งได้ทำการประเมินราคาที่ดินแล้ว
นายเผด็จกล่าวอีกว่า “เชื่อมั่นว่าสหกรณ์ฯ คลองจั่นจะดำเนินกิจการได้ โดยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะด้านภาครัฐ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็เคยทำหนังสือยืนยันว่า จะนำข้อเสนอที่สหกรณ์ขอกู้เงินสนับสนุนเพื่อฟื้นฟูกิจการ เป็นเงิน 5,000 ล้านบาท เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา หากศาลล้มละลายยอมให้ผ่านแผนฟื้นฟูกิจการ ขณะที่ฐานะการเงินสหกรณ์มีสภาพคล่องดีขึ้น หลังเข้าสู่ภาวะพักชำระหนี้ตามคำสั่งศาล โดยปัจจุบันมีเงินสดสะสมราว 200 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมาก็ได้รับหนังสือจากสหกรณ์โรงพยาบาลตำรวจ ขอซื้อหุ้นบริษัทสหประกันชีวิตที่สหกรณ์ฯ คลองจั่นถืออยู่เป็นจำนวนเงิน 300 ล้านบาท ซึ่งหากที่ประชุมใหญ่ในวันที่ 14 มีนาคมนี้เห็นชอบ สหกรณ์ฯ คลองจั่นก็จะสามารถขายหุ้นดังกล่าวได้”
ส่วนความคืบหน้าของการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง ขณะนี้เหลือนัดไต่สวน ฝ่ายผู้คัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการราว 10 ราย ในวันที่ 2 และ 3 มีนาคมนี้ โดยหากไต่สวนเสร็จคาดว่าศาลน่าจะตัดสินในอีก 1 อาทิตย์ กรณีที่ศาลจะอนุญาตให้มีการฟื้นฟูสหกรณ์มี 2 แนวทาง ได้แก่ ยอมให้มีการฟื้นฟูและให้คณะกรรมการชุดนี้เป็นผู้บริหารแผน หรืออีกทางคือให้มีการฟื้นฟู แต่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรรหาผู้บริหารแผน
ส่วนความคืบหน้าคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งมีคดีอาญาฟ้องร้องนายศุภชัย 3 คดี ได้แก่ ยักยอกทรัพย์ 2 คดี และฉ้อโกงประชาชนอีกหนึ่งคดี ขณะนี้มีการเปลี่ยนชุดเจ้าพนักงานสอบสวน โดยมีการแต่งตั้ง พ.ต.ท. สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 มาดำเนินการต่อ
ปปง.แจง วัดธรรมกายขอคืนเงินร้อน 714 ล้านบาท หลังจำนนต่อหลักฐาน พบเงินยักยอกจากสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่นเข้าบัญชีตรง
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยว่า วัดธรรมกายแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินที่ได้รับบริจาคจากสหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยนจำนวน 714 ล้านบาท หลังจำนนต่อหลักฐานที่ ปปง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ที่พบการออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่วัดพระธรรมกาย จำนวน 15 ฉบับ รวมเป็นเงิน 714 ล้านบาท
สำหรับความคืบหน้าคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น 1.3 หมื่นล้านบาทนั้น ปปง.ได้เร่งรวบรวมหลักฐานและเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาสามารถยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวมูลค่า 3,793 ล้านบาท พร้อมกับได้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายตามกฎหมาย
เลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า จากการตรวจสอบเส้นทางธุรกรรมล่าสุดพบว่า มีการออกเช็คในนามของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ไปยังบริษัทและบุคคลต่างๆ จำนวน 878 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1.13 หมื่นล้านบาท โดยนอกจากเข้าวัดธรรมกาย 714 ล้านบาท แล้วมีการออกเช็คให้บริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ประกันภัย รวมเป็นเงิน 400 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังเข้าบัญชีของนาย จิรเดช วรเพียรกุล และนายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ รวม 2,566 ล้านบาท และเข้าบัญชีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ถึง 21 ฉบับ แคชเชียร์เช็ค และถอนเงินสดจำนวน 691 ฉบับ
ทั้งนี้ หาก ปปง.พบว่า ผู้ใดรับโอนหรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนแหล่งที่มาทรัพย์สิน ก็จะพิจารณาดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นอย่างเด็ดขาด
ข่าว : Thaipublica : โพสต์ทูเดย์
16 กุมภาพันธ์ 2558
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ