๑๒ทรราชย์ในผ้าเหลืองในประวัติศาสตร์
ประเสริฐแท้พระคุณเจ้า..........!
ในนาม "กรรมการมหาเถรสมาคม" ทั้ง ๒๐ รูป ประกอบด้วย ฝ่ายธรรมกาย ๑๐ รูป และฝ่ายธรรมยุต ๑๐ รูป คือ
ฝ่ายมหานิกาย
๑.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
๓.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดพิชยญาติการาม
๔.สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม
๕.พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา
๖.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ
๗.พระพรหมดิลก วัดสามพระยา
๘.พระพรหมโมลี วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๙.พระพรหมสิทธิ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
๑๐.พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส
ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศาราม
๒.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๓.สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร
๔.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส
๕.พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๖.พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม
๗.พระพรหมมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๘.พระพรหมวิสุทธาจารย์ วัดเครือวัลย์
๙.พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม
๑๐.พระธรรมบัณฑิต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
นี้คือ "คณะรัฐบาลสงฆ์" อันมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ วัดต้นสังกัด "วัดธรรมกาย" เป็นองค์ปฏิบัติหน้าที่ประมุข
บ่ายวาน (๒๐ ก.พ.๕๘) พระคุณเจ้าได้ประชุมพิจารณากัน กรณี "ธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิก"
ผลประชุม ด้วยยึด "พระธรรมและพระวินัย" อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบัญญัติไว้ดีแล้วเป็นบรรทัดฐานวินิจฉัย (ตรงนี้ผมพูดผิดหรือพูดถูกครับ พระคุณเจ้า?)
พระพรหมเมธี โฆษกมหาเถรนำมติที่ประชุมแถลงว่า.....
"พระธัมมชโย ไม่มีเจตนาขัดพระลิขิต และไม่มีเจตนาฉ้อโกง จึงถือว่าพ้นมลทิน และในปี ๒๕๔๙ ได้มีมติถวายคืนสมณศักดิ์ให้กับพระธัมมชโย อีกทั้งในปี ๒๕๕๔ ยังได้เลื่อนสมณศักดิ์จากยศพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็น พระเทพญาณมหามุนี"
โฆษกมหาเถรยังแจกแจงหลักการวินิจฉัยด้วยมาตรฐานมหาเถรธรรมกายด้วยว่า....
"หลักการพิจารณาทางสงฆ์ว่า ความผิดยักยอกทรัพย์สำเร็จหรือไม่นั้น จะดูที่เจตนาเป็นหลัก ซึ่งในกรณีนี้มีที่มาของทรัพย์สินถูกต้อง คือมาจากพุทธศาสนิกชน และเมื่อมีพระลิขิต ก็ได้มีการทยอยคืนทรัพย์สินแก่วัดทันที จึงถือว่ามีเจตนาไม่ฉ้อโกง
เรื่องนี้ผ่านมาแล้วกว่า ๑๗ ปี ประเทศอยู่ในช่วงสร้างความปรองดอง อีกทั้งเป็นยุคที่ล่อแหลมต่อสื่อ ประเทศไทยถูกจับตามองจากต่างชาติ เพราะเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงไม่อยากให้นำเรื่องเก่ามาพูดถึง"
ขอประทานคลานกราบเรียนถามพระคุณเจ้าว่า......
"ยศช้าง-ขุนนางพระ" เป็นเครื่องชี้ความผิด-ความถูกได้ด้วยหรือครับ และนี่ไปลอกถ้อยคำใน fb ที่วัดธรรมกายแถลงวานซืนมาหรือเปล่า
หรือว่าข้อสอบมหาเถรรั่ว ประเด็นที่มหาเถรแถลงกับที่ธรรมกายแถลง จึงยังกะแพะกะแกะต้อนรับตรุษจีน "ปีแพะ" อย่างนั้นแหละ?
ที่พระคุณเจ้าบอกว่า เมื่อมีพระลิขิตก็ทยอยคืนทรัพย์แก่วัดทันที จึงถือว่ามีเจตนาไม่ฉ้อโกง นั้น
ถูกต้องตาม "พระวินัยบัญญัติ" ของพระพุทธองค์แน่นะขอรับ....?
ไม่ใช่ "ปัจจัยบัญญัติ" ตามลัทธิ-นิกาย "ธรรมกลาย" ที่กำลังคืบคลาน ชอนไช บิดทั้งคำสอนและพระวินัยพระพุทธองค์ ตามเป้าหมาย "อาณาจักร-พุทธจักร" ตีโอบเข้าหากัน............
เป็น "แดงทั้งแผ่นดิน" ทักษิณอาณาจักร นะพระคุณเจ้า!
เรื่องอาบัติปาราชิกหรือไม่ปาราชิก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครชี้ให้เป็น-ไม่เป็น ฉะนั้น อย่าเฉไฉอ้างพระลิขิตเป็นตาลปัตรบังหน้า
สุทธิ อสุทธิ ปัจจัตตัง "เป็น-ไม่เป็น" กรรมคือการกระทำและเจ้าตัวรู้ อีกทั้งองค์ประกอบแห่งการบ่งชี้ว่าผิดพระวินัยข้อนี้ "ตามพุทธบัญญัติ" มีอะไรบ้าง พระคุณเจ้าแต่ละรูป...รู้ดี
ก็ระดับเปรียญธรรมเอกแทบทั้งนั้น ดังนั้น ผมมิบังอาจทำตัวอย่างที่พูดกันว่า "สอนหนังสือสังฆราช" หรอกครับ!
ด้วยพระคุณเจ้ารู้ผิด-รู้ถูกด้วย "ภูมิปริยัติ" ชัดอยู่แล้ว แต่จะมีหรือจะใช้ "ภูมิปฏิบัติ" ประกอบการวินิจฉัย-ตัดสินหรือไม่ ขนาดไหน นั้น
เกล้ากระผม "ละอาย" มิบังอาจจริงๆ!
คำว่า "ทยอยคืนทรัพย์แก่วัดทันที".....ทันที ตามนัยพระคุณเจ้า เป็นนาที เป็นชั่วโมง เป็นปีๆ หรือฉับพลันทันใด อยากทราบ?
เอาว่าไม่ต้องนับตั้งแต่ "เหลือบธัมมชโย" มีเถยจิตคิดเอาเงินและที่ดินของเขามาเป็นของตนหรอก เอาแค่วัน-เวลาที่ "สมเด็จพระสังฆราช" มีพระลิขิต ๔ ฉบับ ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ก็พอ
เหลือบธัมมชโย คืนมั้ย?
ฉบับที่ ๑ ก็..เฉย ฉบับที่ ๒...ก็เฉย ฉบับที่ ๓...ก็เฉย ฉบับที่ ๔ ก็ยังเฉย!
จากปี ๒๕๔๒ จนกระทั่งถึงปี ๒๕๔๙ นับมือ-นับเท้าแล้วก็ประมาณ ๗ ปี ถึงอิดๆ เอื้อนๆ ยอมคืน
๗ ปีนี่ใช่มั้ย คือ "ทันที" ของมหาเถร ชุดที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธรรมกายชนิด...ติฉินกันกระฉ่อน ทั้งทางโลกและทางธรรม?
และที่คืน ก็มิใช่ "มีเจตนาไม่ฉ้อโกง" อย่างที่โฆษกมหาเถรแถลง เหตุที่จำต้องอ้วกเงินและที่ดินร่วมพันล้านคืนวัด เพราะคดีอาญาจวนตัว
ศาลใกล้ตัดสิน ด้วยพยานหลักฐานชัดแจ้ง หนีมาตรฐานกฎหมายไปไม่ได้หรอก ตัดสินวันไหน เข้าคุกวันนั้น ตายทั้งทางโลกและทางศาสนา
มหาเถรยุคนั้น พระมหารัชมังคลาจารย์ร่วมอยู่ด้วย ฝ่ายรัฐบาลก็ทักษิณ ผู้อุปถัมภ์ธรรมกายสุดด้าม ฝ่ายอัยการก็..."ของผม" อย่างที่ทักษิณชอบเรียก ยุคนั้น "นายพชร ยุติธรรมดำรง" เป็น อสส.
สรุปว่า....อัยการสูงสุดไปขอถอนฟ้องต่อศาล ก็อ้างอย่างว่าที่มหาเถรวันนี้อ้างนั่นแหละ ปฏิบัติตามพระลิขิตแล้วบ้าง เพื่อบ้านเมืองปรองดองบ้าง เปลี่ยนคำสอนให้ถูกต้องแล้วบ้าง
เป็นการช่วยกันดึงเจ้า "โล้นแต๋ว" รอดจากโทษคุกได้หวุดหวิด พอถอนฟ้อง มหาเถรก็สรุปเปรี้ยงว่า "ไม่ผิด" เพราะถอนฟ้องแล้ว คืนยศ-คืนตำแหน่ง กันยกใหญ่
อมไว้ ๗ ปีถึงยอมคาย ๗ ปี คือ "ทันที" ในความเห็นมหาเถรธรรมกาย!
และการเอาทรัพย์เขาไป ๗ ปี ถึงขั้น "สมเด็จพระสังฆราช" ต้องมีพระลิขิตให้คืน กระนั้นก็ยังไม่ยอมคืน
มหาเถรชุด "ธรรมายุปถัมภก" วินิจฉัยว่า นั่น....
"มีเจตนาไม่ฉ้อโกง"!
ครับ...ธัมมชโยไม่เพียงบิดเบือนพระพุทธธรรม ทำให้สงฆ์แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง ดังพระลิขิต และมหาเถรวินิจฉัยว่าไม่ผิดเท่านั้น
ณ วันนี้ ด้านพระวินัยที่พุทธองค์ทรงบัญญัติ มหาเถรชุดนี้ ทำคล้ายอาศัยพฤติกรรมชั่วธัมมชโยเป็น "ต้นบัญญัติ" พยายามให้นิยามองค์ประกอบแห่งโทษปาราชิกใหม่
เป็นว่า...การ "เอาทรัพย์เขามา" มากกว่า ๑ บาท ขึ้นไป ถ้าเขาจับได้ คืนเขาไป ถือว่ามีเจตนาไม่ฉ้อโกง ไม่ผิดศีล!?
นี่คือวินัยสงฆ์ฉบับ "มหาเถรธรรมกาย" บัญญัติใหม่ ใช่มั้ยจ๊ะ...โยมขอถาม?
สอดคล้องที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาฯ ปปง.ที่ถือกำเนิดจากระบอบทักษิณแถลงเมื่อวานว่า........
"พบมีการสั่งจ่ายเช็คโดยนายศุภชัยให้วัดธรรมกายจริงหลายครั้ง ครั้งละกว่า ๑๐๐ ล้าน ก่อนหน้านี้เชิญตัวแทนวัดธรรมกายมาให้ปากคำแล้ว พบเงินทั้งหมดถูกนำไปสร้างศาสนสถานแล้ว วัดนำเอกสารใบเสร็จต่างๆ มายืนยัน
ปปง.เรียกดูเอกสารความเคลื่อนไหวทางการเงินจากธนาคารเพื่อตรวจสอบก็พบเส้นทางการเงินถูกนำออกไปใช้ก่อสร้างจริง อย่างไรก็ตาม กฎหมายกำหนดว่าที่ธรณีสงฆ์และศาสนสถานถือเป็นเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน ทำให้ ปปง.ไม่สามารถยึดทรัพย์ที่เป็นของแผ่นดินอีกได้
ประเด็น ปปง.ยึดรถยนต์ลัมโบร์กีนีนายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ หรือบอย นักแสดงชื่อดัง มาเปรียบเทียบกับกรณีวัดธรรมกาย พ.ต.อ.สีหนาทยอมรับว่า กรณีของนายปกรณ์ และวัดธรรมกายถือว่าเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเหมือนกันทั้ง ๒ กรณี แต่เนื่องจากกรณีวัดธรรมกายมีกฎหมายกำหนดชัดว่าที่ธรณีสงฆ์ห้ามยึด ปปง.จึงไม่สามารถดำเนินการได้"
ผมจึงขอบอกผ่านตรงนี้ไปถึงนายปกรณ์ว่า รีบไปเขียนใบปวารณา "ถวายรถลัมโบร์กีนี" แก่ธัมมชโยด่วน เป็นของวัดแล้ว ปปง.ก็จะยึดไม่ได้ แล้วค่อยไปเจรจาซื้อคืนกับเจ้าโล้นแต๋วทีหลัง
ประเด็นอัยการถอนฟ้องนี่ น่าหยิบขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา การฟ้องศาลคดีธัมมชโย เป็นโทษทางอาญา หลักกฎหมายมีว่า "โทษอาญาถอนฟ้องไม่ได้"
แต่อัยการถอนฟ้องเพราะเหตุใด ทั้งที่ตัวเองตรวจสำนวนชัดก่อนแล้วว่าหลักฐานธัมมชโยฉ้อโกงครบสมบูรณ์ จึงฟ้อง?
และความจริง มหาเถรจะยึดมาตรฐานคดีทางโลก ไปสรุปกับคดีทางพระวินัยกับธัมมชโยก็ไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน อีกอย่าง คดีนี้ไม่ใช่ศาลตัดสินแล้วว่าธัมมชโยไม่ผิด
ยังผิดเต็มตีน-เต็มกระบาลโล้น ความผิดยังอยู่ เพียงแต่อัยการถอนฟ้องออกไปเท่านั้น!
๑๗ ปี มหาเถรบอกอยู่ในช่วงปรองดอง ไม่อยากให้เอา "เรื่องเก่า" มาพูด นี่ถ้าไม่เห็นว่าโฆษกมหาเถรเป็นผู้พูด เกล้ากระผมเป็นต้องนึกว่า "แกนนำแดง" พูดแน่เลย.
ไทรโพรส
พุ่งเป้าวัดปากน้ำ !
หลังมหาเถรออกมติรับรองความบริสุทธิ์ธัมมชโย
พุทธะอิสระปลุกม็อบไปวัดปากน้ำ
รับรองได้ทั้งน้ำทั้งเนื้อ !
อา..บอกแล้วไงว่า อย่าเข้าใจว่าทางฝ่ายโน้นเขาจะหยุดแค่ธัมมชโย เพราะธัมมชโยเป็นเพียงแค่ "ตัวล่อเป้า" เท่านั้น เป้าใหญ่จริงๆ นั้นอยู่ที่ "วัดปากน้ำ" มากกว่า เพราะธัมมชโยถึงจะยังไงก็ถูกตราหน้าว่ามีมลทิน ไม่สามารถจะใหญ่โตอะไรได้ในคณะสงฆ์ไทย นอกจากพฤติกรรมแอบอยู่เบื้องหลังสั่งทำโน่นทำนี่ให้เป็นที่รำคาญ แต่สมเด็จวัดปากน้ำนี่สิ มีแคนดิเดทเป็นถึง "สมเด็จพระสังฆราช" แรกๆ นั้น ฝ่ายตรงข้ามก็ยังลังเล ไม่กล้าเล่นวัดปากน้ำตรงๆ แต่เมื่อวัดปากน้ำเลือกที่จะอุ้มสมธัมมชโย จึงเหมือนเปิดทางให้ฝ่ายโน้นหันมาปะทะโดยตรง เพราะได้หลักฐานชัดเจนว่า "เมื่อสมเด็จวัดปากน้ำไม่สนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ก็ไม่จำเป็นต้องสนองบัญชาสมเด็จวัดปากน้ำ ซึ่งเป็นเพียงผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อีกต่อไป" ทางแก้มวยเขาก็เล่นกันทำนองนี้แหละ ต่อไปรับรองว่า การเมืองเรื่องคณะสงฆ์ไทยจะเล่นกันแรง เพราะดูไปแล้ว มีแต่อำนาจและผลประโยชน์เป็นหลัก ไม่ต่างไปจากสำนวนของคุณสมัคร สุนทรเวช ที่บอกว่า "การเมืองเรื่องตัณหา" งานนี้วัดปากน้ำรับเละแน่ พระเดชพระคุณ !
นครปฐม - “หลวงปู่พุทธะอิสระ” เขียนลงเฟซบุ๊กถึง “มหาเถรสมาคม” ทันที หลังมหาเถรสมาคมยืนยัน “ธัมมชโย” พ้นผิดปาราชิกจากลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ระบุจรรยาบรรณพระสังฆาธิการ ความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ความผิดฐานไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย ความผิดฐานทำลายศรัทธาไทยที่มีต่อมหาเถระสมาคม ทั้งหมดนี้คือความผิดของกรรมการมหาเถระสมาคมที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน พร้อมปลุกมวลมหาประชาชนเดินหน้าเข้าวัดปากน้าภาษีเจริญบ่ายโมงพรุ่งนี้ (21 ก.พ.)
ที่มา : ผู้จัดการ
21 กุมภาพันธ์ 2558
หวยล็อก !
มส.อุ้มธัมมชโยเต็มพิกัด
ไม่ผิดแม้แต่ตัวเดียว
สมเด็จวัดปากน้ำ พระรอดของธรรมชโย
ห้อยทุกวัน รับรองปลอดภัย แม้แต่ สปช. ก็แตะไม่ได้ !
อา..บอกแล้ว ว่าตีธัมมชโยก็เท่ากับตีวัดปากน้ำ เพราะสองวัดเป็นเหมือนวัดเดียวกัน มีอะไรก็ต้องช่วยเหลือกัน ดังนั้น ก็ตามเวรตามกรรม เพราะเท่ากับว่า มส.ยอมเสียชีวิตเพื่อรักษาอวัยวะ เพราะต่อไป ทาง สปช. ก็ต้องรื้อโครงสร้างมหาเถรสมาคม อันเป็นต้นธารแห่งอำนาจ ซึ่งอุ้มสมธัมมชโยเอาไว้ เตรียมตัวเอาไว้ให้ดีก็แล้วนะครับพระเดชพระคุณ หมัดแรกนั้นถึงจะแรง แต่ก็ยังไม่ช้ำในเท่ากับหมัดต่อๆ ไป เพราะจะช้ำไปทั้งตัว คือจะกระเทือนถึงพระสงฆ์สามเณรทั่วประเทศ ต้องมาพลอยรับเคราะห์รับกรรมเพราะธัมมชโยคนเดียว แต่ทำไงได้ ในเมื่อธัมมชโยมีเงินมาก แจกจ่ายเลี้ยงดูพระผู้ใหญ่อย่างทั่วถึงและถึงอกถึงใจ มันก็จึงเป็นกรรมของคณะสงฆ์ไทย ที่ต้องพึ่งพาอาศัยระบบอุปถัมภ์ ส่วนหนึ่งก็อาศัย "สถาบันพระมหากษัตริย์" ได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ ส่วนหนึ่งก็อาศัย "ธรรมกาย" ได้เงินทองมาใช้จ่าย รับทั้งซ้ายรับทั้งขวา จึงดิ้นอะไรไม่ได้เลย
ภาพ : เกินบรรยาย
‘ธัมมชโย’ รอด ! มติ มส. ไม่ขัดขืนพระลิขิต อ้างฝ่ายบ้านเมืองถอนฟ้องแล้ว
20 ก.พ. 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. การประชุมคณะกรรมการมหาเถรสมามค (มส.) ได้เริ่มขึ้นมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พระผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานที่ห้องประชุมพุทธมณฑล คาดว่าจะมีการพิจารณากรณีพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกายต้องโทษปาราชิกตามในพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ตามที่นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุ
ทั้งนี้ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) กรรมการและโฆษก มส. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า
ประเด็นที่ 1.ที่ประชุม .ได้มีมติรับทราบกรณี นายสมเกียรติ ธงศรี ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม (มส.) ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ไปชี้แจงกรณี พระเทพญาณมหามุนี หรือหลวงพ่อธัมมชโย เจ้าวาสวัดพระธรรมกาย ต่อที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทะศาสนา สปช. ว่า ได้มีการละเมิดพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในปี 2542 หรือไม่
ประเด็นที่ 2 มส.ได้พิจารณาถึงเจตนาของหลวงพ่อธัมมชโย ใน 2 กรณี ดังนี้
1.ฝ่าฝืนพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชหรือไม่ ซึ่งที่ประชุม มส. ได้ยกมติ มส. ในปี 2549 ขึ้นมาพิจารณาแล้ว พบว่า หลวงพ่อธมฺมชโย ยอมรับและปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังราชในการคืนที่ดินทุกประการ
2. มีเจตนาฉ้อโกงหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว หลวงพ่อธัมมชโย ได้ทยอยคืนทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่วัดพระธรรมกาย ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะปกครอง ได้ดำเนินการสอบสวนความผิดของหลวงพ่อธัมมชโย โดยได้มีการผลสรุปออกมาว่าไม่มีเจตนาฉ้อโกง ไม่ผิดพระวินัย ไม่ถือเป็นความผิด ถือเป็นอันยุติ
โฆษกมส. กล่าวต่อไปว่า
ประเด็นที่ 3. เมื่อไม่มีเจตนาฉ้อโกง ไม่ได้ฝ่าฝืนพระลิขิต ไม่ถือว่ามีความผิด และพ้นมลทิน รวมทั้งยึดตามมติ มส. ปี 2549 โดยได้คืนตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้ขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้ ดังนั้น สถานะภาพปัจจุบันของหลวงพ่อธัมมชโย ยังคงดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดและดำรงสมณศักดิ์เช่นเดิม
โฆษก มส. กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่มี นายสมพร เทพสิทธา และนายมาณพ พลไพรินทร์ เป็นฝ่ายโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาว่า หลวงพ่อธัมมชโย ยักยอกทรัพย์ของวัดพระธรรมกาย ต่อมานานมาณพ หนึ่งในโจทย์ร่วมฟ้องได้ถอนฟ้อง หลวงพ่อธัมมชโย ทางอัยการได้พิจาณาแล้ว จึงได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าว ถือว่าหลวงพ่อธัมมชโยได้พ้นมลทินแล้ว
“จากกรณีปัญหาดังกล่าว อาตมาอยากจะวิงวอนให้พุทธศาสนิกชน พิจารณารับข่าวสารจากสื่อที่มีความรวดเร็ว อาจมีข้อผิดพลาดได้ โดยเฉพาะขณะนี้ รัฐบาลเน้นสร้างความปรองดองของคนในชาติ จึงไม่อยากให้นำเรื่องที่ยุติลงแล้วมาพูดซ้ำ ซึ่ง มส. เองไม่รู้ว่าพิจารณาอย่างไร อย่างไรก็ตาม มส. ถือเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ โดยเมื่อมีปัญหาของคณะสงฆ์เกิดขึ้น ก็ได้พิจารณาตามกระบวนการปกครองสงฆ์ สำหรับพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชในปี 2542 ถือเป็นข้อแนะนำของคณะสงฆ์ทั้งประเทศควรยึดถือปฏิบัติ” กรรมการและโฆษก มส. กล่าว
พระพรหมเมธี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุม มส. ยังได้มติตั้งคณะทำงาน ติดตามข่าวสารทางโลกขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วย พระพรหมเมธี พระพรหมบัณฑิตพระพรหมสิทธิ พระธรรมบัณฑิต นายจำนง สวมประคำ อดีตเลขาธิการวุฒิสภา และนายพิสิฐ เจริญสุข อดีตข้าราชการกรมการศาสนา
วัดพระธรรมกายไม่ให้สื่อเข้าวัดยันแจงยุติแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้าวัดพระธรรมกายไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าวัด โดยได้สอบถามไปที่ประชาสัมพันธ์ของวัดพระธรรมกายแล้ว ทางด้านวัดพระธรรมกายยังไม่ให้สัมภาษณ์ทุกกรณี เพียงแต่ส่งหนังสือ วัดพระธรรมกายชี้แจง ข้อกล่าวหาต่างๆ ยุติแล้ว ลงนามพระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกาย และห้ามสื่อมวลชนทุกสำนักเข้าไปในวัดโดยมี รปภ. คุมเข้มทางเข้าประตูหน้าวัด
‘อาคม’ แจงคดีธัมมชโยเรื่องจบแล้ว
นายอาคม เอ่งฉ้วน อดีต รมช. ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในช่วงที่ตนดำรงดำแหน่งอยู่นั้น มีกล่าวหาว่าคำสอนของธัมมชโยขัดกับพระไตรปิฎก ตนจึงให้สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม (มส.) นำเรื่องเข้าพิจารณา ซึ่งมหาเถรสมาคมมีมติมอบหมายให้ พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นผู้พิจารณา มีคำสั่งให้เข้าพบ และยืนยันว่าจะไม่สอนอีก ซึ่งเป็นการพิจารณาตาม พ.ร.บสงฆ์ เรื่องจึงยุติลง
นายอาคม กล่าวถึงกรณีการยักยอกเงินวัดว่า ในขณะนั้นตนมอบหมายให้อธิบดีกรมการศาสนา คือ นายพิภพ กาญจนะ ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยคดีสู้อยู่นานจนสมัย พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี อัยการอ้างว่าได้คืนเงินให้วัดแล้วจึงถอนคดีในนาทีสุดท้าย ในขณะนั้น นายพชร ยุติธรรมดำรง ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ทำให้คดีสิ้นสุดโดยที่ศาลไม่ได้ตัดสิน
ไพบูลย์รับข้อเสนอหลวงปู่พุทธอิสระเร่งจัดการอลัชชี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม ( หลวงปู่พุทธะอิสระ ) เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้มอบหมายให้นายมหัศจักร ใสดี เป็นตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อนายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่รัฐสภา ทั้งนี้นายไพบูลย์ กล่าวว่า สาระสำคัญของหนังสือนั้น ได้มีการเสนอให้ปฏิรูปศาสนจักร เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริงตามหลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีเคยดำริที่อยากจะเห็นการปฏิบัติเป็นไปตามหลักธรรมวินัย ส่วนแนวทางที่คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สอดคล้องกับแนวทางที่หลวงปู่พุทธะอิสระเสนอมา อย่างไรก็ตาม ตนจะนำส่งข้อเสนอของหลวงปู่พุทธะอิสระ ส่งไปยังนายกรัฐมนตรี และจะดำเนินการตามดำริของพระพุทธอิสระด้วย
สำหรับหนังสื่อดังกล่าวระบุว่า หลวงปู่มีความห่วงใยถึงปัญหาของศาสนาของพุทธในประเทศไทย และต้องการที่จะส่งข้อความในหนังสือต่อไป ยังพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านทางคณะกรรมการของนายไพบูลย์ สำหรับรายละเอียดในหนังสือของหลวงปู่ ได้ระบุถึงกรณีของมหาเถระสมาคมมีการรวบอำนาจ แต่ไม่ได้ใช้อำนาจเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังฆมณฑล , กรรมการของมหาเถระสมาคมทำงานไม่ได้ตามที่ควร, พระในมหาเถระสมาคมมีตำแหน่งมากกว่าหนึ่ง ทำให้งานที่ควรบริหารอย่างจริงจังไม่สามารถทำได้ดีพอ ทำให้เกิดปัญหามากมาย อีกทั้งกฎหมายก็ไม่ทันสมัย ไม่สามารถจัดการกับผู้ที่แอบอ้างเป็นพระได้
หนังสือดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ควรเปลี่ยนแปลงแต่ละมาตรา กำหนดบทลงโทษให้ชัดเจน และหนักหน่วงกับพวกมิจฉาชีพ ที่ทำให้ศาสนาเสียหาย นอกจากนี้กรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ผู้บังคับใช้กฎหมายอ่อนแอเกินไป ขาดความชำนาญในการบังคับใช้กฎหมาย และบางกรณีกลับเป็นผู้กระทำเสียเอง จึงยากที่จะสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องได้ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาลงทุกวัน อีกทั้งยังมีกรณีร่ำรวยผิดปกติของนักบวช ซึ่งต้องแก้ไขโดยกำหนดให้ตรวจสอบทรัพย์สินชัดเจน โปร่งใส ออกกฎหมายยึดทรัพย์นักบวชและญาติ ที่ร่ำรวยผิดปกติ มาเป็นสมบัติของแผ่นดิน
หนังสือดังกล่าวยังระบุอีกว่า ข้อความในหนังสือยังระบุถึงนักบวชในปัจจุบันว่า ไม่มีความละอายต่อหลักพระธรรมวินัย ไม่คำนึงถึงความเสียหายและโทษที่จะได้รับ จึงสมควรที่จะกำหนดบทลงโทษ แก่ผู้ละเมิดพระธรรมวินัยให้หนักหน่วง อีกทั้งยังมีการซื้อขายตำแหน่งดังในวงการนักบวช กับข้าราชการและนักการเมือง จึงอยากให้แก้ไขด้วย และในวรรคท้ายของหนังสือนั้นหลวงปู่ขอให้แก้ปัญหาของศาสนจักร โดยถือว่าทำบุญให้กับแผ่นดิน เพื่อให้พุทธศาสนาเป็นที่พึ่งของประชาชน อย่างแท้จริง
ดีเอสไอประชุมเร่งคดีเครดิตยูเนี่ยน
สมาชิกสหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยน คลองจั่น นำโดยนายธรรมนูญ อัตโชติ แกนนำชมรมฟื้นฟูสหกรณ์ฯพร้อมผู้เสียหายจำนวน 25 คน ทยอยเข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนดีเอสไอชุดใหม่ โดยนายธรรมนูญ กล่าวว่า ผู้เสียหายสมาชิกสหกรณ์ฯที่รวมกลุ่มกันในนามของชมรมฟื้นฟูสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ มีกว่า2,000 คน มีความเสียหายจากการนำเงินไปฝากไว้กับสหกรณ์ฯกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายทั้งหมดจะให้การกับดีเอสไอ และมีความเชื่อมั่นมากขึ้นกับพนักงานสอบสวนชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม สมาชิกยังไม่วางใจในกลุ่มผู้บริหารสหกรณ์ชุดปัจจุบัน ที่มีกรรมการชุดเก่าร่วมอยู่ด้วย จึงต้องการให้ดีเอสไอตรวจสอบแผนฟื้นฟูสหกรณ์ฯควบคู่ไปด้วย
ด้าน พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 3 กล่าวว่า หลังจากพนักงานสอบสวนชุดใหม่รับมอบสำนวนทั้งหมด จึงเรียกสอบผู้เสียหาย โดยประเด็นที่สอบปากคำ จะสอบถามถึงความเสียหายที่แต่ละคนได้รับและพฤติการณ์ต่างๆที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน นอกจากนี้จะเรียกผู้บริหารสหกรณ์ต่างๆที่นำเงินฝากไว้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯมาสอบปากคำด้วย
พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล รองผบ.สำนักเทคโนโลยีและการตรวจสอบ กล่าวว่า ตนเข้ามารับผิดชอบตรวจสอบเส้นทางการเงินที่นายศุภชัยนำออกจากสหกรณ์ด้วยการสั่งจ่ายเช็ค เบื้องต้นมี 878 ฉบับ มีบัญชีปลายทางที่เกี่ยวข้อง 67 บัญชี โดยประสานให้ธนาคารตรวจสอบกระแสการเงินย้อนหลังทั้งหมดเพื่อกำหนดตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรับโอนเงินจากสหกรณ์ เมื่อมีความชัดเจนจะทยอยเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ ส่วนหลักฐานและทรัพย์สินที่ยึดได้จากบริษัท เอส.ดับบลิว. โฮลดิ้ง กรุ๊ป ประเทศไทย (จำกัด) ต้องรอให้ ปปง. เรียกเจ้าของทรัพย์มาเปิดตู้เซฟแต่ได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อกับนายสถาพรวัฒนาศิรินุกุล ได้ ส่วนบริษัทอื่นที่ปปง.ยึดและอายัดหุ้นมูลค่ารวมกว่า 1,000 ล้านบาท พบทุกบริษัทปิดกิจการลงแล้ว ดังนั้นต้องให้ ปปง. ตรวจสอบต่อว่าหุ้นที่ยึดและอายัดไว้คงเหลือเป็นตัวเงินเท่าใด สำหรับวัดพระธรรมกายที่ได้รับเช็คจากนายศุภชัยทั้งในนามวัดและเจ้าอาวาสเป็นเงินกว่า 700 ล้านบาท ก็ต้องเชิญตัวเข้าให้ปากคำเช่นกัน
ที่มา : คมชัดลึก
20 กุมภาพันธ์ 2558
สรุปลงนรกร่วมกับคนปาราชิก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ