มติมหาเถรสมาคม ไม่สามารถทำให้คนปาราชิกกลับมาเป็นพระได้

มติมหาเถรสมาคม ไม่สามารถทำให้คนปาราชิกกลับมาเป็นพระได้

การประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 16/2542 เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2542 มีมติมหาเถรสมาคม มติที่ 193/2542 เรื่องพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช ระบุว่า “...ที่ประชุมรับทราบพระดำริที่สมเด็จพระสังฆราชประทานมาทั้งหมด มหาเถรสมาคมมีมติสนองพระดำริมาโดยตลอดให้ชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และเห็นสมควรส่งเรื่องให้ฝ่ายสังฆการดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคมต่อไป”

มติข้างต้น เป็นมติมหาเถรสมาคมที่รองรับและเห็นชอบตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช และในมติดังกล่าวจึงได้ “ส่งเรื่องให้ฝ่ายสังฆการดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคมต่อไป”

โดยที่พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ 26 เม.ย. 2542 นั้น ระบุชัดเจนว่า “...ต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา”

หมายความว่า ธัมมชโยจะต้องพ้นจากความเป็นพระไปโดยทันที ที่ผ่านมา เมื่อปล่อยปละละเลยให้ยังมีการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครองอยู่ พระสังฆราชจึงต้องมีพระลิขิตข้างต้นเพื่อประกาศไว้ซึ่งความถูกต้อง แจ้งชัด จนถึงคราวประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2542 พระสังฆราชจึงได้มีพระลิขิตย้ำว่า “ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าใจชัดเจนดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจ ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งฟัง รับรู้ในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542”

จะเห็นว่า กรณีธัมมชโย สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระลิขิตทั้งในเรื่องให้คืนสมบัติและให้ปาราชิกด้วย แต่การดำเนินการตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราชฯ กลับปรากฏแต่เพียงการรับโอนที่ดินเป็นของวัดพระธรรมกาย ส่วนกรณีปาราชิก กลับยังไม่มีการดำเนินการบังคับให้เกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่ มติมหาเถรสมาคมระบุว่า “มหาเถรสมาคมมีมติสนองพระดำริมาโดยตลอดให้ชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม”

การปาราชิกตามพระธรรมวินัยนั้น เมื่อพระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกไปแล้ว ย่อมจะขาดจากความเป็นสงฆ์โดยทันที ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา การอันใดที่กระทำต่อมาย่อมเป็นการกระทำในนามนายไชยบูลย์ ธัมมชโย หาใช่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และไม่อาจ “นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา” ยิ่งกว่านั้น เมื่อปาราชิกไปแล้ว ก็ไม่สามารถจะกลับมาบวชเป็นพระ รวมถึงมหาเถรสมาคมชุดใดๆ ก็ไม่อาจจะคืนสภาพความเป็นสงฆ์ให้กับผู้ที่ต้องปาราชิกไปแล้วได้

การปาราชิก ขาดจากความเป็นสงฆ์นั้น ขาดแล้วขาดเลย สิ้นแล้วสิ้นเลย ต่อไม่ได้ บวชใหม่ก็ไม่ได้

การที่มหาเถรสมาคมประชุมเมื่อวันที่ 20 ก.พ.2558 ที่ผ่านมา และมีมติในทำนองว่า นายไชยบูลย์ ธัมมชโย ยังไม่ปาราชิก จึงมิใช่เพียงเป็นการกลับมติของมหาเถรสมาคม เหยียบย่ำพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น หากยังเป็นการตะแบงผิดพระธรรมวินัยอย่างร้ายแรง!!!

หากเป็นการประชุม ครม. ยังอาจมีมติกลับมติเดิมของครม.ได้บ้าง แต่ ครม.ก็ยังไม่มีสามารถจะมีมติขัดต่อรัฐธรรมนูญ-กฎหมายสูงสุดของราชอาณาจักรได้ ยิ่งในกรณีของมหาเถรสมาคมก็ยิ่งไม่อาจมีมติที่ขัดต่อพระธรรมวินัย อันเป็นบทบัญญัติสูงสุดในทางพุทธจักร หรือกลับจากปาราชิกแล้วเป็นไม่ปาราชิก ย้อนแย้งกับพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชฯ ก็หาได้ไม่

2) ดร.ปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความรู้ที่ชัดเจนว่า “ปาราชิก” เป็นความผิดตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของพระภิกษุสงฆ์

พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิก แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที

พระลิขิตฉบับที่ 3 ลงวันที่ 26 เม.ย.2542 ระบุเนื้อหาสาระแจ้งชัดว่า

หลังจากนั้น จึงได้มีพระลิขิต ลงวันที่ 1 พ.ค.2542 ระบุว่า

นอกจากนี้ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 15 ตรี บัญญัติไว้ว่า มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม 2.ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร 3.ควบคุมและส่งเสริมการศาสนาศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ 4.รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา และ 5.ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

วรรคสอง บัญญัติว่า เพื่อการนี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่ง มีมติหรือออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้ และ จะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตาม มาตรา 19 เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งก็ได้

และได้มีพระลิขิตลงวันที่ 10 พ.ค.2542 วันเดียวกับที่มหาเถรสมาคม
จะได้ประชุมพิจารณากรณีปัญหาเกี่ยวกับ “อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย” ความว่า

ดร.ปรีชา ยืนยันว่า ตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ พระเทพญาณมหามุนีต้องโทษปาราชิกตามพระธรรมวินัย ดังนั้น มติมหาเถรสมาคมที่ออกมานั้นขัดแย้งกับพระธรรมวินัย จึงถือว่ามตินั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายสงฆ์ ถือเป็นโมฆะ

สุดท้าย... จากข้อเท็จจริงและความเห็นที่ชัดเจนทั้งทางโลกและทางธรรมข้างต้น ผมเห็นว่า หากเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงกรรมการมหาเถรสมาคม ยังคงละเว้น ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ละเว้นหรือจงใจกระทำการฝ่าฝืนต่อไป เพื่อช่วยเหลือให้ “ไชยบูลย์ ธัมมชโย” ยังสามารถ “นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา” ก็สมควรที่จะต้องถูกดำเนินคดีอาญาแผ่นดินอย่างเด็ดขาดต่อไป

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ