ความล้มเหลวทางการศึกษา แก้ปัญหาการศึกษาไทยได้ที่ตัวครู


ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงแนวปฏิบัตช่วงเปิดเปิดภาคเรียนว่า ต้องการให้ ให้สถานศึกษานำนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมอบรมธรรมะในวัดสระเกศ วัดพระธรรมกาย หรือสถานปฏิบัติธรรม เพื่อขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และความสำนึกดีแก่นักเรียน ผ่าน “โครงการปฏิบัติธรรมค้ำจุนการศึกษา ต้านคอรัปชัน แก้ปัญหายาเสพติด”
http://bit.ly/JhifIm - คมชัดลึก เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย ยังเคยโดนคดียักยอกเงินบริจาควัด...
เเต่จะใหันักเรียนไปปฏิบัติธรรมต้านคอรัปชันที่วัดธรรมกาย..





แก้ปัญหาการศึกษาไทยได้ที่ตัวครูPDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย ครูมนตรี   
วันจันทร์ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 20:38 น.

บิล เกตส์ ทุ่มเงินแก้ปัญหาการศึกษา

ด้วยการยกระดับครู ไม่ใช่แจกคอมพ์

 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
bill-gatesบิล เกตส์ เป็นอภิมหาเศรษฐีเจ้าของบริษัท Microsoft ที่ตอบแทนสังคม ด้วยการบริจาคเงินจำนวนมหาศาลเพื่อช่วยยกระดับการศึกษาของสหรัฐ เพราะเขาเห็นว่า หากมาตรฐานการศึกษาต่ำ บ้านเมืองก็จะย่ำแย่
ถามว่า "ความที่เขาเป็นเจ้าพ่อไฮเทค และผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดทั่วโลก อีกทั้งจะแจกคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนฟรีเท่าไรก็ได้ เขาส่งเสริมการศึกษาด้วยการแจกคอมพิวเตอร์หรือไม่?"
เปล่าเลย อย่าว่าแต่แกคิดว่าจะแจก "แทบเล็ต" ให้นักเรียนทั่วประเทศเลย แม้แต่จะแจกคอมพ์ แกก็ยังไม่เคยคิดว่าจะเป็นวิธีการปฏิรูปการศึกษาเลย
บิล เกตส์ "ให้ความสำคัญกับการยกระดับครู และวิธีการสอนในห้องเรียน มากกว่าตัวคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ แกประกาศว่าเป็นภารกิจหลักของแก ที่จะพยายามหาเงินมาทำให้โรงเรียนและครูมีคุณภาพดีขึ้น"

แกบอกว่า "ถ้าครูดี นักเรียนก็เก่ง (ไม่ใช่มีคอมพิวเตอร์ฟรีแล้วนักเรียนก็จะเก่งเอง เพราะถ้าครูสอนไม่เป็น ไร้คุณภาพ นักเรียนก็จะต่ำกว่ามาตรฐาน) และถ้าระดับการศึกษาดี พวกนักบริหารที่บริษัทเอ็นรอนก็จะไม่กล้าทำอย่างที่พวกเขาทำ"
"เอ็นรอน" ในที่นี้ บิล เกตส์ หมายถึง บริษัทที่เจ๊งกันเป็นแสนๆ ล้านดอลลาร์ เพราะว่าผู้บริหารโกง และที่โกงก็เพราะโรงเรียนและครูห่วย...แปลว่า การศึกษาไม่สอนให้พวกนักบริหารตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมได้รู้ซึ้งถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่งานการและสังคม
เห็นไหมว่า เขามองทะลุว่า ที่บ้านเมืองมีคนฉ้อฉลอย่างน่ากลัวนั้น เพราะว่าคุณภาพครูแย่ ไม่ใช่เพราะขาดเทคโนโลยี เพราะถ้าหากปัญหาอยู่แค่ว่ามีคอมพิวเตอร์หรือมี "แทบเล็ต" หรือไม่ บิล เกตส์ แกก็คงจะแก้ปัญหาได้ในลัดนิ้วมือเดียว
แกบอกว่า การบริหารงบประมาณของรัฐเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา "ถ้าเราเลือกใช้เงินในทางที่ผิด การศึกษาก็จะแย่ต่อไป"
หลักการของ บิล เกตส์ ในการยกระดับการศึกษา คือ : หาคนที่เป็นครูได้ดี ฝึกปรือเขาและเธอให้เก่ง และตอบแทนครูที่ทำหน้าที่ได้ดี เพราะว่านั่นแหละคือหัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับการสร้างชาติ
วิธีที่มูลนิธิ Bill and Melinda Gates Foundation เข้ามาช่วยการศึกษาไม่ใช่เพียงแค่บริจาคเงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังลงมือลงรายละเอียดเพื่อแก้ไขปัญหาด้วย
bill-gates
ส่วนหนึ่งของกิจกรรมหาทางปรับปรุงคุณภาพการศึกษา คือ การศึกษาและอัดวีดิโอเทปครูในห้องเรียนใน 7 เขตที่กำหนดเป็นจุดที่วัดมาตรฐานได้ เป้าหมายของการถ่ายทำการสอนการเรียนในห้องเรียนที่เป็นของจริง คือ การประเมินว่าวิธีสอนแบบไหนได้ผล และวิธีไหนไม่ได้ผล แล้วเอามาศึกษาวิจัยว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนอย่างไร
อีกประเด็นหนึ่งที่ บิล เกตส์ บอกว่าใช้งบประมาณการศึกษาอย่างผิดๆ ก็คือ แต่ละปีสหรัฐใช้เงินถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อปรับเงินเดือนให้ครูโดยอัตโนมัติตามอาวุโสหรืออายุงานของครู "เท่าที่เราประเมินแล้ว การปรับเงินเดือนให้สูงตามอาวุโสของครูนั้น ไม่ได้มีผลทำให้นักเรียนดีขึ้นแต่อย่างไร" แกบอก หรืองบประมาณปีละ 15,000 ล้านดอลลาร์ ที่ใช้ปรับเงินเดือนให้ครูที่สอบยกระดับปริญญาของตัวเองขึ้นไป ซึ่งแกบอกว่าวัดแล้ว ไม่มีผลอะไรต่อการทำหน้าที่ของการเป็นครูแต่อย่างไร
แกบอกด้วยว่า "ที่เชื่อกันว่า ห้องเรียนขนาดเล็กดีกว่าห้องเรียนขนาดใหญ่เสมอไปนั้น ก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก ตรงกันข้าม ครูที่ดีที่สุดสามารถรับนักเรียนให้มากขึ้นในแต่ละชั้นเรียน"
บิล เกตส์ เชื่อว่า "ครูที่ยอมรับนักเรียนเพิ่มในห้องของตน ควรจะได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น เพื่อว่านักเรียนจะได้ประโยชน์จากครูเก่งๆ มากขึ้นกว่าเดิม"
แน่นอนว่า ความเห็นของ บิล เกตส์ ในเรื่องการศึกษาในประเด็นต่างๆ ที่ว่านี้อาจจะมีคนแย้ง และอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่อย่างน้อยสังคมอเมริกัน มีการถกแถลงกันอย่างกว้างขวางถึงการยกระดับการศึกษา และชะตากรรมของเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการแต่เพียงอย่างเดียว
ตราบใดที่นโยบายการศึกษายังเป็นเรื่องของนักการเมือง และสังคมไทยโดยส่วนรวมที่มีผลได้ผลเสียต่ออนาคตของเด็กไทยอย่างมหาศาลไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตราบนั้นก็ยังหวังให้การศึกษาไทยยกระดับขึ้นไม่ได้

ส่งท้าย

ก็ลองเอาไปคิดวิเคราะห์กันดูนะครับ สำหรับผมก็ยังไม่เห็นด้วยกับการแจกบ้าเลือดในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรพร้อมสักอย่าง ครูสักกี่คนที่จะรู้วิธีการนำความรู้จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ประโยชน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะป้อนเข้าไปอยู่ในเครื่องแท็ปเล็ตนั้นก็ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ รับรอง หรือผ่านการวิเคราะห์วิจัยแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นไปอย่างลวกๆ เพื่อสักแต่ว่าให้มันมีเพื่อทันกับการจัดสรรงบประมาณใน พ.ศ. นี้เท่านั้น
sompong_jอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงนโยบายการจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child ของรัฐบาลว่า เนื้อหาที่ใส่ลงไปในแท็บเล็ตทั้ง 5 กลุ่มสาระวิชาคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคม ตลอดจนมีแบบเรียน 8 เล่มบรรจุในอีบุ๊ก (Electronic Book) และสื่อการเรียนอีกกว่า 390 ชุดนั้นมากเกินไป เพราะแท็บเล็ตคืออุปกรณ์การสอนชนิดหนึ่ง ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้แทนตำราเรียนทั้งหมด ส่วนตัวจึงเห็นควรให้ปรับลดวิชาเหลือ 2-3 วิชา เช่น ภาษาไทย หรือคณิตศาสตร์เท่านั้น ส่วนหน่วยความจำที่เหลือควรบรรจุวิชาสำคัญอย่างภาษาอังกฤษ หรือความรู้ต่างๆ ในอาเซียน ตลอดจนเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ต หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-Learning) แทน เพราะสาระสำคัญจริงๆ อยู่ที่การส่งเสริมให้เด็กไทยรู้จักรักการอ่านจากหนังสือควบคู่การค้นคว้าความรู้จากเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ยัด 5 กลุ่มสาระวิชาเข้าไปในเครื่องทั้งหมด
 "สิ่งที่ผมเป็นห่วงอีกเรื่องคือ การทำจีทูจี (Government to Goverment) จัดซื้อแท็บเล็ตกับรัฐบาลจีนในราคาต่ำประมาณ 2,225 บาทต่อเครื่อง จะทำให้เด็กได้แท็บเล็ตคุณภาพต่ำใช้งานได้เพียงปีเดียวก็เสียเเล้ว ขนาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กราคาหลักหมื่น ใช้งานได้ไม่กี่ปียังเสียเลย ผมจึงมองว่าการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ สุดท้ายแล้วจะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับผู้เรียนเลย นอกจากนี้ ผมยังอยากเห็นกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดแข่งขันการผลิตซอฟต์แวร์ ที่เน้นองค์ความรู้ที่จะทำให้เด็กอ่านภาษาไทยคล่อง พูดภาษาอังกฤษเก่ง คือ ทำอย่างไรให้เด็กฟังภาษาอังกฤษจากแท็บเล็ตได้ โดยให้บริษัทเอกชน มหาวิทยาลัย หรือนักวิชาการ ผลิตซอฟต์แวร์ที่ดีมีคุณภาพมานำเสนอ เพื่อคัดเลือกใส่ลงไปในแท็บเล็ต ไม่ใช่ใส่ 5 วิชาลงไปอย่างที่เสนอกัน ผมว่าถ้าเป็นอย่างนี้อ่านจากหนังสือยังง่ายกว่าเลย เพราะการแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กป.1 ต้องเน้นพัฒนาการของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ" อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์กล่าว
//@เด็กชายเลน ข้อมูลประวัติศาสตร์ ที่ http://www.facebook.com/thaihistory
ข้อมูลข่าว http://www.komchadluek.net/detail/20120510/129971/%E0%B8%A8%E0%B8%98.%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ