ประวัติศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ประวัติความเป็นมา

     ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ ไม่อาจนับจำนวน ปีที่ที่แน่นอนได้  เพียงแต่ประมาณเวลาได้เท่านั้น นักการศาสนา นักปรัชญา  นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคของลัทธิ ศาสนานี้ออกเป็นหลายแบบแตกต่างกัน เช่น พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) แบ่งตามแนวประวัติศาสตรเป็น 7 ยุค คือ ยุคก่อนอารยัน  ยุคอารยันเข้าอินเดีย ยุคฤคเวท ยุเวทต่าง ๆ  ยุคพราหมณะ ยุอุปนิษัท และยุคพุทธกาล

ตรีมูรติ
ตรีมูรติ  เทพเจ้าสามองค์ในร่างเดียวกัน ของพราหมณ์-ฮินดู
พระพรหม
พระวิษณุหรือพระนารายณ์เทพเจ้าผู้รักษา
พระศิวะ
พระพรหม เทพเจ้า ผู้สร้างโลก และสรรพสิง
พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาโลก กับพระลักษมี
พระศิวะหรือพระอิศวร เทพเจ้าผู้ทำลาย

     ศาสนาพราหมณ์ เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศาสนา ประมาณ 1,000 ปีขึ้นไป พระพุทธเจ้า ขณะยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ไปศึกษา คำสอนของศาสนาพราหมณ์จนจบไตรเพท จบโยคะ และหมดคำสอน ของอาจารย์ (คืออาฬาระดาบส กับอุททกะดาบส) ศาสนาพราหมณ์ ไม่มีองค์พระศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาที่เป็นมนุษย์เหมือนศาสนาอื่น ๆ  แต่ก่อรูปขึ้นจากลัทธิบูชาธรรมชาติ และวิวัฒนาการเป็นลัทธิบูชาเทพเจ้า ต่างๆ  หลายองค์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาธรรมชาติ แรกเริ่มเดิมที กำเนิดมาจากความเชื่อ ของชาวอารยันที่นับถือบูชากราบไหว้ธรรมชาติ และเชื่อว่า มีเทพเจ้าประจำ ธรรมชาตินั้น ๆ (ทำนองเดียวกันกับ การเชื่อ หรือการนับถือผีปู่ยา่า ตายาย ของไทยเราในสมัยโบราณ) เช่น  ในสมัยพระเวทตอนต้น ชาวอารยัน จัดเทพเจ้า เป็น 3 หมวด คือ พวกที่หนึ่งอยู่บนสวรรค์ ได้แก่ วรุณ (ฝน = ไทยเรียก พระพิรุณ) สูรย์ (พระอาทิตย์) โสมะ (พระจันทร์) อุษา (แสงเงินแสงทอง) เป็นต้น  พวกที่สองอยู่บนฟ้า  เป็นเทวดาประจำอากาศ ได้แก่ อินทระ (พระอินทร์ = ในศาสนาพุทธ เรียก ท้าวสักกะ เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) มารุต (ลม) เป็นต้น  พวกที่สามอยู่บนพื้นโลก เป็นเทวดาประจำแผ่นดิน  ได้แก่ อัคนี (ไฟ) ปฤถวี (แผ่นดิน) และยม (พระยม) เป็นต้น  ในสมัยพระเวท นับถือพระอินทร์ว่า เป็นทพเจ้า สูงสุด มีสายฟ้าเป็นอาวุธ สามารถทำลายศัตรูให้พินาศราบคาบลงได้ชั่วพริบตา


     ต่อมาในสมัยพราหมณะ เกิดคำสอนว่า มีเทพองค์หนึ่ง เป็นใหญ่กว่าเทพเจ้า ทั้งหลาย เรียกว่า พระเป็นเจ้า หรือพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก รวมทั้งเทพเจ้า ทั้งหลาย และมนุษย์ แล้วขีดชะตาชีวิตให้  เรียกว่า พรหมเนรมิต และพรหมลิขิต ตามลำดับ (ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง พ่อแม่เท่านั้น สร้างโลก และสร้างมนุษย์  จึงเรียกพ่อแม่ว่าเป็นพรหม) ในสมัยต่อมา ก็มีการเปลี่ยนแปลง ความเชื่อถือ และลัทธิพิธีมาโดยลำดับทุกระยะ จากศตวรรษหนึ่ง ไปยังศตวรรษหนึ่ง กล่าวคือ  ได้เทวดาใหม่ ๆ  มาเพิ่มเติม  เช่น พระวิษณุ  และพระศิวะ  ส่วนเทวดาเก่า ในสมัยพระเวท ก็ลดความสำคัญลง เช่น  พระอินทร์ บางอค์ถูกทอดทิ้ง เช่น พระอัคนี พระวรุณ  เป็นต้น
     ต่อมานักปราชญ์พราหมณ์ คนสำคัญ คือ ศังกรายจารย์ เห็นว่า ศาสนาพราหมณ์ จะอยู่ไม่ได้ เนื่องจากคนหันไปฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ พราหมณ์เอง พราหมณ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านหันไปพุทธมามกะ  เช่น  พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ  พระมหากัสสปะ และคนอื่น ๆ  อีกมากมาย  สังกรายจารย์ จึงไปศึกษาคำสอนของพุทธศาสนา แล้วเอามาดัดแปลงเข้ากับศาสนาพราหมณ์ แล้วเรียกใหม่ว่า ฮินดู  ซึ่งแปลว่า  ศาสนาของชาวอินเดียว  คือ รวมทุกศาสนา ที่มีอยู่ ในอินเดียวว่า เป็นฮินดูหมด  พระพุทธเจ้า ก็เป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ ที่เรียกว่า นารายณ์อวตาร คือ เป็นปางที่ 9 ปางพุทธมายา  แล้วแบ่งคำสอนเลียนแบบพุทธ ว่า ตรีมูรติ (เลียนแบบ พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ =  ไตรรัตน์) ซึ่งแปลว่า รูปสาม  สอนว่า เทพเจ้าที่สำคัญมี  3  องค์  คือ พระพรหม  พระวิษณุ (พระนารายณ์) และพระศิวะ  เทพเจ้าทั้งสามพระองค์นี้ แท้จริงเป็นองค์เดียวกัน  แต่แบ่งภาคออกเป็น 3 องค์ เพื่อทำหน้าที่สามประการ คือ พระพรหม มีหน้าที่สร้างสรรค์ พระวิษณุ มีหน้าที่ทะนุบำรุง เลี้ยงดู (นารายณ์อวตาร ลงมาปราบมาร) พระศิวะ มีหน้าที่ทำลาย
     สมัยก่อนในศาสนาพราหมณ์ จะไม่มีวัด แต่จะเป็นเทวสถาน และไม่มีนักบวช หรือ ที่เรียกว่า พระ  ศาสนาพราหมณ์ จะคล้าย ๆ  กับ ศาสนาอิสลาม  คือ  มีครอบครัว มีลูกมีเมียได้  เป็นเศรษฐี  เป็นฏุฎุมพี  เป็นยาจก  เป็นชาวนา  ก็มีทั้งนั้น  เมื่อสังกราจารย์  เลียนแบบพุทธ  จึงมีวัด  มีนักบวช
พระนารายณ์เกษียรสมุทร
วัดฮินดู
พระนารายณ์เกษียรสมุทร เพื่อให้ได้น้ำอมฤต
วัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
     สรุปประวัติของศาสนาพราหมณ์ จะแบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 2 ช่วง คือ
     1.  สมัยพระเวท  เป็นสมัยที่มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้ามากมายหลายพระองค์ (ซึ่งย้ายมาประเทศไทยเกือบทุกพระองค์) แบ่งออกเป็น  3  กลุ่ม  คือ เทพบนพื้นโลก เทพบนอากาศ และเทพบนสวรรค์ ซึ่งมีเทพเจ้าที่มีความสำคัญ และถูกยกให้ยิ่งใหญ่ กว่าเทพเจ้าองค์อื่น ๆ  คือ พระอินทร์ พระวรุณ และพระพฤหัสบดี ฯลฯ
     2.  สมัยพราหมณ์  ความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนี้ ก้าวไกลออกไปถึงการหาเทพ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สร้างโลก (เนรมิต) และสร้างสรรพสิ่ง (ลิขิต) เทพเจ้าอง๕ืใหม่นี้ เรียกว่า "พระพรหม" โดยพระองค์ เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่ง ก็เกิดจาก พระองค์  เมื่อตายแล้ว ก็ต้องกลับคืนสู่พระพรหม  นอกจากนี้ ยังมีเทพเจ้า ผู้ยิ่งใหญ่ อีก 2 องค์ คือ พระวิษณุ (พระนารายณ์) และ พระศิวะ (พระอิศวร) เทพเจ้าทั้ง 2 องค์ นี้ ได้รับการนับถือเทียบเท่ากับพระพรหม ทำให้เรียกเทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ว่า "ตรีมูรติ" ซึ่งแปลว่า "รูปสาม" ดังกล่วแล้ว คือ
  • พระพรหม                              เทพผู้สร้าง
  • พระวิษณุหรือพระนารายณ์       เทพผู้รักษา
  • พระศิวะหรือพระอิศวร              เทพผู้ทำลาย
     จากความเชื่อเรื่องตรีมูรติ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องของการเกิดยุค ซึ่งเรียกว่า "กัลป์" ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่พระพรหมสร้างโลก พระนารายณ์รักษาโลก ให้พ้นอำนาจของคนชั่ว  จนกระทั่ง พระศิวะต้องทำหน้าที่มาล้างและทำลายโลก ดังนั้น 1 กัลป์ จึงมีช่วงเวลาตั้งแต่โลกถูกสร้างขึ้นมา จนถึงโลกถูกทำลายไป  แบ่งออกเป็น  4  ยุค คือ
  • กฤตยุค  หมายถึง  ยุคที่มนุษย์มีความดีอย่างเต็มเปี่ยม
  • ไตรดายุค  หมายถึง  ยุคที่ความชั่วเริ่มเข้ามาในสังคม ประมาณ 1 ใน 4 แต่ความดียังมากกว่า
  • ทวาปรยุค  หมายถึง  ยุคที่มีความชั่วเข้ามาในสังคมครึ่งหนึ่ง มีความดี และความชั่วเท่าเทียมกัน
  • กลียุค  หมายถึง  ยุคที่มีความชั่วเข้ามา  3  ส่วน  ความดีเหลืออยู่ เพียงส่วนเดียว ทำให้สังคมมีความชั่วมากกว่าความดี สังคมวุ่นวาย
     นารายณ์ปางต่าง ๆ
  1. มัตสยาวตาร  อวตารลงมาเป็นปลา เพื่อช่วยมนุษย์เมื่อคราวน้ำท่วมโลก ฆ่ายักษ์ ที่ชื่อยหครีวะ  ผู้เป็นต้นเหตุให้มนุษย์มีความเห็นผิดลุ่มหลง
  2. กูรมาวตาร  อวตารลงมาเป็นเต่าในทะเลน้ำนม (เกษียรสาคร) เอาหลังรองรับ ภูเขาชื่อมันทาระ เทพยดานำพญานาคมาต่างเชือกชักภูเขา เพื่อกวนมหาสมุนทร (นารายณ์เกษียรสมุนทร) ให้เกิดน้ำอมฤต และสิ่งมีค่า อื่น ๆ  รวม 14 อย่าง
  3. วราหาวตาร  อวตารลงมาเป็นหมู่ป่า เพื่อปราบยักษ์ ผู้มีนามว่า "หิรัณยากษะ" ผู้จับโลกกดลงไปใต้ทะเล  ตามตำนานกล่าวว่า แต่เดิมโลก เป็ฯก้อนน้ำกลม  แต่ด้วยเขี้ยวของหมูป่าดุนให้โลกสูงขึ้นมาจากน้ำได้ คนจึงได้อาศัยอยู่บนโลกทุกวันนี้
  4. นรสิงหาวตาร  อวตารลงมาเป็นมนุษย์สิงห์ คือครึ่งมนุษย์ครึ่งสิงห์  เพื่อปราบยักษ์ชื่อ "หิรันยกศิปุฯ  ผู้ได้พรจากพระพรหมว่า จะไม่ถูกมนุษย์ เทพ หรือสัตว์ฆ่าให้ตายได้  ยักษ์จึงกำเริบรุกานโลกทั้ง  3  (สวรรค์ มนุษย์ ยม หรือนรก) พระนารายณ์ จึงอวตารเป็นนรสิงห์ ทำลายยักษ์นั้น ถึงแก่ชีวิต  เพราะนรสิงห์มิใช่คน มิใช่สัตว์
  5. วามนาวตาร  อวตารลงมาเป็นคนค่อม เพื่อปราบยักษ์ชื่อพลิ  มิให้มีอำนาจ ครองโลกทั้ง  3 โดยขอเนื้อที่เพียง  3  ก้าว  เมื่อพลิยักษ์ ยินยอม จึงก้าวไป 2 ก้าว ก็เกินสวรรค์และเกินโลก แต่ด้วยความกรุณา จึงประทานโลกใต้บาดาล ให้ยักษ์นั้นไป
  6. ปรศุรามาวตาร  อวตารลงมาเป็นรามผู้ถือขวาน ในเรื่องเล่ากันว่า พระวิษณุ อวตารลงมาเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้มีนามว่า "ยมทัคนี" และสืบสกุลมาจาก ภฤคุ  เื่พื่อป้องกันมิให้กษัตริย์ครอบครองอาณาจักรเหนือวรรณะพราหมณ์ ปรศุราม ได้ชำระโลกถึง 21 ครั้ง เพื่อให้ปราศจากวรรณะกษัตริย์
  7. รามาวตาร  อวตารลงมาเป็นรามจันทร์ (พระราม ผู้อ่อนโยน หรือ เปรียบเสมือนพระจันทร์  คือ เป็ฯพระรามในเรื่องรามายณะ หรือ ที่ไทยเรา เรียกว่า "รามเกียรติ์" เพื่อปราบยักษ์ชื่อวรรณะ หรือทศกัณฐ์
  8. กฤษณาวตาร  อวตารลงเป็นพระกฤษณะ (ผู้มีผิวดำ) ในเรื่องมหาภารตะ เพื่อทำลายกษัตริย์กังสะผู้ทารุณ  ซึ่งเท่ากับเป็นตัวแทนแห่งความชั่วร้าย การปราบผู้ชั่วร้ายเช่นนี้ ย่อมคล้ายคลึงกับอวตารที่ 7 ที่ทรงปราบทศกัณฐ์
  9. พุทธาวตาร หรือ ปางมายา อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เหตุผลทางฝ่าย พราหมณ์ บางพวกผู้เกลียดพระพุทธศาสนาก็ว่า พระวิษณุ อวตารลงมาเป็น พระพุทธเจ้า แต่เหตุผลอีกทางหนึ่ง ศาสนาฮินดูเห็นว่า จะสู้พระพุทธศาสนา ไม่ได้ จึงแต่งเรื่องนี้ขึ้น เพื่อกลืนพระพุทธศาสนา เข้ามาไว้ในศาสนาฮินดู ดังกล่าวแล้ว บางพวก บอกว่า อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อลวง พวกอสูรให้ไปนับถือพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า ปางมายา เทวดาจะได้มานับถือพราหมณ์ ดังนั้น ผู้ที่เป็นชาวพุทธ ถือว่าเป็นอสูรในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ศาสนาคริสต์ ก็เลียนแบบพราหมณ์ โดยบอกว่า พระพุทธเจ้า เป็นประกาศกของพระเยซู ผู้ใคร่ศึกษา ควรหาอ่านดู)
  10. กัลกยาวตาร  อวตารลงมาเป็นกัลกี หรือกัลกีน คือ บุรุษขี่ม้าขาว ถือดาบ มีแสงแปลบปลาบดั่งดาวหาง ปางนี้ เรียกอีกอย่างว่า อัศวาวตาร เพื่อปราบ คนชั่วและสถาปนาธรรมขึ้นใหม่ในโลก
     ตามความเห็นของผู้จัดทำ  ในประเทศไทยเรา เห็นว่า เป็นชาวฮินดูมากที่สุด เพียงแต่อ้างว่า ตนเป็นชาวพุทธ ตามบัตรประจำตัวประชาชน  เพราะจะเห็นว่า คนไทยเรา ยังเชื่อเรื่อง พรหมลิขิต เรื่องอ้อนวอน บูชาเทพเจ้าต่าง ๆ  มีการสร้าง ศาลพระภูมิ ไม่เว้นแม้แต่ในวัด สถานที่ราชการ เป็นต้น พระสงฆ์องคเจ้า ก็หันมาเน้นเรื่องเทพในศาสนานี้ เป็นอันมาก  มีการประชาสัมพันธ์ปลุกเศกมอมเมาประชาชน  เช่น ปัจจับันนี้ (พ.ศ. 2552 พระสงฆืหลายวัด เอาพระพิฆเนศวร์ ซึ่งเป็นบุตรของพระศิวะ กับ พระอุมาเทวี มาปลุกเศกมอมเมาประชาชน แข่งขันกันสร้างองค์พระฆเนศวร์ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ที่จังหวัดนครนายก  จังหวัดนครปฐม  เป็นต้น  ซึ่งไม่ใช่เรื่องของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาเลย  พระพุทธเจ้า อุตสาหะพยายามสอนให้สาวกของพระองค์ ออกมาจากเทพแล้ว แต่ผู้ที่ถือว่าตัวเองเป็นพุทธสาวก กลับทำตัวเป็นสาวก ของพระพิฆเนศวร์ไป  ชาวพุทธเรา (ที่แท้จริง) ควรศึกษา และประณาม ไม่ใช่แต่จะพูดว่า แล้วแต่ความเชื่อถือของแต่ละคน  แต่เป็นเรื่องของการดึงคน ออกมาจากการมอมเมา หวังพึ่งสิ่งที่เลื่อนลอยมองไม่เห็น  ถ้านับถือพระพิฆเนศวร์ แล้วรวยจริง ชาวอินเดีย ก็คงรวยกว่าชาวโลกไปแล้ว แต่นี่ อินเดีย ก็ยังมีคนจน เยอะแยะ มีแต่พวกที่สร้างพระพิฆเนศวร์นั่นแหละรวย พระสงฆ์เรา ควรหันมาเน้น คำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าสิ่งใด ๆ  อื่น อันไม่ใช่กิจของสงฆ์ หรือของชาวพุทธ

โอม
สัญลักษณ์
:
โอม
ความหมาย
:
เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิโยคะ ใช้สำหรับบริกรรม (ท่องซ้ำ ๆ ) เพื่อให้เกิดความรู้ถึงสิ่งสูงสุด และเพื่อป้องกันอุปสรรค ในการบำเพ็ญโยคะ
หลักคำสอน
     1.  หลักธรรม  4  ประการ
  • ธฤติ  ได้แก่  ความมั่นคง  ความกล้า  ความสุข  คือ ความพากเพียรจนสำเร็จ และพอใจในสิ่งที่ตนมี
  • กษมา  ได้แก่ความอดกลั้น ความอดทน
  • ทมะ  ได้แก่  การระงับจิตใจ  การข่มใจ
  • อัสเตยะ  ได้แก่  การไม่ลักขโมย
  • เศาจะ  ได้แก่  การทำตนให้บริสุทธิ์ ทั้งกายและใจ
  • อินทรียนิครหะ  ได้แก่  การระงับอินทรีย์ทั้ง 10 คือ ประสาทความรู้ 5 ประการ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น  และผิวหนัง ประสาทความรู้สึก ทางการกระทำ ได้แก่ มือ เท้า ทวารหนัก ทวารเบา และลำคอ
  • ธี  ได้แก่  ปัญญา  สติ
  • วิทยา  ได้แก่  ความรู้ทางปรัชญา
  • สัตยะ  ได้แก่  ความจริง  ความสุจริต  ความซื่อสัตย์
  • อโกธะ  ได้แก่ ความไม่โกรธ
     หลักธรรม  10  ประการ มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ รู้จักควบคุมตนเอง ไม่ให้หลงมัวเมาในสิ่งผิด
      2. หลักอาศรม  4
     หลักอาศรม  4  หมายถึง  ขั้นตอนของชีวิต หรือ ทางปฏิบัติเพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น มี 4 ประการ คือ
  • พรหมจารี  เป็นขั้นตอนของเด็กชายตระกูล พราหมณ์ทุกคน จะต้องรับการคล้องด้าย ศักดิ์สิทธิ์ จากอาจารย์ พิธีคล้องด้ายศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า "ยัชโญปวีต"  เมื่อได้รับการคล้องแล้ว เท่ากับประกาศตนเป็นพรหมจารี ถือว่าเป็น พราหมณ์ โดยสมบูรณ์ จากนั้น จะต้องศึกษา อยู่ในสำนักของอาจารย์จนสำเร็จการศึกษา
  • คฤหัสถ์  หรือผู้ครองเรือน  เมื่อสำเร็จการศึกษา แล้ว จะกลับบ้านเรือนของตน เพื่อแต่งงาน และมีบุตร
  • วานปรัสถ์  เป็นช่วงเวลาที่พพราหมณ์ ปฏิบัติตน เพื่อสังคมและประเทศ  เมื่อครอบครัวเป็นปึกแผ่น และบุตรได้ออกเรือนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวจะออกป่า เพื่อแสวงหาความวิเวกและฝึกจิตของตน ซึ่งอาจ กระทำเป็นครั้งคราวแล้วกลับสู่เรือนก็ได้  ซึ่งคล้ายกับชาวไทยในพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อแก่เฒ่าลง ก็จะหันหน้าเข้าหาวัด
  • สันยาสี  เป็นระยะเวลาที่พราหมณ์ ทำเพื่อมนุษย- ชาติทั้งปวง เป็นการสละชีวิตคฤหัสถ์ ของผู้ครองเรือน เพื่อเข้าป่าออกบวช  และเพื่อจุดหมายสูงสุดของชีวิต คือ โมกษะ
     3.  หลักปุรุษารถะ หรือจุดมุ่งหมายของชีวิต
  • ธรรม หมายถึง  หลักศีลธรรมในสังคม เพื่อให้สังคมอยู่อย่างสันติสุข
  • กาม  เป็นการหาความสุขทางโลก  โดยให้ดำเนิน ไปตามแนวของธรรม ซึ่งมีผลให้ตนเอง มีความสุข ขณะที่สังคมก็มีความสุขด้วย
  • อรรถ  เป็นการแสวงหาทรัพย์ หรือการสร้างฐานะ ทางเศรษฐกิจ โดยยึดแนวทางธรรมเป็นหลัก
  • โมกษะ  เป็นอิสรภาพแห่งวิญญาณ  หลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด หรือหลุดพ้น จากสังสารวัฏ  เป็นอุดมคติและคุณค่าสูงสุด ของชีวิต  ถือเป็นความสุขอันเป็นนิรันตดร์ (ข้อนี้ น่าจะเลียนแบบพุทธ  เนื่องจากพราหมณ์ มีหลักการ คือ ต้องเข้าสู่ปรมาตมัน คือ พระพรหม ไม่ใช่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด)
    4.  หลักปรมาตมันและโมกษะ
  • ปรมาตมัน  เป็นดวงวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นเอง  เป็นต้นเหตุของสรรพสิ่ง (คล้ายกับ พระเจ้า (GOD) ในคริสต์ศาสนา) หรือสรรพสิ่ง เกิดจากปรมาตมัน ปรมาตมันเป็นอมตะ ไม่มีเบื้องต้น และไมีมีที่สิ้นสุด ไม่ทีเพศ เป็นสันติสุขในตัวเอง  เป็นปฐมวิญญาณ ของสิ่งทั้งปวง  และเป็นบ่อเกิดของอาตมัน
  • อาตมัน เป็นดวงวิญญาณของปรมาตมัน คือ ที่เกิดเป็นสัตว์ต่าง ๆ  เช่น มนุษย์ เทพเจ้า เดรัจฉาน ฯลฯ
  • โมกษะ  การที่ดวงวิญญาณย่อยหรือาตมัน รวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันได้นั้น จะต้องเข้าถึงจุดหมายของชีวิตให้ได้ ซึ่งก็คือ โมกษะ หรือการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ส่วนวิธี ที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คือ มรรคสี่ ได้แก่
    • กรรมมรรค  คือการละกรรม ที่เป็นต้นเหตุ ให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด พึงกระทำกรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึง การหลุดพ้น
    • ชญานมรรค  คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการรู้แจ้งในบรมสัตย์
    • ภักติมรรค คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการภักดีในองค์พระเป็นเจ้า
    • ราชมรรค คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการฝึกฝนทางจิต
     5.  หลักทรรศนะ 6
     หลักทรรศนะ 6 เป็นหลักธรรม และการปฏิบัติ ที่เป็นการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ที่ทำให้ความเป็นพราหมณ์กลายมาเป็นความเป็น ฮินดูในปัจจุบัน  หลักทรรศนะ 6 ได้แก่ ลัทธิสังขยา  ลัทธิโยคะ (เน้นการบริกรรม คำว่า "โอม" เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้ในการภาวนา) ลัทธินยายะ  ลัทธิไวเศษิกะ  ลัทธิมีมางสา หรือปูรวมีมางสา  และลัทธิเวทานตะ
     6.  คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • ฤคเวท  เป็นคัมภีร์แห่งความรอบรู้ในบทสวด สรรเสริญพระเจ้า
  • ยชุรเวท  เป็นคัมภีร์รวบรวมบทร้อยกรอง ใช้ในพิธีการบูชายัญในศาสนา
  • สามเวท เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ สำหรับ ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ  ของประชาชน โดยทั่วไป
  • รวม 3 อย่างนี้  เรียกว่า "ไตรเพท" ต่อมาเพิ่มเข้ามาอีกคัมภีร์หนึ่ง คือ อาถรรพนเวท เป็นคัมภีร์เวทมนต์ คาถา ที่เรียกว่า พระเวท มนตร์ขลัง
     ส่วนคัมภีร์รุ่นหลังที่สำคัญ คือ คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นคัมภีร์ซึ่งถือว่า เป็นยอดวรรณคดี และเป็นหัวใจ ปรัชญาของฮินดู หลักธรรมของคัมภีร์นี้ มีอิทธิพล อย่างแรงกล้าเหนือจิตใจชาวฮินดูตลอดเวลา 1,600 ปี ที่ผ่านมา  ถ้อยคำ และสำนวนในคัมภีร์ มีความไพเราะ อย่างยิ่ง
     คัมพีร์ภควัทคีตา เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์ มหาภารตะ เป็นส่วนหนึ่ง หรือฉากหนึ่ง ของภีษมบรรพ ในมหากาพย์มหาภารตะ ภควัทคีตา มีความสมบูรณ์ ในตัวเอง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องมหาภารตยุทธ ด้วย  ภควัทคีตา มาจากศัพท์เดิมว่า "ภควัต" สันธิกับ คำว่า "คีตา"  คำว่า ภควัต  หรือ ภควา หรือ ภควันต์ หมายถึงผู้ที่เป็นที่เคารพอย่างสูง  นาย  หรือที่พึ่ง  คำว่า คีตา แปลว่า เพลง  ดังนั้น ภควัทคีตา จึงแปลว่า บทเพลง แห่งพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง คำสอนที่พระผู้เป็นเจ้า ประทานแก่มนุษย์ เพื่อชี้ทางให้เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า
     หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะดูขัด ๆ  กันอยู่  เนื่องจากอย่างที่บอกแล้ว  คือ  ศังกราจารย์ ปราชญ์ที่สำคัญยิ่งของพราหมณ์ ได้ประยุกต์ คำสอน หรือเลียนแบบคำสอนของพุทธมาไว้ด้วย  จึงดูเหมือน ไม่เป็นตัวของตัวเอง มีทั้งโมกษะ การหลุดพ้นจาก การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งแท้จริงแล้ว หมายถึง การเข้าถึง พระผู้เป็นเจ้า คือ พระพรหม ซึ่งเป็นปรมาตมัน ไม่ได้หมายถึง พ้นจากสังสารวัฏ ถ้าเทียบกับนิพพาน ในพุทธศาสนา ก็ไม่ใช่ เพราะนิพพาน ไม่ได้เข้าร่วมกับ สิ่งใด นิพพานในพุทธศาสนา หมายถึง ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ซึ่งประสบได้ในปัจจุบัน มิใช่หลังจากตายแล้ว ส่วนจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาที่มีเทพเจ้า ล้วนเข้าถึง เทพเจ้าหลังจากตายแล้ว หรือหลังจากสิ้นโลกแล้วทั้งนั้น ก็ขอให้ท่านผู้สนใจพิจารณาดู

เพิ่มเติม นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจาก ศาสนาพราหมณ์ นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่ มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลาย นิกายที่สำคัญ เช่น
1. นิกายไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกาย ที่นับถือพระวิษณุเจ้า เป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมาก ในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni)
2. นิกายไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้า สูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลาย และสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะ คือศิวลึงค์และโยนี ก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้น เป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้น มากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะ และพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน
3. นิกายศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลี ซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลัง หรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น
4. นิกายคณะพัทยะ(Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศ เป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศ เป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมด ในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศ อย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์
5. นิกายสรภัทธะ(Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ กายาตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์ เป็นฤๅษีวิศวามิตร
6. นิกายสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่ พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้า ทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ
ยังมีนิกายอื่นๆอีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ที่มีนิกายน้อย-ใหญ่ แตกแขนงออกมาอีกนับไม่ถ้วน
== การบูชาศิวลึงค์ เป็นความคิดที่พราหมณ์ ในสมัยก่อนคิดกันขึ้นมา เพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์ มิใช่ความปรารถนา ของพระศิวะที่จะให้พราหมณ์ นับถือศิวลึงค์ หรือโยนีสำหรับลัทธิศักติ การบูชาพระศิวะ สามารถทำได้ ด้วยการกระทำความดี เพื่อถวายแก่พระศิวะ ผู้ที่ปรารถนาที่จะกลับเข้าสู่ ความเป็นอาตมันหรือตรัสรู้ สามารถทำได้โดยการทำสมาธิ และให้คิดว่าร่างกายนี้ เราก็ละในที่สุดก็จะตรัสรู้ และมีแสงเป็นจุดกลมๆ เป็นฝอยๆสีขาวคล้ายน้ำหมึก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบางอันก็เล็กกว่า และมีแสงเป็นรูป คล้ายดาวกระจาย ขนาดประมาณครึ่งนิ้ว แสงที่เห็นจะมีน้ำหนัก มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อกระทบวัตถุสามารถเด้งกลับได้ การตรัสรู้ของศาสนาพราหมณ์คือ "การรู้ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา" ส่วนเรื่องขี้วัว ไม่จำเป็นต้องเอาขี้วัวมาบูชา เรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดของคน ในสมัยโบราณ ในขี้วัวจะมีธาตุไนโตรเจนสูง ใช้ในการกสิกรรมจะมีประโยชน์มาก พระศิวะคือเทพแห่งพลังงาน ไม่ใช่เทพแห่งกสิกรรม เพียงอย่างเดียว

สาระเกี่ยวกับพราหมณ์

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ “พราหมณ์-ฮินดู” เพราะผู้ให้กำเนิด ศาสนานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลง ระยะหนึ่ง เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนา โดยแต่งคัมภีร์ปุราณะ ลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติ รวมทั้งหลักธรรม ของศาสนาพุทธบางส่วน มาใช้และฟื้นฟูปรับปรุง ศาสนาพราหมณ์ ให้เป็นศาสนาฮินดู โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยัน ที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสม ของชาวอารยัน กับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์ โดยการเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิม ลงไป เนื่องจากเวลาสังคมอินเดีย แตกแยกอย่างมากทางตอนเหนือ นับถือพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ ชาวประมงนับถือวิษณุ ซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้น เริ่มไม่นับถือศาสนาพราหมณ์ เป็นจำนวนมากขึ้น จึงรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่น เป็นหนึ่งเดียวกัน แลัวเรียกศาสนาของพวกนี้ ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศานาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้
พระพุทธศาสนา ก็เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมพราหมณ์ แม้แต่พระพุทธเจ้า และพุทธสาวกสมัยแรกๆ ก็เคยนับถือลัทธิพราหมณ์ หรือเคยเกี่ยวข้อง กับวรรณะพราหมณ์มาก่อน และในนิทานชาดก และเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธ และพระพุทธเจ้า ก็มักจะมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธ และพราหมณ์ จึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน
ในศาสนาพราหมณ์ คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุด ของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวท และทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย


ประวัติ เทวสถาน http://www.devasthan.org/history_main.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ