ประวัติศาสตร์พระพุทธรูป วัดบวรนิเวศ จารึกวัดบวร
พระสุวรรณเขต
![]()
พระสุวรรณเขตหรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุด เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก ๒ ศอก ข้างละ ๑ องค์
พระพุทธรูปวัดสระตะพานองค์นี้ เป็นพระหล่อ หน้าพระเพลา (ตัก) ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปโบราณ เรียกว่า พระโต แต่ นายอ่อน เจตนาแจ่ม ผู้รักษาพระอุโบสถเล่าว่า เคยได้ยินสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานิศรานุวัดติวงศ์ ตรัสกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า "พระโตองค์นี้ ชาวพื้นเมืองเรียกกันว่า "หลวงพ่อเพชรๆ" ชื่อท่านมีอยู่แล้วว่า "พระสุวรรณเขต" ไม่เรียก เมื่อเชิญมา รื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม อัญเชิญลงแพ มาคุมเข้าเป็นองค์เดิมอีก ลักษณะที่คุมเข้าใหม่เป็นฝีมือของช่างกรุงเทพฯ โดยมาก แต่ยังพอสังเกตได้ว่าเดิมเป็นลักษณะพระขอม พระศกของพระพุทธรูปนี้ เดิมโตอย่างของพระพุทธชินสีห์ พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรมพระราชวังบวรฯ เลาะออกเสีย ทำพระศกของพระโตนี้ใหม่ด้วยดินเผาให้เล็ก ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง พระองค์ใหญ่ มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง หน้าตักสองศอกถ้วนเป็นพระปั้น
พระพุทธชินสีห์
พระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๔
![]()
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวช ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๐ แล้วได้ติดทองกะไหล่พระรัศมี ฝังพระเนตร และฝังเพชรที่พระอุณาโลมใหม่ พร้อมทั้งปิดทององค์พระพุทธรูป ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ในพุทธศักราช ๒๓๙๔ โปรดเกล้าฯ ให้แผ่แผ่นทองคำลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิม ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้น ถวายผ้าทรงสะพักตาด ต้นไม้เงินทอง และกลองมโหระทึกสำหรับประโคมในเวลาพระสงฆ์บูชาเช้าค่ำเป็นเกียรติยศ พุทธศักราช ๒๓๘๙ โปรดเกล้าฯให้หล่อฐานสำริดปิดทองใหม่มีการสมโภช พุทธศักราช ๒๔๐๙ ทรงสมโภชอีครั้งและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย
พระพุทธชินสีห์นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จมาถวายสักการบูชาในโอกาสต่างๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารคมานมัสการและถวายต้นไม้เงิ
![]()
พระพุทธชิ
![]() ![]() ![]() อนึ่งมีทรวดทรงและชายจีวรยาวแบบลังกา แสดงให้เห็นว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเลอไทยหรือลือไทยเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง และนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในกรุงสยาม ได้เสด็จฯไปถวายนมัสกาหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาป็นราชธานี กล่าวเฉพาะพระพุทธชินสีห์เมื่อเมื่ออัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพร ![]() ![]() พระพุทธสยามาภิวัฒนบพิตร ภูมิพลนริศทสสหัสสทิวัสรัชการี ปัณณาสวรรษศรีอุภัยมหามงคล
พระพุทธสยามาภิวัฒนบพิตร ภูมิพลนริศทสสหัสสทิวัสรัชการี ปัณณาสวรรษศรีอุภัยมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปอิริยาบถลีลาปางห้ามพระแก่นจันทน์ ขนาดเท่าพระองค์ (๑๗๒ เซนติเมตร) เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้บนฐานชุกชีเบื้องพระหัตถ์ขวาพระพุทธชินสีห์ภายในพระอุโบสถ
![]()
พระพุทธวิโลกนญาณบพิตร สิริกิติธรรมโสตถิมงคล
พระพุทธวิโลกนญาณบพิตร สิริกิติธรรมโสตถิมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร(ปางรำพึง)ขนาดเท่าพระองค์ขึ้น เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้บนฐานชุกชีเบื้องพระหัตถ์ซ้ายพระพุทธชินสีห์ภายในพระอุโบสถ
บนฐานชุกชีเบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์มีพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าประดิษฐานอยู่ ๓ องค์ องค์กลางด้านหน้าพระพุทธชินสีห์ คือ พระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ หล่อเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ในรัชกาลที่ ๖ องค์ซ้ายพระพุทธชินสีห์ คือ พระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หล่อเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๒ องค์ขวาพระพุทะชินสีห์ คือ พระรูปของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ หล่อเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๗
พระอัฎฐารส
![]()
พระอัฎฐารส ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อได้ประดิษฐานพระพุทธสุวรรณเขตตรงกลางอาคารหลังยาวแล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือทั้ง ๒ ข้างได้กั้นฝาเป็นห้องมุขทิศตะวันออกและทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร สูง ๖ ศอก ๑ นิ้ว มุขละ ๑ องค์ ซึ่งหล่อขึ้นในใ
![]() | |||||||||||||||
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ