กรรมที่อัยการทำไ้ว้กับสถาบัน โลกต้องรู้



จากกรณีบุคคลและคณะบุคคล 6 ราย ยื่นหนังสือพร้อมด้วยหลักฐานให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ 416 ส.ส. และ ส.ว. เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68
ล่าสุด นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล โฆษกอัยการสูงสุด  แถลงว่า จากกรณีที่มีผู้ร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ทางด้านอัยการสูงสุดเห็นว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ที่อัยการจะเข้าไปตรวจสอบ และเนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบร้ายแรงกับผู้ถูกร้องต้องใช้ดุลพินิจอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งนี้อัยการเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวมิได้เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ หากแต่เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ซึ่งมีการแยกหมวดในรัฐธรรมนูญชัดเจน จึงไม่เข้าข่ายตามมาตรา 68
นายวินัยยังแถลงต่อว่า อัยการเห็นว่า ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับนั้นมีบทบัญญัติที่ชัดเจนเจนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบแห่งรัฐ จึงมิได้มีเจตนาในการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่ได้เป็นการทำให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิถีที่ไม่ได้บัญญัติใน รัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้น คำร้องทั้ง 6 จึงไม่พอฟังว่า เป็นเหตุให้ศาลสั่งการให้เลิกการกระทำ อนึ่งการวินิจฉัยครั้งนี้ไม่เป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ของอัยการไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจวินิจฉัยองค์กรอื่น 


พธม.เดือดเตรียมยื่นถอดถอน"อัยการสูงสุด" หลังแถลงไม่ส่งศาล.ตีความแก้รัฐธรรมนูญ


  เมื่อเวลา 20.13 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) กล่าวภายหลังสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงไม่ส่งคำร้องกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ว่า เป็นสิ่งที่อัยการน่าจะเข้าใจผิด เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไม่ได้ให้อำนาจอัยการทำหน้าที่วินิจฉัย แต่มีหน้าที่ตรวจสอบเพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาพันธมิตรได้เคยส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดแล้วเมื่อวันที่26 เม..ที่ผ่านมา เพื่ออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งให้สมาชิกรัฐสภาเลิกพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งสามฉบับ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 แต่เมื่ออัยการสูงสุดไม่ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ พันธมิตรก็ใช้สิทธิส่งเรื่องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยตัวเองในสัปดาห์หน้า

                 นายปานเทพ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ หากอัยการสูงสุดไม่ทำหน้าที่กลุ่มพันธมิตรก็จะตัดสินใจฟ้องอาญาอัยการสูงสุด ส่วนจะฟ้องช่องทางไหนจะมีการพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้อัยการสูดพิสูจน์ตัวเอง หากพิสูจน์ไม่ได้ก็ต้องถูกถอดถอน อย่างไรก็ตามโดยทางออกเรื่องนี้ก็อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้ตัดสินทั้งหมด เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัย เพราะมีบทบัญญัติในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยตรง สุดท้ายถึงจะมีการล้มรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยใช้มือในสภาก็ตาม แต่ก็ต้องไปตัดสินที่ศาลรัฐธรรมนูญ
กรรมในอดีตที่ อัยการ ทำไว้กับ สถาบันพระศาสนา ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2011/12/blog-post_04.html

ท่านต้องได้รับกรรมแน่นอน

เวลา 19.55 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ว่า คณะทำงานอัยการที่มีนายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีบุคคลและคณะบุคคล 6 ราย ยื่นหนังสือพร้อมหลักฐานให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ 416 ส.ส. – ส.ว. เสนอแก้รธน. มาตรา 291 เพื่อยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ ตาม รธน.มาตรา 68 ซึ่งนัดประชุมพิจารณากันตั้งแต่เวลา 13.00 น.วันนี้( 7 มิถุนายน ) ล่าสุดหลังการประชุมคณะกรรมการเป็นไปอย่างเคร่งเครียดนานกว่า 5 ชั่วโมงจึงเสร็จสิ้น

ต่อมา นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงข่าวภายหลังการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าที่ประชุมคณะทำงานอัยการ สรุปความเห็นไม่ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามาตรา 68 หลังจากคณะกรรมการอัยการสรุปข้อเท็จจริงและเสนอให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณีคำร้องของผู้ร้องทั้ง 6 ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติกรรมหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำตามความ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68




คณะผู้บริหารอัยการ | ข้าราชการธุรการ
 
คณะผู้บริหารอัยการ
 
นายจุลสิงห์  วสันตสิงห์
อัยการสูงสุด
 
นายถาวร  พานิชพันธ์รองอัยการสูงสุดนายอรรถพล  ใหญ่สว่างรองอัยการสูงสุด
 
นายภราดร  ศรีศุภรางค์กุลรองอัยการสูงสุดนายตระกูล  วินิจนัยภาค
รองอัยการสูงสุด
  
นายสัตยา  อรุณธารี รองอัยการสูงสุดนายวุฒิพงศ์  วิบูลย์วงศ์ 
รองอัยการสูงสุด

  
นายเสริมเกียรติ  วรดิษฐ์ผู้ตรวจการอัยการนายนพดล  วิลาวรรณ ผู้ตรวจการอัยการ
  
นายมนัส สุขสวัสดิ์
ผู้ตรวจการอัยการ
นายสุเมธ ชัยช่วงโชค ผู้ตรวจการอัยการ
  
นายวรุจจ์พร นิมิตกุล ผู้ตรวจการอัยการ
นายชาญวิทย์ เจริญพจน์ ผู้ตรวจการอัยการ
  
นายสมศักดิ์ สันทนาคณิต 
ผู้ตรวจการอัยการ
นายจรัญ ยิ้มสินสมบูรณ์ ผู้ตรวจการอัยการ
  
นายสุวิทย์ ดิษฐ์แพ ผู้ตรวจการอัยการ
นายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ 
ผู้ตรวจการอัยการ
  
 
นายพรชัย แววงาม ผู้ตรวจการอัยการ
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ