เรื่องความมั่นคง พระศาสนาที่น่าห่วง?


ซ้ำซ้อนงานมหาเถร !!!


ดร.อำนาจวิจารณ์งานพุทธสภา


อา..เกิดปัญหาละสิ ว่าแล้วไหมเล่า ไหน ดร.ปรีชาหน้าระรื่นบอกว่า "สบม. ยห." ทุกคนเห็นชอบหมด ไม่มีใครคัดค้านแผนงานของกรมการศาสนา มีเพียงเสียงส่งเสริมดังกระหึ่มห้องประชุม ขาดตกบกพร่องก็คนที่มาประชุมไม่ทันเท่านั้น วันนี้ นายอำนาจ บัวศิริ รอง ผอ.พศ. ได้ออกมาให้สัมภาษณ์สื่ออย่างชัดเจนแล้วว่า "ไม่เห็นด้วย" ทั้งที่นายอำนาจก็เป็นตัวแทนนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.พศ.เข้าประชุมที่วัดสามพระยากับเขาด้วย ถามว่าถ้าไม่เห็นด้วยแต่แรก วันนั้นทำไมนายอำนาจไม่ทำการคัดค้านหรือแปรญัตติเหมือนในสภา เพื่อขอเวลานอกออกมาหาแนวร่วม แต่นี่กลับปล่อยให้เขาออกปฏิญญาอย่างเป็นทางการไปแล้ว จะมาท้วงติงเอาในตอนนี้มันก็เข้าทำนอง "ขี้แพ้ชวนตี" ดีๆ นี่เอง


และการที่นายอำนาจบอกว่า "ถ้าตั้งพุทธสภาขึ้นมา ก็เท่ากับทำงานซ้ำซ้อนกับมหาเถรสมาคมที่มีอยู่แล้ว" แบบนี้มันฟังทะแม่งๆ นะ เพราะ..


1. มหาเถรสมาคมทำงานอะไร แล้วกรมการศาสนาทำงานอะไร ทำไมจึงว่าซ้ำซ้อน ทั้งๆ ที่แค่สถานะระหว่างมหาเถรสมาคมกับกรมการศาสนาก็ห่างกันสุดกู่แล้ว เนื้องานยิ่งไปกันใหญ่ ไม่เห็นว่าจะซ้ำกันตรงไหนเลย แผนงานตั้งพุทธสภานั้นเป็นการคิดสร้างงานใหม่ที่มหาเถรสมาคมไม่เคยสนใจด้วยซ้ำ


2. การอ้างว่า "ซ้ำซ้อนกับงานของ มส." ก็เป็นวาทกรรมที่นำเอาชื่อของมหาเถรสมาคมมาข่มขู่กรมการศาสนา ทำนองว่า ระวังนะ ถ้าพระมหาเถรสมาคมไม่เห็นด้วย มันจะไปไม่รอด อะไรทำนองนั้น ทั้งๆ ที่จริงนั้นมีพระอยากจะให้ตั้งพุทธสภามาก ขนาดว่าขอให้เพิ่มโควต้ารองประธานสภาให้ครบ 2 นิกายด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกก็ควรพูดว่า "ซ้ำซ้อนกับงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ" แต่ถึงกระนั้นก็ต้องถามสำนักพุทธฯเองนั่นแหละว่า ที่ผ่านมาได้ทำงานสนองมหาเถรสมาคมอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือ หรือมีอะไร ทำไมกรมการศาสนาจึงได้คิดตั้งพุทธสภาขึ้นมาและได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้น


3. การที่พระพรหมดิลกก็ดี กรรมการมหาเถรสมาคมบางรูปก็ดี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ดี ซึ่งเป็นทั้งกรรมการมหาเถรสมาคมและเลขาธิการมหาเถรสมาคม ได้ออกหน้าสนับสนุนวัดพระธรรมกายจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมิได้ผ่านมติมหาเถรสมาคม แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับมหาเถรสมาคมหรือ การที่กรรมการมหาเถรสมาคมและเลขาธิการมหาเถรฯไปร่วมมือกับวัดพระธรรมกาย ถือว่าน่าเกลียดกว่ากรมการศาสนาตั้งพุทธสภาเป็นไหนๆ เพราะกรมการศาสนามิได้สังกัดมหาเถรสมาคม และไม่มีหน้าที่อันใดข้องแวะกับมหาเถรสมาคมเลย กรรมการมหาเถรสมาคมและสำนักพุทธฯเสียอีก มีหน้าที่สนองงานมหาเถรสมาคมแท้ๆ แต่ไม่ยอมทำงานในนามมหาเถรสมาคม กลับแหกคอกออกไปร่วมงานกับวัดพระธรรมกาย ซึ่งเป็นงานซ้ำซ้อนกับมหาเถรสมาคมอย่างชัดแจ้ง แบบนี้มันไม่น่าอายกว่าหรือ ดังนั้น ถ้าสำนักพุทธฯสนองงานมหาเถรสมาคมไม่ได้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม ก็ควรลาออกจากมหาเถรสมาคมไปเสีย รวมทั้งกรรมการมหาเถรสมาคมบางรูปที่ทำตัวเป็นหนอนบ่อนไส้อยู่ในเวลานี้ด้วย


การออกมาพูดของ ดร.อำนาจ บัวศิริ ในนามตัวแทนของสำนักพุทธฯในวันนี้ ก็เห็นจะมีความหมายเพียงประการเดียวว่า "อิจฉาละสิ" เขายังมิทันตั้งเลย ก็ออกอาการ "ขาสั่น" ซะแล้ว


ถามตัวเองก่อนเถอะคู๊ณ ก่อนจะถามคนอื่นเขา

 


แบบนี้ไม่มีข้อสังเกตว่าซ้ำซ้อน ไม่เคยวิจารณ์ มีแต่นิยมส่งเสริม

 




 แบบนี้ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร กรรมการมหาเถร-สำนักพุทธฯไปร่วมได้สบาย ทำดีเพื่อชาติศาสนา ใครทำก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นมหาเถรสมาคม และถ้าท่านทำดีแบบธรรมกาย มหาเถรสมาคมเสียอีกที่จะอนุโมทนายินดี ไม่งั้นธัมมชโยไม่ได้ชั้นเทพหรอก ใครขัดขวางคนทำความดีเพื่อประเทศชาติศาสนาสิ ถือว่าไม่สร้างสรรค์ คนชนิดนั้นมันหนักแผ่นดิน


"ทำดี ทำไมต้องต่อต้าน"

 



ดร.อำนาจ บัวศิริ
รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ส่อเค้าวุ่น!! "ตั้งพุทธสภาหนุนงานศาสนาของกรมการศาสนา" รอง ผอ.สำนักพุทธฯ วิพากษ์ 7 ประเด็นให้เร่งสางแก้ปัญหาก่อน ชี้ทำงานทับซ้อนกับ มส.

เมื่อวันที่ 10 ก.พ.
นายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า จากการที่ตนได้เข้าร่วมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้ง
พุทธสภา ของกรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม โดยพุทธสภาจะผนึกกำลังภาคเครือข่าย 9 ประเภท ได้แก่


1.ภาคีเครือข่ายภาคพระสงฆ์

2.สตรี

3.องค์กรการกุศล

4.ชุมชน

5.ภาคธุรกิจ

6.ภาควิชาการและวิชาชีพ

7.สื่อมวลชน

8.ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และ

9.เด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนา

โดยมีทั้งพุทธสภาระดับชาติ และระดับจังหวัดนั้นตนได้เสนอในที่ประชุมไปว่า ทาง พศ. เห็นด้วยที่จะมีหน่วยงานจากองค์กรประชาชน ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง แต่ได้ตั้งข้อสังเกต 7 ประการ เกี่ยวกับการจัดตั้งพุทธสภาว่าจะสามารถดำเนินการได้จริงหรือไม่ คือ

1.เมื่อตั้งพุทธสภาเป็นองค์กรของภาคเอกชนส่งเสริมพระพุทธศาสนา แต่กลับตั้งวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับจังหวัด และรองอธิบดี ศน. เป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับชาติ ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ เพราะองค์กรเอกชนต้องมีการเลือกเลขาธิการกันเอง ไม่ใช่ให้ทางราชการเข้าไปกำหนด


2.มีการตั้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นที่ปรึกษาพุทธสภาในระดับจังหวัด ผอ.พศ. เป็นที่ปรึกษาพุทธสภาระดับชาติ หากจังหวัดไม่ได้รับความร่วมมือเป็นที่ปรึกษาให้ ทาง ศน. จะทำอย่างไร


3.การประกาศจัดตั้งพุทธสภาอาศัยกฎหมายอะไรรองรับ ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายอะไรรองรับ


4.การดำเนินงานของ พศ.กับ ศน.มีความทับซ้อนกันอยู่ในรูปแบบพัฒนากิจการด้านพระพุทธศาสนา และยังไม่มีการแบ่งแยกให้ชัดเจนเลย แต่ก็มีการจัดตั้งพุทธสภาขึ้นมาทำหน้าที่เดียวกันนี้อีก ต่อไปหากมีกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างมหาเถรสมาคม (มส.) พศ. และพุทธสภา อะไรจะเกิดขึ้น


5.การทำงานพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยพุทธบริษัท 4 คือ พระสงฆ์ ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา แต่การจัดตั้งพุทธสภาเป็นองค์กรเอกชน เป็นการทำงานของอุบาสก อุบาสิกา ส่วนการทำงานของพระสงฆ์มี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และ มส. อีกส่วนหนึ่ง เหมือนเป็นการแยกพุทธบริษัท 4 ออกจากกัน


6.การจัดตั้งพุทธสภาจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการแล้วในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้ และมีการให้พระสงฆ์เป็นรองประธานพุทธสภา แต่ มส. ซึ่งดูแลพระสงฆ์ยังไม่ได้รับทราบ พิจารณาหรือเห็นชอบด้วย จะดำเนินการต่อไปได้อย่างไร พระสงฆ์จะกล้ามาร่วมทำงานด้วยหรือไม่


7. ถ้ามีการตั้งวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับจังหวัด และรองอธิบดี ศน. เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการระดับชาติโดยตำแหน่ง หากวัฒนธรรมจังหวัดหรือรองอธิบดี ศน. นับถือศาสนาอื่น โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคใต้จะทำอย่างไร
พูดง่ายๆ ในขณะที่ ศน. กับ พศ. มีความทับซ้อนกันอยู่ยังไม่มีความชัดเจนว่าแตกต่างกันอย่างไร
แล้วจะมีการจัดตั้งพุทธสภาขึ้นมาทับซ้อนกับการทำงานของ มส. อีก แล้วเวลาทำงานจะทำอย่างไร จะมาพูดว่าช่วยกันทำไม่ได้ เพราะการเขียนโครงการเสนอของบประมาณจากรัฐบาลต้องชัดเจนในเรื่องของเนื้องาน หากทาง ศน. มีคำตอบทั้ง 7 ประการได้เชื่อว่าทุกฝ่ายจะให้ความร่วมมือรอง ผอ.พศ. กล่าว.




ข่าว : ไทยรัฐ10 กุมภาพันธ์ 2556










ตายปริศนา ?


อาจารย์มหาจุฬาฯถูกฟันดับข้างถนน







 พบอาจารย์มหาวิทยาลัยนอนตายปริศนาข้างถนน


วันที่ 9 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.30 น. ร.ต.ท.ณัชพล ผลปราชญ์ ร้อยเวรสอบสวนสภ.เมืองหนองคาย พร้อมแพทย์เวรโรงพยาบาลหนองคาย และหน่วยกู้ภัยประจักษ์หนองคาย ได้ร่วมกันชันสูตรพลิกศพ นายสมพร ปัญญะ อายุ 49 ปี อาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย โดยมีบาดแผลฉกรรจ์คล้ายถูกฟันด้วยของมีคมที่ท้ายทอย เป็นแผลยาวประมาณ 2 นิ้ว คิ้วขวา 3 นิ้ว และมีบาดแผลฉกรรจ์ที่ใต้ต้นแขนขวายาวเกือบรอบแขน หลังนอนเสียชีวิตอยู่ถนนทางเข้ามหาวิทยาลัย ข้างศพพบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ คาวาซากิ สีแดงดำ หมายเลขทะเบียน กบท 669 หนองคาย ล้มตะแคงอยู่


จากการสอบสวนเบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่า ผู้ตายน่าจะเดินทางออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อกลับบ้านพัก เพราะเมื่อเวลาประมาณ 4-5 ทุ่ม เมื่อคืนนี้ (8ก.พ.) มีชาวบ้านอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้ยินเสียงร้องเอะอะโวยวายคล้ายมีเหตุทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำจึงไม่ได้สนใจ จนกระทั่งมาพบศพตอนเช้าวันนี้ โดยตำรวจจะสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุของการเสียชีวิตที่แท้จริงต่อไป




http://www.alittlebuddha.com/
ข่าว : ข่าวสด9 กุมภาพันธ์ 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ