ข่าวด่วน ประวัติศาสตร์ ที่ต้องศึกษาใหม่เพื่อเกิดปัญญา
สอนประวัติศาสตร์ต้องให้เด็กรู้สึกสนุก ท้าทาย และเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว
โดยประวัติศาสตร์เมื่อ 2 สิงหาคม 2011 เวลา 18:11 น.
ระดมสมองหาวิธีการปรับการเรียนประวัติ หวังกระตุ้นเด็กไทยรักและภูมิใจในความเป็นชาติไทย “กษมา” แนะควรสอนให้เด็กรู้สึก สนุก ท้าทาย และต้องให้เด็กรู้สึกว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว
วันนี้ (2 ส.ค.) ที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร มูลนิธิร่มฉัตร โดยพระเทพภาวนาวิกรม ร่วมกับกองทุนเพื่อการจัดการพระมหามณฑปสู่มาตรฐานโลก จัดเสวนาเรื่อง “ประวัติศาสตร์สู่การรักชาติ” ในประเด็นเรื่องความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์ ที่สามารถนำเยาวชนไปสู่การรักชาติได้ โดยมีผู้ร่วมรับฟังประมาณ 30 คน โดยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณอยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อดีตเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศต่างๆ ได้ใช้ประวัติศาสตร์ในการหล่อหลอมสร้างความรักชาติ แต่ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไปมากมีความหลากหลาย มีความเป็นพหุสังคมมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเรียนประวัติศาสตร์ก็จะต้องเปลี่ยนตามไปด้วยจะปลูกฝังความรักชาติโดยอาศัยกระแสหลักคงไม่พอแล้ว เพราะมีสื่อต่างๆ มากมายที่นำเสนอข้อมูลที่แตกต่างอยู่ตลอดเวลาซึ่งหากลูกหลานไทยไม่สามารถไตร่ตรอง วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ได้การจะทำให้เกิดความรักชาติจะทำได้ยาก เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ที่นักวิชาการและประวัติศาสตร์จะต้องมาคิดร่วมกันถึงแนวทางการสอนประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ควรจะต้องทำให้เด็กรู้สึกสนุก ท้าทาย และตื่นเต้น ซึ่งโดยเนื้อหาของวิชานี้ก็มีความตื่นเต้นอยู่แล้วถ้าเพิ่มเติมการนำนักเรียนไปทัศนศึกษา ดูในพื้นที่จริงจะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนวิชานี้เพิ่มมากขึ้น ต้องทำให้เด็กรู้สึกว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของตัวเขาด้วย ธรรมชาติของเด็กจะสนใจเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว ถ้าทำให้เด็กรู้สึกว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ไกลตัวเด็กก็จะไม่สนใจเรียน ดังนั้น ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงพยายามส่งเสริมการเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะต้องให้เด็กเชื่อมโยงท้องถิ่นไปสู่ความเป็นชาติให้ได้ด้วยถึงจะทำให้เด็กเกิดความรักท้องถิ่นและรักชาติได้
นอกจากนี้ จะต้องทำให้เด็กเห็นคุณค่าความเป็นพหุลักษณ์ในสังคมไทยได้ด้วย ให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาใดแต่ทุกคนมีรากร่วม มีความทรงจำร่วมกับคนอื่นๆ ในชาติ เรียนประวัติศาสตร์แล้วเขาจะต้องใจฟู แล้วรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชาติไม่ใช่เป็นคนที่ไม่มีใครนึกถึง ถ้าทำเช่นนี้แล้วจะทำให้คนที่เรียนประวัติศาสตร์เกิดความรักชาติได้ อีกทั้ง ต้องหาวิธีสอนประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่มีประสิทธิภาพได้ เพราะประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเป็นประวัติศาสตร์ใกล้ๆ ที่ยังอยู่ในความทรงจำของคน จึงมีผลนำไปสู่ความขัดแย้งหรือความรักชาติได้มาก อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ไม่ใช่การให้คำตอบสำเร็จรูปแก่เด็ก วันข้างหน้าอาจมีคนให้คำตอบสำเร็จรูปใหม่แก่เด็กได้อีก แต่คือการสอนให้เด็กเข้าใจกระบวนการแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และอคติให้ได้ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่เรื่องง่ายและครูจะเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญ
รศ.ดร.วงเดือน นาราสัจจ์ ภาคีราชบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ กล่าวว่า การเรียนประวัติศาสตร์เป็นรากฐานของการสร้างความเป็นชาติ เยาวชนทุกประเทศต้องเรียนประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประเทศที่ต้องการสร้างความเป็นปึกแผ่น ความยิ่งใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกาจะให้เรียนประวัติศาสตร์ถึงระดับอุดมศึกษา แม้กระทั่งนักศึกษาแพทย์ก็ต้องเรียนประวัติศาสตร์อเมริกา เพื่อเข้าใจการหลอมรวมสร้างความเป็นชาติและเกิดความภูมิใจ ความเป็นปึกแผ่นของชาติ จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าพลเมืองไม่สนใจชาติโดยเฉพาะคนที่จะเป็นผู้นำประเทศยิ่งต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในยุโรปผู้ที่จะเป็นกษัตริย์จะต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ อาทิ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งรัชทายาทก็ต้องเปลี่ยนการศึกษาที่ทรงศึกษาอยู่มาเรียนวิชาประวัติศาสตร์เพิ่มเติมอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม อยากจะย้ำว่าการเรียนประวัติศาสตร์ที่แท้จริงไม่ใช่การเข้าไปรับรู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นที่ไหน เวลาใด ถ้าต้องการรู้เท่านี้ผู้เรียนสามารถหาอ่านเองได้ในห้องสมุด แต่ประวัติศาสตร์คือวิชาแห่งการตั้งคำถามฝึกการใช้เหตุใช้ผลวิเคราะห์ และเข้าถึงประเด็นรู้จักเชื่อมโยงข้อมูลผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นผลจากอดีตเช่นไร ถ้าเรียนประวัติศาสตร์ในแนวนี้จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับคนในชาติ คนจะมีสติรู้จักใช้เหตุใช้ผลไม่หลงไปกับคำพูดใคร และเกิดความรู้สึกรักชาติ ร่วมพัฒนาประเทศชาติ
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า ตนมองว่าวิชาประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ ฝึกให้รู้จักคิดวิเคราะห์ การมีเหตุและผล อย่างไรก็ตาม ในการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 มีเจตนารมณ์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้รับการพัฒนาทางด้านความคิด ปลูกฝังจิตสำนึกความภูมิใจในความเป็นไทย โดยในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และที่ปรับปรุงใหม่ปี 2551 ได้มีการกำหนดกลุ่มสาระวิชา 8 กลุ่มสาระ ซึ่งวิชาประวัติศาสตร์ หรือวิชาศีลธรรมอยู่ภายใต้ร่มใหญ่ของกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีการกำหนดเวลาเรียนวิชาประวัติศาสตร์ให้ระดับชั้นประถมศึกษา 1-6 ต้องเรียน 40 ชม. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชม. และ ม.ปลาย 80 ชม. อีกทั้งรูปแบบการเรียนการสอนก็เปลี่ยนแปลงไปจากที่เรียนโดยฟังจากการบอกเล่าของครู ก็ดึงให้มีส่วนร่วมมากขึ้นผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การแสดงละครประวัติศาสตร ภาพยนตร์สั้น เป็นต้น
สพฐ.กำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับจัดตารางเรียนวิชาประวัติศาสตร์สัปดาห์ละ 1 คาบเรียน ที่เน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์มากกว่าท่องจำ
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวหว่างเสวนาวิชาการหัวข้อ "ประวัติศาสตร์สู่การรักชาติ" ที่จัดโดยมูลนิธิร่มฉัตร ว่า จากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีพระราชประสงค์ให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้ปะวัติศาสตร์อย่างจริงจัง เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ถือเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มีการเรียนหรือกิจกรรมด้านวิชาประวัติศาสตร์ 1 คาบต่อสัปดาห์ หรือเทอมละ 40 ชั่วโมง ในทุกระดับชั้น โดยให้โรงเรียนจัดรูปแบบเนื้อหาสาระตามความเหมาะสม ไม่เน้นการท่องจำเหตุการณ์ แต่ต้องฝึกการวิเคราะห์ได้
ด้านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้ครูผู้สอนปรับรูปแบบการสอนวิชาประวัติศาสตร์ใหม่ ให้มีความน่าสนใจ และทำให้นักเรียนรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งครูต้องหาความรู้ตลอดเวลา โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ที่นำไปสู่ความขัดแย้งได้ง่าย ขณะเดียวกันต้องไม่สอนโดยมีคำตอบที่สำเร็จรูป แต่ต้องพยายามให้นักเรียนแยกแยะข้อเท็จจริง โดยไม่ใช้อคติ
หน่วยงานที่มีหน้าที่ไม่เคยกล้าเปิดเผยและไม่ เคยทำหน้าที่ ทุกวันนี้ พระบรมอัฐิของ พระมหากษัตริย์ที่กู้ชาติ บ้านเมือง กรมศิลปากร ยังหาไม่พบ ทั่ง สมเด็จพระนเรศวร และ พระเจ้าตากสินมหาราช ประชาชนทั่งประเทศควรศึกษาและครวจสอบทุกหน่วยงานของรัฐ
ข้าราชการบางท่านต้องอยู่ในตำแหน่งไม่ทำหน้าที่ เพิ่งจะมาเริ่มนับหนึ่ง เสียดายภาษีของประชาชนมาก ลองเข้าชมข้อมูลประวัติศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สถานที่บรรจุพระบรมอัฐิ ที่ https://picasaweb.google.com/ssomkiert/zqEUQH
http://picasaweb.google.co.th/ssomkiert
ข่าวประวัติศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช http://www.facebook.com/note.php?note_id=177741868925566
บุคคลจากสำนักราชวังไปบวงสรวง http://www.facebook.com/note.php?note_id=182735668426186
สาธุ อนุโมทามิ
ตอบลบ