ธรรมเทศนา ใน สมเด็จพระสังฆราช


สมเด็จพระสังฆราช ตรัสชัดพระต้องถือธรรมะเป็นใหญ่​ ไม่ยึดติดกับอำนาจ เงินทอง สมณศักดิ์ ยอมสละชีวิตรักษาธรรมะได้

เบื้องต้นแห่งการปฏิบัติธรรม 

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร


บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต
ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าเบื้องต้นแห่งโพชฌงค์นั้น ก็ได้แก่สติปัฏฐาน
คือปฏิบัติสติปัฏฐานก่อน แล้วจึงปฏิบัติโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์
สติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้น ก็ได้แก่ตั้งสติตามดู กาย เวทนา จิต ธรรม
และเมื่อได้ตั้งสติกำหนดดูดังกล่าว ก็ปฏิบัติโพชฌงค์ต่อ

ขั้นปฏิบัติที่เป็นสติปัฏฐาน

ในข้อนี้พิจารณาก็ย่อมจะเห็นว่า สติปัฏฐานที่ปฏิบัติก่อนโพชฌงค์
ไม่ใช่สติปัฏฐานที่ตรัสแสดงจำแนกวิธีปฏิบัติ ในแต่ละปัพพะหรือแต่ละข้อ
เพราะว่าวิธีปฏิบัติที่ตรัสไว้นั้น เมื่อพิจารณาดูตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า
โพชฌงค์เป็นทางปฏิบัติแห่งกรรมฐานทั้งปวง ทั้งสมถกรรมฐาน ทั้งวิปัสสนากรรมฐาน

ก็ควรจะเข้าใจว่า ข้อที่ตรัสจำแนกไว้ในแต่ละข้อ เช่นข้ออานาปานปัพพะ
ข้อที่ว่าด้วยลมหายใจเข้าออก อิริยาปถปัพพะ
ข้อที่ว่าด้วยอิริยาบถเป็นต้น เป็นการทรงแสดงสัมโพชฌงค์รวมอยู่ด้วยแล้ว
คือเป็นวิธีปฏิบัติแต่ละข้อนั้น ในเมื่อแสดงคู่กัน คือสติปัฏฐาน และสัมโพชฌงค์
ก็พึงเห็นว่า จำกัดความหมายของสติปัฏฐานเพียงตั้งสติกำหนดกาย
ว่ากายอย่างนี้ กำหนดเวทนาว่าเวทนาอย่างนี้ กำหนดจิตว่าจิตอย่างนี้
กำหนดธรรมะคือเรื่องในจิตว่าธรรมะอย่างนี้ เพียงเท่านี้เป็นสติปัฏฐาน

ขั้นปฏิบัติที่เป็นโพชฌงค์

ขั้นตอนของการปฏิบัติต่อไป คือขั้นตอนที่กำหนด เช่นในอานาปานสติปัพพะที่ให้รู้ว่า
หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น
ศึกษาว่าเราจะรู้กายทั้งหมดหายใจเข้า ศึกษาว่าเราจะรู้กายทั้งหมดหายใจออก
ศึกษาว่าเราจะสงบระงับกายสังขารเครื่องปรุงกายคือลมหายใจ
หายใจเข้าหายใจออก ให้รู้ภายใน ให้รู้ภายนอก ให้รู้ทั้งภายในทั้งภายนอก
ให้รู้ว่ามีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีดับไปเป็นธรรมดา ให้รู้ว่ามีทั้งเกิดทั้งดับเป็นธรรมดา
ให้รู้สักแต่ว่ากายเวทนาจิตธรรมมีอยู่เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งสติ ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก
อันเป็นทางพิจารณาปฏิบัติในสติปัฏฐานทุกข้อ เหล่านี้เป็นโพชฌงค์
อันนับได้ว่าตั้งแต่ข้อสติสัมโพชฌงค์ คือเป็นสติที่เพื่อ เพื่อรู้ เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เลือกเฟ้นธรรม
เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นวิริยะสัมโพชฌงค์ คือเป็นการเพียรละความยึดมั่นอะไรๆ ในโลกทั้งหมด
ละความยึดมั่นกายเวทนาจิตธรรม ก็ส่งไปปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไปดั่งนี้ทุกข้อ

เพราะฉะนั้น เมื่อยกสติปัฏฐานขึ้นเป็นที่ตั้ง สัมโพชฌงค์จึงรวมอยู่ในสติปัฏฐาน

และหากว่าจะคิดแบ่งว่าอะไรเป็นสติปัฏฐานโดยจำเพาะ อะไรเป็นโพชฌงค์ ก็แบ่งได้
เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานจึงมาก่อน จะเป็นโพชฌงค์จะต้องมีสติปัฏฐานขึ้นก่อน

สุจริต ๓ เบื้องต้นของสติปัฏฐาน

พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสอีกว่า เบื้องต้นของสติปัฏฐานก็คือสุจริตทั้ง ๓
กายสุจริต สุจริตทางกาย วจีสุจริต สุจริตทางวาจา มโนสุจริต สุจริตทางใจ
พึงปฏิบัติให้มีสุจริตทั้ง ๓ นี้ก่อน จึงปฏิบัติสติปัฏฐาน
สุจริตทั้ง ๓ นี้ก็มีอธิบายว่า กายสุจริตทางกาย ๓ คือเว้นจากการฆ่า เว้นจากการลัก เว้นจากประพฤติผิดในกาม
หรืออย่างยิ่งก็เว้นจากอพรหมจริยกิจ วจีสุจริต ๔ ก็คือ
เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

มโนสุจริต ๓ ก็คือ ไม่โลภเพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่น น้อมมาเป็นของตน
คือน้อมคิดมาเป็นของตน ไม่พยาบาทปองร้าย และเป็นสัมมาทิฏฐิคือเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม
พึงปฏิบัติให้มีสุจริตทั้ง ๓ นี้ก่อน จึงปฏิบัติสติปัฏฐาน และจึงปฏิบัติโพชฌงค์

อินทรียสังวร

อนึ่ง พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสอีกว่าก่อนสุจริต ๓ ก็พึงปฏิบัติในอินทรียสังวรความสำรวมอินทรีย์
คือมีสติสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะคือใจ
โดยได้ตรัสอธิบายไว้มีใจความว่า เห็นรูปด้วยจักษุคือดวงตา ก็ไม่เพ่งเล็งรูปที่น่าพอใจ
ไม่ทำราคะให้บังเกิดขึ้น ไม่เก้อเขินกระทบกระทั่งรูปที่ไม่น่าพอใจ
มีใจปล่อยวาง ไม่ยึดถือ มีกายตั้งสงบ มีจิตใจตั้งสงบไม่ติด วิมุติคือพ้นด้วยดี

ฟังเสียงด้วยหูก็เช่นเดียวกัน ไม่เพ่งเล็งเสียงที่น่าพอใจ ไม่ยังราคะให้บังเกิดขึ้น
ไม่เก้อกระทบกระทั่งเสียงที่ไม่น่าพอใจ ปล่อยวาง มีกายตั้งสงบ มีจิตใจตั้งสงบ วิมุติหลุดพ้นด้วยดี

ทราบกลิ่นด้วยจมูกก็เช่นเดียวกัน ไม่เพ่งเล็งกลิ่นที่น่าพอใจ ไม่ยังราคะให้บังเกิดขึ้น
ไม่เก้อเขินกระทบกระทั่งกลิ่นที่ไม่น่าพอใจ ปล่อยวาง ( เริ่ม ๑๗๖/๑ ) มีกายตั้งสงบ มีจิตใจตั้งสงบ วิมุติหลุดพ้นด้วยดี

ทราบรสด้วยลิ้นก็เช่นเดียวกัน ไม่เพ่งเล็งรสที่น่าพอใจ ไม่ยังราคะให้บังเกิดขึ้น
ไม่เก้อเขินกระทบกระทั่งรสที่ไม่น่าพอใจ ปล่อยวาง มีกายตั้งสงบ มีจิตใจตั้งสงบ วิมุติหลุดพ้นด้วยดี

ทราบคือถูกต้องสิ่งถูกต้องด้วยกายก็เช่นเดียวกัน ไม่เพ่งเล็งสิ่งถูกต้องที่น่าพอใจ ไม่ยังราคะให้บังเกิดขึ้น
ไม่เก้อเขินกระทบกระทั่งสิ่งถูกต้องที่ไม่น่าพอใจ ปล่อยวาง มีกายตั้งสงบ มีจิตใจตั้งสงบ วิมุติหลุดพ้นด้วยดี

รู้คิดธรรมะคือเรื่องราวด้วยใจก็เช่นเดียวกัน ไม่เพ่งเล็งเรื่องที่น่าพอใจ ไม่ยังราคะให้บังเกิดขึ้น
ไม่เก้อเขินกระทบกระทั่งเรื่องที่ไม่น่าพอใจ ปล่อยวาง มีกายตั้งสงบ มีจิตใจตั้งสงบ วิมุติหลุดพ้นด้วยดี

ดั่งนี้ เป็นอินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์ ผู้ปฏิบัติธรรมะพึงปฏิบัติในอินทรียสังวร
สำรวมอินทรีย์ดั่งนี้ก่อน จึงปฏิบัติสุจริต ๓ ครั้นปฏิบัติสุจริต ๓ แล้วจึงปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔
แล้วจึงปฏิบัติในโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ติดต่อกันไป

อนึ่ง ได้ตรัสไว้โดยปริยายคือทางอันอื่นอีกว่า

เบื้องต้นของโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์ก็คือศีล ตรัสศีลเพียงข้อเดียว ไม่ได้แจกเป็นสุจริต ๓ เป็นอินทรียสังวร
แต่เมื่อพิจารณาแล้วก็พึงเข้าใจว่า ศีลนั้นก็คือสุจริต ๓ และอินทรียสังวรนั้นเองเป็นศีล
ฉะนั้น แม้จะมีถ้อยคำต่างกัน แต่อรรถคือเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน กล่าวคือปฏิบัติในศีลนั้นเอง
ก็เป็นการปฏิบัติในสุจริต ๓ และในอินทรียสังวร
ทั้งยังมีแสดงไว้ในที่อื่นอีกว่า อินทรียสังวรก็จัดเข้าในหมวดศีล
เพราะฉะนั้น จึงมีอรรถคือเนื้อความเป็นอันเดียวกันดังกล่าว

ศีลเป็นภาคพื้นของการปฏิบัติ

ตรัสไว้ว่าอาศัยศีลจึงปฏิบัติในสติปัฏฐาน อาศัยสติปัฏฐานจึงปฏิบัติในสัมโพชฌงค์
ซึ่งเปรียบเหมือนอย่างว่า คนเราที่เดินยืนนั่งนอนอยู่ ก็อาศัยปฐวีคือแผ่นดินเดินยืนนั่งนอน

การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ศีลเป็นที่อาศัยเหมือนอย่างเป็นแผ่นดิน ต้องมีศีลเป็นแผ่นดินเป็นภาคพื้น
หรือจะกล่าวว่าต้องมีสุจริต ๓ มีอินทรียสังวรเป็นภาคพื้นก็ได้
จึงเป็นข้อที่ผู้ปฏิบัติธรรมพึงทราบไว้ และก็พึงปฏิบัติในศีลให้มีขึ้นก่อน
หรือปฏิบัติในสุจริต ๓ และอินทรียสังวรให้มีขึ้นก่อน
จึงปฏิบัติในสติปัฏฐาน หรือในทางจิตตสิกขา หรือในทางสมาธิ หรือสมถกรรมฐาน
และทางปัญญาสิกขา หรือทางวิปัสสนากรรมฐานต่อขึ้นไป
ศีลจึงเป็นข้อสำคัญที่จะขาดมิได้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมะ จะต้องมีศีลเป็นภาคพื้นขึ้นก่อน

ข้อปฏิบัติทั้งปวงเหล่านี้ ย่อมเป็นข้อปฏิบัติเป็นไปเพื่อละตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก
มีพระพุทธภาษิตตรัสเอาไว้ว่า เพราะสิ้นตัณหาจึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมจึงสิ้นทุกข์ หรือว่าดับทุกข์
ดั่งนี้ ต่อจากนี้ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-263.htm


* 5.jpg (31.3 KB, 350x417 - ดู 283 ครั้ง.)

สมาชิกแสดงการอนุโมทนาบทความของคุณ:
watcharapichakronjummumหมาล่าเนื้อknightsetthaveerawongปาฏิหาริย์
หัวข้อกระทู้นี้, มี 8 สมาชิก แสดงการอนุโมทนา!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 10:37:27 PM โดย LEOzenith » บันทึกการเข้า

"อานนท์เอ๋ย...ฉันจักเอาอย่างช้างตัวนั้น ฉันจักอยู่ที่นี่ ในเมืองนี้...
และจะพยายามเผยแผ่คำสอนที่ถูกต้อง ด้วยกำลังกาย กำลังใจทั้งหมด
และจะทำโดยไม่หยุดยั้งในการที่ปลดเปลื้องคนชั่วช้าเหล่านั้น
ออกมาเสียจากข่ายของกิเลส ซึ่งเขากำลังพากันติดแน่นอยู่...."


LEOzenith
Webmaster
กัลยาณมิตร
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1252

อนุโมทนา
-มอบให้: 7487
-ได้รับ: 14467



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 10:43:58 PM »


สมเด็จพระญาณสังวร (สุวัฑฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นสั่งสอนอยู่ในภายใน ปฏิบัติได้ อยู่ในภายใน รู้ยิ่งเห็นจริงได้เองทุก ๆ คน
มีเหตุตรองตามให้ เห็นได้จริงทุก ๆ คน ปฏิบัติก็ได้ผลจริงทุก ๆ คน
เพราะไม่ได้ สอนในภายนอก แต่ว่าสอนในภายใน แล้วก็เป็นเหตุเป็นผลที่ ตรองตามให้เห็นได้ ปฏิบัติได้

นามเดิม เจริญ คชวัตร ประสูติ ๓ ต.ค. ๒๔๕๖ สถานที่เกิด อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
อุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ ๑๒ มิ.ย. ๒๔๗๖
โดยมี พระเทพมงคลรังษี เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จฯ ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๙ ขณะอายุได้ ๑๔ ปี
ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา
จากนั้นได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จ.นครปฐม กระทั่งอายุครบอุปสมบท
ท่านจึงได้เดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๖
ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป

และที่วัดบวรนิเวศนี่เอง ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท เป็นธรรมยุตนิกาย
โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
ด้านการศึกษา ทรงสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในปีพ.ศ. ๒๔๘๔
และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๕

ท่านได้ทรงอุทิศตนเพื่องานพระศาสนาโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย
ทรงรับเป็นองค์แสดงธรรมยังสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง
นอกจากนั้นยังได้ทรงนิพนธ์ ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนา
ซึ่งล้วนแต่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งไว้มากมาย

พ.ศ. ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ทรงเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่าง วันที่ ๒๒ ต.ค. - ๕ พ.ย ๒๔๙๙
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นพระเถระที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามทางแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา
ทรงเป็นพระผู้ประเสริฐบริสุทธิ์ที่หาได้ยากยิ่งองค์หนึ่ง จากคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างสมไว้
ในที่สุดจึงได้รับตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อ ๒๑ เม.ย. ๒๕๓๒ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


* 1.jpg (64.19 KB, 320x429 - ดู 276 ครั้ง.)

สมาชิกแสดงการอนุโมทนาบทความของคุณ:
Muisanwatcharapichakronping-unjummumknightsetthaveerawongปาฏิหาริย์PairojmeganNote
หัวข้อกระทู้นี้, มี 12 สมาชิก แสดงการอนุโมทนา!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 10:44:32 PM โดย LEOzenith » บันทึกการเข้า

"อานนท์เอ๋ย...ฉันจักเอาอย่างช้างตัวนั้น ฉันจักอยู่ที่นี่ ในเมืองนี้...
และจะพยายามเผยแผ่คำสอนที่ถูกต้อง ด้วยกำลังกาย กำลังใจทั้งหมด
และจะทำโดยไม่หยุดยั้งในการที่ปลดเปลื้องคนชั่วช้าเหล่านั้น
ออกมาเสียจากข่ายของกิเลส ซึ่งเขากำลังพากันติดแน่นอยู่...."


settha
สมาชิกพิเศษ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 255

อนุโมทนา
-มอบให้: 4288
-ได้รับ: 2007


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2010, 07:20:43 AM »

อนุโมทนาด้วยครับ

สมาชิกแสดงการอนุโมทนาบทความของคุณ:
watcharapichakronjummumveerawongknightLEOzenith
หัวข้อกระทู้นี้, มี 6 สมาชิก แสดงการอนุโมทนา!
 บันทึกการเข้า

knight
ทีมงานชุมชนคนรักหลวงปู่ดู่
สมาชิกวิริยะ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 198

อนุโมทนา
-มอบให้: 2456
-ได้รับ: 1978


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2010, 08:20:38 AM »

หนังสือ ของสมเด็จพระสังฆราช (สกลมหาสังฆปริณายก)




วิธีสร้างบุญบารมี

หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์และได้ความรู้อย่างมากครับ ชาวพุทธทุกคนควรอ่านอย่างยิ่ง หากอยากมีบุญบารมี สามารถทำได้อย่างไรบ้าง, บุญมีกี่ประเภท กี่ระดับ และชาวพุทธควรสนใจตรงไหนมากที่สุด หาคำตอบได้ที่เล่มนี้

(download ไฟล์เสียงอ่าน ) http://www.fungdham.com/download/read/prasangkharad/howtogetboon.wma
(download ไฟล์ pdf.) http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/howtogetboon.pdf





"มนุษยธรรม"
อธิบายถึงคุณธรรมจำเป็นสำหรับมนุษย์  ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามีเนื้อหาไม่ยาก  และไม่ง่ายจนเกินไป  ทั้งไม่ยาวและไม่สั้นจนเกินไปด้วย
(download เสียงอ่าน)  http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html





ชีวิตนี้น้อยนัก 

“ชีวิตนี้น้อยนัก” หมายถึงชีวิตในชาติปัจจุบันน้อยนัก สั้นนัก ท่านมุ่งให้เปรียบเทียบกับชีวิตนี้กับชีวิตในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วน และชีวิตในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วนอีกเช่นกัน สำหรับผู้ไม่ยิ่งด้วยปัญญา ไม่สามารถพาตนพ้นทุกข์สิ้นเชิงได้
(Download ไฟล์ pdf) (Download เสียงอ่าน) (ฟังเสียงอ่าน)
http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/lifeveryshort.pdf





ทำไมคนเราเกิดมาจึงแตกต่างกัน
(Download เสียงอ่าน) (ฟังเสียงอ่าน)
http://www.fungdham.com/download/read/prasangkharad/whyhumandifferent.wma





การศึกษาเพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์ 
(Download ไฟล์เสียง + ฟังเสียงอ่าน)
เกี่ยวกับ ศีล สมาธิ ปัญญา หนังสือเสียงจากสังฆทานธรรม ให้เสียงโดย พระกฤช นิมฺมโล
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad-education.html





รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก
(Download ไฟล์ PDF) ไฟล์จากคุณอรวรรณ ใบมาก
http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/metta.pdf





ชีวิตนี้สำคัญนัก
(download file pdf. )ได้ที่ http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/lifeimportant.pdf





การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
(Download ไฟล์ pdf) ไฟล์จากคุณอรวรรณ ใบมาก
http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/haidhamma.pdf





พุทธวิธีควบคุมความคิด
หมายเหตุ ** เป็นโปรแกรมอ่านหนังสือ ไฟล์ exe
 http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/controlthink.exe





พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร
(Download ไฟล์ pdf)
 http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/whatbuddhateach.pdf





แสงส่องใจ
(Download ไฟล์ pdf)
 http://www.fungdham.com/download/book/prasunkharat/shinetomind.pdf


หรือสามารถศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์เพิ่มเติมได้ที่ http://www.fungdham.com/index.html


* barame2.gif (9.86 KB, 100x145 - ดู 151 ครั้ง.)

* manusayatham.gif (14.55 KB, 100x145 - ดู 151 ครั้ง.)

* short_life.gif (9.83 KB, 100x145 - ดู 147 ครั้ง.)

* why.jpg (4.38 KB, 100x135 - ดู 153 ครั้ง.)

* educate.jpg (10.2 KB, 150x152 - ดู 155 ครั้ง.)

* metta.jpg (27.77 KB, 104x141 - ดู 149 ครั้ง.)

* lifeimportant.jpg (7.93 KB, 100x109 - ดู 145 ครั้ง.)

* haidham.jpg (35.29 KB, 104x139 - ดู 148 ครั้ง.)

* whatbuddhateach.jpg (11.24 KB, 100x133 - ดู 149 ครั้ง.)

* shinetomind.jpg (5.24 KB, 100x102 - ดู 152 ครั้ง.)

* controlthink.jpg (7.72 KB, 100x143 - ดู 149 ครั้ง.)

สมาชิกแสดงการอนุโมทนาบทความของคุณ:
MuisanwatcharapichakronjummumveerawongLEOzenith
หัวข้อกระทู้นี้, มี 6 สมาชิก แสดงการอนุโมทนา!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2010, 10:18:57 AM โดย knight » บันทึกการเข้า

ทำความสงบมากก็เนิ่นช้า  คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน  หัวใจสำคัญของการภาวนา คือ การมีสติในชีวิตประจำัวัน

veerawong
ทีมงานชุมชนคนรักหลวงปู่ดู่
กัลยาณมิตร
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2870

อนุโมทนา
-มอบให้: 10738
-ได้รับ: 27703



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2010, 02:14:43 PM »



โมทนาด้วยครับเป็นประโยชน์ต่อการปฎิบัติมากๆครับ   

สมาชิกแสดงการอนุโมทนาบทความของคุณ:
ปาฏิหาริย์watcharapichakronjummumknight
หัวข้อกระทู้นี้, มี 5 สมาชิก แสดงการอนุโมทนา!
 บันทึกการเข้า

ร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=1681.msg16083;topicseen#msg16083
การเริ่มต้นศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาสำหรับผู้มาใหม่
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=350.0
รับอาสาสมัครอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อป้องกันภัยพิบัติ
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=827.msg5095#msg5095

http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=1070.0
ข้าพเจ้า สมเกียรติ กายจนชาติ นักข่าวพลเมือง ขอแบ่งปัน http://www.facebook.com/thaihistory 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง