สมเด็จพระวันรัต
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระวันรัต | |
---|---|
(จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) | |
เกิด | 17 กันยายน พ.ศ. 2479 |
อุปสมบท | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 |
พรรษา | 55 |
อายุ | 74 |
วัด | วัดบวรนิเวศวิหาร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
สังกัด | ธรรมยุตินิกาย |
วุฒิการศึกษา | ป.ธ.9 น.ธ.เอก |
ตำแหน่งงานคณะสงฆ์ | รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย,แม่กองธรรมสนามหลวง,กรรมการมหาเถรสมาคม |
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) (นามเดิม: จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองธรรมสนามหลวงผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวันรัต ศรีวชิรญาณวงศวิวัฒ ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้]ประวัติ
สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2479 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ บ้านเกาะเกตุ ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์และนางเหล็ย พราหมณ์พิทักษ์ ท่านสำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด จากนั้น ได้เข้าพิธีบรรพชา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2491 ณ วัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด โดยมี พระวินัยบัณฑิต เป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2499 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตโต) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตตโร) วัดคิรีวิหาร จ.ตราด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม ธัมมสาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบท ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้ประโยคเปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 สมเด็จพระวันรัต ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
ส่วนภาระหน้าที่พิเศษ ยากที่จะหาผู้ใดทำหน้าที่นี้ได้ในยุคปัจจุบัน คือ การที่ได้รับมอบหมายจากเถรสมาคมเป็นผู้ตรวจสอบการคำนวณปฏิทินหลวง (ปฏิทินจันทรคติของไทย) และให้ความเห็น ก่อนที่จะประกาศใช้ ในแต่ละปี นอกจากนี้ยังเดินหมุดและคำนวณปฏิทินปักขคณนาสำหรับวันลงอุโบสถให้กับคณะสงฆ์ธรรมยุตด้วย
[แก้]วิทยฐานะ
- พ.ศ. ๒๔๙๑ สำเร็จวิชาสามัญศึกษา (ป.๔) จากโรงเรียนวัดคิริวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด
- พ.ศ. ๒๔๙๕ สอบได้ประโยค น.ธ. เอก ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
- พ.ศ. ๒๕๑๕ สอบได้ประโยค ป.ธ.๙ ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
[แก้]ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์
- เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นผู้อำนวยการศึกษา สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นเจ้าคณะขาบบวร-เขียวบวร
- เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
- เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
- เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
- เป็นอนุกรรมการฝ่ายการปกครอง ของมหาเถรสมาคม
- เป็นพระอุปัชฌาย์
- เป็นกรรมการสนามหลวง แผนกบาลี
- เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง
- เป็นกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
- เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
- เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย
- กรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
- ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
[แก้]หน้าที่
- เป็นผู้ตรวจสอบการคำนวณปฏิทินหลวง (ปฏิทินจันทรคติของไทย) และให้คำแนะนำ ก่อนประกาศใช้ในแต่ละปี
- เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- เป็นกรรมการชำระอรรถกถา ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนา ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล, งานพระราชพิธีฯ ในบางโอกาส
- เป็นผู้ถวายการสอนพระธรรมวินัยแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในคราวทรงทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นกรรมการกองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นหัวหน้ากองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นประธานคณะกรรมการตำราและวิชาการ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- สนองงานถวายเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่ได้รับพระบัญชาในบางโอกาส
[แก้]งานพิเศษ
- พ.ศ. ๒๕๔๑ - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๓ (ธรรมยุต) ในจังหวัดสิงห์บุรี, อุทัยธานี,ลพบุรี
- พ.ศ. ๒๕๔๑ - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๗ (ธรรมยุต) ในจังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๔๓ - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๑๒ (ธรรมยุต) ในจังหวัดจันทบุรี,ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๑๓ (ธรรมยุต) ในจังหวัดปราจีนบุรี
- พ.ศ. ๒๕๔๕ - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๘ (ธรรมยุต),รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ธรรมยุต)
[แก้]ลำดับสมณศักดิ์
- พ.ศ. 2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระอมรโมลี
- พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะ ชั้นราช ที่ พระราชสุมนต์มุนี
- พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะ ชั้นเทพ ที่ พระเทพกวี
- พ.ศ. 2541 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมกวี
- พ.ศ. 2543 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมมุนี
- พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระวันรัต
[แก้]อ้างอิง
- มงคลข่าวสด. (2551,21 กันยายน).อายุวัฒนมงคล72 ปี พระพรหมมุนี.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก<[1]>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กรกฎาคม 2552).
- รายละเอียดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/018/1.PDF
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ