ชีวิตลิขิตได้ด้วยตนเอง บทนิพนธ์ใน สมเด็จพระสังฆราช



คำคมที่ว่า "ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน"
ผลเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่...
อ่านคำตอบในเนื้อหาดังต่อไปนี้...
"ชีวิตลิขิตได้ ด้วยตนเอง" บทนิพนธ์ใน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก...
หนังสือเทิดพระเกียรติคุณสังฆราช
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา

มูลนิธิจิตอิ่มบุญบารมี จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดำเนินการส่งเสริม
และสนับสนุนสันติสุขให้บังเกิดมีแก่สังคมทุกระดับ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา
ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การอ่านหนังสือธรรมะ
จะสำเร็จประโยชน์ เกิดความรู้ความเข้าใจนั้น ผู้อ่านควรอ่านแบบ
โยนิโสมนสิการ คือ อ่านอย่างมีสติ ค่อยๆคิด ค่อยๆอ่าน ไม่ต้องรีบร้อน
ถ้ายังไม่เข้าใจก็อ่านใหม่ อ่านหลายๆรอบ ปัญญาจักคมขึ้น สามารถเข้าใจ
ธรรมะได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เปรียบเหมือนการเคี้ยวอาหาร ต้องค่อยๆเคี้ยว
ค่อยๆขบ ยิ่งเคี้ยวนาน เคี้ยวให้ละเอียด รสชาติก็ยิ่งโอชากลมกล่อม
ก่อคุณประโยชน์แก่ร่างกายอย่างเต็มที่

"อ่านสิบรอบ คิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตสนุก สุข สงบ เย็น"

การให้ธรรรม ชนะการให้ทั้งปวง ผู้ให้ธรรมทั้งด้วยการให้หนังสือธรรม และทั้งปฏิบัติ
ด้วยตนเองให้ปรากฎเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นแบบอย่างของสัตบุรุษ กล่าวว่า
เป็นผู้ให้เหนือกว่าการให้ทั้งปวง เพราะการพยายามช่วยให้คนเป็นผู้มีธรรม
ก็เท่ากับพยายามช่วยคนบนดินคือต่ำเตี้ยให้เข้าใกล้ฟ้าคือสูงส่ง พูดง่ายๆว่า
ช่วยคนให้เป็นคนดีนั้นเอง ....พระวรคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ

คติทางพระพุทธศาสนามีอยู่ว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาล้วนเป็นไปตามอำนาจของบุญและบาป
เป็นผลมาจากการกระทำที่เรียกว่า กรรม...ผลของกรรมดีเรียกว่าบุญ เช่น
บุคคลหนึ่งเกิดมาในตระกูลเศรษฐี มีผิวพรรณผ่องใส อยากได้อะไรก็ได้ดังใจนึก
เรียกคนเช่นนี้ว่า คนมีบุญ ส่วนผลของกรรมชั่วนั้นเรียกว่าบาป เช่น คนบางคนพอเกิดมา
ก็มีร่างกายพิกลพิการ เรียกคนเช่นนี้ว่า คนมีบาป หรือคนมีกรรมเป็นต้น

พระนิพนธ์เรื่องนี้ทรงมุ่งสอนให้คนเรานั้น ตระหนักถึงผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่าจะส่งผล
ต่อชีวิตของผู้ทำแตกต่างกันอย่างไร และทรงย้ำว่าสิ่งต่างๆที่แต่ละคนประสบพบผ่านนั้น
ล้วนแล้วเกิดจากกรรมคือการกระทำของเขาเองทั้งสิ้น ดังความตอนหนึ่งในบทพระนิพนธ์ว่า
"อันเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น นับว่าเป็นกรรมของคน หมายความว่า การที่คนทำขึ้น
และไม่ใช่ว่ากรรมเก่าอะไรที่คนไม่รู้ แต่เป็นกรรมคือการกระทำที่รู้ๆกันอยู่นี่แหละ เมื่อก่อขึ้น
ด้วยกิเลสก็เป็นเหตุทำลายล้าง เมื่อก่อขึ้นด้วยธรรมก็เป็นเหตุเกื้อกูลให้มีความสุข
ในฐานะเช่นนี้ผู้เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า ย่อมใช้ศรัทธาในกรรม และการให้ผลของกรรม
ทำกรรมที่ผิดไว้ก็ต้องรับผิดต่างๆ ทำกรรมที่ชอบไว้ก็ต้องรับชอบต่างๆ จะเลือกเอาอย่างหนึ่ง
อย่างใดหาได้ไม่"

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ16 กันยายน 2555 เวลา 07:42

    ขออนุโมทนา สาธุ กับท่านเจ้าของเวบด้วยนะคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ