พระไพรีพินาศ
พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปศิลาปิดทอง ศิลปะศรีวิชัย ปางประทานพร
(คล้ายปางมารวิชัย เพียงแต่หงายพระหัตถ์ขวา)
ประวัติการสร้างไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่ามีผู้นำมาทูลเกล้าฯ
ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ครั้งทรงผนวช ณ
วัดบวรนิเวศวิหาร และพระองค์ทรงเชื่อว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอานุภาพกำจัดภัย
ให้ผู้ที่คิดร้ายพ่ายแพ้พระบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๒ สวรรคตใหม่ ๆ นั้น รัชกาลที่ ๔
ยังทรงอยู่ในสมณเพศและพระองค์มีความชอบธรรมที่จะเสด็จเสวยราชสมบัติต่อ
แต่กลับถูกคุกคามจากพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายที่สนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
(ต่อมาคือรัชกาลที่ ๓) โดยเฉพาะจากกรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร)
ลวงให้เสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง
และถูกควบคุมตัวเอาไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นเวลาหลายวัน
จนกระทั่งเมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว
พระองค์จึงได้รับการปล่อยให้เสด็จกลับไปประทับที่วัดสมอรายดังเดิม แม้รัชกาลที่ ๔
จะไม่ได้เสวยราชย์และดำรงอยู่ในเพศบรรพชิต
ก็ยังถูกกรมหลวงรักษ์รณเรศหรือพระองค์เจ้าไกรสรคุกคามกลั่นแกล้งอยู่ตลอดเวลา
ในปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๓
กรมหลวงรักษ์รณเรศต้องราชภัย
เพราะความกำเริบเสิบสานและสำเร็จความใคร่บ่าวจนน้ำกามเคลื่อน จึงถูกถอดเป็นไพร่เรียกว่าหม่อมไกรสร
แล้วประหารชีวิตโดยทุบด้วยท่อนจันทน์
ผู้ทำหน้าที่ประหารเคยเป็นข้าในกรมของผู้ถูกประหาร จึงมือไม้สั่น
ปรกติทุบทีเดียวก็ตายสนิท แต่นี่เจ้านายตัวจึงทุบพลาด เจ้านายก็เด็ดขาด
ตะโกนสั่งจากถุงที่คลุมว่า ทุบใหม่ ไอ้นี่สอนไม่จำ..
ข้อความในพระราชพงศาวดารกล่าวถึงกรมหลวงรักษ์รณเรศว่า “...มักใหญ่ใฝ่สูงจะเป็นวังหน้าบ้าง เป็นพระเจ้าแผ่นดินบ้าง
อย่าว่าแต่มนุษย์เขาจะยอมให้เป็นเลย
แต่สัตว์เดียรฉานมันก็ไม่ยอมให้ตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงโปรดให้ถอดเสียจากกรมหลวง
ให้เรียกว่าหม่อมไกรสร ลงพระราชอาญาแล้ว
ให้ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรมสามค่ำ
(ตรงกับวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๑)”
ด้วยเหตุนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเฉลิมพระนามพระพุทธรูปนี้ว่า
พระไพรีพินาศ
โปรดให้สร้างเก๋งประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ที่พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร
คำบูชาพระไพรีพินาศมีดังนี้
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
สุจิรํ ปรินิพฺพุโต
คุเณหิ ธรมาโนทานิ
ปารมีหิ จทิสฺสติ
ยาวชีวํ อหํ พุทฺธํ
ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํคโต
ปูเชมิ รตนตฺตยํ ธมฺมํ
จรามิ โสตฺถินา
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ