สตีฟ จ๊อบ ขึ้นสวรรค์ แต่ธัมมี่ ลงนรก เพราะอาบัติปาราชิก
วันอังคาร ที่ 21 สิงหาคม 2555
Posted by เขียดขาคำ , ผู้อ่าน : 1701 , 22:05:44 น.
หมวด : ศาสนา
สตีฟ จ๊อบ ขึ้นสวรรค์ หุ้นขึ้นอันดับ ๑ ของโลก แต่ธัมมี่ ลงนรก เพราะอาบัติปาราชิก
..
. หลังจากที่มีข่าวว่า เจ้าสำนักจานบิน ไปพบกับ สตีฟ จ๊อบ บนสวรรค์ ได้ไม่นาน ก็มีข่าวว่า หุ้นของ บริษัท แอปเปิล พุ่งแซง หุ้นยักษ์ใหญ่ อย่างไมโครซอฟท์ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก ด้วยมูลค่ามหาศาล เทียบเท่ากับ งบประมาณแผ่นดิน ของประเทศไทย ตั้ง ๙ ปี ๑๐ ปี นี่เพราะ ปาฏิหาริย์ จากวิชชาธรรมกายของ ธัมมชโย เจ้าสำนักจานบิน หรือเพราะอะไรกัน ?
"แอปเปิ้ล
ผงาดขึ้นแท่นเป็นบริษัทมูลค่าตลาดสูงสุดในโลก แซงหน้าไมโครซอฟท์ นักวิเคราะห์คาด
การเปิดตัว iPhone 5
จะทำให้ราคาหุ้นแอปเปิ้ลพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม สำนักข่าวเอพี รายงานว่า บริษัท แอปเปิ้ล ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตรายใหญ่ของโลก สามารถ เบียดแซงคู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์ กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ หลังมูลค่าตลาดพุ่งทะยานแตะ 623,510 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (19.6 ล้านล้านบาท)"
(ขอบคุณ กระปุก ดอท
คอม)
แต่จากเนื้อหา ในรายงานข่าว ก็ชี้ชัดว่า ราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนั้น มันมาจาก การคาดการณ์ว่า จะมีการเปิดตัว iPhone 5 . . . แต่ก็เถอะ ...มันก็อดคิด อดหดหู่ใจ ไม่ได้ว่า ธัมมชโย นี่ จะเหยียดหยัน ประชาชนคนไทย ไปถึงไหนกัน ถึงได้กล้าปั้นเรื่องขึ้นมาหลอกลวงผู้คนได้ ไม่มีว่างเว้น ตอกย้ำ คำที่ว่า คนไทยส่วนใหญ่นั้น ยังอ่อนแอ และด้อยปัญญา อนุบาลฝันในฝันวิทยา ล้างสมองผู้คน เพื่อให้ง่าย ต่อการชักจูงช่างพากันคิดได้ แม้ไม่มีการล้างสมอง พวกเขาก็พร้อมจะบริจากเงิน เป็นแสนเป็นล้านอยู่แล้ว นี่ถึงขั้นเปิดโรงเรียนขึ้นมาเพื่อการณ์นี้เลยหรือ ? นี่มันยิ่งกว่า สิบแปดมงกุฎอีก ไม่มีใครคิดจะลุกขึ้นมาทำอะไรบ้างเลยหรือ ? สำนักพุทธ ? มหารเถร ? มีหูมีตาบ้างไหม ? หรือว่า พอท้องมันอิ่ม หนังตาก็เลยหย่อน เอาแต่ง่วงเหงา หาวนอน ท่าเดียว ใช่มั๊ยจ๊ะ ?สำนักพุทธ กับมหาเถรฯ อาจจะกำลังหนักพุง แต่อย่างน้อย ก็ยังมีพระที่เป็นห่วงเป็นไยบ้านเมือง ออกมาทักท้วง ติติง บ้าง ก็ยังดี สำนักพุทธ กับมหาเถรฯ จะมัวแต่นอนตีพุงอยู่ ก็เชิญเถอะท่าน . . .ข่าวชิ้นนี้ จากไทยรัฐ ออนไลน์ เนื้อหาข่าวตามนี้... อวดอุตริ! พระไพศาลชี้ 'สตีฟ จ็อบส์' ฉบับธรรมกาย เข้าข่ายอาบัติปาราชิก!ติงไม่เหมาะสม ถามกลับบทความสตีฟ จ็อบส์ตายแล้วไปไหน เขียนเหมือนไปเจอมาเอง เข้าข่าย อวดอุตริ อาบัติปาราชิก ผิดหนัก.... หลังสถานีโทรทัศน์ DMC ของวัดพระธรรมกาย ได้เผยแพร่สารคดี ชื่อว่า “Where is Steve Jobs” เพื่อนำเสนอชีวิตหลังความตายของสตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ และมีคนเอามาเผยแพร่โดยสรุปเนื้อหาของสารคดีดังกล่าวว่า ทางรายการได้อ้างว่า วิศวกรอาวุโสคนหนึ่งของแอปเปิลชื่อ โทนี ซวง ได้ขอให้ท่านพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ใช้ญาณตรวจสอบภพภูมิของสตีฟ จ็อบส์ หลังจากเสียชีวิต มีใจความสรุปว่า “สตีฟ จ็อบส์ ในขณะที่จะตายนั้น จิตใจมีแต่ความเป็นห่วงบริษัทแอปเปิลในอนาคต จึงทำให้ไปจุติเป็นภุมมะเทวาสายวิทยาธรกึ่งยักษ์* มีผิวดำและเขี้ยวเป็นยักษ์ แต่ด้วยผลบุญที่ได้คิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่โลก จึงทำให้เขาได้พบมิตรที่ดีบนสวรรค์ และสตีฟ จ็อบส์ จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรเพื่อเข้าถึงธรรมกายต่อไป…” ทั้งหมดสร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมายว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือเปล่า...? ล่าสุด พระไพศาล วิสาโล ภิกษุแห่งสันติวิธีกล่าวผ่านไทยรัฐออนไลน์ถึงสารคดีและบทความของวัดธรรมกาย เรื่องสตีฟ จ็อบส์ ทั้ง 3 ตอน โดยเฉพาะหัวข้อที่ว่าตายแล้วไปไหน...ว่า คำถามใหญ่หลังจากดูทั้งหมดก็คือ สิ่งที่เขียนมาทั้งหมดรู้ได้อย่างไร ไปเจอสตีฟ จ็อบส์มาจริงหรือเปล่า และที่พูดเกี่ยวกับจ็อบส์มันถูกต้องจริงหรือ เขารู้จักสตีฟ จ็อปส์ดีจริงไหม แล้วคุณไปรู้ในภาวะจิตของเขาได้อย่างไร ปัญหาอยู่ตรงนี้ “เช่นตอนหนึ่งที่บทความนี้บอกว่า ณ ช่วงเวลาที่คุณสตีฟ จ็อบส์กำลังจะจากโลกนี้ไป ภาพของความวิตกกังวลและภาพของความทรงจำที่มีทั้งความสุข ความทุกข์ ความปลื้มใจ ความไม่ปลื้มใจ ก็ได้มาปรากฏฉายอยู่ภายในใจของเขา ซึ่งภาพต่างๆ เหล่านั้น ก็มีทั้งภาพที่ทำให้ใจของเขาเศร้าหมอง, ภาพที่ทำให้ใจของเขาผ่องใส และภาพที่ทำให้ใจของเขาไม่เศร้าหมองไม่ผ่องใสสลับปะปนกันไป ซึ่งภาพที่ทำให้ใจของเขาเศร้าหมอง ก็คือ ภาพที่ตัวเขาเป็นคนขี้โมโห, หงุดหงิดง่าย ชอบใช้อารมณ์รุนแรงและโหวกเหวกโวยวายกับลูกน้องที่ทำอะไรไม่ค่อยได้ดั่งใจ หรือไม่ถูกใจตัวเขาอยู่เป็นประจำ...ซึ่งถ้าเราอ่านบทความนี้ให้ดีแล้วเขาพูดเหมือนกับว่าได้ไปเจอสตีฟ จ็อบส์มาแล้ว” พระไพศาลย้ำว่าการกล่าวอ้างว่าเห็นมาจริง เช่นนี้ ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าเข้าข่ายอุตริมนุสธรรม (การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานได้สมาธิชั้นนั้นชั้นนี้ สามารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า อวดอุตริ หรือ อุตริเป็นต้น) ถือว่าผิด แต่หากบอกว่านึกขึ้นมาเอง ก็ถือว่าเข้าข่าย อาบัติปาราชิก ซึ่งเป็นอาบัติหนัก ทำให้ขาดจากความเป็นพระเลยทีเดียว “และที่ผู้เขียนและเผยแพร่บทความนี้ต้องออกมาตอบ โดยเฉพาะในช่วงท้ายๆ ของบทความที่บอกว่า “...ในระหว่างที่ท่านเทพบุตรสตีฟ จ็อบส์ กำลังเพลิดเพลินกับการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมภุมมะเทวาแห่งนั้นก็ได้มีกระแสธารแห่งบุญจากที่แห่งหนึ่ง ไปเชื่อมจรดที่ศูนย์กลางกายของท่านเทพบุตรใหม่สตีฟ จ็อบส์ ซึ่งทันทีที่กระแสบุญดังกล่าวได้ไปจรดเชื่อมที่ศูนย์กลางกายของเขา ก็เป็นผลทำให้ใจของเขาบังเกิดความสว่างไสวขึ้นมาในทันที แล้วภาพของแหล่งกำเนิดแสงสว่าง ที่มาจากคนกลุ่มหนึ่งที่ได้สร้างองค์พระธรรมกายประจำตัวให้กับตัวเขาและก็นึกถึงเขาก็ได้ไปปรากฏฉายขึ้นภายในใจของเขา..” ก็ถือว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ก็ถือว่าผิดอย่างแน่นอนเพราะพระพุทธเจ้าไม่เคยระบุอย่างชัดเจนแบบนั้น” สุดท้าย พระชื่อดังยังฝากเตือนไปยังประชาชนที่สับสนกับบทความนี้ที่เผยแพร่ว่า พระพุทธเจ้าตรัสกับสิ่งนี้ว่าอจินไตย ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่อง “อจินไตย” เพราะวิสัยปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้โดยถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเพราะความเข้าใจไม่ได้ในฐานะที่เป็นของลึกซึ้ง เป็นเรื่องทางจิต หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบที่สิ้นสุดได้ “เช่นเวลาคุณป่วยเป็นมะเร็ง มันมีปัจจัยมาก เช่น เป็นเพราะกรรมพันธุ์ การกินอาหารไม่ถูกต้อง หรือเพราะวิบากกรรมในอดีต ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยมันซับซ้อน ไม่สามารถตอบได้ด้วยการคิด กรณีเรื่องสตีฟ จ็อบส์ตายแล้วไปไหน....มันก็เป็นเรื่องของกรรมวิบาก เป็นอจินไตย รู้แม้กระทั่งเขาคิดอะไรอยู่ก่อนตาย ซึ่งก็เข้าข่ายอุตริมนุสธรรม” พระชื่อดังกล่าวสรุป วินัยสงฆ์ วินัยสงฆ์ หรือ พระวินัยเป็นกฎหมายของพระภิกษุ เป็นเครื่องควบคุมความประพฤติการปฏิบัติตนของภิกษุให้เป็นนักบวชที่น่าเคารพเลื่อมใส ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความศรัทธาชื่นชม และมีใจโน้มเข้าหาเพื่อฟังธรรมต่อไป พระวินัยนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติตามเหตุที่บังเกิดขึ้น เมื่อมีภิกษุทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงประชุมสงฆ์ ตรัสถามเรื่องราวจากภิกษุผู้กระทำผิดให้ได้ความกระจ่าง แล้วทรงชี้ให้เห็นโทษของความประพฤติผิดนั้นๆ พร้อมกับทรงชี้ทางที่ควรประพฤติให้สงฆ์ได้ทราบ ข้อห้ามนั้นจึงบัญญัติขึ้นเป็นพระวินัย ห้ามมิให้ภิกษุทำอีกต่อไป การทำผิดพระวินัยเรียกว่า อาบัติ พระภิกษุที่อาบัติต้องรับโทษหนักเบาตามความรุนแรงของอาบัติที่กระทำ พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติชั้นความผิดที่รุนแรงมากน้อยตามลำดับ ดังนี้ คือความผิดขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก ชั้นรองลงมาตามลำดับคือ สังฆาทิเสส อนิยต นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ แต่ละขั้นมีจำนวนและรายละเอียดต่างกันไป แต่รวมแล้วเป็นข้อห้ามทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การไม่ทำสิ่งที่ทรงห้ามทั้ง ๒๒๗ ข้อ ก็คือการรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ที่พระภิกษุทุกรูปต้องถือปฏิบัติให้เคร่งครัดนั่นเอง อาบัติ คำว่า อาบัติ มาจากภาษาบาลีว่า อาปตติ หมายถึง “การทำผิดทางวินัยของพระสงฆ์” พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยแก่พระภิกษุสงฆ์ไว้เป็นสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ ให้พระภิกษุปฏิบัติเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อการปฏิบัติธรรม ขจัดอาสวะกิเลสตามที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ หากภิกษุละเมิดวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็เรียกว่า อาบัติ หรือต้องอาบัติ เมื่อวินัยมีจำนวนมากดังนี้ ในบางครั้งพระภิกษุจึงอาจเผลอเรอ กระทำผิดไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จึงได้ทรงบัญญัติวิธีแก้ความผิดนั้น คนทำผิดต้องรับโทษตามความผิดเพื่อจะได้รู้สำนึกและไม่กระทำผิดอีกต่อไป เมื่อความผิดมีความหนักเบาต่างกัน โทษก็ต้องหนักเบาต่างกันไปด้วย อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1.ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส 2.ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่ละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ๑.เสพเมถุน ๒.ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง ๓.ฆ่ามนุษย์ให้ตาย ๔.อวดอุตริมนุสธรรม ปาราชิก คำว่า ปาราชิก สันนิษฐานว่าแปลว่า “ผู้แพ้” อาจหมายถึง “ผู้แพ้แก่วิถีชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา” ปาราชิกเป็นอาบัติขั้นที่ร้ายแรงที่สุด ภิกษุไม่ว่ารูปใด ถ้าหากอาบัติถึงขั้นปาราชิกแล้วจะสิ้นสภาพการเป็นภิกษุทันที แม้ว่าจะยังครองผ้าเหลืองหรือปฏิบัติตนอย่างภิกษุอื่นๆ อยู่ก็ตาม ภิกษุที่รู้ตนเองว่าอาบัติปาราชิกแล้วสามารถลาสิกขาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างฆราวาสทั่วไปได้ แต่หากยังคงดื้อครองผ้าเหลืองหลอกให้ผู้คนกราบไหว้อยู่อีก ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ อาบัติปาราชิกมี ๔ ประการ ได้แก่ การเสพเมถุน การลักทรัพย์ การฆ่ามนุษย์ และการอวดอัตริมนุสธรรม ๑. การเสพเมถุน คือ การร่วมประกอบกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำกับผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือกระทำกับสัตว์ก็ตาม ปาราชิกข้อการเสพเมถุน บางทีก็เรียกกันว่า ปฐมปาราชิก แปลว่า “ปาราชิกข้อแรก” ๒. การลักทรัพย์ คือ การนำทรัพย์ของผู้อื่นไปเป็นของตนโดยเจตนา ในเมืองไทยกำหนดว่า การลักทรัพย์มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป เป็นการผิดหรือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก การเจตนาแอบอ้างความคิดหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการเบียดบังเอาเงินในกองทุนที่มีผู้ศรัทธาถวายเป็นทานเพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ หรือกิจของศาสนามาใช้ส่วนตัว ก็ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิกเช่นกัน ๓. การฆ่ามนุษย์ คือ การเจตนาทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ไม่ว่าจะลงมือฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าให้ก็ตาม ถือเป็นความผิดปาราชิกข้อที่ ๓ ทั้งสิ้น ๔. การอวดอุตริมนุสธรรม คือ การพูดอวดผู้อื่นว่าตนได้บรรลุธรรมะระดับสูง เช่น บรรลุโสดาบัน บรรลุอรหันต์ เป็นต้น อุตริมนุสธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะทำ/) หรือ อุตริมนุษยธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะยะทำ/) แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สมารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว อุตริมนุสธรรมหมายถึงฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉย ๆ อาบัติปาราชิก หากผิดแม้แต่เพียงข้อเดียวก็ถือว่าภิกษุผู้อาบัติสิ้นสภาพการเป็นภิกษุแล้ว แม้จะไม่มีใครล่วงรู้หรือจับได้ก็ตาม การกราบไหว้บูชาภิกษุที่อาบัติปาราชิก นอกจากจะไม่เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังผิดมงคลที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่ว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชาอีกด้วย เจตนารมที่คำนึงถึงสงฆ์ เพื่อการดำรงพระศาสนา ตามหลักการของพระพุทธศาสนา การดำรงอยู่แห่งธรรมวินัย เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกนั้น ขึ้นอยู่กับสงฆ์เป็นส่วนรวม การที่จะสืบต่อพระศาสนา หรือรักษาธรรมวินัย จึงต้องทำให้สงฆ์คงอยู่ยั่งยืน การอวดคุณพิเศษของภิกษุ ย่อมทำให้ประชาชนรวมจุดความสนใจไปที่ภิกษุนั้นแล้วหันไปทุ่มเทความอุปถัมถ์ บำรุงให้ในเวลาเดียวกัน สงฆ์จะด้อยความสำคัญลงภิกษุ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเอาใจใส่ และสงฆ์ส่วนรวมก็จะอ่อนกำลังลง การยืนยันความตรัสรู้ เป็นหน้าที่ของพระศาสดา การอวดหรือบอกกล่าวอุตริมนุษยธรรม คือ คุณวิเศษของตน แก่ชาวบ้าน แม้จะเป็นจริงก็มีผลเสียหาย ที่สำคัญแก่ส่วนรวม ดังนี้ 1. ทำให้ชาวบ้านตื่นเต้น ระดมความสนใจ มารวมที่บุคคลทั่วไป หรือกลุ่มเดียว แทนสนใจสงฆ์ดังได้กล่าวแล้ว และชาวบ้านผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจก็จะคิดเปรียบคิดเทียบเกิดความรู้สึก ดูถูกดูแคลนท่านอื่น กลุ่มอื่น อย่างถูกต้องบ้าง 2. เมื่อมีการอวดกันได้ ไม่เฉพาะท่านที่รู้จริงได้ จริงเท่านั้น ที่จะอวดท่านที่สำคัญตนผิด ก็จะอวดแต่ที่ร้ายแรงยิ่งก็คือ เป็นช่องให้ผู้ไม่ละอายทั้งหลาย พากันฉวยโอกาสกันวุ่นวาย ชาวบ้านซึ่งไม่ได้รู้ไม่ได้มีประสบการณ์เอง ก็แยกไม่ถูกว่าอย่างไหนจริงอย่างไหนเท็จ 3. ชาวบ้านระดับโลกียปุถุชน ทั้งหลายมีความพอใจนิยมชมชอบต่างๆกัน ตื่นเต้นในต่างสิ่งต่างระดับกัน และผู้ที่บรรลุธรรมวิเศษ ก็มีบุคลิกลักษณะ คุณสมบัติและความสามารถด้านอื่นๆต่างๆ กันไป มิใช่จะมีคุณสมบัติที่พร้อมจะเป็นผู้นำตามรอยบาทพระศาสดาได้เหมือนกัน 4. เมื่อท่านที่บรรลุจริงสอนเก่ง อวดแล้วสอนบ้าง ท่านที่บรรลุจริงสอนไม่เป็น แต่พูดออกมาบ้างท่านที่ไม่รู้จริงสำคัญตนผิด คิดว่าบรรลุแล้วเที่ยวบอกเล่าไว้บ้าง ท่านที่ไม่บรรลุแต่ชอบหลอกพูดลวงเขาไปบ้างต่อไป หลักพระศาสนา ก็จะสับสนป่นเปฟั่นเฟือน ไม่รู้ว่าอันใดแท้อันใดเทียมเพราะหย่อนความรู้ทางปริยัติก็ทำให้หลักธรรมสับสนเสียเอกภาพแห่งคำสอนของพระศาสดา ความจริงนั้นความยืนยันความตรัสรู้ เป็นภารกิจของพระศาสดา ซึ่งเป็นผู้นำในเมื่อจะทำหน้าที่ตั้งพระศาสนา และปกป้องพระศาสนานั้น พร้อมทั้งหมู่สาวก ส่วนหมู่สาวกภายหลัง เมื่อสมัครเข้ามาก็คือยอมรับคำสอนของพระองค์ ความรับผิดชอบในการสอน ไม่อยู่ที่อ้างกานบรรลุของตน แต่อยู่ที่สอนให้ตรงกับคำสอน ของพระศาสดา ชื่อหนังสือ เหตุและผลของการอวดอุตริมนุษย์ธรรม ( ทำไมพระพุทธเจ้า จึงห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม) ชื่อผู้แต่ง พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต ) (ขอบคุณ กะปุกดอทคอม ไทยรัฐออนไลน์ อ.สมฤกษ์-gigcomputer.net sakulthai.com) ลิขิต ประวัติศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราช ๑.หากพระรูปใด บิดเบือนพระธรรม กล่าวหาพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำ สงฆ์ให้แตกแยกเป็น 2 ฝ่ายถือเป็นกรรมหนักสุด ทางศาสนาเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้ง ปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ๒. พระรูปใด ได้ทรัพย์สิน ระหว่างที่บวชเพื่อความถูกต้อง ก็ต้องโอน สมบัติทั้งหมดเป็นของวัด ฉบับที่ ๒ "ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง มีความเข้าใจความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้ามเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการกระทำที่ถูกต้อง คือ ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที การไม่ยอมคืนสมบัติให้วัด ในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาเป็นของตน แต่เมื่อถึงอย่างไร ก็ยังไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะ โดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา " ฉบับที่ ๓ "การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปคือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกฐานผิดพระธรรมวินัยพ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ในการพุทธศาสนา จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้มีพระปลอมมาทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย เช่นที่ผู้รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้เป็นผู้ปลอมเป็นพระ ถอดผ้ากาสาวพัตร์ออกจากตัว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน ต้องไม่มียกเว้นว่า คนนั้นปลอมได้คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น ประกาศนั้นเป็นคำบอกเล่าเป็นคำเตือนให้รู้ เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับมหาเถรฯไม่บังคับให้เชื่อ ไม่บังคับใครให้ทำอะไร แสดงความถูกผิดให้ปรากฏอยู่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงต้องทำหน้าที่ส่วนตนให้เรียบร้อยถูกต้อง บอกความจริงด้วยความหวังดีมิได้บังคับ จงเข้าใจทั่วกัน" ฉบับที่ ๔ " ในกรณีเกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย เราได้ทำหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชสมบูรณ์ตามอำนาจแล้ว จึงไม่มีอะไรจะพูดอีกขณะนี้ ขออนุโมทนาทุกท่านที่สนใจห่วงใยพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นคนดี ด้วยมีกตัญญูกตเวทิตาธรรม " ฉบับที่ ๕ " ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าชัดเจนดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจ ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งฟัง รับรู้ในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 " -------------------------------------------------------------------------------- พระวรธรรมคติ สมเด็จพระสังฆราช พระวรธรรมคติ 1 เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2542ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่พุทธมณฑล มีการประชุมสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสทั่วประเทศ โดยมีพระสังฆาธิการ 800 องค์ ร่วมพิธีและถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานเปิดงาน โดยมีดำรัสเป็นพระวรธรรมคติว่า ยุคนี้เรียกว่าโลกาภิวัฒน์ต้องยอมรับยุ่งยากที่สุด ความเดือดร้อนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า เป็นเครื่องชี้ให้เห็นจิตใจผู้คน ห่างไกล จากพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าอย่างลิบลับ ทั้งที่มีการสอนพระพุทธศาสนา สอนธรรมะปฎิบัติ น่าเสียใจน่าห่วงใย ใจคนทรุดต่ำลงมากมาย และเหลือเชื่อ เห็นได้จากการทำความไม่ดีไม่รู้สึกรู้สมไม่รู้จักอับอาย แม้กระทั่งพระ ก็ไม่สะดุ้งสะเทือน ปฏิบัติละเมิดศีล ละเมิดพระธรรมวินัยจนไม่เหลือให้เป็นผู้มีศีล มีธรรม มีวินัยของพระสงฆ์อีกแล้ว ที่จริง แม้ไม่นำมาพูดก็รู้กันดีอยู่ วันนี้จะขอร้องเพียงว่า อย่าทำตนเอง ให้เป็นเช่นที่รู้ที่เห็นดังกล่าว ขอจงรักษาตัว รักษาใจให้เป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่ง ในการประคับประคอง สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ให้พ้นจากวิกฤตแลวร้าย พระเป็นที่พึ่งสำคัญ ของญาติโยม ขอทำตนให้เป็นที่พี่งที่แท้จริง "เพื่อให้สามารถรักษาตนให้พ้นความผิดความชั่วได้ ขอจงตั้งใจศึกษา จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่มากมาย มิได้ว่างเว้นแต่ละเวลา ความตายที่เกิดขึ้นให้รู้ให้เห็น ตรงนี้ เป็นเหตุให้ผู้ไม่มืดบอดไปคิด ให้เกิดความกลัว ที่จะต้องพบกับความตาย โดยมิได้ทำความดี โดยที่ทำความชั่วอยู่หนักนักหนา เชื่อว่าไม่มีสักกี่คน ที่ไม่กลัวผลของความชั่ว ผลของการผิดศีลธรรมผิดวินัย ของพระของเณร เพียงแต่พากันประมาทจนเกินไป อยากขอให้กลัวความตายที่จะเกิดแก่ตน ขณะที่มีบาปมีกรรมชั่วร้าย ที่เป็นทางไปสู่ภพชาติ ที่น่าสะพรึงกับต่าง ๆ นาน ๆ สมบัติสักนิดติดตัวไปก็ไม่ได้ มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่ตามประชิดติดอยู่" สมเด็จพระสังฆราชตรัสอีกว่า ให้พระภิกษุ สามเณร หยุดความเหิมเห่อทะเยอทะยาน ควรปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ เมื่อชาติหน้ามาถึง จะได้ไม่ไปอายสัตว์นรกที่อยู่ก่อน โดยเฉพาะสัตว์นรกพวกนี้ไม่ได้เป็นพระเป็นเณรมาก่อน ไหน ๆ บวชเรียนมาแล้วเป็นเวลานานปี อย่าให้เสียเวลาเปล่า จงเร่งทำประโยชน์ให้ตัวเองพ้นนรก พ้นกรรมหนัก ที่เป็นผู้ทำพระพุทธศาสนาสนา ให้ด่างพร้อย ให้ถูกแวดล้อมด้วยความสกปรกของพระเณรที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรม ไม่มีวินัย ยุคนี้สมัยนี้เห็นต้องพูดเช่นนี้ หวังว่าที่พูดในวันนี้พระเณรคงได้ยินและเชื่อกันบ้าง เพื่อให้พรตนเองให้พ้นกรรมมหันต์ เป็นสุขทั้งชาตินี้และชาติหน้า ขอฝากทุกคนไว้แค่นี้ พระวรธรรมคติ 2 สมเด็จพระสังฆราช ประทาน พระวรธรรมคติ อีกฉบับให้กับคณะสงฆ์ที่จะเดินทางไปประเทศสหรัฐฯ ในวันที่ 22 มิ.ย.2542นี้ โดยจะตีพิมพ์หนังสือ "อนุสรณ์ธรรมศึกษา" ประจำปี 2542 ของวัดป่าธรรมชาติ เมืองลาพวนเต้ ประเทศสหรัฐฯ ใจความว่าแม้ไม่พูดก็ทราบกันดีทุกคน ขณะนี้กำลังปรากฏ ความชุลมุนวุ่นวายในบรรดา ผู้นับถือพระพุทธศาสนา แต่มิใช่ความวุ่นวายหรือเศร้าหมองในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธศาสนาจะไม่ศร้าหมองด้วยเหตุใดทั้งสิ้น พระพุทธศาสนานั้น สมเด็จพระสังฆราช ทรงเปรียบว่าเหมือนเพชรที่ไม่ว่า จะนำโคลนตมสิ่งสกปรกโสโครกใด ไปพอกทาก็หาอาจทำให้เพชร เกิดความมัวหมองได้ไม่ เมื่อสิ่งสกปรก ถูกขจัดออกไป เพชรย่อมปรากฏความเป็นเพชรดวงงามบริสุทธิ์ล้ำค่าเช่นเดิม จึงมั่นใจได้ว่า เมื่อความชุลมุนวุ่นวาย ที่กำลังเกิดขึ้นสงบลง พระพุทธศาสนาก็จะปรากฏ ความรุ่งเรือง สว่างสืบไปในไทยและในโลก ความสำคัญอยู่ที่ว่าชาวไทย ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด นอกหรือในประเทศต้องมี ความสามัคคีพร้อมใจแก้ปัญหา ทำความวุ่นวายให้สงบโดยเร็ว แสงแห่งพระพุทธศาสนา จะได้พ้นจากการถูกพรางไว้ด้วยความสกปรกวุ่นวาย อันเกิดแต่ความเบาปัญญา ของผู้ไม่รู้คุณของพระพุทธศาสนา โดยหลงเข้าใจผิด ด้วยมีมิจฉาทิฐิว่า ตนกำลังเป็นกำลังสำคัญ เทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนา ซึ่งการรู้ธรรมะในพระพุทธศาสนา อย่างถูกต้องแม้เพียงพอสมควร จะป้องกันมิให้เกิดมิจฉาทิฐิเช่นนั้นได้ จะพ้นจากการที่เป็นผู้ทำดีมีบุญ ไปเป็นการทำไม่ดีมีบาป เพราะทำร้ายพระพุทธศาสนาได้ด้วยความเบาปัญญา อันเป็นโทษ ที่ร้ายแรงหนักหนา พระพุทธศาสนา จะสว่างเจิดจ้า เหนือแสงใดทั้งปวง อยู่ทุกหนทุกแห่งทุกนาที ชาวพุทธมีหน้าที่ต้องขจัดความสกปรก ให้ไกลออกไปเพื่อจะได้รับแสงสว่าง งดงามแห่งพระพุทธศาสนา ส่องทางชีวิตให้ดำเนินไปอย่างสวัสดีที่สุด ในโลกแห่งความมืดนักหนานี้ พระวรธรรมคติ 3 เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 29 ส.ค. 42 ที่ห้องประชุมมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกฯ ได้ทรงเสด็จเป็นองค์ประทานการประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาสในเขตปกครองตามมติมหาเถรสมาคม จำนวน 321 รูป ในการนี้ได้ทรงประทานพระวรธรรมคติแก่พระสังฆาธิการที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ช่วงหนึ่งของพระวรธรรมคติระบุว่า ทุกวันนี้สถาบัน พระพุทธศาสนา ที่สูงส่งประเสริฐสุดต้องการความหวังดีอย่างจริงใจจากพุทธบริษัท 4 เพราะความหวังดี อย่างจริงใจของพุทธบริษัทนี่แหละที่จะเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้เป็นคุณประโยชน์ต่อไทย และต่อทุกชาติในโลก พูดเช่นนี้มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาจะหมดสิ้นไปจากโลก แม้ไม่ได้รับน้ำใจหวังดีจากผู้เป็นพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธศาสนาไม่มีวันจะดับสูญไปจากโลก บ้านเมืองไทยของเรา อันหมายรวมถึงประเทศชาติไทย พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ 3 สถาบันหลักชีวิตของเราไทยทุกถ้วนหน้า จะตกอยู่ในความมืด ความร้อน ความร้ายแรง หนักขึ้นและหนักขึ้นแน่นอน แม้เราทั้งหลายโดยเฉพาะเราผู้เป็นพระเป็นเณร ผู้มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องทุ่มเทกำลังทั้งปวง ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาด้วยความหวังดีจริงใจ มิใช่ด้วยหวังเงินทองสมณศักดิ์ ฟังธรรมให้ธรรมดีกว่าให้เงิน กฎหมายพระสงฆ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดตราไว้ ข้อที่ 1 ว่า มีพระราชกระแสให้นิยมการฟังธรรมยิ่งกว่าอามิสทาน ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้น้อยผู้ใหญ่สมาทานพระไตรสรณคมน์ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ในสำนักพระสงฆ์ทุกวันทุกเวลา เป็นปฏิบัติบูชา อันเป็นกองมหากุศลวิเศษประเสริฐกว่าอามิสบูชาทั้งปวง ทั้งทรงโปรดให้มีพระธรรมเทศนา เป็นธรรมทาน ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฟัง เป็นกองพระราชมหากุศล อันประมาณผลมิได้ บุคคลผู้ประพฤติเป็นสัมมาคารวะต่อพระธรรมในพระไตรปิฎกจะมีผลประมาณมิได้ เมื่อประพฤติมิได้มีสัมมาคารวะต่อพระธรรมในพระไตรปิฎก ก็จะมีโทษแก่บุคคลผู้นั้น อันเป็นโทษใหญ่หลวงนักหนา พระเณรยุคนี้น่าจะพยายามทำความนิยมให้ตรงกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตราเป็นกฎหมายพระสงฆ์ ดังกล่าวมาคือนิยมการฟังธรรม การให้ธรรม ยิ่งกว่าอามิสทานเถิด อามิสทานที่เป็นเงินเป็นทองนั้น อย่าลืมว่าสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทางกล่าวไว้ว่าเป็นงูพิษ และพิษของงูคือสิ่งที่จะทำลายชีวิตได้อย่างแน่นอน ที่ควรกลัวอย่างยิ่งคือ พิษของงูพิษนั้นทำลายชีวิต แต่พิษของเงินทองนั้นทำลายได้สิ้นทั้งชีวิต ทั้งชื่อเสียงเกียรติยศ พิษของเงินทองจึงน่ากลัวยิ่งกว่าพิษของงูพิษมากมายเกินกว่าจะประมาณได้ ยิ่งเป็นพระเณรก็ยิ่งควรกลัวพิษเงินทองให้มากเป็นพิเศษ วงการสงฆ์วุ่นเพราะพระ นอกจากพระวรธรรมคติแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมเด็จพระสังฆราชทางประทานพระวรธรรมคติอีกฉบับหนึ่ง ทั้งนี้รายละเอียดในพระวรธรรมคติเป็นเรื่องของคำว่า พระ โดยมีสาระโดยสรุปว่า พระ แปลว่า ผู้ประเสริฐ ควรเป็นที่ภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับทุกรูปที่เป็นพระ การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐนั้นมิใช่จะเป็นไปได้ง่ายสำหรับคนทั่วไป พวกเรา ผู้เป็นพระได้รับมอบหมายแล้วโดยอัตโนมัติแสดงถึงความเชื่อถือว่าเราเป็นผู้ประเสริฐ แน่นอนแล้ว เมื่อถือเพศสมณะ เป็นพระ ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า ที่ความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมายในวงการพระสงฆ์ ซึ่งจะโทษว่าเป็นใครอื่นที่มิใช่พระมิใช่สงฆ์มาทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ถูก ต้องยอมรับ ความจริงว่า พระสงฆ์ทำกันเอง คิดความวุ่นวายขึ้นเอง วงการของพระของสงฆ์ทุกวันนี้จึงวุ่นดังเป็นที่รู้ที่เห็น ที่ห่วงใยกันอยู่เป็นอย่างยิ่ง เราเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่สุดประเสริฐ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นสมเด็จพระบรมครูของเรา มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า ผลย่อมเกิดแต่เหตุ ดับเหตุได้ ย่อมดับผลได้ ทำเหตุใดย่อมได้ผลนั้น นั่นก็คือเพราะทุกวันนี้เราก่อเหตุวุ่นวาย ผลจึงวุ่นวาย ปรากฎให้เห็นอยู่ชัดเจน เราทุกคนต้องตาย และเมื่อถึงเวลานั้น อำนาจก็ตาม ความใหญ่ก็ตาม ความดังก็ตาม สมบัติ มหาสมบัติก็ตามหาติดตามเราไปได้ไม่ ที่น่ากลัวอย่างยิ่งก็คือชาติหน้า ของทุกคนอยู่ติดกับชาตินี้ วินาทีเดียว ก็อาจไปถึงชาติหน้าได้ จะนำชีวิตไปถึงชาติหน้า อย่างงดงามพรั่งพร้อม หรือชาติหน้าที่เป็นนรกอเวจีก็เลือกเถิด พระวรธรรมคติ 4 เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พระราชทานพระวรธรรมคติเป็นลาย พระหัตถ์ให้สื่อมวลชนตามคำขอ เนื่องในวันประสูติครบรอบ 86 พรรษา ในวันที่ 3 ต.ค. นี้ว่าระยะหลังมีข่าวพาดพิงถึงบ่อย มีผู้อ่านให้ฟัง หรือเล่าบ้าง พอเข้าใจงานของนักข่าว แต่เดิมเสียงพูดถึงนักข่าวไม่น่าไว้วางใจ แต่ระยะหลังกลับเป็นผู้มีอุดมคติได้รับสรรเสริญอยู่มากที่เข้าถึงหู ทำให้สบายใจ เกิดความเชื่อถือและมีความอุ่นใจว่าสื่อมวลชนไม่ทิ้งสิ่งสูงค่าที่สุดคือพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นผู้มีปัญญา รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด มีสัมมาทิฐิคือความเห็นชอบ ซึ่งถือเป็นอันดับ 1 ในมรรค 8 แม้ผู้มิได้ปรารถนาเป็นพระอรหันต์การปฏิบัติมรรค 8 ด้วยยึดมั่นในความเห็นชอบ แม้ในเรื่องราวทั้งหลายที่เผชิญอยู่ย่อมได้รับความพิทักษ์รักษาจากพระศาสนาให้พ้นความเสียชื่อ เสียคน เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรีความเป็นคน ผลงานสื่อมวลชนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแสดงชัดเจนว่านักข่าวมีสัมมาทิฐิมั่นคง รักษาความดี ให้กลัวผลแห่งกรรม เพราะต้องมีชาติหน้าแน่ เป็นคนให้เป็นคนดีเถิด เป็นพระให้เป็นพระดี จะไม่ได้ไม่ถูกแรงดูดจากนรกลงไปเร่าร้อนทรมานแสนสาหัส สื่อมวลชนมีโอกาสกว่าคนทั่วไปที่จะนำคนจำนวนมากเป็นสุข รักษาความยุติธรรมเที่ยงตรง และให้รักษาความเห็นชอบไว้ให้มั่นคง แม้ชาติหน้ามาถึงก็ไม่มีอะไรน่ากลัว เพราะเป็นคนดี รวมถึงได้ทำบุญที่ยิ่งใหญ่สุดคือร่วมรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่อยู่หนือสิ่งอื่นใดทั้งปวง และขอฝากสัมมาทิฐินี้ไว้สำคัญยิ่งใหญ่กว่าให้พรอื่น พระวรธรรมคติ 5 ในวันเดียวกัน ( 14/10/42 ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประทาน พระวรธรรมคติ ในการเปิดประชุม นวกภิกษุพระธรรมยุติส่วนกลาง ความว่า โลกอยู่ในช่วงวิกฤต การปฏิบัติตามพระธรรม จะปกป้อง คุ้มครองภัยทั้งปวงได้เหตุการณ์ที่ชาวไทยกำลังผจญอยู่ทำให้เห็นว่าจิตใจคนปราศจากพระธรรม ปล่อยให้อำนาจชั่วร้ายของกิเลศเข้าครอบงำ ให้ทำความชั่วช้าได้สารพัด ควรเป็นคนดีกลับเป็นคนเลว ควรเป็นพระดีกลับเป็นพระเลว อย่างไรเสียยังไม่สายจะกลับตัวกลับใจได้ทัน ที่สำคัญต้องตั้งใจแน่วแน่จริง ในพริบตาเดียวอาจเปลี่ยนใจชั่วร้ายให้เป็นใจที่ดีได้ เพราะใจเป็นใหญ่ จึงขอให้คิดให้ดีจะเป็นพระดี เป็น คนดีหรือจะเป็นพระไม่ดี คนไม่ดี บาปบุญเท่านั้นจะติดตามไปดังเงา อย่ายอมทำบาป ทำความชั่วร้าย ใด ๆเพื่อแลกกับเงินทองหรือยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็นของพระหรือของคนธรรมดาไหน ๆ ความตายก็ประชิดติดตัวทุกคนอยู่แล้ว ชาวพุทธมีโอกาสทำกุศลยิ่งใหญ่ ด้วยการเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนา และให้กลัวกรรมที่ทำต่อพระพุทธศาสนา โดยทรงยกตัวอย่างของพระองคุลิมาลกับพระเทวทัตให้กลัวกรรมที่ทำกับพระศาสนา จนไม่เห็นค่าสูงสุด และกล้านำไปแลกกับอะไร ๆ ทั้งหลายที่ปรารถนาต้องการ แผ่นดินทุกวันนี้ยังแยกได้ ธรณีก็ย่อมยังสูบได้ เช่นเดียวกับพระเทวทัต ช่วยกันนำไปเตือนใคร ๆ ให้ด้วย จะเป็นการเทิดทูนรักษาพระศาสนาด้วยวิธีหนึ่ง เดลินิวส์ 19/3/2542 สมเด็จพระสังฆราชตรัส สะท้านศาสนาก่อนชี้ขาดปัญหาธรรมกายวันเดียว ยุคนี้พระไม่สะดุ้งต่อบาป ละเมิดศีลธรรม พระวินัยจนไม่เหลือความเป็นพระ แม้ไม่พูดก็รู้กันดีอยู่ เตือนพระเณร อย่าเอาอย่าง ศึกษาเรื่องที่เกิดขึ้น หยุดความเหิมเห่อทะเยอทะยาน ไม่เช่นนั้นจะตกนรกด้วยกรรมหนัก เพราะทำลายศาสนา อายสัตว์นรก "อำนวย"ระบุประมุขสงฆ์รู้สึกถึงจุดสุดๆ ที่ศาสนาถูกย่ำยี เสนอรัฐบาล ออกกฎหมายคุ้มครองศาสนา มหาเถรฯระบุสงฆ์ถือครองที่ดินผิดชัด ต้องโอนให้วัดอย่างเดียว จี้หยุดเรี่ยไร "ธัมมชโย"ถูกแจ้งความ 6ข้อหาตำรวจสอบอุโมงค์ลับ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ