องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) องค์กรที่พุทธศาสนาควรศึกษา ?



องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)

องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)

ข้อมูลทั่วไป Organization of Islamic Cooperation หรือ OIC (ชื่อเดิมคือ Organization of the Islamic Conference หรือ องค์การการประชุมอิสลาม) เป็นองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศอิสลาม ปัจจุบันมีสมาชิก 57 ประเทศ รวมทั้งปาเลสไตน์ มีสมาชิกจากทุกภูมิภาคทั้ง เอเชีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกาใต้ จึงนับเป็นองค์กรระหว่างประเทศของโลกมุสลิมขนาดใหญ่ที่สุดและมีบทบาทความสำคัญมากที่สุด
สมาชิก 57 ประเทศ
อัฟกานิสถาน อัลบาเนีย แอลจีเรีย อาเชอร์ไบัน บังกลาเทศ เบนิน บรูไน บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน ชาด โคโมรอส จิบูดี อียิปต์ กาบอง กาตาร์ แกมเบีย กินี กินีบิสเซา กียานา อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก จอร์แดน คาซัคสถาน คูเวต คีร์กิสถาน เลบานอน ลีเบีย มาเลเซีย มัลดีฟส์ มาลี มอริเตเนีย โมร็อกโก โมซัมบิก ไนเจอร์ ไนจีเรีย โอมาน ปากีสถาน ปาเลสไตน์ ซาอุดีอาระเบีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอน โซมาเลีย ซูดาน สุรินัม ซีเรีย ทาจิกิสถาน โตโก ตูนีเซีย ตุรกี เตอร์กเมนิสถาน ยูกันดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อุซเบกิสถาน เยเมน และโกตดิวัวร์
OIC ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 1971 ตามมติที่ประชุมสุดยอดครั้งแรกของผู้นำกลุ่มประเทศมุสลิม 35 ชาติ ที่กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก ระหว่างวันที่ 22-25 กันยายน 1969 (การประชุมสุดยอดดังกล่าวมีขึ้นเพื่อหาทางสร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐมุสลิม หลังจากเกิดกรณีการวางเพลิงมัสยิดอัลอักซอร์ (Al –Aqsa Mosque) ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญอันดับ 3 ของโลกมุสลิม เมื่อเดือนสิงหาคม 1969)
การจัดตั้ง OIC มีกษัตริย์ Faisal แห่งซาอุดีอาระเบีย และกษัตริย์ Hassain แห่งโมร็อกโก เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการผนึกกำลังกันของประชาชาติมุสลิม (Islamic Ummah) ตามแนวทาง pan-Islamism และการพิทักษ์และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาวมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดปล่อยดินแดนของชาวอาหรับ/มุสลิมรวมทั้ง Al Quds Al Sharif (เยรูซาเล็ม) จากการยึดครองของอิสราเอล
OIC ได้ให้สถานะผู้สังเกตการณ์ (Observer Status) แก่ 4 ประเทศได้แก่ บอสเนีย - เฮอร์เซโกวินา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central African Republic) ไทย และรัสเซีย นอกจากนี้ ชุมชนมุสลิมในประเทศต่าง ๆ เช่น สาธารณรัฐไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Nothern Cyprus) ซึ่งอยู่ภายใต้ตุรกี และ Moro National Liberation Front (MNLF) ในฟิลิปปินส์ยังได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในประเภทชุมชนมุสลิมและชนกลุ่มน้อยมุสลิม (Muslim Communities and Minorities) ด้วย
โครงสร้างและกลไกที่สำคัญ เลขาธิการคนปัจจุบัน คือ Prof.Ekmeleddin Ihsanoglu (ชาวตรุกี) เข้ารับหน้าที่เมื่อ มกราคม 2548 (วาระ 4 ปี) และต่อมาได้รับการต่ออายุการดำรงตำแหน่งอีก 5 ปี จึงจะอยู่ในตำแหน่งถึงปี 2557
สำนักงานเลขาธิการ (The General Secretariat) เป็นหน่วยงานบริหารกลาง ตั้งอยู่ที่เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดย OIC ถือว่า สำนักงานดังกล่าวเป็นสำนักงานชั่วคราว และกำหนดจะให้สำนักงานเลขาธิการถาวรตั้งขึ้นที่ กรุงเยรูชาเล็ม เมื่อมัสยิดอัลอักซอร์ได้รับการปลดปล่อยจากอิสราเอลแล้ว
  1. การประชุมสุดยอด (The Islamic Summit Conference) จัดประชุมทุก 3 ปี ประธานการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 11 ในปี 2008 ได้แก่ เซเนกัล และประธานการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 12 ได้แก่ อียิปต์ (2010-2012)

  2. การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ (Council of Foreign Ministers – CFM) ประชุมทุกปี การประชุมครั้งต่อไปในปี 2555 (2012) ครั้งที่ 39 จะจัดขึ้น ณ กรุงจิบูตี ประเทศจิบูตี

  3. สำนักเลขาธิการ (The General Secretariat) ตั้งอยู่ที่เมืองเจดดาห์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ความสำคัญของ OIC การเมืองระหว่างประเทศเป็นเวทีพหุภาคีที่สำคัญที่สุดของโลกมุสลิม OIC มีจำนวนสมาชิกคิดเป็นประมาณ 1/3 ของสมาชิกสหประชาชาติ มีองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เป็นผู้สังเกตการณ์มากกว่า 20 องค์การ รวมทั้ง UN
ศาสนาอิสลาม เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลองค์การเดียวที่จัดตั้งบนพื้นฐานทางศาสนา (Islamic Solidarity)
ด้านเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศอิสลามเป็นแหล่งพลังงาน ตลาดแรงงานและการส่งออกที่สำคัญ ปัจจุบัน มีความพยายามรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ โดยการจัดตั้งตลาดร่วมโลกมุสลิม (Islamic Common Market)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ OIC ไทยเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer State) ของ OIC เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 ตามมติของที่ประชุม OIC Annual Coordination Meeting ที่กรุงนิวยอร์ก เป็น 1 ใน 4 ประเทศ ที่ได้รับสถานะดังกล่าว (อีก 3 ประเทศคือ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา และรัสเซีย) ไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เวที OIC เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจต่อโลกมุสลิมเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิม แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ปรึกษาหารือในประเด็นเกี่ยวกับชุมชนมุสลิม และเพิ่มช่องทางการขยายความร่วมมือกับประเทศอิสลาม ทั้งนี้ หลังเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ ไทยได้ส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสำคัญของ OIC แทบทุกครั้ง โดยเฉพาะ CFM
ความร่วมมือกับ OIC ที่สำคัญ
  • ด้านการพัฒนาการศึกษาสำหรับชาวไทยมุสลิม ธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม (Islamic Development Bank -IDB) ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษ (specialized organization) ของ OIC ได้ให้เงินสนับสนุน และเงินกู้ในการสร้างโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในไทยหลายแห่ง รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมเพื่อศึกษาในประเทศไทยมาโดยต่อเนื่อง
  • ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ไทยได้เข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer Member) ของ องค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมอิสลาม ( The Islamic Education, Scientific and Cultural Organization - ISESCO) ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษของ OIC เมื่อเดือน มีนาคม 2550
  • ด้านธุรกิจการค้า สมาคมนักธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยมุสลิม (Thai Islamic Trade and Industrial Association) เป็นสมาชิกของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของ OIC (Islamic Chamber of Commerce and Industry –ICCI) ICCI ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Office of Small and Medium Enterprises Promotion – OSMEP) ของไทยเมื่อปี 2550 เพื่อร่วมมือในการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรม SMEs โดยเฉพาะด้านอาหารฮาลาล อัญมณี และเครื่องประดับ และสินค้าแฟชัน เป็นต้น
  • ด้านความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม IDB ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย Tsunami จำนวน 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยผ่านสภายุวมุสลิมโลก (WAMY) ผู้นำมุสลิม ผู้นำชุมชนมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติด้วย
  • ความร่วมมือทางเทคนิคและวิชาการ ในปี 2550 ไทยได้ดำเนินโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก OIC ในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก หรือจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่กรุงเทพฯ และกรุงไคโร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ