ประวัติศาสตร์โลก รถยนต์เลิกใช้น้ำมัน!
เมืองนาโกย่า หรือโตโยต้า ซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น 18 พฤศจิกายน 2557 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ‘มิไร’ รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle – FCV) และจะจำหน่ายในตลาดรถยนต์ประเทศญี่ปุ่นวันที่ 15 ธันวาคม 2557 โตโยต้า มิไร ส่งสัญญาณว่ายุคใหม่แห่งยานยนต์โตโยต้าเริ่มต้นแล้ว ด้วยการเป็นยนตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบาย สุนทรียภาพในการขับขี่ มิไร ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอนาคต ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
มิไร
โตโยต้า มิไร ใช้ระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (Toyota Fuel Cell System—TFCS) มีต้นกำเนิดจากการผสานการทำงานของเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงกับนวัตกรรมไฮบริด รวมถึง ระบบเซลล์เชื้อเพลิงลิขสิทธิ์ใหม่ล่าสุดของโตโยต้า อย่าง เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (FC Stack) และถังเก็บไฮโดรเจนแรงดันสูง สำหรับระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้านั้น กล่าวได้ว่าประหยัดพลังงานกว่าระบบเครื่องยนต์เผาไหม้และไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ สารที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ (Substance of Concern—SOCs) ในระหว่างการขับขี่ โดยผู้ขับขี่จะได้สัมผัสการขับขี่ที่สะดวกสบาย และขับได้ในระยะทางที่ไกล รวมถึงใช้เวลาในการเติมพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแค่ประมาณสามนาที
มิไร เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่ยานยนต์รุ่นใหม่ควรจะมี ทั้งดีไซน์โดดเด่นสะดุดตา ประกอบกับการขับขี่ที่เหนือชั้นด้วยเสถียรภาพแห่งการควบคุมยานยนต์ที่เหนือกว่า โดยมาจากศูนย์ถ่วงต่ำของรถ ความเงียบแต่ปราดเปรียวทรงพลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า โตโยต้า มิไร ยังประกอบไปด้วยระบบเทเลมาติกส (Telematics Service) เพื่อให้มั่นใจว่าการขับขี่จะปลอดภัย มีเสถียรภาพ และสะดวกสบาย รถรุ่นนี้ยังสามารถเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่ทรงประสิทธิภาพถึงสองเท่า หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ
พลังงานไฮโดรเจน ถือเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกอีกประเภทหนึ่ง ผลิตได้จากแหล่งต้นกำเนิดพลังงานที่หลากหลาย อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เมื่อได้รับแรงอัด มวลความหนาแน่นของพลังงานไฮโดรเจนจะสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งความสะดวกในการเก็บรักษา และการขนส่ง นอกเหนือจากอรรถประโยชน์ในฐานะเชื้อเพลิงสำหรับที่อยู่อาศัยและวงการยานยนต์แล้ว พลังงานไฮโดรเจนยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมาย รวมทั้ง เป็นแหล่งสร้างพลังงานขนาดใหญ่ ดังนั้น รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง หรือ FCV จึงสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากไฮโดรเจนได้ หมายถึง มันจะนำไปสู่ภาพอนาคตของสังคมที่จะพึ่งพาพลังงานไฮโดรเจน และเพิ่มความหลากหลายในการผลิตพลังงานให้มากขึ้น
แผนการวางจำหน่าย
เริ่มวางจำหน่าย: 15 ธันวาคม 2557
ช่องทางการจำหน่าย: ตัวแทนจำหน่าย “โตโยต้า” และ “โตโยเปต” (Toyopet)
เป้าหมายของยอดขาย : ประมาณ 400 คัน ภายในปี 2558 สำหรับตลาดรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น
ราคาปลีกที่ผู้ผลิตแนะนำ: 7,236,000 เยน (รวมภาษีผู้บริโภค แต่ไม่รวมค่ารีไซเคิล ราคาอาจแตกต่างสำหรับ
ฮอกไกโด และโอกินาว่า)
โรงงานผลิต
โรงงานประกอบรถยนต์โมโตมาจิ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมอบความสะดวกสบายเหนือระดับ
โตโยต้า มิไร มาพร้อม ระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (Toyota Fuel Cell System —TFCS) ที่ผสานการทำงานระบบเซลล์เชื้อเพลิงและนวัตกรรมไฮบริดไว้ด้วยกัน ระบบดังกล่าวมีความสามารถในการประหยัดพลังงานที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เผาไหม้สันดาปภายใน และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ สารที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ (Substance of Concern—SOCs) ระหว่างการขับขี่ โดยให้ความสะดวกสบายและสมรรถนะเช่นเดียวกับยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน มีระยะทางการขับขี่ต่อการเติมเชื้อเพลิงหนึ่งครั้ง4 ที่ 650 กิโลเมตร (ประเมินโดยโตโยต้า ตามมาตรฐานการทดสอบ JC08 โดยกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมและท่องเที่ยว ประเทศญี่ปุ่น) และใช้เวลาการเติมไฮโดรเจนแค่เพียงสามนาที ระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้าทำงานด้วยส่วนประกอบที่พัฒนาขึ้นเองโดยโตโยต้า ประกอบด้วย เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (FC Stack) อุปกรณ์เพิ่มศักยภาพเซลล์เชื้อเพลิง (FC Boost Converter) และ ถังเก็บไฮโดรเจนแรงดันสูง
เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (FC Stack)
เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้าผลิตกระแสไฟได้สูงสุดถึง 114 กิโลวัตต์ ประสิทธิภาพของตัวกำเนิดไฟฟ้าถูกกระตุ้นผ่านการใช้ช่อง 5 ที่สร้างโดยโครงข่ายตารางสามมิติ 5 (รายแรกของโลก 6) ทำให้มั่นใจได้ถึงการกำเนิดไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์แบบบนพื้นผิวเซลล์ มีขนาดกะทัดรัด และสมรรถนะสูง มีความหนาแน่นของกำลังระดับแถวหน้าของโลก 6 ถึง 3.1 กิโลวัตต์/ลิตร (สูงกว่าถึง 2.2 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นลิมิเต็ดโตโยต้า FCHV-adv ก่อนหน้านี้) ปริมาณน้ำของเซลล์เชื้อเพลิงเมมเบรนอิเลคโทรไลท์อิเล็กทรอไลต์เป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อความมีประสิทธิภาพของการกำเนิดไฟฟ้า การควบคุมปริมาณน้ำทำโดยระบบหมุนเวียนภายใน เพื่อหมุนเวียนน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อผลิตกำลังไฟฟ้า ซึ่งก็หมายความว่า แท่งประจุพลังงงานเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้าเป็นระบบชั้นนำระดับโลก 6 ไม่เหมือนกับระบบอื่นที่โตโยต้าเคยใช้มาในรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง เพราะไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ทำความชื้น
อุปกรณ์เพิ่มศักยภาพเซลล์เชื้อเพลิง (FC Boost Converter)
อุปกรณ์เพิ่มศักยภาพเซลล์เชื้อเพลิงขนาดพกพาที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพสูง ออกแบบมาให้สามารถเพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นในเซลล์เชื้อเพลิง (FC Stack) ให้สูงขึ้นถึง 650 โวลต์ การเพิ่มแรงดันไฟฟ้าทำให้มอเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กลง และใช้จำนวนเซลล์พลังงานภายในเซลล์เชื้อเพลิงน้อยลง ทำให้ระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้ามีสมรรถนะสูงและขนาดเล็กลง ช่วยลดต้นทุนจากระบบที่เกิดขึ้น
ถังไฮโดรเจนความดันสูง
ถังไฮโดรเจนความดันสูงของ โตโยต้า มิไร ทำจากพลาสติกเสริมคาร์บอนไฟเบอร์และวัตถุดิบอื่นๆ ซ้อนกันสามชั้น เพื่อกักเก็บพลังงานไฮโดรเจนที่ความดัน 70 เมกะปาสคาล (ประมาณ 700 บาร์) เมื่อเทียบกับถังไฮโดรเจนความดันสูงในรถโตโยต้ารุ่น FCHV-adv ถังเก็บกักไฮโดรเจนของ มิไร ซึ่งได้รับมาตรฐานสากลจุได้มากขึ้น ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ขนาดและน้ำหนักลดลง อยู่ในระดับชั้นนำของโลก 6 เหลือเพียง 5.7 wt% (เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก)
คุณสมบัติสำคัญของระบบเซลล์เชื้อเพลิงของโตโยต้า (TFCS)
ชื่อ.....................................เซลส์เชื้อเพลิงโตโยต้า (Toyota FC Stack)
ประเภท ............................เซลส์เชื้อเพลิงโพรลิเมอร์อิเล็กทรอไลต์
ความหนาแน่นต่อปริมาตร.....31 กิโลวัตต์ต่อลิตร
กำลังสูงสุด..............................114 กิโลวัตต์ 155 แรงม้า
ระบบทำความชื้น.....................แบบระบบหมุนเวียนภายใน humidifier - less
จำนวนถัง.................................2 ถัง
ถังไฮโดรเจนความดันสูง
แรงดัน....................................70 เมกะปาสคาล 700 บาร์
ความหนาแน่นขแงถังเชื้อเพลิง.....5.7wt%
ปริมาตรภายในถัง ....................122.4 ลิตร ถังหน้า 60.0 ลิตร ถังหลัง 62.4 ลิตร
มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน
ประเภท.......................................มอเตอร์ซิงโครนัสแบบกระแสไฟฟ้าสลับ
กำลังไฟสูงสุด.............................113 กิโลวัตต์ 154 แรงม้า
แรงบิดสูงสุด................................335 นิวตันเมตร 34.2 กิโลกรัมเมตร
แบตเตอรี่....................................นิกเกิ้ลเมทัลไฮรไดรต์
มิติตัวถัง
กว้าง.........................................1,815 มิลลิเมตร
ยาว...........................................4,890 มิลลิเมตร
สูง..............................................1,535 มิลลิเมตร
ระยะฐานล้อ................................2,780 มิลลิเมตร
ระยะห่างฐานล้อ.........................หน้า 1,535 มิลลิเมตร หลัง 1,545 มิลลิเมตร
ความสูงจากพื้นถึงใต้ท้อง..........1,30 มิลลิเมตร
ความยาวห้องโดยสาร................2,040 มิลลิเมตร
ความกว้างห้องโดยสาร..............1,465 มิลลิเมตร
ความสูงห้องโดยสาร..................1,185 มิลลิเมตร
น้ำหนักตัวรถ..............................1,850 มิลลิเมตร
จำนวนผู้โดยสาร.........................4
การออกแบบด้านความปลอดภัยของยานยนต์
โตโยต้า มิไร ออกแบบมาโดยให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ผ่านหลักการพื้นฐานที่รับประกันว่าไฮโดรเจนจะต้องไม่รั่วซึมออกมา ในกรณีฉุกเฉินที่อาจมีการรั่วซึมเกิดขึ้น จะสามารถตรวจจับและหยุดการรั่วซึมของไฮโดรเจนได้ทันที ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไฮโดรเจนสะสมในตัวถังรถอีกด้วย การพัฒนาถังไฮโดรเจนความดันสูงที่ป้องกันการรั่วซึมของไฮโดรเจนได้อย่างดีเยี่ยม แข็งแรง ทนทาน เซ็นเซอร์ไฮโดรเจนแจ้งเตือนและสามารถออกคำสั่งปิดวาล์วหลักของตัวถัง ถังไฮโดรเจนและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับแก๊สไฮโดรเจน ติดตั้งไว้ด้านนอกห้องโดยสาร เพื่อให้ระเหยได้ง่าย เมื่อเกิดการรั่วซึม การใช้คุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่น โครงสร้างช่วยกระจายและซับแรงกระแทกในหลากหลายชิ้นส่วน ช่วยเสริมความปลอดภัยในการปกป้องเซลล์เชื้อเพลิง และถังไฮโดรเจนความดันสูง ในกรณีรถชนทั้งด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง ตัวถังบรรจุเซลล์เชื้อเพลิง ทำจากพลาสติกเสริมคาร์บอนไฟเบอร์ (เทอร์โมพลาสติก) ที่ผลิตง่าย น้ำหนักเบาและแข็งแรง ช่วยปกป้องเซลล์เชื้อเพลิงผ่านการซับแรงกระแทกจากสภาพขรุขระของพื้นถนนและสภาวะอื่นๆ
อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยขั้นสูงครบครันเปิดศักราชรถยนต์ยุคใหม่
เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยขั้นสูงชุดมาตรฐาน
ระบบช่วยหยุดรถก่อนชน (Pre-collision System) (ด้วยเทคโนโลยีเรดาร์แบบคลื่นมิลลิเมตร) ช่วยป้องกันการชนปะทะและบรรเทาความเสียหายจากการชน โดยการแจ้งเตือนและควบคุมระบบเบรก เมื่อตรวจพบแนวโน้มว่าจะเกิดการชนปะทะ
ระบบเตือนเมื่อออกจากเลน (Lane Departure Alert - LDA) ใช้กล้องเพื่อตรวจจับเส้นจราจรสีเหลืองหรือสีขาว และแจ้งเตือนผู้ขับขี่เมื่อรถกำลังจะเบี่ยงออกจากช่องจราจร
ระบบควบคุมการเริ่มขับขี่ (Drive-start Control) ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และการใช้คันเร่งอย่างกะทันหันในช่วงเปลี่ยนเกียร์
ระบบจอมอนิเตอร์ในจุดบอด (Blind Spot Monitor) ใช้เรดาร์ตรวจจับยานพาหนะที่อยู่ในช่องจราจรใกล้เคียง และช่วยยืนยันมุมมองด้านหลังรถเมื่อเปลี่ยนช่องจราจร
ระบบนำทางและกำหนดพิกัดด้วยดาวเทียม
ระบบนำทาง T-Connect (T-Connect Data Communication Module - DCM) มาพร้อมกับฟังก์ชั่น8 สุดพิเศษเพื่อให้การขับขี่ปลอดภัยมั่นใจ และสะดวกสบาย “รายการสถานีเติมไฮโดรเจน” (Hydrogen Station List) แอพพลิเคชั่น 9 นำเสนอผ่านจอแสดงผลระบบนำทางเพื่อแสดงข้อมูลและเวลาทำการของศูนย์จ่ายพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจน 3 แห่งใกล้เคียง โดยระบุตำแหน่งจากพิกัดของรถ ณ เวลานั้น
แอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนสุดพิเศษ “พ็อกเกต มิไร” (Pocket Mirai) ทำการแสดงข้อมูลและเวลาทำการของศูนย์จ่ายพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนทั่วประเทศ แสดงปริมาณเชื้อเพลิงไฮโดรเจนคงเหลือ ระยะทางขับขี่ และเวลาที่สมควรในการเติมพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นบันทึกการเติมพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจน และเกมที่จะช่วยให้การขับรถสนุกขึ้น บริการตรวจสอบสถานะระบบพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง หรือ FC จากระยะไกล จะแจ้งเตือนบนจอนำทางหากพบการทำงานที่ผิดปกติ รวมถึงวินิจฉัยอาการได้จากระยะไกล ทำให้สามารถตรวจสภาพรถได้จากศูนย์ตัวแทนจำหน่ายช่วยให้เจ้าของรถยนต์หาวิธีแก้ปัญหาต่อไปได้
รูปลักษณ์ภายนอก
ด้านหน้าของตัวรถออกแบบด้วยเทคนิคใหม่ ช่วยเพิ่มความโดดเด่นของกระจังหน้าด้านซ้ายและด้านขวาซึ่งทำหน้าที่ดูดอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจน และใช้สำหรับระบบหล่อเย็นระบบพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FC) โครงหน้าถังรถแบบใหม่ช่วย เน้นย้ำเอกลักษณ์ยานยนต์ที่ไม่เหมือนใคร ตัวถังรถด้านข้างสร้างเส้นสายสง่างามด้วยรูปทรงหยดน้ำเพื่อนำเสนอตัวตนของยานยนต์ที่ทำหน้าที่ดูดอากาศเข้าและคายน้ำออก รางติดหลังคาและกระโปรงรถเสมือนกำลังยื่นออกจากตัวรถ เพื่อสร้างความประทับใจในฐานะยานยนต์ที่สามารถเข้าถึงได้ แต่นำเสนอรูปลักษณ์แห่งอนาคตไปพร้อมๆ กัน ด้านหลังของตัวรถ นำเสนอด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูดูเคร่งขรึม ยื่นออกมาจากป้ายทะเบียนลากยาวจนถึงมุมกันชนด้านล่าง ต่อไปถึงขอบล้อ โดยด้านบนของกันชนช่วยเน้นความกว้างและท่วงท่าทรงพลังมั่นคง ทั้งสร้างความปราดเปรียวให้อากาศไหลผ่านตรงกลางและใต้กันชน
ไฟหน้าให้ความรู้สึกทันสมัยหรูหรา ด้วยนวัตกรรมสุดไฮเทคผ่านการออกแบบใหม่ที่เส้นสายเรียวบางของไฟ LED สี่ดวงเรียงเป็นเส้นเดียว มาพร้อมแผงระบายความร้อนที่และอุปกรณ์เพื่อช่วยในการมองเห็น ไฟเลี้ยวด้านหน้าและไฟตัดหมอกแยกออกจากไฟหน้า ทำให้ไฟหน้าดูเรียวบางประดุจเชื่อมติดกับแผงระบายความร้อนด้านข้าง ให้รูปลักษณ์สบายตาพร้อมหลักอากาศพลศาสตร์เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น โตโยต้า มิไร มาพร้อมกับล้ออะลูมิเนียมขนาด 17 นิ้ว น้ำหนักเบา รังสรรค์อย่างประณีตบรรจงโดยกระบวนการแกะสลัก สำหรับสีตัวถัง มีให้เลือกถึง 6 สี รวมถึง สีทูโทนใหม่ล่าสุดอย่างสี Pure Blue Metallic
ภายใน
ด้านหน้าและด้านหลังของ โตโยต้า มิไร เชื่อมต่อโดยเส้นสายพื้นที่สวยงามประดุจไร้รอยต่อ ส่งผลให้เกิดพื้นที่ห้องโดยสารที่ประณีต พร้อมบุนวมริมขอบประตูและพื้นผิวภายในห้องโดยสารอื่นๆ ตัดขอบด้วยเส้นสีเงินตลอดทั้งคัน เก้าอี้หน้าโอบกระชับสรีระได้ดีกว่า ด้วยวิธีการผลิตทรงเก้าอี้แบบผสมผสาน 12 เก้าอี้ปรับระดับได้ 8 ระดับ เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ดีที่สุดและมีฟังก์ชั่นปรับเบาะรับกระดูกสันหลังส่วนเอวโดยใช้ไฟฟ้าติดตั้งตามมาตรฐานที่เก้าอี้คนขับและเก้าอี้ผู้โดยสาร แผงหน้าปัดรถแสดงความเร็วและแสดงข้อมูลต่างๆ ด้วยหน้าจอคลิสตัลลิควิดแบบ TFT ความคมชัดสูง ขนาด 4.2 นิ้ว ออกแบบให้ยื่นออกมา ติดตั้งตรงกลางด้านบนของแผงอุปกรณ์ ผู้ขับขี่ปรับเปลี่ยนหน้าจอได้โดยควบคุมที่พวงมาลัย สวิตช์เปิดเครื่องทำความร้อนที่เก้าอี้และการปรับอื่นๆ จะถูกควบคุมโดยผ่านแผงระบบปรับอากาศไฟฟ้าสถิต เพียงสัมผัสแผงหน้าจอเบาๆ
ฟังก์ชั่นมาตรฐานสร้างความสะดวกสบายให้กับห้องโดยสาร เช่นเครื่องทำความร้อนที่พวงมาลัยและเก้าอี้ (ปรับอุณหภูมิได้สองระดับทุกที่นั่ง) สร้างความอบอุ่นได้ทันทีโดยใช้พลังงานน้อยลง พร้อมระบบปรับอากาศที่ทำงานอัตโนมัติแยกกันฝั่งซ้ายและขวาพร้อมเปลี่ยนเป็นโหมดอีโค และเทคโนโลยีกรองอากาศ “นาโน” สร้างกลิ่นหอมสดชื่นให้แก่ห้องโดยสาร สีห้องโดยสารภายในมีให้เลือกสามสี รวมถึง สีขาวโทนอบอุ่น (Warm White)
การจัดเรียงแบตเตอรี่ช่วยเพิ่มความจุให้กับพื้นที่กระโปรงหลังรถ
เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้าที่มีศักยภาพสูงทำงานควบคู่ระบบควบคุมจัดการแบตเตอรี่ เป็นตัวขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าและช่วยรับประกันการตอบสนองอันทรงพลังที่ทุกระดับความเร็ว ส่งผลให้แรงบิดเพิ่มสูงขึ้นทันทีที่เหยียบคันเร่งครั้งแรก และเร่งเครื่องต่อได้อย่างทรงพลังและลื่นไหล การควบคุมรถที่เสถียรและความสบายในการขับขี่ได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยชิ้นส่วนสำคัญ อาทิ เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า และถังไฮโดรเจนความดันสูง ซึ่งติดตั้งตรงกลางใต้ถังรถเพื่อให้เกิดแรงโน้มถ่วงต่ำ และช่วยกระจายน้ำหนักไปยังด้านหน้าและด้านหลังของรถได้ดีกว่า รวมไปถึงการใช้ตัวถังรถที่แข็ง ทำให้มีระบบกันสะเทือนด้านหลังที่แน่น พร้อมทั้ง การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นอีกหลายอย่าง การปิดใต้ถังรถและการออกแบบไฟให้มีลักษณะตามหลักอากาศพลศาสตร์ช่วยลดการต้านลมและทำให้ใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพและควบคุมรถได้นิ่งขึ้น ครีบเรียงอากาศที่ติดตั้งข้างไฟกันชนยังช่วยเพิ่มความเสถียรในการขับขี่ทางตรงได้ด้วยเช่นกัน
ตัวรถขับเคลื่อนไร้เสียงรบกวน เพราะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวเร่งความเร็วและลดเสียงรบกวนจากลม อะไหล่ทุกชิ้นถูกปิดผนึก และติดตั้งวัสดุเก็บเสียงและป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกรอบห้องโดยสาร รวมทั้งกระจกรถและหน้าต่างยังใช้กระจกที่ลดเสียงอีกด้วยโหมดเสริมการเบรก ทำให้การเบรกแบบจ่ายพลังงานคืนมีประสิทธิภาพขึ้น และสมรรถนะการเบรกดียิ่งขึ้น เมื่อควบคุมรถในสภาวการณ์ที่ต้องลดความเร็วลงอย่างรวดเร็ว เช่น การขับลงเขา หรือที่ลาดชัน
ระบบพลังงานเสริมภายนอกความจุมาก
โตโยต้า มิไร มาพร้อมกับอุปกรณ์จ่ายไฟที่มีกำลังถึง 60 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง 14 และในกรณีที่เกิดภาวะขาดแคลนพลังงาน เช่น หลังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุปกรณ์จ่ายไฟจะให้พลังงานสูงสุดที่ 9 กิโลวัตต์ 15 และเมื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า (จำหน่ายแยก) เครื่องจะแปลงกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสตรง จากเต้าเสียบมาตรฐานสำหรับรถขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ท้ายรถ ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ และมีระบบ vehicle-to-home (V2H)16 หรือระบบ vehicle-to-load (V2L) โดยผู้ใช้งานสามารถต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยตรงจากเต้าเสียบเสริมภายในรถ (ไฟฟ้ากระแสสลับ100 โวลต์, 1,500 วัตต์)
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebookhttps://www.facebook.com/chang.arcom
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ