ส.ว.ตรึงใจ จี้ให้สอบสวนพระธุดงค์ อ้าง "คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน-สำนักนายกรัฐมนตรี" สนับสนุนโครงการ


นพรัตน์ออกเสียงช่วยธรรมกาย !

"ทำถูกต้องตามพระธรรมวินัยทุกประการ"
สาวกธรรมกายได้ฟังแล้วชื่นใจ
สาธุ สาธุ สาธุ !

ว่าแต่ "กรรมการมหาเถรสมาคม" ไม่ออกเสียงบ้างหรือฮะ ว่าถูกต้องหรือไม่ ? ในเมืองเลขาฯก็ออกหน้ามาแล้ว ออกมาให้หมดสิฮะ จะได้รู้ว่าทุกท่านบริหารกิจการพระศาสนากันยังไง ประชาชนคนไทยเขาจะได้เดินถูกทาง ถ้าว่าถูกต้อง อย่าว่าแต่ "ปิดถนนในกรุงเทพฯ" เลย จะปิด "ประเทศ" แห่หลวงพ่อสด พวกเราก็ยินดี นะ นิมนต์ออก "มติมหาเถรสมาคม" สนับสนุนธรรมกายหน่อย





นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เป็น "เลขาธิการมหาเถรสมาคม" โดยตำแหน่ง
แสดงว่าพูดแทนมหาเถร





แหมแม่นยังกะตาเห็นเช่นนี้
เห็นทีต้องเชิญไปออกรายการแฟนพันธุ์แท้แล้วล่ะฮะ




"ถู ถู ถู ถูกต้อง คร๊าบ.."


นพรัตน์ออกเสียงช่วยธรรมกาย
“ทำตรงตามแนวทางของพระพุทธเจ้าทุกประการ”
ส่วนเรื่องการโปรยดอกไม้นั้นก็เป็นการกระจายรายได้ให้แม่ค้า

นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า การเดินธุดงค์ของพระวัดธรรมกาย ไม่ได้ผิดหลักพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด หากการเดินธุดงค์เดินด้วยอาการสำรวม เดินอย่างมีสติ และได้มีการเผยแพร่หลักธรรม อย่างไรก็ตาม ตนเคยสอบถามกรณีการโรยดอกไม้ ซึ่งได้การชี้แจงว่า เป็นการยกย่องพระว่าเป็นผู้สูงส่ง ขณะเดียวกันการโรยดอกไม้ ยังช่วยกระจายรายได้ให้ชาวบ้าน



ข่าว : คมชัดลึก
4 เมษายน 2555



หมายเหตุ อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ
คำถามถึง สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
เรื่อง โครงการเดินธุดงค์นำรูปหล่อหลวงพ่อสดทองคำไปวัดปากน้ำ






ตามที่ทางวัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้จัดกิจกรรมพิเศษ ตั้งชื่อว่า "ธุดงค์ธรรมชัยอัญเชิญหลวงปู่ทองคำ" เป็นการเดินธุดงค์เพื่อนำเอารูปหล่อหลวงพ่อสด จนฺทสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ จากวัดพระธรรมกายไปตั้งไว้ในพระเจดีย์ที่วัดปากน้ำ กำหนดการระหว่างวันที่ 2-6 เมษายน พ.ศ.2555 นั้น

เมื่อนำเอาหลักฐานตามพระไตรปิฎกมาเปรียบเทียบกับโครงการธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายในครั้งนี้ เห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้

1. ธุดงควัตรที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาในพระพุทธศาสนาทรงบัญญัติไว้จำนวน 13 ข้อ ได้แก่

1. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลจีวรเป็นวัตร
2. เตจีวริกังคธุดงค์ นุ่งห่มผ้าเพียง 3 ผืน (ผ้าไตรจีวร) เป็นวัตร
3. ปิณฑปาฏิกังคธุดงค์ ออกบิณฑบาตเลี้ยงชีพเป็นวัตร
4. สปทานจาริกังคธุดงค์ บิณฑบาตตามตรอกซอกซอยเป็นวัด (ไม่รับบิณฑบาตในที่แห่งเดียวเป็นประจำ)
5. เอกาสนิกังคธุดงค์ นั่งฉันเพียงแห่งเดียวเป็นวัตร
6. ปัตตปาฏิกังคธุดงค์ ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร (ไม่ใช้ภาชนะอื่น)
7. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ไม่ฉันเป็นครั้งที่สองเป็นวัตร (คือฉันแล้วไม่ฉันอีก)
8. อารัญญิกังคธุดงค์ อยู่แต่ในป่าเป็นวัตร
9. รุกขมูลิกังคธุดงค์ อยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร (ไม่อยู่ในที่กำบังเช่นอาคารบ้านเรือน)
10. อัพโภกาลิกังคธุดงค์ อยู่แต่ในที่แจ้งเป็นวัตร
11. โสสานิกังคธุดงค์ อยู่ในป่าช้าเป็นวัตร
12. ยถาสันถติกังคธุดงค์ ยินดีแต่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้ ไม่จู้จี้จุกจิก
13. เนสัชชิกังคธุดงค์ ยินดีในอิริยาบท 3 คือ เดิน ยืน นั่ง แต่ไม่นอน


วัตถุประสงค์ในการบัญญัติธุดงควัตรขึ้นมา เพื่อให้พระภิกษุสามเณรสมาทานเป็นวัตรนั้น ก็เพื่อเป็นตัวช่วยในการปฏิบัติธรรมให้บรรลุผลแห่งการบรรพชาของกุลบุตร ไม่มีธุดงควัตรข้อใดเลยที่ระบุว่า "ให้ใช้ธุดงควัตรเป็นรูปแบบในการแห่รูปเคารพของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือแม้แต่แห่พระพุทธรูป"

2. ในวัสสูปนายิกขันธกะ พระวินัยปิฎก มหาวรรค บันทึกเกี่ยวกับเหตุผลของการทรงมีพระบัญญัติให้พระสงฆ์สาวกได้อยู่จำพรรษาไว้ว่า ในต้นพุทธกาลนั้น ยังไม่มีพระบัญญัติให้พระสงฆ์จำพรรษาเป็นการเฉพาะ พระสงฆ์จึงออกเดินธุดงค์ไปไม่จำกัดฤดูกาล ครั้นถึงฤดูฝน ชาวบ้านหว่านไถ พระภิกษุสงฆ์เดินไปเหยียบต้นไม้บ้าง ข้าวกล้าบ้าง สัตว์ตัวเล็กตายบ้าง จึงเกิดคำครหานินทาว่า เหตุไฉน ในเวลาหน้าฝนเช่นนี้พระสมณศากยุบุตรจึงไม่ยอมหยุด ดูแต่นักบวชในศาสนาอื่นก็ยังหยุด แม้แต่นกก็ยังสร้างรังเพื่อหลบฝน พระพุทธองค์ทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงทรงโปรดมีพระเมตตาให้พระสงฆ์ "หยุดเดินธุดงค์กลางพรรษา"หมายถึงว่าให้พักจำอยู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่งก่อน พ้นฤดูฝนแล้วจึงค่อยออกธุดงค์ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการบัญญัติให้จำพรรษา ก็คือว่า เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ทำมาหากิน

แต่สำหรับโครงการธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายในครั้งนี้ เห็นว่าผิดไปจากหลักการของพระพุทธองค์ เพราะ

1. มิได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อบำเพ็ญสมณกิจขัดเกลากิเลส หากแต่เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอารูปหล่อหลวงพ่อสดซึ่งหล่อด้วยทองคำ จากวัดพระธรรมกายไปยังวัดปากน้ำ เพียง 5 วันเท่านั้น
2. มีการจัดขบวนธุดงค์อย่างอลังการ เส้นทางที่พระธุดงค์จะเดินผ่าน จะมีการปูพรมและโปรยกลีบกุหลาบให้พระธุดงค์เดิน แถมด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อทุกชนิด
3. ขณะที่พระพุทธองค์ทรงโปรดให้ "หยุดธุดงค์กลางพรรษา" เพื่อให้ประชาชนทำมาหากิน แต่วัดพระธรรมกายกลับทำการ"ปิดถนน" ปิดทางทำมาหากินของประชาชน ถือว่าเป็นพฤติกรรมสวนทางกับพระพุทโธบายอย่างชัดเจน


มันสมองของวัดพระธรรมกายในการจัดโครงการใหญ่ๆ นั้น ทราบว่าคือ พระธรรมกิตติวงศ์ จึงขอเรียนถาม พระธรรมกิตติวงศ์ ว่า ในฐานะราชบัณฑิต ทราบถึงพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน เหตุใดจึงออกความคิดให้จัดงานนี้ขึ้นมา ?

เพราะว่า ลำพังแค่การ "ย้ายรูปหล่อหลวงพ่อสด" จากวัดพระธรรมกายไปวัดปากน้ำ ซึ่งก็มิใช่องค์ใหญ่โตมโหฬารอะไร ใช้รถบรรทุกคันเดียวใส่ หรือจะทำเป็นขบวน มีรถตำรวจนำหน้า ก็ทำได้ไม่น่าเกลียด ใครๆ เขาก็ทำกัน แต่ครั้งนี้ที่เห็นว่าผิดสังเกตเพราะ

1. ใช้รูปแบบพระธุดงค์มาเพื่อสร้างศรัทธาให้แก่พุทธศาสนิกชนผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจในความหมายของการเป็นพระธุดงค์
2. ปิดถนนตลอดเส้นทาง เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

เรื่องการนิมนต์พระสงฆ์ไปร่วมพิธีขนย้ายรูปหล่อหลวงพ่อสดนั้น จะไม่มีใครสงสัยอะไรเลย ถ้าแค่นิมนต์พระไปร่วมขบวน จะเอาซักกี่พันกี่หมื่นกี่แสนหรือเป็นล้านรูปก็ไม่เห็นแปลก (ถ้าเจ้าภาพมีกำลังนิมนต์ เช่นธรรมกายเคยจัดอยู่ภายในวัดพระธรรมกาย) จะครองผ้าคลุมไหล่หรือลดไหล่ จะเดินเช้า-สาย-บ่าย หรือเย็น มีปัญญาจัดได้ก็จัดไปสิ แต่นี่กลับจับแต่งตัวเป็นพระธุดงค์โดยไม่เอาธุดงควัตรมาปฏิบัติ มันก็เป็นได้แค่ธุดงค์กำมะลอเท่านั้น ลำพังการจราจรในกรุงเทพมหานครนั้นก็ติดขัดแทบเป็นปรกติอยู่แล้ว พระสงฆ์น่าจะช่วยลดความแออัดและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน แต่นี่กลับปิดถนนซ้ำเติมความเดือดร้อนเพิ่มเข้าไปอีก รวมทั้งต้องใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจคอยปิดถนน-ดูแลพระธุดงค์นับพันๆ รูปในแต่ละวัน มันมิใช่โครงการบุญที่ได้มาจากความทุกข์ยากของประชาชนดอกหรือ

เมื่ออาทิตย์ก่อน อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม ได้ตั้งข้อสังเกตว่าด้วยการ "ปิดถนนตักบาตรพระ 1 ล้านรูป เพื่อนำเอาข้าวสารอาหารแห้งไปเลี้ยงพระในสี่จังหวัดชายแดนใต้" ว่ามีความจำเป็นอะไร ทำไมต้องปิดถนนระดมพระถึง 1 ล้านรูปไปเลี้ยงพระแค่ไม่กี่ร้อยรูป และการนำเอาข้าวสารอาหารแห้งนับพันๆ ตัน ใส่รถบรรทุกจากกรุงเทพฯลงไปถึงใต้สุดนั้น จุดคุ้มค่ามันอยู่ตรงไหน ที่สำคัญก็คือ มหาเถรสมาคมไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการตักบาตรนี้แต่อย่างใด กลับมีชื่อสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และวัดพระธรรมกาย เป็นภาคีในการจัดร่วมกัน หนำซ้ำยังนิมนต์ "พระธรรมกิตติวงศ์" ซึ่งเคยถูกปลดจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์อีกด้วย

วันนี้ มีคำถามกราบเรียนถึง "เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ กรณี "ปิดถนนเดินธุดงค์" ของวัดพระธรรมกายในครั้งนี้ว่า เหตุใดจึงเห็นชอบในการจัดงานอย่างหรูหรา ในขณะที่ประเทศชาติยังเป็นหนี้เป็นสิน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แต่ภาพของการจัดงานที่วัดพระธรรมกายและวัดปากน้ำจัดในครั้งนี้ผิดไปจากที่กล่าวโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นด้านพระธรรมวินัยและนโยบายของคณะสงฆ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง รวมทั้งพระบรมราโชบายเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทางมหาเถรสมาคมประกาศให้พระสงฆ์ทั่วประเทศยึดถือเป็นแนวปฏิบัติอีกด้วย

ในฐานะที่ "เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" มีตำแหน่งเป็นถึงเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เห็นว่าจำเป็นต้องชี้แจงให้แก่พระสงฆ์สามเณรทั่วสังฆมณฑล และพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไทยได้รับทราบ ถึงเหตุผลของการจัดงานดังกล่าว

เพราะวัดพระธรรมกายอ้างว่า จัดโครงการขึ้นมา เพื่อนำเอารูปหล่อทองคำหลวงพ่อสดไปวัดปากน้ำ จะอ้างว่าไม่ทราบก็คงไม่ได้แล้ว



ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง



อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม
วัดไทย ลาสเวกัส







สปี๊กเกอร์ธรรมกายมาแล้ว !
แจงสี่เบี้ยกรณี ส.ว.ตรึงใจ จี้ให้สอบสวนพระธุดงค์
อ้าง "คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน-สำนักนายกรัฐมนตรี" สนับสนุนโครงการ
ยกก้น "เทียมเท่า" พระพุทธเจ้าเข้าไพศาลี





ชี้แจงกรณีการให้สัมภาษณ์ของนางตรึงใจ บูรณสมภพ

ชี้แจงกรณีการให้สัมภาษณ์ของนางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา  ที่ปรากฏในเว็บไซท์ Manager.co.th และ Nation Channelดังนี้

1. โครงการธุดงค์ธรรมชัย อัญเชิญรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) จัดขึ้นในโอกาสฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้พุทธบริษัท ปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา และ ศีล สมาธิ (Meditation)ปัญญา ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

2. โครงการธุดงค์ธรรมชัย เป็นโครงการต่อเนื่องจาก โครงการตักบาตรพระ 120,400 รูป ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ครบ 1ล้านรูป ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นเดือนแห่งมาฆบูชา ที่ผ่านมา และเดือนเมษายนนี้ ซึ่งเป็นเดือนแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี คือ วันที่ เมษายน จึงได้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบูรพมหากษัตริยาธิราชและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ระหว่างวันที่ 2-6 เมษายน พ.ศ. 2555

3. การเดินธุดงค์ครั้งนี้ใช้ เส้นทางอัญเชิญรูปหล่อทองคำ ไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับที่ได้จัดตักบาตรพระ 120,400 รูป ฉลองพุทธชยันตีไปแล้ว เป็นการปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา” ซึ่งกิจกรรมบุญกุศลเช่นนี้ สามารถจัดได้ทุกที่เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ทั้งกรุงเทพมหานครและประเทศไทย

 
4. การถือธุดงควัตร ... ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส พระสัมมาสัมพทุธเจ้าทรงอนุญาตไว้ 13 ข้อ ภิกษุจะถือปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งก็ได้เพื่อฝึกปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ตนเอง ในครั้งนี้ทางโครงการฯได้กำหนดให้พระธุดงค์ ถือธุดงค์ ข้อ ได้แก่ ข้อที่ คือ ฉันมื้อเดียว และข้อที่ 12 คือ อยู่ในที่พักที่เขาจัดให้โดยไม่เลือก  ซึ่งทั้ง ข้อนี้ปฏิบัติได้ทุกที่ ทั้งในเมือง ในบ้าน ในป่า ในวัด แต่ครั้งนี้ปฏิบัติในเส้นทางอัญเชิญฯดังได้กล่าวมาแล้ว


5. ในการเดินธุดงค์ พระธุดงค์ธรรมชัย ซึ่งเป็นพระนัก
ปฏิบัติธรรมที่มาจากทั่วประเทศ ขณะเดินพระธุดงค์ได้ทำสมาธิ สำรวม กาย วาจา ใจ ไปตลอดเส้นทางการเดิน และอธิษฐานจิตให้กรุงเทพฯ และประเทศไทยมีแต่ความสงบร่มเย็น นำความสิริมงคลแก่ประเทศ
 
6. การเดินธุดงค์ครั้งนี้ เดินตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะในสมัยพุทธกาล เกิดภัยพิบัติที่เมืองเวสาลี ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองจึงอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก 500 รูป เสด็จมายังเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยระหว่างส่งเสด็จและรับเสด็จ ชาวเมืองได้โปรยดอกไม้หลากสี ตั้งฉัตร ธงทิว รับ-ส่งเสด็จ หลายสิบกิโลเมตร เพื่อถวายการต้อนรับ  ในครั้งนี้ประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นประสบมหาอุทกภัย และปีนี้เรากำลังประสบอัคคีภัยในหลายครั้งหลายหน ทั้งไฟไหม้ พลุระเบิด แก๊สระเบิด ฯลฯ พระธุดงค์ท่านเดินทำสมาธิไปเพื่อให้กรุงเทพฯและประเทศไทยสงบสุข และชวนชาวไทยมาโปรยกลีบกุหลาบและดอกไม้หลากสีถวายการต้อนรับพระ ฝึกความเคารพในพระรัตนตรัยและให้มีส่วนแห่งบุญกับพระธุดงค์ฯ เช่นเดียวกับสมัยพุทธกาล ซึ่งทุกวันมีชาวบ้านออกมาต้อนรับพระธุดงค์ฯเป็นจำนวนมาก

7. ด้านการจราจร ทางโครงการฯ ขออภัยในความไม่สะดวก ที่อาจมีบางเส้นทางการจราจรติดขัด หรือชะลอตัวเป็นบางช่วง ทั้งนี้ ทางโครงการฯ ได้ประสานงานไปยัง กองกำกับการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประสานงานในเรื่องเส้นทางจราจรแล้ว รวมทั้งได้จัดแถลงข่าว เพื่อให้ท่านสื่อมวลชนได้ช่วยประชาสัมพันธ์ ครั้ง คือ วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555โดยคณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องประชุมรัฐสภา และในวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2555 โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก กรุงเทพมหานคร และภาคประชาชน ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ช่วยประชาสัมพันธ์การจัดงานและแนะนำการใช้เส้นทางเลี่ยงในวันที่ 2-6 เมษายน ดังกล่าวแล้ว

8. โครงการธุดงค์ธรรมชัย ได้รับการสนับสนุนจาก คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน, สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครสำนักงานตำรวจแห่งชาติสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกสหพันธ์ร่วมใจไทยทั้งชาติชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย และกว่า 40 องค์กรภาคี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบุชา ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ธรรมฟื้นฟูศีลธรรมฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดินฟื้นฟูวัฒนธรรมอันดีงามให้สมกับที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และส่งเสริมสถาบันครอบครัว ให้พ่อแม่ลูกได้มาร่วมทำบุญให้ร่วมกัน และสร้างความสามัคคีของชาวไทย ในการทำกิจกรรมงานบุญร่วมกัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : คุณเบญจมาศ 081-4503412, คุณอนุธิดา 080-5571588

พระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการธุดงค์ธรรมชัยฯ

เมษายน 2555

ข่าว : DMC
3 เมษายน 2555



จะจะ !
กับการ "สร้างภาพ" ของธรรมกาย




ศรัทธามหาชนล้นหลาม ตามเส้นทางธุดงค์ธรรมชัย



มีศรัทธา "มาเอง" ไม่มีอามิสสินจ้างแต่อย่างใด
(แต่โฆษณา เอ๊ย บอกบุญนิดหน่อย ทางสื่อทุกช่อง เท่านั้น)



มิได้มามือเปล่า แต่นำเอาดอกกุหลาบมาด้วย มาโปรยถวาย



อ้าว ! แล้วพวกนี้เป็นใคร เอาอะไรมาโรยผักชีน่ะ

อ๋อ รับเหมาฮ่ะ รับเหมา เรารับไม่อั้น


ข่าว : พันทิป โต๊ะศาสนา
3 เมษายน 2555

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง