พระราชอำนาจ


พระราชอำนาจ

โดย ประวัติศาสตร์ เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 12:12 น. ·

หลักก็คือ แบ่งการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์อัครศาสนูปถัมภกทรงสถาปนาพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งถือเป็นนิติราชประเพณีที่ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงสถาปนาพระสังฆราชมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ก่อน และผ่านสภาผู้แทนราษฎรโดยราบรื่น พระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ยังเป็นของพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี (ต่างจากกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ให้แต่งตั้งจากพระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดเท่านั้น)

สิ่งที่ทุกฝ่ายพึงตระหนักก็คือ อำนาจในการสถาปนาพระสังฆราชเป็นของพระมหากษัตริย์ กำหนดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำก็เป็นเพียงรูปแบบพิธีการเท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญถวายพระราชอำนาจให้เป็น อัครศาสนูปถัมภก ก็ควรจะยึดเอานิติราชประเพณีมาเป็นหลักปฏิบัติ รัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงออกพระราชกำหนดและเปลี่ยนหลักปฏิบัติการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชผิดไปจากเดิม จะทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่คณะสงฆ์จนเกิดสังฆาเภทู
สถาบันพระมหากษัตริย์ได้จารึกติดตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทยมานาน ที่ได้ทรงปกครองดูแลราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ไม่ว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดล้วนมั่นคงอยู่ในพระราชหฤทัยเสมอมาว่า     "จะทรงพระเมตตากรุณาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เหมือนบิดามารดารักบุตรในอุทรทั้งพระราชอาณาเขต…ทรงพระราชดำริสอดส่องไปในราชการแผ่นดิน การสิ่งไรเป็นธรรมเนียมที่ถืออยู่ ต้องคงไว้ การสิ่งไรที่จะต้องไปดัดแปลง ก็จะต้องจัดการแก้ไขใหม่ให้ดีขึ้น การสิ่งไรเป็นที่ร้อนอกสมณพราหมณาจารย์ ข้าราชการ และอาณาประชาราษฎร์ ก็ต้องย่อมให้ความเย็นใจและความสุขขึ้น…"     ด้วยพระมหากษัตริย์ของไทยจะต้องดำรงพระราชจริยาวัตรอันงดงามดั่งนี้ จึงทำให้พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็น ธ ผู้สถิตย์ในดวงใจของคนไทยทั่วหล้า ทรงดำรง พระราชอิสริยยศอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญมาแล้วกว่า 70 ปี แต่ก็ทรงมีพระราชสถานะที่คนไทยยังยกย่องเทิดทูนมาตลอด พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สำคัญมี 5 พระราชสถานะ คือ ทรงเป็นพระประมุข ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ทรงถูกละเมิดมิได้ ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นจอมทัพไทย  พระประมุขแห่งรัฐ   รัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 16 ฉบับ บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการเมืองการปกครองที่ยั่งยืน แต่พระราชภารกิจอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้แทนของนิตยสาร National Geographic ตอนหนึ่งว่า     "…เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนปิรามิด มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอดและมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะตรงกันข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอ…"     พระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของรัฐและของชาติ มิได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยมาแต่ดั้งเดิม 

ความเชื่อที่สำคัญของคนไทยก็คือ เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงประกอบไปด้วย พระปุพเพกตปุญญตา คือ ทรงทำความดีมาอย่างวิเศษกว่าคนอื่น ๆในชาติปางก่อน จึงทรงประสูติมาอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าคนอื่น ๆ เมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ก็มีพระราชปณิธานที่จะประกอบคุณงามความดีด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรและทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ของคนไทยจึงทรงเป็นพระธรรมราชาหรือพระธรรมิกราชาในสายตาของคนไทย

ความผูกพันของพระมหากษัตริย์ไทยกับประชาชนมิได้ผูกพันในฐานะผู้ ปกครองกับผู้ใต้ปกครองอย่างทฤษฎีทางการเมืองของตะวันตก แต่เป็นการผูกพันจากหัวจิตหัวใจที่พระมหากษัตริย์ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ด้วยความรัก ความเมตตา มิได้เป็นไปโดยข้อสัญญาที่มาจากการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นไปตามธรรมนิติที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดถือปฏิบัติมาตลอดว่า     "ผู้ปกครองบ้านเมืองพึงเอาใจใส่ดูแลประชาชน ทำนองเดียวกับ แม่เต่า แม่ปลา แม่ไก่ และ แม่โค เลี้ยงดูลูกของมันฉันนั้น"     พระราชสถานะแห่งความเป็นประมุขของชาติและของคนไทยนอกจากเกิดจากความเชื่อและความผูกพันแล้ว ยังเกิดจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ใน 2 กรณี 
กรณีที่หนึ่ง ราชบัลลังก์ว่างลงโดยที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระ รัชทายาทไว้แล้วตามกฎมณเฑียรบาล ก็ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อเรียกประชุมเพื่อรับทราบแล้วอัญเชิญองค์พระรัชทายาทดังกล่าวขึ้นครองราชย์และประกาศให้ราษฎรทราบ

กรณีที่สอง ราชบัลลังก์ว่างลงแต่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระ รัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาล ประธานองคมนตรีต้องเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ (เสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้) ตามกฎมณเฑียรบาลต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อ รัฐสภาให้ความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นครองราชย์

ในฐานะที่เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ต้องทรงดำรงพระราชสถานะเป็น ผู้นำหรือประมุขของประเทศไทยในเวทีโลก ในสังคมนานารัฐ ทรงเป็นตัวแทนคนไทยในการเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นทูตสันถวไมตรีไปยังประเทศต่าง ๆ ที่มิตรประเทศให้ความเชื่อถือยิ่งกว่าบุคคลใด ๆ ที่เป็นผู้แทนรัฐบาล ได้ทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศที่เสด็จไปเยือนทำให้นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลดำเนินไปสะดวกราบรื่นขึ้น นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้รับสาส์นตราตั้งเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ที่เข้ามาประจำอยู่ในประเทศไทย ทรงมอบสาส์นตราตั้งให้แก่เอกอัครราชทูตของไทยที่ไปประจำประเทศต่าง ๆ ทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยในการแสดงความรู้สึกดีใจ - เสียใจ หรือยินดีต่อประเทศหรือผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่ประสบชะตากรรมทั้งดี - ร้าย

เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นประมุขของประเทศ จะต้องวางพระองค์ไว้ให้เป็นกลางทางการเมือง ดังคำพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าววิทยุ โทรทัศน์ บี.บี.ซี. ว่า  
"เราพยายามวางตัวให้เป็นกลางและร่วมมือโดยสันติวิธีกับทุกฝ่าย เพราะเชื่อว่าความเป็นกลางนี้ จำเป็นสำหรับเรา ประชาชนบางคนอาจสังกัดกลุ่ม การเมือง หรือมีผลประโยชน์ที่ต้องคอยพิทักษ์ป้องกัน แต่คนจำนวนมากไม่มีโอกาสเช่นนั้น เขาไม่สามารถแสดงความประสงค์ของเขาให้ปรากฏชัดเจนได้ เราจึงต้องคำนึงถึงคนเหล่านี้ให้มาก"
    ความเป็นกลางทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ทำให้ประชาชนและ นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ทุก ๆ ฝ่าย ต่างเชื่อมั่นเชื่อถือในพระองค์ที่จะทรงใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานคำแนะนำ ให้คำปรึกษาจนเป็นหลักชัยของบ้านเมือง และเกิดพันธสัญญาของประชาคมขึ้นว่า "ทุกฝ่ายจะรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

ในฐานะพระประมุขของชาติ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายตามกฎหมายและตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นไปตามหลักพระธรรมศาสตร์ ราชศาสตร์ ทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุและจักรวรรดิวัตร และโดยมรดกทางวัฒนธรรมที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์มาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในปัจจุบันจึงมีคณะองคมนตรีที่ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี ทำหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มิได้ทรงตั้งพระรัชทายาทไว้ ฯลฯ   เป็นที่เคารพสักการะ
   คนไทยมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และได้ถวายพระราชสถานะให้ทรงเป็นที่เคารพสักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม มาแต่อดีตกาลนานนับ 1,000 ปี ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งคือ
  1. ถวายความเคารพสักการะเพราะความจงรักภักดีที่สืบต่อกันมาในสายเลือดแห่งความเป็นคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย 2. มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจ 3. เคารพสักการะทั้งโดยสายเลือดและเลื่อมใสศรัทธาในพระราชปณิธาน พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณต่าง ๆ ประกอบรวมเข้าด้วยกัน
ปัจจุบันคนไทยได้ถวายเคารพสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ปัจจุบันด้วยเหตุผลตามข้อ 3 ที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์อย่างอเนกคุณูปการต่อคนไทยดังกระแสพระราชดำรัสในการพระราชทานสัมภาษณ์วิทยุ บี.บี.ซี. ที่ว่า
    "…กรณีของข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่าเป็นพระมหากษัตริย์ แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้วดูจะห่างไกล หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือ เข้าใจกันมาแต่ก่อน หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือ ทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์

…เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปภายภาคหน้าแต่ไม่ว่าอย่างไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์…"  
ด้วยพระราชสถานะที่ทรงเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทั้งชาติจึงทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของคนไทย ทรงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเป็นศูนย์รวมของความภาคภูมิใจและความมั่นใจในประเทศชาติ และที่สำคัญที่สุดคือเป็น ศูนย์รวมแห่งความสามัคคี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเรื่องความสามัคคีของคนไทยว่า     "ด้วยเหตุว่าคนในเมืองไทยเคยรวบรวมกันเป็นความคิดอันหนึ่งอันเดียว คือ เอากระแสพระราชดำริพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมาณ เมื่อกระแสพระราชดำริเป็นไปอย่างไร คนทั้งปวงเห็นตามโดยจริง เป็นตกลงไปได้โดยง่าย เป็นธรรมยั่งยืนเคยฝึกมาหลายชั่วคนแล้ว…อาศัยพระเมตตากรุณาต่อประชาราษฎรอันแรงกล้า เป็นที่นิยมยินดีชอบใจของราษฎรทั้งหลายทั้งปวง จึงได้เป็นที่เชื่อใจวางใจของคนทั้งปวง เคยออมชอมยอมตามมาไม่มีผู้ใดจะคิดฝ่าฝืน ไม่เหมือนในประเทศยุโรปซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินประพฤติต่างๆ รุนแรงไปตามอัธยาศัย มีบังคับเรื่องศาสนาเป็นต้น จนคนทั้งปวงมีความเบื่อหน่าย คิดอ่านต่อสู้ลดหย่อนอำนาจพระเจ้า  
สำหรับรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะจากปวงชนชาวไทยอย่างล้นพ้น มิอาจประมาณได้ เพราะไม่ทรงละทิ้งประชาชน ทรงมีพระราชปณิธานที่จะประทับร่วมโชคชะตากับคนไทยตลอดไป ไม่ว่าจะมีภัยอันตรายใด ๆ ทรงแน่วแน่ในพระราชหฤทัยว่า พระองค์ทรงรักและห่วงใยต่อคนไทยเหนือสิ่งอื่นใด พร้อมที่จะเสียสละความสุขและความปลอดภัยส่วนพระองค์ให้แก่คนไทยได้ ไม่ว่าคนไทยเหล่านั้นจะอยู่ใกล้หรือไกล คนที่สามารถเข้าเฝ้าใกล้ชิดมากที่สุดคือ ราษฎร

เมื่อยังทรงมีพระราชพลานามัยแข็งแรง พระองค์ทรงโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทุกที่ไม่ว่าจะมีอันตรายเพียงใด เพื่อจะได้ทรงทราบทุกข์สุขแล้วพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเต็มพระปรีชาญาณ พระราชสถานะของพระองค์ในวันนี้จึงผูกพันกับคนไทย เกินกว่า "เป็นที่เคารพสักการะ" มาเป็นที่ "เคารพ เทิดทูน บูชา"   มิถูกละเมิด
 รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ จะบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดจะละเมิดพระมหากษัตริย์มิได้ หรือแม้แต่จะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ ก็มิได้ การที่พระมหากษัตริย์จะทรงถูกละเมิดมิได้มี 2 นัย คือ การละเมิดต่อพระ วรกาย เช่น การแตะต้องพระวรกาย การจับกุมองค์พระมหากษัตริย์ การประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ หรือการดูหมิ่นดูแคลนองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจา จากบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานใด ๆ และนัยที่ 2 ด้วยพระราชสถานะที่ทรงอยู่เหนือการเมือง ไม่ทรงกระทำการใดทางการเมืองด้วยพระองค์เอง แม้แต่การใช้อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจทางการเมืองที่สูงที่สุดที่ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล จะเกิดความผิดพลาดใด ๆ ขึ้น ก็มิได้ถือว่าทรงกระทำผิด ผู้รับ ผิดชอบคือ บุคคลที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระมหากษัตริย์จึงมิอาจถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องในกรณีใด ๆ ได้ และเป็นไปตามหลักที่ยึดมาแต่โบราณว่า พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ (The King Can Do No Wrong) เรื่องที่ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการ อันเกี่ยวกับนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ อันเป็นราชการแผ่นดิน
 ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ละเรื่องแต่ละกรณีเป็นไปตามที่ รัฐธรรมนูญกำหนด ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และประธานองคมนตรี ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการลงนามรับสนองฯ นั้นโดยตรง.   พุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก
  รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ใช้ในประเทศไทยระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก สอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมของคนไทยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย พระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลต่างทรงมุ่งมั่นต่อความมั่นคงดำรงสถิตขึ้นของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย จนชาวตะวันตกยอมรับว่าประเทศไทยเป็น "ดินแดนแห่งกาสาวพัสตร์" (Land of the Yellow Robes) ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทยดังนี้
  พ.ศ. 234 อาณาจักรสุวรรณภูมิ (นครปฐม) ได้รับพระสงฆ์จากอินเดียมาประกาศพระพุทธศาสนา พ.ศ. 612 ขุนหลวงเม้าแห่งอาณาจักรไทยอ้ายลาวประกาศตนนับถือพระพุทธศาสนา ในพุทธศตวรรษที่ 12 พระนางจามเทวีครองเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ทรงนำพระพุทธศาสนาขึ้นไปประดิษฐานด้วย พุทธศตวรรษที่ 15 พระเจ้าเม็งรายมหาราชสถาปนา นวบุรีศรีนครพิงค์ขึ้นเป็นราชธานี ได้สถาปนาวัดเชียงมั่นขึ้นิ สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด สมัยอยุธยาเป็นราชธานี 417 ปี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง สมัยธนบุรี - กรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสลาผนวชต่อพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและข้าราชการ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2499
    "โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ทั้งตามความศรัทธาความเชื่อของข้าพเจ้า ก็เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจจธรรม คำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่า ถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่ง ตามราชประเพณี ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณ พระราชบุรพการีตามคตินิยมด้วย"  
ในประเด็นที่เกี่ยวกับทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกนั้น หมายความว่า ทรงให้ความช่วยเหลืออุปถัมภ์แก่ศาสนาทุกศาสนา เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงพระราชทานที่ดินให้เป็นที่ตั้งของคริสตศาสนา สมัยอยุธยาต่อมาก็พระราชทานที่ดินให้ตั้งมัสยิดอิสลาม ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีเพื่อเป็นผู้นำศาสนา อิสลามในประเทศไทย ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ในการพิมพ์พระมหาคัมภีร์อัล - กุรอ่าน ฉบับภาษาไทย พระราชทานเงินอุดหนุนและซ่อมแซมมัสยิดหลายแห่ง เสด็จพระราชดำเนินไปงานเมาลิดกลาง สมัยปัจจุบันก็ทรงไห้ความอุปถัมภ์ค้ำชูกับศาสนาอื่น ๆ ตามกาลเทศะที่สมควร แต่กับพระพุทธศาสนาที่ถือเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ทรงอุปถัมภ์ค้ำจุนมากเป็นพิเศษ

พระมหากษัตริย์ทรงเข้าไปช่วยดูแลการปกครองของคณะสงฆ์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่มีคณะสงฆ์ไทยอยู่ 2 คณะ คือ คณะคามวาสีและคณะอรัญวาสี แยกการปกครองเป็นอิสระจากกัน ต่างฝ่ายต่างก็มีพระสังฆราชของตนเอง พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งพระสังฆราชทั้ง 2 ฝ่าย และยังได้ทรงแต่งตั้งพระสังฆราชประจำหัวเมืองต่าง ๆ การแต่งตั้งสมณศักดิ์แก่พระภิกษุสงฆ์ถือเป็นการอุปถัมภ์ให้พระสังฆราชแต่ละฝ่ายไปปกครองพระครู เจ้าอาวาส พระภิกษุ - สามเณร ให้ตรงตามพระธรรม พระวินัย มิใช่ฆราวาสไปปกครองพระ
 เหตุผลก็คือ สมันนั้นพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้ามหาชีวิต และต่อมาก็ทรงถวายสมณศักดิ์ ซึ่งมีหลายชั้นให้พระสงฆ์โดยมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด นับเป็นราชประเพณีถือปฏิบัติมาแต่สมัยพระเจ้าลิไทแห่งกรุงสุโขทัย อันเป็นการเอาแบบอย่างมาจากประเทศลังกา ในระยะต้นก็มีพระสมณศักดิ์เพียง 2 ระดับ เท่านั้น คือ พระสังฆราช และ พระครู
 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตรากฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์ขึ้นถึง 10 ฉบับ เช่น ฉบับที่ 6 ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2326 มีข้อความว่า     "ห้ามมิให้ภิกษุสามเณรสงเคราะห์ฆราวาส ให้ผลไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เป็นต้น อย่าให้ผสมผสานขอกล่าวป่าวร้องเรี่ยไรสิ่งของอันเป็นของฆราวาสอันมิใช่ญาติ และห้ามอย่าให้เป็นทูตใช้สอยข่าวสาส์นการฆราวาส และห้ามบรรดาการทั้งปวงอันผิดจากพระปาฏิโมกข์สังวรวินัย"  
กฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ที่เป็นหมวดหมู่ชัดเจน เกิดขึ้นในสมัย ร.ศ. 121 หรือ พ.ศ. 2445 เรียกว่า พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ใช้ต่อกันมาถึงรัชกาลที่ 8 จึงมีการปรับปรุงใหม่
 หลักก็คือ แบ่งการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์อัครศาสนูปถัมภกทรงสถาปนาพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งถือเป็นนิติราชประเพณีที่ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงสถาปนาพระสังฆราชมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
 ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ก่อน และผ่านสภาผู้แทนราษฎรโดยราบรื่น พระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ยังเป็นของพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี (ต่างจากกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ให้แต่งตั้งจากพระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดเท่านั้น)

สิ่งที่ทุกฝ่ายพึงตระหนักก็คือ อำนาจในการสถาปนาพระสังฆราชเป็นของพระมหากษัตริย์ กำหนดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำก็เป็นเพียงรูปแบบพิธีการเท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญถวายพระราชอำนาจให้เป็น อัครศาสนูปถัมภก ก็ควรจะยึดเอานิติราชประเพณีมาเป็นหลักปฏิบัติ รัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงออกพระราชกำหนดและเปลี่ยนหลักปฏิบัติการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชผิดไปจากเดิม จะทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่คณะสงฆ์จนเกิดสังฆาเภทู

ปรัชญาของการถวายพระสมณศักดิ์ที่ทรงปฏิบัติกันมา มาจากคติที่พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา แต่พระองค์มิสามารถเข้ามาดูแลภิกษุ สามเณร และพุทธบริษัทได้ทั่วถึงตลอดทั่วพระราชอาณาเขตด้วยพระองค์เองได้ จึงต้องพึ่งพระสงฆ์ผู้ทรงศีลที่บริสุทธิ์เข้ามาช่วยธำรงรักษาไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติบูชา การศึกษาเผยแพร่คำสอนที่ถูกต้อง พระมหากษัตริย์จึงทรงอุปถัมภ์พระสงฆ์ด้วยการถวายค่านิตยภัตต์และสมณศักดิ์ซึ่งมิได้เป็นไปเพื่อลาภยศสักการะ ยิ่งสมณศักดิ์สูงเท่าใดก็เท่ากับพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ให้พระสงฆ์องค์นั้นทำงานถวายพระพุทธศาสนามากเท่านั้น สมณศักดิ์สงฆ์มิได้มีไว้เพื่อแสดงยศถาบรรดาศักดิ์เหมือนข้าราชการแต่อย่างใด (ยศช้าง ขุนนางพระ คือคำเปรียบเปรยที่ว่า จะพระราชทานยศศักดิ์แก่ช้างก็ดี พระก็ดี ผู้รับย่อมต้องไม่เป็นที่ยินดียินร้าย ไม่หลงติดกับยศตำแหน่ง ช้างก็คงเป็นช้าง และพระก็คงเป็นพระตามพระธรรมพระวินัยอยู่นั่นเอง)   จอมทัพไทย
  พระมหากษัตริย์มีความหมายว่า นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ในฐานะที่ชาติไทยของเราได้ดำรงประเทศมาด้วยการสู้รบ ทำสงครามรักษาประเทศ ป้องกันประเทศและกอบกู้ อิสรภาพมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ชาติไทยจึงเป็นชาตินักรบที่คนไทยมีความภาคภูมิใจ
 ในการรบทุกครั้งจะมีผู้นำทัพหรือจอมทัพซึ่งก็ได้แก่ พระมหากษัตริย์ในยุคนั้นสมัยนั้น เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงทำการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง สมเด็จเจ้าพระยาทรงรบมีชัยชนะเหนือขอมที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างเด็ดขาด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้อิสรภาพในช่วงเวลาอันสั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของพม่า ความเป็นนักรบเช่นนี้เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับพระมหากษัตริย์

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 พระมหากษัตริย์ทรงสละพระราชอำนาจและได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับชั่วคราวให้ประชาชน คณะราษฎรต้องยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา นายปรีดี พนมยงค์ บันทึกไว้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งให้นายปรีดีกับพระยาพหลฯ เข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา ทรงมีพระราชกระแสว่า ที่เขียนว่า "กษัตริย์" ในร่างรัฐธรรมนูญนั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะคำนั้นหมายถึงนักรบเท่านั้น ที่ถูกจะต้องเขียนว่า "พระมหากษัตริย์" คือเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ถืออาวุธปกป้องบ้านเมืองอันเป็นราชประเพณีแต่โบราณกาล ซึ่งบุคคลทั้งสองเห็นชอบด้วยกับพระราชกระแสและกราบบังคมทูลเพิ่มเติม มิเพียงแต่จะเขียนว่า พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข เท่านั้น ยังจะถวายให้เป็น จอมทัพ ที่ทรงมีพระราชอำนาจเหนือบรรดาทหารด้วย ซึ่งก็มีรับสั่งว่าถูกต้องแล้ว เพราะพระราชาของประเทศต่าง ๆ ก็ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือทหารทั้งปวง เป็นสิ่งคู่กับพระราชอำนาจในการป้องกันประเทศ และในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพราะพระองค์มีพระราชอำนาจบังคับบัญชากำลังทหารให้ปฏิบัติการได้ด้วย และสั่งให้ทหารประพฤติในสิ่งที่ควรประพฤติ ละเว้นในสิ่งที่ควรละเว้น

พระราชสถานะที่ทรงเป็นจอมทัพไทยที่มีอำนาจดังกล่าว มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ยืนยันไว้ในมาตรา 222 คือ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก

มาตรา 223 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม เมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้น หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) แพ้มติสภาในการเสนอพระราชบัญญัติตั้งเมืองเพชรบูรณ์และพระราชบัญญัติตั้งพุทธมณฑล ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยังมีอำนาจทางทหาร เพราะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เตรียมยกกำลังทหารจากลพบุรี เพื่อมาจัดการกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คว่ำมติสภาฯ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้นได้ลงนามแทนพระมหากษัตริย์ในประกาศพระบรมราชโองการปลด จอมพล ป. ออกจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดและยุบตำแหน่งนั้น ตั้งตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและตั้งพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ เมื่อมีประกาศพระบรมราชโองการในฐานะจอมทัพไทยเช่นนี้ จอมพล ป. ก็ไม่กล้าฝ่าฝืน

พระบรมราชโองการนี้เป็นเครื่องยืนยันพระราชสถานะ "จอมทัพไทย" ที่ทรงมีพระราชอำนาจเหนือทหารทั้งปวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบันในฐานะจอมทัพไทย ทรงแสดงความห่วงใยชีวิตทหารที่ทำการสู้รบทุกคน เช่นในการสู้กับ ผกค. ปี 2518 - 2519 ทรงทราบว่า ทหารถูกยิงบาดเจ็บ ยังเอาออกจากสมรภูมิไม่ได้ ก็ทรงรับสั่งให้เอาเฮลิคอปเตอร์ขึ้นไปรับผู้บาดเจ็บ และพระองค์ได้เสด็จไปด้วยพระองค์เอง ทรงเสด็จเข้าไปดูผู้บาดเจ็บในสมรภูมิ ทรงจับแผลที่ถูกกระสุนนั้นโดยมิได้รังเกียจและยังได้เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์ไปทอดพระเนตรผู้บาดเจ็บในขณะที่มีการสู้รบกัน ได้ทรงรับสั่งให้ส่งผู้บาดเจ็บไปรักษาตัวถึงสหรัฐอเมริกา ในกรณีต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จอมทัพไทยพระองค์นี้ ทรงตอบคำถามผู้สื่อข่าว บี.บี.ซี. ว่า พระองค์พระราชทานคำแนะนำกองทัพไทยให้ต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์อย่างไร ทรงรับสั่งว่า พระองค์มิได้ทรงแนะนำให้ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ เพียงแต่ทรงแนะนำว่า ทำอย่างไรจะต่อสู้กับความยากจนของพสกนิกรของพระองค์ในกรุงและในชนบท
 ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 70 กำหนดให้     "รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ"  
สิ่งเหล่านี้ยืนยันให้เห็นทั้งโดยนิติราชประเพณีและรัฐธรรมนูญว่า กองทัพไทย เป็นกองทัพแห่งพระมหากษัตริย์ ไม่สมควรที่นักการเมืองจะเข้าไปก้าวก่ายใช้กำลังทหารมาเป็นกำลังสนับสนุนอำนาจทางการเมืองของตนเช่นอดีตที่ผ่านมา การแต่งตั้งแม่ทัพนายกอง (ซึ่งต้องทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายทหาร) รัฐบาลก็ควรจะทำหน้าที่เพียงผู้ถวายคำแนะนำ ให้เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และเป็นไปตามหลักปฏิบัติในกองทัพ ไม่เช่นนั้น เมื่อกองทัพถูกแทรกแซงจากการเมืองแล้ว จะทำให้กองทัพอ่อนแอลง การทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 70 ก็อ่อนแอลงกระทบถึงความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ การปกครองระบอบประชาธิปไตย และการพัฒนาประเทศ
  สรุป
  พระราชสถานภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไม่มากนัก กล่าวคือ ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ทรงเป็นผู้ที่มิอาจถูกละเมิดได้ ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นจอมทัพไทย การดำรงไว้ซึ่งพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละเรื่อง มิได้เหมือนกับพระมหากษัตริย์ในแถบยุโรปและประเทศอื่น ๆ แต่มีความละเอียดอ่อน แฝงแร้นไปด้วยปรัชญา การเมือง การปกครองแบบไทย ๆ ที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน คือ

ประการที่หนึ่ง ทรงเป็นพระประมุขที่คอยแบกความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน เหมือนบิดามารดาเลี้ยงดูบุตร ต้องทรงตรากตรำพระวรกายและทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมืองท่ามกลางฝ่ายการเมืองต่าง ๆ

ประการที่สอง ทรงเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทั้งชาติ อันเป็นไปโดยสายเลือดและความศรัทธาเลื่อมใสในพระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจ และทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

ประการที่สาม ทรงมิอยู่ในฐานะจะถูกละเมิดหรือถูกฟ้องร้องใด ๆ ได้ การใช้พระราชอำนาจบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์จะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อันได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานองคมนตรี เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้อง เนื้อหาสาระที่สามารถตรวจสอบได้ ชี้แจงได้

ประการที่สี่ ดำรงพระราชสถานะเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ตามนิติราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล วิธีการอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ ก็มีแตกต่างกันไปแต่ในศาสนาพุทธ ยึดหลักการถวายสมณศักดิ์และค่านิตยภัตต์ให้แก่พระเถรานุเถระ เพื่อไปปกครองดูแลสงฆ์ เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ฯลฯ

ประการที่ห้า ดำรงพระราชสถานะ "จอมทัพไทย" เป็นมรดกตกทอดมาจากพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยต้องต่อสู้รบพุ่งเพื่อปกปักรักษาคุ้มครองเอกราชของชาติ และปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญฯ ยังได้ถวายพระราชอำนาจเหนือบรรดาทหารทั้งปวงด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ