ดร.อำนาจบอก "จะทำพุทธศาสนาเป็นสินค้าส่งออก"


ธุดงค์ธรรมชัย !
The Model of International Buddhism
ดร.อำนาจบอก "จะทำพุทธศาสนาเป็นสินค้าส่งออก"

อ๋อก็ "พุทธพาณิชย์" นะซี





"พศ." ยัน ธุดงค์ธรรมกายไม่ขัดหลักศาสนา ชี้เจตนาดี ผุดไอเดียส่งออกพุทธศาสนาเป็นสินค้า เชิญนักธุรกิจต่างชาติเปลี่ยนศาสนา

คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรมจริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา จัดการสัมมนาเรื่อง "ธุดงควัตรในป่าคอนกรีต ถูกที่ ถูกแนวทาง ?."

โดย นายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า สาเหตุที่ พศ. เห็นด้วยกับการธุดงค์เข้าเมืองของวัดพระธรรมกาย เนื่องจากปกติแล้วทางพุทธมณฑลจะจัดธุดงค์เข้าวัดทุกปี แต่ปี 2554 มาเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมก่อน เลยทำให้ไม่สามารถจัดได้ ประกอบกับเมื่อพระธรรมกายต้องการธุดงค์เข้าวัดเช่นกัน ในโอกาสพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และต้องการขอแนวร่วม ทำให้ พศ. เห็นว่าเป็นเรื่องดี จึงยินดีร่วมด้วย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาออกไปให้มากที่สุด เช่นเดียวกับที่สำนักพุทธจัดสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ให้รณรงค์ให้มาร่วมสวดมนต์กันมากขึ้น

"การจะเผยแพร่พระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้ จะทำได้ลำบามากถ้าขาดการออร์แกร์ไนซ์ (บริหารจัดการ) ครีเอชั่น (ความคิดสร้างสรรค์) และอีเว้นต์ (กิจกรรม) ขึ้นมาเพื่อให้คนทั้งหมดทำในสิ่งที่เราเห็นว่าดี ไม่มีใครอยากปฎิเสธว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ดี แต่ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้คนปฎิบัติ ซึ่งตรงนี้ต้องมีการออแกร์ไนซ์" นายอำนาจกล่าว

นายอำนาจกล่าวว่า ขณะนี้เริ่มคิดว่า ทำอย่างไรจะส่งออกศาสนาพุทธเป็นสินค้าได้ เรามีวัดไทยในต่างประเทศประมาณ350 แห่ง โดยถ้าเราทำให้นักธุรกิจต่างชาติเข้าใจและเรียนรู้ถึงอานิสงส์หรือคุณค่าของการปฏิบัติธรรมได้ จนกระทั่งเข้ามาเป็นพุทศาสนิกชนได้ คิดว่าต่อไปการค้าขายต่างประเทศของไทยเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา ซึ่งอยากให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน เพื่อให้การเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกของไทยให้มีความเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

"เราไม่ถือเรื่องวิธีการว่าจะแตกต่างกันอย่างไร เพราะไม่ว่าวิธีไหนก็ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เราไม่สามารถรวมสายพุทโธ สายยุบหนอ สายสัมมาอะระหัง เข้ามาเป็นสายเดียวกัน แต่สิ่งที่ต้องร่วมกันคือ ทำอย่างไรเพื่อให้ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักมากขึ้นมากกว่า" นายอำนาจกล่าว

นายสันติสุข โสภณศิริ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฐียรโกเศศ-นาคะประทีป กล่าวว่า พระพุทธศาสนาสำหรับประเทศไทยถือเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปแล้ว เป็นศาสนาประจำรัฐไทย แม้ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ถึงอย่างนั้น การดำเนินการอะไรเกี่ยวกับพุทธศาสนาจะต้องมีความระมัดระวังพอสมควร เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกแตกต่าง โดยเฉพาะรัฐบาลต้องวางตัวให้เป็นกลาง เพราะจะทำให้เกิดความคิดว่า แล้วศาสนาอื่นรัฐบาลให้การสนับสนุนด้วยหรือไม่

"ตัวอย่างเช่น ถ้ารัฐไทย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปสนับสนุนธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายแล้ว ต่อไปหากศาสนาพุทธในสายอื่นๆ หรือศาสนาอื่น ต้องการจัดกิจกรรมลักษณะเดียวกัน โดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่ศาสนาเช่นกัน จะได้รับการสนับสนุนเหมือนกันหรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร เรื่องนี้ถือมีความละเอียดอ่อนมาก หากประชาชนส่วนอื่นๆ เข้าใจก็ดีไป ถ้าไม่เข้าใจรัฐบาลแก้ไขอย่างไร" นายสันติสุขกล่าว

พล.ต.ไชยนาจ ญาติฉิมพลี นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นวัดหรือสำนักไหน จะออกวิธีการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบไหน ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาและรักษาศาสนาพุทธเอาไว้ จึงเห็นด้วยกับแนวคิดการส่งออกพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น โดยการส่งออกพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถไปในต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ศาสนาพุทธ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น

"ความมั่นคงชาติถือว่าความมั่นคงศาสนาพุทธมีความสำคัญมากที่สุด แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดความรู้สึกแตกแยกเกิดขึ้น" พล.ต.ไชยนาจกล่าว


ที่มา : โพสต์ทูเดย์
24 เมษายน 2555

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ24 เมษายน 2555 เวลา 04:18

    หมดปัญญาทำมาหากินกันแล้วเหรอ "...จะทำพุทธศาสนาเป็นสินค้าส่งออก"!!! ;-((((

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ