ศุกร์ 13 ผ่านเฉียดฉิว
ศุกร์ 13 ผ่านเฉียดฉิว
ศาลธรรมนูญ "ยกคำร้อง" กรณีฟ้องว่าผู้ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครอง
แก้ทั้งฉบับได้ แต่..ต้องขอประชามติ
ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญแจงตุลาการมีมติเอกฉันท์ 8-0 เสียง เห็นว่าเป็นอำนาจสภาฯ ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง แนะหากจะเดินหน้าแก้ รธน.ต่อไป ควรทำประชามติก่อน แต่หากจะลงมติวาระ 3 หากเกิดอะไร ปธ.รัฐสภา-รัฐสภาต้องรับผิดชอบ...
เมื่อเวลา 15.15 น. วันที่ 13 ก.ค. ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าทีมโฆษก นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ และนายกมล โสตถิโภคา โฆษกฯ ได้ร่วมแถลงข่าวภายหลังที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามคำร้องทั้ง 5 คำร้อง กรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 68 หรือไม่ ว่า ในประเด็นศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ เป็นมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 ที่เห็นว่าศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้ ส่วนในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่เป็นการแก้ไขเพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ รวมถึงหากพบว่ามีการกระทำเป็นเหตุให้ต้องวินิจฉัยให้ยุบพรรคหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 เสียง ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจของรัฐสภา และยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 จึงไม่มีเหตุต้องให้วินิจฉัยเรื่องยุบพรรค และมีมติให้ยกคำร้อง
เมื่อถามว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้จะมีผลอย่างไรต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ นายสมฤทธิ์ กล่าวว่า ในประเด็นหลักที่มีการร้องว่ามีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้อง เพราะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา เพียงแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีข้อเสนอแนะว่า เมื่อรัฐธรรมนูญปี 50 มาจากการสถาปนาของประชาชน ดังนั้นการจะแก้ไขจึงสมควรให้ประชาชนลงประชามติว่า สมควรจะให้มีการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ หรือหากจะมีการแก้ไขเป็นรายมาตรา ก็เป็นความเหมาะสมที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แต่ทั้งนี้รัฐสภาจะดำเนินการอย่างไรก็ถือเป็นดุลยพินิจ จะเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ก็ทำได้ แต่ประธานรัฐสภาและรัฐสภา จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร แต่การที่มีข้อเสนอแนะในคดีนี้เท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียงเสือกระดาษหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับทุกองค์กรอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 แต่เรื่องนี้ข้อเท็จจริงคือ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามมาตรา 68 เท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพราะมาตรา 291 เป็นอำนาจของรัฐสภา ดังนั้นเมื่อมีคำวินิจฉัยศาลก็ต้องกำจัดอำนาจของตัวเองให้อยู่ในกรอบที่กฎหมายให้อำนาจ เราจะไปก้าวล่วงอำนาจขององค์กรอื่นไม่ได้ ศาลมีอำนาจแค่ไหนก็ต้องทำแค่นั้น และถ้าดูจากเนื้อหาคำวินิจฉัยจะพบว่า ศาลมีคำวินิจฉัยไว้ว่าหากต่อไปมีผู้ทราบการกระทำที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ ก็สามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาได้ทุกเวลาและทุกขั้นตอน แต่ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
นอกจากนี้ นายพิมล ยังเปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังได้มีมติยกคำร้องกรณี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ร้องขอชะลอการพิจารณาคดีนี้ออกไปก่อน โดยศาลเห็นว่า ไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ชะลอ รวมทั้งยังมีมติไม่รับคำร้องกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีพรรคประชาธิปัตย์ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภาฯ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และกรณีการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของนายชัช ชลวร และการดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่การกระทำเป็นการล้มล้างการปกครองฯ ตามมาตรา 68
เมื่อเวลา 15.15 น. วันที่ 13 ก.ค. ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าทีมโฆษก นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ และนายกมล โสตถิโภคา โฆษกฯ ได้ร่วมแถลงข่าวภายหลังที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามคำร้องทั้ง 5 คำร้อง กรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 68 หรือไม่ ว่า ในประเด็นศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ เป็นมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 ที่เห็นว่าศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้ ส่วนในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่เป็นการแก้ไขเพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ รวมถึงหากพบว่ามีการกระทำเป็นเหตุให้ต้องวินิจฉัยให้ยุบพรรคหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 เสียง ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจของรัฐสภา และยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 จึงไม่มีเหตุต้องให้วินิจฉัยเรื่องยุบพรรค และมีมติให้ยกคำร้อง
เมื่อถามว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้จะมีผลอย่างไรต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ นายสมฤทธิ์ กล่าวว่า ในประเด็นหลักที่มีการร้องว่ามีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้อง เพราะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา เพียงแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีข้อเสนอแนะว่า เมื่อรัฐธรรมนูญปี 50 มาจากการสถาปนาของประชาชน ดังนั้นการจะแก้ไขจึงสมควรให้ประชาชนลงประชามติว่า สมควรจะให้มีการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ หรือหากจะมีการแก้ไขเป็นรายมาตรา ก็เป็นความเหมาะสมที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แต่ทั้งนี้รัฐสภาจะดำเนินการอย่างไรก็ถือเป็นดุลยพินิจ จะเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ก็ทำได้ แต่ประธานรัฐสภาและรัฐสภา จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร แต่การที่มีข้อเสนอแนะในคดีนี้เท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียงเสือกระดาษหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับทุกองค์กรอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 แต่เรื่องนี้ข้อเท็จจริงคือ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามมาตรา 68 เท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพราะมาตรา 291 เป็นอำนาจของรัฐสภา ดังนั้นเมื่อมีคำวินิจฉัยศาลก็ต้องกำจัดอำนาจของตัวเองให้อยู่ในกรอบที่กฎหมายให้อำนาจ เราจะไปก้าวล่วงอำนาจขององค์กรอื่นไม่ได้ ศาลมีอำนาจแค่ไหนก็ต้องทำแค่นั้น และถ้าดูจากเนื้อหาคำวินิจฉัยจะพบว่า ศาลมีคำวินิจฉัยไว้ว่าหากต่อไปมีผู้ทราบการกระทำที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ ก็สามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาได้ทุกเวลาและทุกขั้นตอน แต่ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
นอกจากนี้ นายพิมล ยังเปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังได้มีมติยกคำร้องกรณี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ร้องขอชะลอการพิจารณาคดีนี้ออกไปก่อน โดยศาลเห็นว่า ไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ชะลอ รวมทั้งยังมีมติไม่รับคำร้องกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีพรรคประชาธิปัตย์ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภาฯ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และกรณีการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของนายชัช ชลวร และการดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่การกระทำเป็นการล้มล้างการปกครองฯ ตามมาตรา 68
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ