วิเคราะห์จิตลึก'อาชญากรเรียนเก่ง'ผู้โดดเดี่ยว
วิเคราะห์จิตลึก'อาชญากรเรียนเก่ง'ผู้โดดเดี่ยว
วิเคราะห์จิตลึก'อาชญากรเรียนเก่ง'ผู้โดดเดี่ยว : ทีมข่าวรายงานพิเศษ
กรณีผู้ร้ายใช้ปืนกราดยิงผู้คนในโรงหนังเมืองออโรราโดของสหรัฐอเมริกา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บกว่า 50 คน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น ตอนแรกหลายคนเดาว่าเป็นการแก้แค้นของกลุ่มผู้ก่อการร้าย แต่หลังจากตำรวจจับผู้ก่อเหตุได้และเปิดเผยว่า เป็นเพียงวัยรุ่นนักศึกษาปริญญาเอกอายุแค่ 24 ปี แถมยังเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ มีพรสวรรค์ชัดเจนจนได้รับทุนให้ศึกษาต่อระดับดอกเตอร์ สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาที่มีคนแย่งกันเรียนมากสุด เพื่อนๆ เล่าว่าเขาเป็นคนเรียบร้อย ชอบอยู่คนเดียวและไม่ค่อยสนใจโลกอินเทอร์เน็ต
อุปนิสัยเหล่านี้สร้างความงุนงงสงสัยว่า เด็กเรียนเก่งอนาคตไกลระดับนั้น คว้าปืนมาวิ่งไล่ยิงผู้คนเหมือนผู้ร้ายในหนังได้อย่างไร ที่สำคัญตำรวจให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า "นายเจมส์ โฮล์มส์" มือปืนวัยรุ่นคนนี้ ไม่ได้มีอาการวิกลจริตหรือป่วยทางจิต!!
เรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแดนพญาอินทรีเท่านั้น แม้แต่ในประเทศไทยเอง เด็กเรียนเก่งเคยก่อเหตุน่าสลดใจเช่นกัน ย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กลางดึกวันที่ 6 มิถุนายน 2553 ประมาณตีสอง นักเรียนหลายร้อยคนที่กำลังหลับสนิทอยู่ในห้องพักของ "ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์" ต่างพากันสะดุ้งตื่น เนื่องจากมีเสียงตะโกนโหวกเหวกให้ช่วยกันดับไฟที่ลุกโชนท่วมห้องสมุดสูง 4 ชั้น ตำรวจสืบสวนจนพบว่าผู้ต้องหาเป็นเพียงเด็กนักเรียนชั้น ม.5 เท่านั้น สาเหตุที่จุดไฟเผาห้องสมุดเพราะไม่อยากเรียนหนังสือ มูลค่าความเสียหายจากเพลิงไหม้ครั้งนั้นไม่ต่ำกว่า 130 ล้านบาท
ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาชื่อดังจากศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
วิเคราะห์ให้ฟังว่า อาการป่วยทางจิตนั้น คนไทยทั่วไปเรียกว่าเป็น "บ้า" หรือ เป็น "โรคประสาท" แต่เด็กวัยรุ่นที่ก่อเหตุ 2 คดีข้างต้นนั้น อาจมีเพียงอาการของ "ผู้มีบุคลิกแปรปรวน" ส่วนใหญ่ขี้หวาดระแวง ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว หมกมุ่นกับความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมีปัญหาบางอย่างจะคิดเอง ตอบเอง ย้ำไปย้ำมา จากนั้น ก็คิดเชื่อมโยงกับคนอื่น บางรายมีอาการอาฆาตสังคมหรือผู้คนอยู่รอบข้าง
"เด็กเรียนหนังสือเก่งบางคน ถูกพ่อแม่ตามใจทุกอย่าง เพราะเชื่อว่าลูกเรียนเก่งคือเป็นเด็กดีแล้ว อยากได้อะไรหามาให้ทุกอย่าง ทำผิดก็ไม่ถูกว่าหรือถูกตี พ่อแม่ญาติพี่น้องปกป้องทุกอย่าง ทำให้เด็กกลุ่มนี้ชอบอยู่กับคนในครอบครัวมากกว่า ไม่ชอบคบหาสมาคมกับเพื่อนนักเรียนหรือเพื่อนคนอื่นๆ ตอนเด็กๆ อาจไปไหนมาไหนกับพ่อแม่พี่น้องบ้าง พอโตขึ้นมาจะเข้าสู่โลกส่วนตัว เล่นเกมหรือมีกิจกรรมที่ทำคนเดียว ไม่ยอมมีเพื่อน เช่นกรณีเด็กเรียนเก่งคนหนึ่งไม่อยากไปเข้าแคมป์กับโรงเรียน พ่อแม่ก็ช่วยโกหก เมื่อเด็กไม่ไปปีแรกปีต่อๆ ไปก็ไม่ไป เริ่มอยู่คนเดียวมากขึ้น"
ดร.วัลลภเตือนว่า เมื่อเด็กวัยรุ่นอยู่คนเดียวมากๆ จะเริ่มสร้างจินตนาการว่าตัวเองเป็นเหมือนตัวละครในหนัง หรือเลียนแบบคนที่ตัวเองหลงใหล และเริ่มรู้สึกหวาดระแวงคนอื่น เด็กที่มีนิสัยหรือบุคลิกแปรปรวนแบบนี้ หากไม่รีบรักษาแต่ต้น อาจก่อเหตุร้ายแรงบางอย่างได้ อยากเตือนให้พ่อแม่หรือครูในโรงเรียนช่วยกันจับตามองเด็กที่ไม่ค่อยมีเพื่อน ชอบเล่นหรืออยู่คนเดียว บางคนอาจเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เด็กเรียนเก่งจะไม่ค่อยถูกบังคับหรือจับตามองมากนัก พยายามชักชวนเด็กที่อยู่คนเดียวให้ออกไปเล่นกับเพื่อนคนอื่นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งต้องค่อยๆ ทำไปทีละขั้นตอน หรืออาจต้องหากิจกรรมหรือกลุ่มบำบัดช่วยอีกระดับหนึ่ง
สำหรับกรณีคดีนายเจมส์ อัยการผู้รับผิดชอบระบุว่า ฆาตกรวัยรุ่นไม่ได้มีอาการป่วยทางจิต ถือเป็นผู้ต้องสงสัยฆ่าคนตายโดยเจตนาจะเสนอให้ลงโทษประหารชีวิตนั้น นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผอ.สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต อธิบายถึงขั้นตอนนี้ว่า เป็นกระบวนการ "นิติจิตเวช" หมายถึงกรณีผู้ก่ออาชญากรรมหรือคดีความต่างๆ มีจุดน่าสงสัยว่าอาจมีอาการของผู้ป่วยทางจิตเวช จึงต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งขั้นตอนของจิตแพทย์นั้น จะทำงานร่วมกับนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการทางจิต การตรวจประเมินสภาพจิต พร้อมลงความเห็นเพื่อนำไปประกอบคดี ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะระบุได้ว่าผู้ต้องหาเป็นโรคจิต หรือมีอาการทางจิตเภทหรือไม่ หรือเป็นเพียงพฤติกรรมเลียนแบบเท่านั้น
"ขั้นตอนของนิติจิตเวช เริ่มจากตรวจสอบประวัติการรักษา ตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้น ให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา มีการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมตลอด 24 ชั่วโมงจากผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ฝ่าย จากนั้นก็นำความเห็นของทุกคนมาประชุมพิจารณาหาคำตัดสินร่วมกันว่า ป่วยเป็นโรคจิตหรือไม่ โดยเฉพาะตอนที่ก่อเหตุนั้น มีความรู้รับผิดชอบชั่วดีหรือไม่ พูดเพ้อเจ้อหรือแกล้งบ้าหรือเปล่า มีแรงจูงใจในการก่อความรุนแรงอย่างไร มีความแค้นส่วนตัวหรือไม่ บางรายอาจมีแค่พฤติกรรมผิดปกติแต่ไม่ถึงกับมีอาการทางจิต ซึ่งคดีนี้มีส่วนตัวคิดว่าเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าผู้ก่อคดีเป็นโรคจิตหรือไม่ คงต้องมีการวินิจฉัยอีกหลายครั้งจึงจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน"
นพ.ศิริศักดิ์กล่าวทิ้งท้ายว่า เด็กเรียนเก่งส่วนใหญ่มักถูกกดดันในเรื่องการเรียน การแข่งขันสอบ พ่อแม่ควรดูแลใกล้ชิดหากพบว่า เด็กเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ยอมพูดจากับใคร หรือมีอารมณ์รุนแรงควบคุมตัวเองไม่ได้ ควรปรึกษาครูที่โรงเรียนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยกันเยียวยาตั้งแต่เบื้องต้น
เรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแดนพญาอินทรีเท่านั้น แม้แต่ในประเทศไทยเอง เด็กเรียนเก่งเคยก่อเหตุน่าสลดใจเช่นกัน ย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กลางดึกวันที่ 6 มิถุนายน 2553 ประมาณตีสอง นักเรียนหลายร้อยคนที่กำลังหลับสนิทอยู่ในห้องพักของ "ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์" ต่างพากันสะดุ้งตื่น เนื่องจากมีเสียงตะโกนโหวกเหวกให้ช่วยกันดับไฟที่ลุกโชนท่วมห้องสมุดสูง 4 ชั้น ตำรวจสืบสวนจนพบว่าผู้ต้องหาเป็นเพียงเด็กนักเรียนชั้น ม.5 เท่านั้น สาเหตุที่จุดไฟเผาห้องสมุดเพราะไม่อยากเรียนหนังสือ มูลค่าความเสียหายจากเพลิงไหม้ครั้งนั้นไม่ต่ำกว่า 130 ล้านบาท
ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาชื่อดังจากศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
วิเคราะห์ให้ฟังว่า อาการป่วยทางจิตนั้น คนไทยทั่วไปเรียกว่าเป็น "บ้า" หรือ เป็น "โรคประสาท" แต่เด็กวัยรุ่นที่ก่อเหตุ 2 คดีข้างต้นนั้น อาจมีเพียงอาการของ "ผู้มีบุคลิกแปรปรวน" ส่วนใหญ่ขี้หวาดระแวง ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว หมกมุ่นกับความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมีปัญหาบางอย่างจะคิดเอง ตอบเอง ย้ำไปย้ำมา จากนั้น ก็คิดเชื่อมโยงกับคนอื่น บางรายมีอาการอาฆาตสังคมหรือผู้คนอยู่รอบข้าง
"เด็กเรียนหนังสือเก่งบางคน ถูกพ่อแม่ตามใจทุกอย่าง เพราะเชื่อว่าลูกเรียนเก่งคือเป็นเด็กดีแล้ว อยากได้อะไรหามาให้ทุกอย่าง ทำผิดก็ไม่ถูกว่าหรือถูกตี พ่อแม่ญาติพี่น้องปกป้องทุกอย่าง ทำให้เด็กกลุ่มนี้ชอบอยู่กับคนในครอบครัวมากกว่า ไม่ชอบคบหาสมาคมกับเพื่อนนักเรียนหรือเพื่อนคนอื่นๆ ตอนเด็กๆ อาจไปไหนมาไหนกับพ่อแม่พี่น้องบ้าง พอโตขึ้นมาจะเข้าสู่โลกส่วนตัว เล่นเกมหรือมีกิจกรรมที่ทำคนเดียว ไม่ยอมมีเพื่อน เช่นกรณีเด็กเรียนเก่งคนหนึ่งไม่อยากไปเข้าแคมป์กับโรงเรียน พ่อแม่ก็ช่วยโกหก เมื่อเด็กไม่ไปปีแรกปีต่อๆ ไปก็ไม่ไป เริ่มอยู่คนเดียวมากขึ้น"
ดร.วัลลภเตือนว่า เมื่อเด็กวัยรุ่นอยู่คนเดียวมากๆ จะเริ่มสร้างจินตนาการว่าตัวเองเป็นเหมือนตัวละครในหนัง หรือเลียนแบบคนที่ตัวเองหลงใหล และเริ่มรู้สึกหวาดระแวงคนอื่น เด็กที่มีนิสัยหรือบุคลิกแปรปรวนแบบนี้ หากไม่รีบรักษาแต่ต้น อาจก่อเหตุร้ายแรงบางอย่างได้ อยากเตือนให้พ่อแม่หรือครูในโรงเรียนช่วยกันจับตามองเด็กที่ไม่ค่อยมีเพื่อน ชอบเล่นหรืออยู่คนเดียว บางคนอาจเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เด็กเรียนเก่งจะไม่ค่อยถูกบังคับหรือจับตามองมากนัก พยายามชักชวนเด็กที่อยู่คนเดียวให้ออกไปเล่นกับเพื่อนคนอื่นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งต้องค่อยๆ ทำไปทีละขั้นตอน หรืออาจต้องหากิจกรรมหรือกลุ่มบำบัดช่วยอีกระดับหนึ่ง
สำหรับกรณีคดีนายเจมส์ อัยการผู้รับผิดชอบระบุว่า ฆาตกรวัยรุ่นไม่ได้มีอาการป่วยทางจิต ถือเป็นผู้ต้องสงสัยฆ่าคนตายโดยเจตนาจะเสนอให้ลงโทษประหารชีวิตนั้น นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผอ.สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต อธิบายถึงขั้นตอนนี้ว่า เป็นกระบวนการ "นิติจิตเวช" หมายถึงกรณีผู้ก่ออาชญากรรมหรือคดีความต่างๆ มีจุดน่าสงสัยว่าอาจมีอาการของผู้ป่วยทางจิตเวช จึงต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งขั้นตอนของจิตแพทย์นั้น จะทำงานร่วมกับนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการทางจิต การตรวจประเมินสภาพจิต พร้อมลงความเห็นเพื่อนำไปประกอบคดี ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะระบุได้ว่าผู้ต้องหาเป็นโรคจิต หรือมีอาการทางจิตเภทหรือไม่ หรือเป็นเพียงพฤติกรรมเลียนแบบเท่านั้น
"ขั้นตอนของนิติจิตเวช เริ่มจากตรวจสอบประวัติการรักษา ตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้น ให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา มีการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมตลอด 24 ชั่วโมงจากผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ฝ่าย จากนั้นก็นำความเห็นของทุกคนมาประชุมพิจารณาหาคำตัดสินร่วมกันว่า ป่วยเป็นโรคจิตหรือไม่ โดยเฉพาะตอนที่ก่อเหตุนั้น มีความรู้รับผิดชอบชั่วดีหรือไม่ พูดเพ้อเจ้อหรือแกล้งบ้าหรือเปล่า มีแรงจูงใจในการก่อความรุนแรงอย่างไร มีความแค้นส่วนตัวหรือไม่ บางรายอาจมีแค่พฤติกรรมผิดปกติแต่ไม่ถึงกับมีอาการทางจิต ซึ่งคดีนี้มีส่วนตัวคิดว่าเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าผู้ก่อคดีเป็นโรคจิตหรือไม่ คงต้องมีการวินิจฉัยอีกหลายครั้งจึงจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน"
นพ.ศิริศักดิ์กล่าวทิ้งท้ายว่า เด็กเรียนเก่งส่วนใหญ่มักถูกกดดันในเรื่องการเรียน การแข่งขันสอบ พ่อแม่ควรดูแลใกล้ชิดหากพบว่า เด็กเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ยอมพูดจากับใคร หรือมีอารมณ์รุนแรงควบคุมตัวเองไม่ได้ ควรปรึกษาครูที่โรงเรียนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยกันเยียวยาตั้งแต่เบื้องต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ