พระตรีมูรติ (สันสกฤต: त्रिमूर्ति)




พระตรีมูรติ (อังกฤษTrimurati, Trinityสันสกฤต: त्रिमूर्ति) คือ การอวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาพราหมณ์ อันได้แก่ พระพรหม (ผู้สร้าง) พระนารายณ์ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระอิศวร (ผู้ทำลาย) โดยพระตรีมูรตินั้นถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ยุคใหม่
ส่วนคำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี และ มูรติ ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาพราหมณ์ หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ และ ดับไป 
พระตรีมูรติ ตำนานของการกำเนิดแห่งของตรีมูรติมีกล่าวกันไว้หลายตำนานแตกต่างกัน และส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าพระตรีมูรติเป็นภาครวมเทพเจ้าทั้งสามพระองค์ในร่างเดียวกัน เรียกว่า ทัตตาเตรยะ (Dattatreya) ทัตตา (Datta) แปลว่า การมอบให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ส่วน เตรยะ (treya) แปลว่า ผู้เป็นบุตรแห่งฤาษีอัตริหรือเตรยะ ซึ่งเป็นภาคอวตารของมหาเทพทั้งสาม หรือบางตำนานกล่าวว่าเป็นพระนารายณ์
ในตำนานนี้กล่าวว่า ณ เวลาหนึ่งมีฤาษีชื่อว่า อณิมาณฑวย (อะ-นิ-มาน-ดับ-วยะ) ฤาษีตนนี้กำลังนั่งสมาธิบำเพ็ญตบะอยู่ ขณะนั้นได้มีกลุ่มโจรกลุ่มหนึ่ง กำลังหนีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมืองผ่านมาทางนั้นพอดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ตามมาอย่างกระชั้นชิดและเห็นฤาษีนั่งบำเพ็ญอยู่ สอบถามเรื่องใดๆฤาษีซึ่งกำลังอยู่ในฌานสมาธิจึงไม่ได้ปริปากพูดใดๆออกมาเลย จนฝ่ายเจ้าหน้าที่คิดว่าฤาษีตนนี้อาจเป็นโจร จึงได้จับตัวมาฤาษีลงโทษและถูกเจ้าเมืองแห่งนั้นสั่งให้ต้องโทษประหารชีวิต โดยเสียบด้วยตรีศูลไว้บนยอดเขาแต่ฤาษีซึ่งขณะนั้นยังไม่ตาย ได้มีสตรีชื่อว่า นางศีลวตี มีสามีชื่อ "อุครศรวัส" กำลังแบกสามีให้โดยให้ขี่คอของตน และเดินทางผ่านมาบริเวณเขาลูกนั้นโดยมีจุดหมายปลายคือหานาง อนุสูรยา อันเป็นเพื่อนรัก บังเอิญมีฝนตกหนักจนเป็นผลทำให้เดินทางยากลำบาก ฝ่ายสามีได้กล่าวโทษฤาษี (อณิมาณฑวย) ว่าเป็นต้นเหตุทำให้ฝนตกหนัก ฤาษีซึ่งยังไม่ตายได้ยินเข้า เกิดความไม่พอใจ แม้ฤาษีอยู่ภาวะใกล้ตาย แต่ก็แข็งใจสาปแช่งให้ศีรษะของอุครศรวัส (สามี) แตกเป็นเจ็ดเสี่ยงเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น แต่นางศีลวตีได้ยินคำสาปแช่งนั้นเข้า เกิความคิดไม่ยอมให้สามีเป็นเช่นคำสาปนั้น และได้ตั้งจิตอธิษฐานขออย่าให้พระอาทิตย์ขึ้นอีกเลย ซึ่งคำอธิษฐานนั้นได้ผล ทำให้พระอาทิตย์ไม่ขึ้นอีกเลย จึงเดือดร้อนกันไปทั่วทั้งสามโลก เหตุการณ์ดังกล่าวล่วงไปถึง พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่แนวทางแก้มีอยู่ว่าต้องให้นางศีลวตีถอนคำอธิษฐาน เมื่อเป็นเช่นนั้นมหาเทพทั้งสามพระองค์จึงได้รีบเสด็จไปหานางอนุสูยาทันใด เพื่อบอกกล่าวให้นางไปอ้อนวอนนางศีลวตีเพื่อถอนคำอธิษฐานนั้น ในระหว่างที่มหาเทพทั้งสามไปพบนางอนุสูยา สามีของนางคือ "อรตี" ไม่อยู่ จากนั้นจึงได้ออกอุบายทำทีว่าขออาหารจากนาง ซึ่งนางยอมทำตามแต่โดยดี และฝ่ายมหาเทพทั้งสามมีเงื่อนไขว่านางจะต้องจัดอาหารไปให้โดยปราศจากเสื้อผ้าอาภรณ์ ซึ่งในสมัยนั้นเชื่อกันว่าหญิงใดเปลื้องเสื้อผ้าอาภรณ์ต่อหน้าผู้อื่นที่ไม่ใช่สามีตน จะถูกกล่าวหาเป็นผู้ภรรยาผู้ไม่มีความซื่อสัตย์ แต่นางก็ไม่อยากผิดคำสัญญาที่ให้ไว้แต่ต้น และคำอ้อนวอนหรือขอร้องนี้ดูแปลกประหลาดย่อมมิใช่คนธรรมดาแน่นอน หรืออาจเป็นกลลวง เมื่อคิดได้เช่นนั้นนางจึงนึกถึงสามีตน และตั้งจิตอธิษฐานว่าสิ่งที่นางได้กระทำไปนั้น ไม่ใช่ทำเพื่อการยั่วยวนหรือฝักใฝ่กามราคะ เมื่อทั้งมหาเทพทั้งสามพระองค์ร้องขอออกมาว่า "โอ้มาตา โปรดให้อาหารแก่เราเถอะ" ทำให้นางตัดสินใจคิดเสียว่าทั้งมหาเทพทั้งสามพระองค์คือ บุตรของนาง ด้วยมีใจเมตตานางจึงถอดเสื้อผ้าออก ทันใดนั้นมหาเทพทั้งสามพระองค์ ก็กลายร่างเป็นทารกน้อยทั้งสามพระองค์ นางอนุสูยาจึงได้ให้ให้น้ำนมและอาหารแก่ทารกน้อยนั้นจนอิ่มแล้วหลับในที่สุด ฝ่ายสามีของนางอนุสูยาเมื่อกลับมาและรับทราบเรื่องราวแล้วจึงเข้าไปดูและปลุกทารกเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อชื่นชม ทันใดนั้นทารกน้อยทั้งสามก็กลายร่างเป็นมหาเทพทั้งสามเหมือนเดิม และทั้งสามพระองค์ได้ทรงชื่นชมนางที่มีจิตใจเมตตา และขอร้องให้นางอนุสูยาไปบอกกล่าวแก่นางศีลวตี เพื่อให้ถอนคำอธิษฐานไม่ให้พระอาทิตย์ขึ้นนั้น และสามีของนาง (อุครศรวัส) ก็จะไม่ตายตามคำสาปแช่งของฤาษีตนนั้น ฝ่ายนางศีลวตีเมื่อได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้วได้ยินยอมถอนคำอธิษฐานนั้น เมื่อเสร็จภาระกิจแล้วมหาเทพทั้งสาม ได้ถามแก่นางอนุสูยาว่าต้องการขอพรสิ่งใดจากพระองค์ ซึ่งนางได้ทูลขอให้มหาเทพทั้งสามพระองค์มาเกิดเป็นบุตรของนางในภายภาคหน้า แล้วนางก็ได้รับพรนั้นตามคำขอ หลังจากนั้นพระนารายณ์ได้มาเกิดเป็นพระทัตตาเตรยะพระศิวะมาเกิดเป็นทุรวาสัส ส่วนพระพรหมได้เกิดเป็นพระจันทร์ พระตรีมูรติในประเทศ
เทวาลัยสำหรับสักการะพระตรีมูรติในปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ใกล้กับศาลพระพิฆเนศวร พระตรีมูรติในประเทศไทยในยุคปัจจุบัน เชื่อมโยงไปครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พระตรีมูรติเป็นเทพผู้อารักขาวังเพชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์)ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปัจจุบันคือ สถานที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ถ.ราชประสงค์ ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการทิ้งระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร และบริเวณที่ตั้งวังเพชรบูรณ์ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งถูกถล่มด้วยระเบิด มีเรื่องเล่าว่าแม้สถานที่ของวังฯ จะโดนระเบิดทิ้งลงมา แต่ระเบิดกลับไม่ทำงานหรือด้านไม่สามารถสร้างความเสียหายแก่วังเพชรบูรณ์ได้ สร้างความแปลกใจให้แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก มีความเชื่อว่าพระตรีมูรติเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก สามารถดลบันดาลให้ คู่รักชาย-หญิง สมหวังในความรักนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่เป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติ ทุกคืนในวันพฤหัสบดี เวลาประมาณ 21.30 น. บรรดาผู้ที่อยากสมหวังในความรักจะมาอธิษฐาน เพื่อให้ตนเองได้รับความสมหวังในความรักที่ปรารถนา ด้วยความเชื่อที่ว่า เวลา 21.30 น.ของวันนั้นมหาเทพจะเสด็จลงมาจากสวรรค์เพื่อรับคำอธิฐาน[2]
ในปัจจุบัน เราจึงพบว่าในสังคมไทยพระตรีมูรติได้รับความนับถือในฐานะเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก โดยมีศาลอยู่ที่บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิร์ล พลาซ่า เป็นที่เคารพบูชากราบไหว้อย่างมากโดยเฉพาะหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B0/186482854814636

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ