150 ปี สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ



ประวัติศาสตร์ 150 ปี 

 เพื่อระลึกถึงวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2405 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการพัฒนาประเทศให้ได้รับความเจริญก้าวหน้า ทรงพัฒนางานด้านการปกครอง การศึกษา งานด้านสาธารณสุข ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลในท้องถิ่นห่งไกล ทรงก่อตั้งโอสถศาลา หรือสถานีอนามัยในปัจจุบัน อีกทั้งทรงก่อตั้งกรมพยาบาลซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าจนเป็นกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน และมีอีกหลายกระทรวง หลายกรม ที่ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง เช่น กรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสภา พิพิธภัณฑสถาน หอสมุกพระนครและงานด้านอื่นอีกหลายด้าน อีกทั้งทรงเป็นที่ปรึกษาสำคัญในการทำให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติในสมัยนั้นด้วย
        เมื่อพระองค์ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงอนุรักษ์และชำระหนังสือสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้จำนวนมาก รวมถึงทรงนิพนธ์หนังสือ ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศสตร์ไว้มากกว่า 650 เรื่อง ทำให้ทรงพระปรีชาสามารถและชำนาญงานทางด้านประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงเป็นบุคคลไทยพระองค์แรก ที่ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ.2505 และทรงได้รับการถวายพระนามว่า "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"



สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2405 ในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระจอมมารดาชุ่ม ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกสำหรับภาษาไทยจากสำนักคุณแสง และคุณปาน ภาษาบาลีจากสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธรรมนุวัติจำนง (จุ้ย) และภาษาอังกฤษจากสำนักโรงเรียนหลวง ซึ่งมีนายฟรานซิส ยอร์ซ แปทเตอร์สัน เป้นอาจารย์ ต่อมาทรงศึกษาวิชาทหารในสำนักหลวงรัฐรณยุทธ์ เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษาทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อย กรมมหาดเล็ก

        เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาทรงเข้ารับราชการเป็นทหารในตำแหน่งนายร้อยตรี บังคับกองแตรวงกองทหารมหาดเล็ก ทรงได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงจัดตั้งกระทรวงธรรมการ ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการ ทรงรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกระทรวงธรรมการเป็นที่พอพระทัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นเวลานานถึง 23 ปี เมื่อทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยด้วยประชวรจนพระวรกายทรุดโทรมอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทยเมื่อทรงรักษาอาการจนพระวรกายเป็นปกติแล้วจึงทรงเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่งในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทูลเสนอพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งราชบัณฑิตยสภาขึ้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภาพระองค์แรก ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุดพระนคร และพิพิธ๓ัณฑสถาน ในปี พ.ศ.2472 ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศพระบรมวงศ์ต่างกรมเป็น "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กระมพระยาดำรงราชานุภาพ"ซึ่งนับว่าเป็นตำแหน่งสูงที่สุดสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์
        หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปประทับที่เกาะปีนัง เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายทางการเมือง ต่อมาเสด็จกลับประเทศไทยด้วยทรงประชวรด้วยพระโรคพระหทัยพิการ และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2486 รวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ซึ่งในขนะนั้นทรงมีอาวโสและประสบการณ์น้อยกว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีกหลายท่าน แต่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงพระปรีชาสามารถในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องจากขณะนั้นทรงรับผิดชอบงานด้านการศึกษา และพัฒนางานทางด้านการศึกษาให้ได้รับความก้าวหน้าเป็นอย่างดี เมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงต้องรับภาระในการบริหารงานอย่างหนัก ด้วยเป็นระยะแห่งการปฏิรูปการปกครอง เนื่องด้วยก่อนหน้านั้นประเทศไทยยังปกครองแบบ มีหัวเมืองประเทศราช มีเจ้าเมืองปกครองดินแดนของตนอย่างเป็นอิสระ เหมือนเช่นที่เคยเป็นก่อนที่จะเป็นเมืองประเทศราช แต่ต้องแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และต้องรับรองว่าดินแดงที่ตนปกครองอยู่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย การปกครองเช่นนี้ทำให้ไม่สามารถพัฒนาประเทศได้สะดวก อีกทั้งในยุคนั้นเป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกหัวเมืองประเทศราชซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นดินแดนที่อยู่รอบนอกสุดของราชอาณาจักรเกือบทุกด้านเป็นการง่ายที่ชาติตะวันตกจะยึดเป็นอาณานิคม แม้ต่อมาพระมหากษัตริย์จะทรงส่งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ไปปกครอง แต่เนื่องจากที่อยู่ห่างไกลจึงยากที่จะควบคุม ให้อยู่ในพระราชอำนาจได้ อีกทั้งการปกครองก็ไม่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียเอกราชได้อย่างง่ายดาย
        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบนโยบายให้กับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ที่รับนโยบายทั้ง 4 ประการ มาปฏิบัติ ได้แก่
        1.ให้แก้ลักษณะการปกครองแบบประเทศราช มาเป็นพระราชอาณาจักรของประเทศไทยรวมกัน
        2. ให้รวมการบังคับบัญชาการหัวเมือง ซึ่งเคยแยกกันอยู่ 3 กรม คือ มหาดไทย กลาโหม และ กรมท่า ให้มารวมกันอยู่ในกระทรวงมหาดไทยแต่เพียงกระทรวงเดียว
        3. ทำให้จัดรวมหัวเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑลตามสมควรแก่ภูมิประเทศให้สะดวกแก่การปกครองโดยสมุหเทศาภิบาลบังคับบัญชาทุกทณฑล
        4. การเปลี่ยนแปลงที่ทรงพระราชดำรินี้ ให้ค่อยจัดทำไปเป็นขั้น ๆ มิให้เกิดความยุ่งเหยิงในการที่จะเปลี่ยนแปลง
        ทรงดำเนินงานตามนโยบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับความสำเร็จไปได้ด้วยดี โดยทรงริเริ่มการแกครองในแบบมณฑลเทศาภิบาลปกครองท้องที่ คือ ยกเลิก หัวเมืองประเทศราชทั้งหมด จัดตั้งหมู้บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง และมณฑล ซึ่งเป็นการรวมอำนาจทั้งหมดมาอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดเอกภาพในการบริหารประเทศให้เกิดความสงบเป็นระเบียบแบบแผนมากขึ้นการเปลี่ยนแบบแผนการปกครอง ทำให้ประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของต่างชาติ
        เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงวางรากฐานระเบียบปฏิบัติภายในกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เหมาะสมและสามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในระยะแรกทรงปรับปรุงงานของกรมหลัก 3 กรม ได้แก่
        1.กรมมหาดไทยพลำภัง มีหน้าที่ปกครองท้องที่ทั่วไปภายในพระราชอาณาจักร มีเจ้ากรมเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
        2.กรมมหาดไทยเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผุ้ร้าย เจ้าหน้าที่ฝ่ายอัยการ และการต่างประเทศมีเจ้ากรมเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
        3.กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทุกอย่าง เว้นแต่ที่กรมอื่นมีหน้าที่รับผิดชอบ มีปลัดทูลฉลองเป็นเจ้ากรม ซึ่งมีอำนาจรองแต่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น
        นอกจากนี้ยังทรงวางระเบียบเกี่ยวกับการบรรจุข้าราชการฝ่ายปกครองในตำแหน่งต่าง ๆ อีกทั้งคุณสมบัติของบุคลากรที่จะเข้ารับราชการภายในกระทรวงมหาดไทย รวมถึงทรงก่อตั้ง โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครองของมณฑ,เทศาภิบาล เพื่อผลิตบุคลากร ในการปกครองขึ้นด้วย โรงเรียนแห่งนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก โรงเรียนข้าราชพลเรือน และเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว งานอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก คือ ทรงวางระเบียบแบบแผนงานทางด้านเอกสาร โดยทรงนำวิธีการของประเทศในแถบยุโรปมาใช้ คือ ให้จดบันทึกด้วยดินสิฝรั่งลงในกระดาษฝรั่ง และจัดเก็บเอกสารให้เป็นสัดส่วน ซึ่งก่อนหน้านั้นกระทรวงมหาดไทยบันทึกลงในกระดาษดำและเขียนด้วยดินสอถ่านสีขาว และเก็บไว้บนเพดานสำนักงานกระทรวงอย่างไม่เป็นระเบียบ
        ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2458 รวมระยะเวลาถึง 23 ปี ทรงปฏิบัติภารกิจที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนชาวไทย และประเทศชาติ อย่างมากมายมหาศาล เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการที่ทำให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าเช่นปัจจุบันนี้ อีกทั้งทรงทำให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นประเทศราชในยุคแห่งการล่าอาณานิคมเมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชากรมทหารมหาดเล็ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให่ก่อตั้งโดรงเรียนฝึกสอนทหารขึ้นภายในกรม ทหารมหาดเล็กนั้น และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนั้นว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบมีผู้สนใจมาสมัครเรียนเป็นจำนวนมากจนเกินความต้องการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสำหรับประชาชนโดยทั่วไป มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบพระองค์แรก และด้วยเหตุที่การศึกษาในสมัยนั้นเป็นของใหม่มากทำให้ต้องดำเนินการด้วยพระองค์เองทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ทรงร่างหลักสูตร เป้นครูผู้สอน ร่างข้อสอบ ดำเนินการสอบ ตรวจข้อสอบและเมื่อนักเรียนศึกษาสำเร็จ พระองค์ก็ทรงจัดทำประกาศนียบัตรด้วยพระองค์เอง ทรงเอาใจใส่เรื่องการสอนอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกขั้นตอน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนทุกวันนี้
  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส วางรากฐานการศึกษาชั้นประถมขึ้น โดยมอบหน้าที่ให้พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันสร้างโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นมรวัด และทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือ ส่วนเรื่องแบบเรียนและงานธุรการต่าง ๆ ทางกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นเสนาบดีในขณะนั้น เป็นผู้รับผิดชอบ การประถมศึกษามีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงริเริ่มก่อตั้งกรมธรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องการศึกษา โดยตรงและทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธรรมการพระองค์แรก เมื่อปี พ.ศ.2435 ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ และกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
        ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้งพระราชบัณฑิตยสภาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุด และงานพิพิธภัณฑสถาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง นายกราชบัณฑิตยสภาพระองค์แรก ทรงอนุรักษ์หนังสือที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้จำนวนมาก อีกทั้งทรงชำระตรวจสอบหนังสือเหล่านี้ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และทรงนิพนธ์หนังสือที่เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากกว่า 650 เรื่อง ได้แก่ ประวัติบุคคลสำคัญมากที่สุดถึง 180 เรื่อง รองลงมาได้แก่ การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี 146 เรื่อง ศิลปะวรรณคดี 111 เรื่อง ประวัติศาสตร์โบราณคดี 103 เรื่อง ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว 74 เรื่อง นอกจากนี้ยังมี กวีนิพนธ์ วรรณคดี อีกจำนวนหนึ่ง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง