อำนาจกรรมที่ต้องอ่านก่อนตาย พระนิพจธ์สมเด็จพระสังฆราช


                              โครงการจารึกวัดบวรนิเวศ ประวัติศาสตร์ความมั่นคงพระศาสนา ที่
 http://www.facebook.com/media/set/?set=a.258806637498779.62591.161446187234825&type=3


พระอริยะผู้เป็นพระอาจารย์ ของ ข้าพเจ้า


 อํานาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช  

อำนาจของกรรมใหญ่ยิ่งที่สุดในโลก

อำนาจของกรรมใหญ่ยิ่งที่สุดในโลก ไม่มีอำนาจใดทำลายล้างได้ แม้อำนาจของกรรมดีก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมชั่วและอำนาจของกรรมชั่วก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดีอย่างมากที่สุดที่มีอยู่ คือ อำนาจของกรรมดีแม้ให้มาก ให้สม่ำเสมอในภพภูมินี้ ก็อาจจะทำให้อำนาจของกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้วตามมาถึงได้ยาก ดังมีเครื่องขวางกั้นไว้ หรือไม่เช่นนั้น ก็ดังที่ท่านเปรียบว่าเหมือนวิ่งหนีผู้ร้ายที่วิ่งไล่ตามมา ถ้ามีกำลังแข็งแรง วิ่งเร็วกว่าผู้ร้าย ก็ย่อมยากที่ผู้ร้ายจะไล่ทัน ความแข็งแรงของผู้วิ่งหนีกรรมชั่ว ก็หาใช่อะไรอื่น คือ ความเข้มแข็งสม่ำเสมอของการทำกรรมดีนั่นเอง

O โรคทางใจมีอยู่ทั่วทุกตัวคน

หนักเบาต่างกันที่อำนาจของกรรมที่ตนกระทำ คนน่าสงสารในโลกนี้มีมากนัก ทั้งน่าสงสารทางกาย และน่าสงสารทางใจ เราเองแทบทุกคนก็เป็นโรคน่าสงสารเช่นที่กล่าวแต่เมื่อไม่ใช่โรคทางกาย ก็ไม่เห็นกันไม่รู้กันว่า ตนเป็นคนหนึ่ง จำนวนมหาศาลที่น่าสงสาร และน่าสงสารยิ่งกว่าเป็นโรคทางกาย น่ากลัวน่าเป็นห่วงยิ่งกว่าเป็นโรคทางกาย โรคน่าสงสารทางใจตัวเอง ต้องรู้ด้วยตัวของตัวเอง ต้องยอมรับด้วยตัวของตัวเอง จึงจะแก้ไขได้ ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่มีทางจะรักษาโรคทางใจได้เลย แม้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะเป็นโอสถรักษาโรคทางใจของผู้ที่ไม่ยอมรับรู้ว่าใจของตนมีโรค นั่นก็คือผู้ไม่ยอมรักการรักษา ไม่ยอมรับโอสถของพระพุทธเจ้า เขาย่อมเป็นคนน่าสงสารตลอดไป พบคนเช่นนี้พึงย้อมดูตนเอง คงจะต้องพบโรคทางใจด้วยกันเพียงแต่ว่าจะมากน้อยหนักเบากว่ากันเพียงไร ตามอำนาจของกรรมที่ได้กระทำมาแล้วเท่านั้น

O กรรมให้ผลตรงตามเหตุแห่งการกระทำ

กรรมนั้นน่าเชื่อถือนักในการให้ผลตรงตามเหตุ ไม่มีอคติด้วยอำนาจใดเลย แม้เกิดอยู่ในฐานะที่สุขสบาย ก็มิใช่ว่าไม่จำเป็นต้องนึกถึงกรรม มิใช่ว่าไม่จำเป็นต้องเชื่อกรรม สุขสบายเพียงไร ก็จำเป็นต้องนึกถึงกรรม ถ้าไม่ได้ทำกรรมดีอันควรแก่เหตุแล้ว จะอยู่ในฐานะสุขสบายได้อย่างไร ใครอื่นอีกมากมายหาได้อยู่ในฐานะเช่นนั้น อดอยากยากไร้เข็ญใจกันนักหนา ทำไมเป็นได้เช่นนั้น มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เป็นไป แม้ไม่ตั้งข้อคิดในเรื่องเช่นนี้เสียเลย ย่อมไม่อาจอบรมปัญญาให้เห็นถูกในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรมได้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญแก่ทุกชีวิตที่ปรารถนาความสวัสดี

O ทั้งคนและสัตว์ ต่างถูกอำนาจกรรมทำให้เป็นไป

คนก็ตาม สัตว์ก็ตาม เกิดด้วยอำนาจของกรรม กรรมนำให้เป็นคน และกรรมนำให้เป็นสัตว์ เชื่อไว้ก่อนย่อมมีโอกาสที่จะพ้นจากความเป็นสัตว์ เพราะเมื่อเชื่อว่ากรรมมีอำนาจถึงเพียงนั้น ก็ย่อมขวนขวายทำกรรมที่จะไม่นำให้ต้องไปเป็นสัตว์ ไม่มีใครที่ไม่กลัวความเป็นสัตว์ และมีโอกาสที่จะได้เกิดเป็นสัตว์แน่ในภพภูมิข้างหน้า แม้บังเอิญไปทำกรรมที่จะทำให้เกิดผลเช่นนั้นโดยจะรู้หรือไม่รู้ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม พลาดพลั้งไปทำกรรมผิดเข้า ก็จะไม่อาจปฏิเสธผลของกรรมได้เลย

O ไม่มีผู้ใดปรารถนารับผลของกรรมที่ไม่ดี

อันผู้ไม่ทำดีประการต่างๆ ด้วยกายวาจา อันเนื่องมาจากใจที่ไม่ดีของเขานั้น ที่จริงแล้วผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาพอสมควร ประกอบด้วยความเชื่อในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรมไม่น่าจะมีผู้ใดปรารถนาเป็นคนไม่ดี แต่ทำไมจึงมีคนไม่ดีมากมาย ทั้งๆ ที่มิได้ปรารถนา คิดให้เข้าใจในเรื่องของกรรมจะรู้ชัดว่ากรรมที่คนผู้นั้นทำไว้ในอดีต ได้ติดตามห้อมล้อมจิตเขามาให้ปรากฏเป็นผลในปัจจุบัน ทั้งที่ในปัจจุบันเขาก็มิได้ต้องการให้เป็นเช่นนั้น และหากเขาเข้าใจเรื่องของกรรมบ้างแล้ว เขาจะกลัวไปถึงชาติในอนาคต เขาจะพยายามไม่ทำกรรมไม่ดี เพราะเข็ดกลัวผลของกรรมที่ทำให้เขาต้องเป็นคนไม่ดีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เขาไม่ปรารถนาเลย

O ความรักผู้อื่น ทำให้หลีกเลี่ยงการทำกรรมไม่ดีได้

เป็นผู้ใหญ่ก็อย่าทำกรรมไม่ดี เป็นเด็กหรือเป็นหนุ่มสาวก็อย่าทำกรรมไม่ดี แม้รักตัวเองก็อย่าทำกรรมไม่ดี จงทำแต่กรรมดี หรือแม้รักพ่อแม่พี่น้องลูกหลาน ก็อย่าทำกรรมไม่ดี ผลไม่ดีที่ผู้ทำได้รับนั้นจะทำให้บรรดาผู้ที่รักตนพลอยกระทบกระเทือนไปด้วย ลองนึกถึงใจตนเอง เมื่อเห็นผู้ที่ตนรักทำความไม่ดี แม้ผลไม่ดี ยังไม่ทันปรากฏชัด ตนก็ไม่สบายใจ ยิ่งเมื่อได้ผลร้ายเกิดขึ้นสนองผู้ทำกรรม เราผู้มีความผูกพันกับเขา ก็ย่อมเหมือนพลอยได้รับผลร้ายด้วย

O ถ้าเราทำกรรมไม่ดี ผู้ที่รักเราก็ได้รับผลไม่ดีไปด้วย

ดังนั้นแม้ไม่รักตนเอง ก่อนจะทำอะไรก็ควรนึกถึงใครทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องมีผู้เป็นที่รักอยู่ด้วย ถ้าเราทำกรรมไม่ดีได้รับผลไม่ดี ผู้ที่รักเราและผู้ที่เรารักก็จะต้องพลอยได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจไปด้วยอย่างไม่ยุติธรรม เพราะมิได้เป็นผู้ทำกรรมไม่ดีด้วย แต่ต้องพลอยได้รับผลไม่ดีเพราะความผูกพัน ดังนั้นจะทำความไม่ดีใด ก็น่าจะนึกถึงบรรดาผู้ที่มีความผูกพันกับเราบ้าง อาจจะช่วยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นในการหลีกเลี่ยงการทำกรรมไม่ดี

O ใช้สติยั้งคิดให้เคยชินก่อนทำกรรมไม่ดีใดๆ

ก่อนจะทำกรรมใด แม้หยุดยั้งตั้งสติ คิดให้ดีว่ากรรมนั้นดีหรือไม่ดี ก็จะทำให้ไม่ทำกรรมไม่ดีอย่างเต็มใจ อย่างสบายใจ แต่จะมีเวลายับยั้งชั่งใจ อันเป็นความสำคัญควรจะทำให้เป็นความเคยชินด้วยกันทุกคน

O หมั่นพิจารณาให้กลัวกรรมไม่ดีอยู่เนืองๆ

การพิจารณากรรมให้กลัวกรรมไม่ดีนั้น อาจทำได้แม้เมื่อเป็นสิงสาราสัตว์ จะเห็นตัวจริงหรือเห็นเพียงรูปภาพก็ตาม สัตว์เหล่านั้นล้วนมีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกนึกคิด แต่ก็เหตุใดเล่าที่ทำให้ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ ไม่ได้เกิดเป็นผู้เป็นคนเป็นมนุษย์ที่สูงกว่าประเสริฐกว่าเป็นอันมาก ต้องเป็นกรรมที่สัตว์เหล่านั้นได้ประกอบกระทำมาให้อดีตชาติปรุงแต่งให้เป็นไป ให้มีรูปลักษณ์ของสัตว์ ที่แม้บางชนิดจะน่ารักน่าเอ็นดู แต่ก็เป็นสัตว์ แม้จะได้รับความรักความเอ็นดูอุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงดูอย่างดี ก็เป็นแบบที่ให้แก่สัตว์ และก็ไม่แน่ใจน่าสัตว์จะมีความคิดอย่างไร จะเศร้าเสียใจในความต้องการเป็นสัตว์หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพ้นจากภพภูมิมนุษย์ทันทีก็ได้ภพภูมิของสัตว์ อาจจะยังไม่ลืมชีวิตในภพภูมิมนุษย์ อาจจะยังจำผู้คนที่เกี่ยวข้องด้วยได้ จิตของสัตว์นั้นจะน่าสงสารสักเพียงไหน แต่เมื่อเกิดแล้วก็เลือกไม่ได้แล้วที่จะเกิดเป็นอะไรอื่น ถึงอย่างไรก็ตาม ทุกคนมีโอกาสที่จะเลือกชีวิตข้างหน้า ภพภูมิข้างหน้าได้ ถึงทำความดีให้เต็มความสามารถ อย่าละโอกาสที่จะทำความดีเลย นั่นแหละจะเป็นการเลือกภพชาติข้างหน้าสำหรับตนได้ จะเลือกเป็นอะไรก็ได้ ไม่เป็นอะไรก็ได้

O ผู้ไม่ประมาท ระวังในการกระทำกรรม

อนิจจัง....ความไม่เที่ยง
ทุกขัง.....ความเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลง
อนัตตา....ความไม่เป็นไปตามปรารถนาต้องการ นี้คือ ไตรลักษณ์ ลักษณะสามที่มีในทุกคนทุกสิ่ง ความสุข ความทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม ความเป็นมนุษย์ ความเป็นสัตว์ เหล่านี้ตนอยู่ในไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ดังนั้นแม้ว่าชาติหนึ่งกรรมไม่ดีจะแต่งให้เป็นสัตว์ ก็มิใช่ว่าจะต้องเป็นสัตว์ทุกชาติ และแม้ว่าชาติหนึ่งกรรมดีจะนำให้เป็นมนุษย์ ก็มิใช่ว่าจะได้เป็นมนุษย์ทุกชาติ นั่นก็คือสัตว์ย่อมเป็นคนได้ และคนก็ย่อมเป็นสัตว์ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับกรรมของแต่ละคน แต่ละสัตว์ ผู้ไม่ประมาทระวังในการกระทำกรรม ย่อมสามารถพ้นจากการถือภพชาติอันไม่ปรารถนาได้

O ผู้ไม่ประมาทพึงทำใจให้พ้นจากความยึดมั่น

กรรมที่อาจทำให้มนุษย์ในชาติหนึ่งต้องเป็นสัตว์ในอีกชาติหนึ่ง หรือทำสัตว์ในชาติหนึ่งให้กลับเป็นมนุษย์ในอีกชาติหนึ่ง มีผู้เขียนบ้างเล่าบ้างไว้หลายเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องที่มีปรากฏในพุทธกาล จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามพึงไม่ประมาท กรรมใดที่เคยมีแสดงไว้ว่า ทำให้มนุษย์ต้องเกิดเป็นสัตว์ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่พึงทำ กรรมสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นกรรมทางใจคือความผูกพัน ผู้ตายมีความผูกพันในภพภูมิของตน เช่น ผูกพันในทรัพย์สมบัติของตนในภพภูมินั้น ความผูกพันยึดมั่นอาจนำให้กลับมาเกิดในบ้านเรือนตนอีกได้ แต่จะมิใช่เป็นมนุษย์ มีเรื่องเล่าว่า เกิดเป็นเล็นก็มี เกิดเป็นสุนัขก็มี ซึ่งน่าจะไม่มีผู้ใดปรารถนาจะเป็น จึงน่าจะต้องระวังกรรมทางใจให้มาก เช่นเดียวกับกรรมทางกายทางวาจา อย่ายึดมั่นห่วงใยในอะไรให้มากนัก วางเสีย ปล่อยเสีย ท่องพุทโธไว้เสมอนั่นแหละจะทำให้ถอนใจจากความยึดมั่นได้ เคยมีผู้เล่าเรื่องของพระพุทธรูปงดงามองค์หนึ่ง สิ้นชีวิตไปในขณะที่จิตใจกำหลังรักและหวงแหนพระพุทธรูปองค์นั้นอย่างยิ่ง เมื่อมีผู้มาขอชมพระพุทธรูป ก็มีงูใหญ่เลื้อยมาแผ่พังพานขู่อยู่ต่อหน้าแสดงความหวงแหน เมื่อผู้มาขอชมพูดว่าเพียงมาขอชมไม่ได้คิดจะนำไปเป็นของตน งูก็เลื้อยห่างไป ว่ากันว่าเจ้าของพระพุทธรูปได้มาเกิดเป็นงูเสียแล้ว เพราะความผูกพันหวงแหนพระพุทธรูป ความยึดมั่นผูกพันจึงเป็นกรรมทางใจที่น่าจะเป็นเหตุแห่งการทำให้มนุษย์ในชาติหนึ่งต้องเป็นสัตว์ในอีกชาติหนึ่งได้ จึงไม่พึงประมาท จะจริงหรือไม่จริง เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็อย่าประมาทไว้ก่อน พยายามทำกรรมทางใจให้พ้นจากความยึดมั่นถือมั่นให้ได้เต็มความสามารถเถิด

O อำนาจแห่งมโนกรรม

ในสมัยพุทธกาล มีเรื่องที่พระภิกษุรูปหนึ่งเมื่อมรณภาพลงพระรูปหนึ่งจะนำจีวรไป พระพุทธเจ้าทรงห้ามและรับสั่งเล่าว่า พระภิกษุผู้เป็นเจ้าของจีวรนั้น ได้มาเกิดเป็นเล็นเกาะอยู่ที่จีวรที่ท่านซักตากไว้ เพราะจิตของท่านเมื่อจะมรณภาพนั้นผูกพันอยู่กับจีวรผืนนั้น ที่ท่านเพิ่งได้มา กรรมทางใจหรือมโนกรรมมีโทษหนักเพียงนี้ ทำมนุษย์ในชาติหนึ่ง ให้เป็นสัตว์ในอีกชาติหนึ่งก็ได้ ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือเมื่อเป็นสัตว์แล้ว ก็ยังระลึกถึงครั้งเมื่อเป็นมนุษย์ได้ จะเดือนร้อนใจเพียงไหน พระพุทธเจ้ารับสั่งห้ามไม่ให้นำจีวรไป เพราะเล็นที่เป็นเจ้าของจีวรครั้งยังเป็นพระภิกษุนั้นหวงอยู่ ถ้านำจีวรไปก็จะโกรธแค้นขุ่นเคือง จะทำให้ไม่ได้ไปเสวยผลแห่งกรรมดีที่ได้กระทำไว้แล้วเป็นอันมาก อำนาจกรรมแม้เพียงมโนกรรมทางใจ ไม่ได้ปรากฏเป็น กายกรรม วจีกรรม ถึงเป็นการเบียดเบียนทำร้ายผู้ใด ก็ยังมีอำนาจใหญ่ยิ่งเพียงนี้ พระพุทธเจ้ายังทรงเตือนให้ระวัง ทุกคนจึงควรระวังให้จงหนัก


O กรรมส่งผลแน่นอนต่อผู้กระทำ

ทุกวันนี้มีข่าวฆ่าฟันกันอย่างทารุณโหดเหี้ยม มิได้เว้นแต่ละวันพบแล้ว เห็นแล้ว ก็ให้นึกถึงกรรม เคยฆ่าเขามาก็ถูกเขาตามมาฆ่า คนละภพคนละชาติ ข้ามภพข้ามชาติแล้วก็ยังตามกันมาได้ มาส่งผลได้ เรื่องกรรมเป็นเช่นนี้ จึงน่ากลัวกรรมนัก พึงกลัวกรรมนัก ไม่พึงคิดว่าการเชื่อว่าการฆ่าฟันตามล้างตามผลาญกัน เป็นเรื่องกรรมนั้นเป็นความเชื่อที่เหลวไหล ไม่มีเหตุผล ไม่พึงคิดเช่นนี้ เพราะไม่มีคุณอย่างใด จะถูกหรือจะผิด ถ้านึกเชื่อไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องการให้ผลของกรรม ก็จะทำให้ไม่กล้าทำกรรมไม่ดีโดยตั้งใจ ก็จะพ้นจากผลของกรรมไม่ดีนั้น แน่นอน อุบัติเหตุในยุคนี้สมัยนี้ ที่รุนแรงก็มีมากมาย บางเรื่องไม่น่าเป็นก็เป็น บางคนไม่น่าประสบอุบัติเหตุเช่นนั้นก็ต้องประสบ ดูไปแล้ว คิดไปแล้ว ก็น่าจะรู้สึกว่าอุบัติเหตุอย่างนั้นๆ เกิดขึ้นเพื่อให้คนนั้นคนนี้ต้องบาดเจ็บหรือล้มตายไปเท่านั้น
เมื่อคิดเช่นนี้ เพราะไม่อาจคิดเป็นอื่นได้ ก็ย่อมจะทำให้คิดว่าต้องเป็นเรื่องที่กรรมจะส่งผลแก่ผู้นั้น ในที่นั้น ในเวลานั้น อุบัติเหตุจึงต้องเกิดขึ้นดังนี้ การถูกฆ่าของเด็กไร้เดียงสาหาความผิดไม่ได้ ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อยๆ ในยุคนี้ น่าจะทำให้ความเชื่อในเรื่องกรรมและการทำให้ผลของกรรมหนักแน่นขึ้น ทำไมต้องเป็นเด็กคนนั้นที่ถูกฆ่าทั้งที่ไม่ได้มีเรื่องขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน อยู่ดีๆ มีความสุข ก็ปุบปับถูกนำไปประหัตประหาร ในฐานะเป็นผู้ดู จงดูด้วยความรู้สึกกลัวกรรม ไม่ควรดูด้วยความรู้สึกอาฆาตขุ่นเคือง เพราะจะไม่เป็นคุณแก่จิตใจตนเอง มีแต่จะเป็นโทษ รู้แล้ว ปลงลง นี่แหละอำนาจของกรรมยิ่งใหญ่นัก พึงกลัวนัก

O ใจจักร้อนรุ่ม ถ้าไม่เข้าใจเรื่องกรรมและผลกรรม

แม้ในฐานะเป็นผู้ดู มิใช่ผู้พลอยได้รับความเดือนร้อนทนทุกข์ทรมานด้วย ถ้าไม่สามารถทำใจอบรมใจให้เข้าใจในเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรมได้แล้ว เมื่อตนต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในเหตุการณ์อันร้ายแรง ก็ย่อมยากที่จะช่วยใจตนเองให้พ้นจากความร้อนได้ แม้เพียงพอสมควร

O รับรู้สิ่งใด พึงถือโอกาสอบรมจิตใจเรื่องกรรม

เรื่องร้ายแรงที่เราไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เกิดขึ้นอยู่มากมายทุกวัน ทุกคืน แม้จะอยู่ในบ้านเรือนตนสมัยนี้ก็สามารถรับรู้ได้ เห็นได้ ได้ยินได้ พึงถือโอกาสอบรมใจตนเองให้เชื่อในเรื่องของกรรม กรรมน่ากลัวเพียงไร คิดให้ดี เมื่อกรรมมาถึง หนีได้หรือไม่ คนดีในชีวิตนี้มิใช่ว่าจะไม่เคยทำกรรมไม่ดีมาก่อนในอดีตชาติ
ดังนั้น จึงปรากฏย่อยๆ ว่าคนดีแสนดีกลับต้องได้ความทุกข์หนักหนา ด้วยโรคภัยไข้เจ็บบ้าง ด้วยความไม่สมหวังในเรื่องใหญ่โตสำคัญแก่จิตใจบ้าง เป็นเหตุให้ต้องเศร้าหมองทรมานอย่างยิ่ง


O ผู้มีปัญญาพึงรับผลของกรรมให้ถูกต้อง

เราได้รู้ได้เห็นอย่าพิศวงสงสัย อย่าได้คิดผิดว่าคนทำดีไม่ได้ดี แต่จงวางใจให้ถูก ให้เป็นประโยชน์แก่ตน วางใจลงในกรรมที่สลับซับซ้อนยิ่งนัก ยากที่จักเข้าใจ แต่ก็ไม่ยากที่จะเชื่อไว้ก่อน อะไรที่เชื่อไว้ก่อนแล้วไม่มีโทษมีแต่คุณ ผู้มีปัญญาแม้พอสมควรย่อมไม่ดื้อปฏิเสธ การรับผลของกรรมนั้นสำคัญมาก สำคัญทั้งการับผลของกรรมชั่วและการรับผลของกรรมดี ไม่สำคัญแต่เพียงการรับผลของกรรมชั่วเท่านั้น การรับผลของกรรมดีก็สำคัญ การรับผลของกรรมดีนั้น ถ้ารับไม่ถูกก็มีโทษร้ายแรงแก่จิตใจน่าจะรุนแรงกว่าการรับผลของกรรมชั่วอย่างไม่ถูกวิธีเสียอีกด้วย ผู้ทำกรรมดีไว้เป็นบารมี ส่งให้ชาตินี้สมบูรณ์พร้อม แม้รับผลแห่งกรรมดีหรือผลของบารมีไม่ถูก ผลเสียที่จะเกิดตามมาคือ ความหลงตน อันความหลงตนนั้นจะพาความหลงอีกมากมายให้ตามมา เป็นโทษมหันต์นัก

O ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว มีคุณและโทษในตัว

ผลของกรรมดีและผลของกรรมชั่ว มีทั้งคุณและมีทั้งโทษอยู่ในตัว คุณหรือโทษจะปรากฏตามการวางใจรับผลนั้น ผลของกรรมดีที่เกิดแก่ผู้ใดก็ตาม แม้ผู้นั้นวางใจรับไม่ถูก ไม่ประกอบด้วยปัญญา ผลดีก็จะไม่สมบูรณ์ ทั้งผลร้ายก็จะต้องตามมา

O การทำใจให้รับผลของกรรมดีอย่างถูกต้อง

ผู้ได้รับผลดีของกรรมดี คือ การได้ประสบโลกธรรมฝ่ายดี คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข นั่นเอง ต้องรับให้ดี ต้องรับให้ถูก วิธีทำใจให้รับโลกธรรมอย่างถูกต้องที่สุดก็คือให้คิดว่า ลาภก็ตาม ยศก็ตาม สรรเสริญก็ตาม สุขก็ตาม ล้วนอยู่ในลักษณะของไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ ได้รับผลดีของกรรมดี คือ ได้ประสบโลกธรรมฝ่ายดีเมื่อไร เมื่อนั้นให้ถึงคิดไตรลักษณ์ให้ทันที จะรับผลดีของกรรมดีที่ดียิ่งกว่าผลดีทั้งนั้น การคิดถึงไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ คือ การทำความดีทางใจ
เป็นมโนกรรมที่ดี จึงย่อมได้รับผลเป็นความดีตรงตามเหตุที่ได้กระทำ ที่จริงมโนกรรม กรรมทางใจ คือ คิดดีนั้น แม้ตั้งใจจริงที่จะทำก็น่าจะง่ายกว่ากรรมทางกาย ทางวาจา เพราะเรื่องของความคิดเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของเราเองอย่างแท้จริง ไม่เกี่ยวกับผู้ใดหรืออะไรเลย ความคิดอยู่กับเราจริงๆ ไม่มีผู้ใดอาจล่วงล้ำก้ำเกิดไปบังคับบัญชาได้

O การทำใจเมื่อได้รับผลของกรรมชั่วอย่างถูกต้อง

ได้รับผลของกรรมชั่ว คือ ได้ประสบโลกธรรมฝ่ายไม่ดี ก็ควรต้องทำใจให้รับให้ถูก เช่นเดียวกับการทำใจรับโลกธรรมฝ่ายดีเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะปล่อยใจให้ตกอยู่ในอำนาจของความทุกข์ ความเศร้าเสียใจ หรือความโกรธแค้นอาฆาตพยาบาท รับผลไม่ดีของกรรมไม่ดี ด้วยวิธีคิดเช่นเดียวกับเมื่อได้รับผลดีของกรรมดี คือ คิดถึงไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการของผู้ใดทั้งสิ้น ทุกข์แล้วก็สุข เป็นธรรมดา

O ผลของกรรมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ทั้งผลของกรรมดี และผลของกรรมชั่ว ล้วนมีลักษณะสาม คือ ไม่เที่ยง ทนทุกข์อยู่ไม่ได้ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการของผู้ใด กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทั้งผลของกรรมดีและกรรมชั่วนั้น เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ ไม่มีที่จะยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป

O พึงละความยึดมั่นในผลของกรรมทั้งปวง

สิ่งทั้งปวงเกิดแล้วต้องดับ คือมีลักษณะสาม มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ โลกธรรมผ่ายดีคือผลของกรรมดีก็เช่นกัน เกิดแล้วต้องดับ โลกธรรมฝ่ายไม่ดีคือผลของกรรมไม่ดีก็เช่นกัน เกิดแล้วต้องดับ เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อรู้เช่นนี้ตามเป็นจริงแล้ว ก็พึงละความยึดมั่นในผลของกรรมที่ได้ประสบอยู่ ไม่ว่าจะเมื่อประสบผลดีหรือเมื่อได้ประสบผลชั่วก็ตาม

O ถึงทุ่มเทจิตใจให้กระทำแต่กรรมดี

ความยึดมั่นถือมั่น เป็นความไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละ แต่เมื่อยังละความยึดทุกอย่างไม่ได้ ก็พึงทุ่มเทจิตใจให้ยึดมั่นการทำกรรมดี ยึดมั่นความเชื่อในผลของการทำความดี ว่าทำดีจักได้ดีจริง มีความยึดมั่นความเชื่อในผลของการทำความชั่ว ว่าทำชั่วจักได้ชั่วจริง ความยึดมั่นเช่นนี้จักเป็นทางนำไปดี ให้ได้ทำดี ไม่ทำไม่ดี ซึ่งก็ย่อมจักนำให้พ้นทุกข์โทษภัยของกรรมไม่ดี ได้รับแต่คุณประโยชน์สารพัดของกรรมดี



ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ในการพุทธศาสนา จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้มีพระปลอมมาทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย เช่นที่ผู้รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้เป็นผู้ปลอมเป็นพระ ถอดผ้ากาสาวพัตร์ออกจากตัว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน ต้องไม่มียกเว้นว่า คนนั้นปลอมได้คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น ประกาศนั้นเป็นคำบอกเล่าเป็นคำเตือนให้รู้ เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับมหาเถรฯไม่บังคับให้เชื่อ ไม่บังคับใครให้ทำอะไร แสดงความถูกผิดให้ปรากฏอยู่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงต้องทำหน้าที่ส่วนตนให้เรียบร้อยถูกต้อง บอกความจริงด้วยความหวังดีมิได้บังคับ จงเข้าใจทั่วกัน" ข้อมูลผู้ทำลายพระศาสนา ที่ http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2011/11/blog-post_21.html


บทความและข้อมูลประวัติศาสตร์ ในการปกป้องและสืบทอดสถาบันพระศาสนา ที่หาอ่านและศึกษาที่ไหนไม่ได้ เชิญท่านพิสูจน์ที่ http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/


ฉบับที่ ๑

๑.หากพระรูปใด บิดเบือนพระธรรม กล่าวหาพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำ สงฆ์ให้แตกแยกเป็น 2 ฝ่ายถือเป็นกรรมหนักสุด ทางศาสนาเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้ง ปัจจุบันและอนาคตที่หนัก
๒. พระรูปใด ได้ทรัพย์สิน ระหว่างที่บวชเพื่อความถูกต้อง ก็ต้องโอน สมบัติทั้งหมดเป็นของวัด

ฉบับที่ ๒

"ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง มีความเข้าใจความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้ามเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการกระทำที่ถูกต้อง คือ ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที

การไม่ยอมคืนสมบัติให้วัด ในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาเป็นของตน แต่เมื่อถึงอย่างไร ก็ยังไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะ โดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา "

ฉบับที่ ๓

"การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปคือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกฐานผิดพระธรรมวินัยพ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ

ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ในการพุทธศาสนา จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้มีพระปลอมมาทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย เช่นที่ผู้รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้เป็นผู้ปลอมเป็นพระ ถอดผ้ากาสาวพัตร์ออกจากตัว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน ต้องไม่มียกเว้นว่า คนนั้นปลอมได้คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น

ประกาศนั้นเป็นคำบอกเล่าเป็นคำเตือนให้รู้ เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับมหาเถรฯไม่บังคับให้เชื่อ ไม่บังคับใครให้ทำอะไร แสดงความถูกผิดให้ปรากฏอยู่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงต้องทำหน้าที่ส่วนตนให้เรียบร้อยถูกต้อง บอกความจริงด้วยความหวังดีมิได้บังคับ จงเข้าใจทั่วกัน"

ฉบับที่ ๔

" ในกรณีเกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย เราได้ทำหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชสมบูรณ์ตามอำนาจแล้ว จึงไม่มีอะไรจะพูดอีกขณะนี้ ขออนุโมทนาทุกท่านที่สนใจห่วงใยพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นคนดี ด้วยมีกตัญญูกตเวทิตาธรรม "

ฉบับที่ ๕

" ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าชัดเจนดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช
สกลสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจ

ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งฟัง
รับรู้ในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 "


--------------------------------------------------------------------------------


พระวรธรรมคติ สมเด็จพระสังฆราช

พระวรธรรมคติ 1

เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2542ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่พุทธมณฑล มีการประชุมสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสทั่วประเทศ โดยมีพระสังฆาธิการ 800 องค์ ร่วมพิธีและถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานเปิดงาน โดยมีดำรัสเป็นพระวรธรรมคติว่า ยุคนี้เรียกว่าโลกาภิวัฒน์ต้องยอมรับยุ่งยากที่สุด ความเดือดร้อนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า เป็นเครื่องชี้ให้เห็นจิตใจผู้คน ห่างไกล จากพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าอย่างลิบลับ ทั้งที่มีการสอนพระพุทธศาสนา สอนธรรมะปฎิบัติ น่าเสียใจน่าห่วงใย ใจคนทรุดต่ำลงมากมาย และเหลือเชื่อ เห็นได้จากการทำความไม่ดีไม่รู้สึกรู้สมไม่รู้จักอับอาย

แม้กระทั่งพระ ก็ไม่สะดุ้งสะเทือน ปฏิบัติละเมิดศีล ละเมิดพระธรรมวินัยจนไม่เหลือให้เป็นผู้มีศีล มีธรรม มีวินัยของพระสงฆ์อีกแล้ว ที่จริง แม้ไม่นำมาพูดก็รู้กันดีอยู่ วันนี้จะขอร้องเพียงว่า อย่าทำตนเอง ให้เป็นเช่นที่รู้ที่เห็นดังกล่าว ขอจงรักษาตัว รักษาใจให้เป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่ง ในการประคับประคอง สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ให้พ้นจากวิกฤตแลวร้าย พระเป็นที่พึ่งสำคัญ ของญาติโยม ขอทำตนให้เป็นที่พี่งที่แท้จริง "เพื่อให้สามารถรักษาตนให้พ้นความผิดความชั่วได้ ขอจงตั้งใจศึกษา จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่มากมาย มิได้ว่างเว้นแต่ละเวลา ความตายที่เกิดขึ้นให้รู้ให้เห็น ตรงนี้ เป็นเหตุให้ผู้ไม่มืดบอดไปคิด ให้เกิดความกลัว ที่จะต้องพบกับความตาย โดยมิได้ทำความดี โดยที่ทำความชั่วอยู่หนักนักหนา เชื่อว่าไม่มีสักกี่คน ที่ไม่กลัวผลของความชั่ว ผลของการผิดศีลธรรมผิดวินัย ของพระของเณร เพียงแต่พากันประมาทจนเกินไป อยากขอให้กลัวความตายที่จะเกิดแก่ตน ขณะที่มีบาปมีกรรมชั่วร้าย ที่เป็นทางไปสู่ภพชาติ ที่น่าสะพรึงกับต่าง ๆ นาน ๆ สมบัติสักนิดติดตัวไปก็ไม่ได้ มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่ตามประชิดติดอยู่"

สมเด็จพระสังฆราชตรัสอีกว่า ให้พระภิกษุ สามเณร หยุดความเหิมเห่อทะเยอทะยาน ควรปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ เมื่อชาติหน้ามาถึง จะได้ไม่ไปอายสัตว์นรกที่อยู่ก่อน โดยเฉพาะสัตว์นรกพวกนี้ไม่ได้เป็นพระเป็นเณรมาก่อน ไหน ๆ บวชเรียนมาแล้วเป็นเวลานานปี อย่าให้เสียเวลาเปล่า จงเร่งทำประโยชน์ให้ตัวเองพ้นนรก พ้นกรรมหนัก ที่เป็นผู้ทำพระพุทธศาสนาสนา ให้ด่างพร้อย ให้ถูกแวดล้อมด้วยความสกปรกของพระเณรที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรม ไม่มีวินัย ยุคนี้สมัยนี้เห็นต้องพูดเช่นนี้ หวังว่าที่พูดในวันนี้พระเณรคงได้ยินและเชื่อกันบ้าง เพื่อให้พรตนเองให้พ้นกรรมมหันต์ เป็นสุขทั้งชาตินี้และชาติหน้า ขอฝากทุกคนไว้แค่นี้

พระวรธรรมคติ 2

สมเด็จพระสังฆราช ประทาน พระวรธรรมคติ อีกฉบับให้กับคณะสงฆ์ที่จะเดินทางไปประเทศสหรัฐฯ ในวันที่ 22 มิ.ย.2542นี้ โดยจะตีพิมพ์หนังสือ "อนุสรณ์ธรรมศึกษา" ประจำปี 2542 ของวัดป่าธรรมชาติ เมืองลาพวนเต้ ประเทศสหรัฐฯ ใจความว่าแม้ไม่พูดก็ทราบกันดีทุกคน ขณะนี้กำลังปรากฏ ความชุลมุนวุ่นวายในบรรดา ผู้นับถือพระพุทธศาสนา แต่มิใช่ความวุ่นวายหรือเศร้าหมองในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธศาสนาจะไม่ศร้าหมองด้วยเหตุใดทั้งสิ้น

พระพุทธศาสนานั้น สมเด็จพระสังฆราช ทรงเปรียบว่าเหมือนเพชรที่ไม่ว่า จะนำโคลนตมสิ่งสกปรกโสโครกใด ไปพอกทาก็หาอาจทำให้เพชร เกิดความมัวหมองได้ไม่ เมื่อสิ่งสกปรก ถูกขจัดออกไป เพชรย่อมปรากฏความเป็นเพชรดวงงามบริสุทธิ์ล้ำค่าเช่นเดิม จึงมั่นใจได้ว่า เมื่อความชุลมุนวุ่นวาย ที่กำลังเกิดขึ้นสงบลง พระพุทธศาสนาก็จะปรากฏ ความรุ่งเรือง สว่างสืบไปในไทยและในโลก

ความสำคัญอยู่ที่ว่าชาวไทย ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด นอกหรือในประเทศต้องมี ความสามัคคีพร้อมใจแก้ปัญหา ทำความวุ่นวายให้สงบโดยเร็ว แสงแห่งพระพุทธศาสนา จะได้พ้นจากการถูกพรางไว้ด้วยความสกปรกวุ่นวาย อันเกิดแต่ความเบาปัญญา ของผู้ไม่รู้คุณของพระพุทธศาสนา โดยหลงเข้าใจผิด ด้วยมีมิจฉาทิฐิว่า ตนกำลังเป็นกำลังสำคัญ เทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนา ซึ่งการรู้ธรรมะในพระพุทธศาสนา อย่างถูกต้องแม้เพียงพอสมควร จะป้องกันมิให้เกิดมิจฉาทิฐิเช่นนั้นได้ จะพ้นจากการที่เป็นผู้ทำดีมีบุญ ไปเป็นการทำไม่ดีมีบาป เพราะทำร้ายพระพุทธศาสนาได้ด้วยความเบาปัญญา อันเป็นโทษ ที่ร้ายแรงหนักหนา

พระพุทธศาสนา จะสว่างเจิดจ้า เหนือแสงใดทั้งปวง อยู่ทุกหนทุกแห่งทุกนาที ชาวพุทธมีหน้าที่ต้องขจัดความสกปรก ให้ไกลออกไปเพื่อจะได้รับแสงสว่าง งดงามแห่งพระพุทธศาสนา ส่องทางชีวิตให้ดำเนินไปอย่างสวัสดีที่สุด ในโลกแห่งความมืดนักหนานี้

พระวรธรรมคติ 3

เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 29 ส.ค. 42 ที่ห้องประชุมมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกฯ ได้ทรงเสด็จเป็นองค์ประทานการประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาสในเขตปกครองตามมติมหาเถรสมาคม จำนวน 321 รูป ในการนี้ได้ทรงประทานพระวรธรรมคติแก่พระสังฆาธิการที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้

ช่วงหนึ่งของพระวรธรรมคติระบุว่า ทุกวันนี้สถาบัน พระพุทธศาสนา ที่สูงส่งประเสริฐสุดต้องการความหวังดีอย่างจริงใจจากพุทธบริษัท 4 เพราะความหวังดี อย่างจริงใจของพุทธบริษัทนี่แหละที่จะเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้เป็นคุณประโยชน์ต่อไทย และต่อทุกชาติในโลก พูดเช่นนี้มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาจะหมดสิ้นไปจากโลก แม้ไม่ได้รับน้ำใจหวังดีจากผู้เป็นพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธศาสนาไม่มีวันจะดับสูญไปจากโลก

บ้านเมืองไทยของเรา อันหมายรวมถึงประเทศชาติไทย พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์
3 สถาบันหลักชีวิตของเราไทยทุกถ้วนหน้า จะตกอยู่ในความมืด ความร้อน ความร้ายแรง หนักขึ้นและหนักขึ้นแน่นอน แม้เราทั้งหลายโดยเฉพาะเราผู้เป็นพระเป็นเณร ผู้มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องทุ่มเทกำลังทั้งปวง ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาด้วยความหวังดีจริงใจ มิใช่ด้วยหวังเงินทองสมณศักดิ์ ฟังธรรมให้ธรรมดีกว่าให้เงิน

กฎหมายพระสงฆ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดตราไว้ ข้อที่ 1 ว่า มีพระราชกระแสให้นิยมการฟังธรรมยิ่งกว่าอามิสทาน ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้น้อยผู้ใหญ่สมาทานพระไตรสรณคมน์ ศีล 5 ศีล 8
ศีล 10 ในสำนักพระสงฆ์ทุกวันทุกเวลา เป็นปฏิบัติบูชา อันเป็นกองมหากุศลวิเศษประเสริฐกว่าอามิสบูชาทั้งปวง ทั้งทรงโปรดให้มีพระธรรมเทศนา
เป็นธรรมทาน ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฟัง เป็นกองพระราชมหากุศล อันประมาณผลมิได้ บุคคลผู้ประพฤติเป็นสัมมาคารวะต่อพระธรรมในพระไตรปิฎกจะมีผลประมาณมิได้ เมื่อประพฤติมิได้มีสัมมาคารวะต่อพระธรรมในพระไตรปิฎก ก็จะมีโทษแก่บุคคลผู้นั้น อันเป็นโทษใหญ่หลวงนักหนา

พระเณรยุคนี้น่าจะพยายามทำความนิยมให้ตรงกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตราเป็นกฎหมายพระสงฆ์ ดังกล่าวมาคือนิยมการฟังธรรม การให้ธรรม ยิ่งกว่าอามิสทานเถิด อามิสทานที่เป็นเงินเป็นทองนั้น อย่าลืมว่าสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทางกล่าวไว้ว่าเป็นงูพิษ และพิษของงูคือสิ่งที่จะทำลายชีวิตได้อย่างแน่นอน ที่ควรกลัวอย่างยิ่งคือ พิษของงูพิษนั้นทำลายชีวิต แต่พิษของเงินทองนั้นทำลายได้สิ้นทั้งชีวิต ทั้งชื่อเสียงเกียรติยศ พิษของเงินทองจึงน่ากลัวยิ่งกว่าพิษของงูพิษมากมายเกินกว่าจะประมาณได้ ยิ่งเป็นพระเณรก็ยิ่งควรกลัวพิษเงินทองให้มากเป็นพิเศษ วงการสงฆ์วุ่นเพราะพระ

นอกจากพระวรธรรมคติแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมเด็จพระสังฆราชทางประทานพระวรธรรมคติอีกฉบับหนึ่ง ทั้งนี้รายละเอียดในพระวรธรรมคติเป็นเรื่องของคำว่า พระ โดยมีสาระโดยสรุปว่า พระ
แปลว่า ผู้ประเสริฐ ควรเป็นที่ภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับทุกรูปที่เป็นพระ การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐนั้นมิใช่จะเป็นไปได้ง่ายสำหรับคนทั่วไป พวกเรา ผู้เป็นพระได้รับมอบหมายแล้วโดยอัตโนมัติแสดงถึงความเชื่อถือว่าเราเป็นผู้ประเสริฐ
แน่นอนแล้ว เมื่อถือเพศสมณะ เป็นพระ

ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า ที่ความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมายในวงการพระสงฆ์ ซึ่งจะโทษว่าเป็นใครอื่นที่มิใช่พระมิใช่สงฆ์มาทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ถูก ต้องยอมรับ
ความจริงว่า พระสงฆ์ทำกันเอง คิดความวุ่นวายขึ้นเอง วงการของพระของสงฆ์ทุกวันนี้จึงวุ่นดังเป็นที่รู้ที่เห็น ที่ห่วงใยกันอยู่เป็นอย่างยิ่ง เราเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่สุดประเสริฐ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นสมเด็จพระบรมครูของเรา มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า ผลย่อมเกิดแต่เหตุ ดับเหตุได้
ย่อมดับผลได้ ทำเหตุใดย่อมได้ผลนั้น นั่นก็คือเพราะทุกวันนี้เราก่อเหตุวุ่นวาย ผลจึงวุ่นวาย ปรากฎให้เห็นอยู่ชัดเจน

เราทุกคนต้องตาย และเมื่อถึงเวลานั้น อำนาจก็ตาม ความใหญ่ก็ตาม ความดังก็ตาม
สมบัติ มหาสมบัติก็ตามหาติดตามเราไปได้ไม่ ที่น่ากลัวอย่างยิ่งก็คือชาติหน้า
ของทุกคนอยู่ติดกับชาตินี้ วินาทีเดียว ก็อาจไปถึงชาติหน้าได้ จะนำชีวิตไปถึงชาติหน้า
อย่างงดงามพรั่งพร้อม หรือชาติหน้าที่เป็นนรกอเวจีก็เลือกเถิด

พระวรธรรมคติ 4

เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พระราชทานพระวรธรรมคติเป็นลาย พระหัตถ์ให้สื่อมวลชนตามคำขอ เนื่องในวันประสูติครบรอบ 86 พรรษา ในวันที่ 3 ต.ค. นี้ว่าระยะหลังมีข่าวพาดพิงถึงบ่อย มีผู้อ่านให้ฟัง หรือเล่าบ้าง พอเข้าใจงานของนักข่าว แต่เดิมเสียงพูดถึงนักข่าวไม่น่าไว้วางใจ แต่ระยะหลังกลับเป็นผู้มีอุดมคติได้รับสรรเสริญอยู่มากที่เข้าถึงหู ทำให้สบายใจ เกิดความเชื่อถือและมีความอุ่นใจว่าสื่อมวลชนไม่ทิ้งสิ่งสูงค่าที่สุดคือพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นผู้มีปัญญา รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด มีสัมมาทิฐิคือความเห็นชอบ ซึ่งถือเป็นอันดับ 1 ในมรรค 8 แม้ผู้มิได้ปรารถนาเป็นพระอรหันต์การปฏิบัติมรรค 8 ด้วยยึดมั่นในความเห็นชอบ แม้ในเรื่องราวทั้งหลายที่เผชิญอยู่ย่อมได้รับความพิทักษ์รักษาจากพระศาสนาให้พ้นความเสียชื่อ เสียคน เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรีความเป็นคน

ผลงานสื่อมวลชนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแสดงชัดเจนว่านักข่าวมีสัมมาทิฐิมั่นคง รักษาความดี ให้กลัวผลแห่งกรรม เพราะต้องมีชาติหน้าแน่ เป็นคนให้เป็นคนดีเถิด เป็นพระให้เป็นพระดี จะไม่ได้ไม่ถูกแรงดูดจากนรกลงไปเร่าร้อนทรมานแสนสาหัส สื่อมวลชนมีโอกาสกว่าคนทั่วไปที่จะนำคนจำนวนมากเป็นสุข รักษาความยุติธรรมเที่ยงตรง และให้รักษาความเห็นชอบไว้ให้มั่นคง แม้ชาติหน้ามาถึงก็ไม่มีอะไรน่ากลัว เพราะเป็นคนดี รวมถึงได้ทำบุญที่ยิ่งใหญ่สุดคือร่วมรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่อยู่หนือสิ่งอื่นใดทั้งปวง และขอฝากสัมมาทิฐินี้ไว้สำคัญยิ่งใหญ่กว่าให้พรอื่น

พระวรธรรมคติ 5

ในวันเดียวกัน ( 14/10/42 ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประทาน พระวรธรรมคติ
ในการเปิดประชุม นวกภิกษุพระธรรมยุติส่วนกลาง ความว่า โลกอยู่ในช่วงวิกฤต การปฏิบัติตามพระธรรม จะปกป้อง คุ้มครองภัยทั้งปวงได้เหตุการณ์ที่ชาวไทยกำลังผจญอยู่ทำให้เห็นว่าจิตใจคนปราศจากพระธรรม ปล่อยให้อำนาจชั่วร้ายของกิเลศเข้าครอบงำ ให้ทำความชั่วช้าได้สารพัด ควรเป็นคนดีกลับเป็นคนเลว ควรเป็นพระดีกลับเป็นพระเลว

อย่างไรเสียยังไม่สายจะกลับตัวกลับใจได้ทัน ที่สำคัญต้องตั้งใจแน่วแน่จริง ในพริบตาเดียวอาจเปลี่ยนใจชั่วร้ายให้เป็นใจที่ดีได้ เพราะใจเป็นใหญ่ จึงขอให้คิดให้ดีจะเป็นพระดี เป็น คนดีหรือจะเป็นพระไม่ดี คนไม่ดี บาปบุญเท่านั้นจะติดตามไปดังเงา อย่ายอมทำบาป ทำความชั่วร้าย ใด ๆเพื่อแลกกับเงินทองหรือยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็นของพระหรือของคนธรรมดาไหน ๆ ความตายก็ประชิดติดตัวทุกคนอยู่แล้ว ชาวพุทธมีโอกาสทำกุศลยิ่งใหญ่ ด้วยการเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนา และให้กลัวกรรมที่ทำต่อพระพุทธศาสนา โดยทรงยกตัวอย่างของพระองคุลิมาลกับพระเทวทัตให้กลัวกรรมที่ทำกับพระศาสนา จนไม่เห็นค่าสูงสุด และกล้านำไปแลกกับอะไร ๆ ทั้งหลายที่ปรารถนาต้องการ แผ่นดินทุกวันนี้ยังแยกได้ ธรณีก็ย่อมยังสูบได้ เช่นเดียวกับพระเทวทัต ช่วยกันนำไปเตือนใคร ๆ ให้ด้วย จะเป็นการเทิดทูนรักษาพระศาสนาด้วยวิธีหนึ่ง

ที่มา http://rabob.tripod.com/pralikit.htm

บันทึกประวัติศาสตร์ ที่ http://www.facebook.com/thaihistory/notes

โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ NGO

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ