ธรรมกาย-ทำอันตราย ต่อพระพุทธศาสนา และพฤติกรรมล้มล้างพระธรรมวินัย (ทักษิณและพวก ?)

ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็โปรดเกล้าให้ผู้แทนพระองค์เป็นผู้มอบแทน (แต่ในวันนี้ต้องถามว่าพระของราชา ทำหน้าที่หรือยัง)
ธรรมกาย-ทำอันตราย
 ต่อพระพุทธศาสนา

วิทยานิพนธ์ ป.โท มจร. ของ ว.วชิรเมธี ระบุ !


สภามหาวิทยาลัย มจร. อนุมัติปริญญาใบนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ก็แสดงว่า ข้อความในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทั้งหมด ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ โดยมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย









รายนามคณะกรรมการผู้ตรวจสอบวิทยานิพนธ์










พระศรีคัมภีรญาณ
(สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.9 Ph.D)
สังกัดวัดปากน้ำภาษีเจริญ
รองอธิการบดี มจร. ฝ่ายวิชาการ

เจ้าคุณสมจินต์ มีบทบาทสำคัญสูงสุดในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ เพราะเป็นทั้ง คณะบดีบัณฑิตวิทยาลัย เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ และเป็นการการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ แบบว่าทุกขั้นตอน ทุกตัวอักษร ผ่านมือและสายตาพระมหาสมจินต์หมด แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับว่า พระมหาสมจินต์นั้น สังกัดวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อันเป็นวัดเดียวกับที่ "ธัมมชโย" บวช ก่อนจะออกไปตั้งสำนักธรรมกายอยู่ที่ปทุมธานี ทั้งสองร่วมพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ดังนั้น หากจะกล่าวว่า "วิทยานิพนธ์เล่มนี้ เป็นผลงานของศิษย์วัดปากน้ำล้วนๆ" ก็คงไม่ผิด จะผิดก็แต่ว่า "เป็นคนละมิติกับวิชชาธรรมกายสายปทุมธานี" เท่านั้น งานนี้จึงเป็นเรื่อง "ศิษย์สำนักเดียวกัน" มาขัดกันเอง ทางใครก็ทางมันละครับ




เปิดวิทยานิพนธ์ ว.วชิรเมธี ชี้ วัดพระธรรมกาย เป็นอันตรายต่อศาสนา
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก กรณี ธรรมกาย

ชาวเน็ตแชร์วิทยานิพนธ์ ว.วชิรเมธี ที่เคยศึกษาไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ชี้ วัดพระธรรมกายประพฤติวิปริต ปลอมปนคำสอนลัทธิตัวเองลงในพระไตรปิฎก มุ่งเน้นแต่เรื่องนิพพาน ใช้เรื่องบุญเป็นสินค้า เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและสังคมไทย
ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา มีข่าวคณะครูในจังหวัดอุบลราชธานีออกมายื่นหนังสือต่อผู้อำนวยการเขตพื้นที่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อขอปฏิเสธไม่เข้ารับการอบรมจริยธรรมกับศูนย์ปฏิบัติธรรมกาย ตามที่มีรายชื่อที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) จัดให้ ขณะที่ก่อนหน้านั้น ก็มีครูหลายคนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ออกมาร้องเรียนกับมูลนิธิแห่งหนึ่งว่าถูกบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรม โครงการโรงเรียนในฝัน กับเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติธรรมกายเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว 
ข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายที่ออกมาบ่อยครั้งในลักษณะนี้ ก็ทำให้เฟซบุ๊ก 
กรณี ธรรมกายหยิบยกวิทยานิพนธ์เรื่อง "บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย" ที่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง) หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี เคยจัดทำไว้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 ขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง และข้อความดังกล่าวกำลังถูกแชร์ต่อกันไปทั่วโลกไซเบอร์

โดย ท่าน ว.วชิรเมธี ได้วิเคราะห์สาระสำคัญที่ศึกษาพบจากกรณีวัดพระธรรมกายไว้ทั้งสิ้น 7 ข้อ สรุปสั้น ๆ ได้ว่า วัดพระธรรมกายทำให้พระธรรมวินัยวิปริต และประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย อีกทั้งยังพยายามทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก นำคำสอนของลัทธิตัวเองมาปลอมปนในพระไตรปิฎก พร้อมกับยกเรื่องการทำบุญมาเป็นสินค้า 

นอกจากนี้ วัดพระธรรมกายยังนำเอาลัทธิทุนนิยมมาผสมผสานกับการบริหารจัดการวัด ซึ่งพฤติการณ์ทั้งหมดนี้เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐาน เพราะหากวัดพระธรรมกายทำสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทในประเทศไทยต้องสูญสิ้นได้ 
บทคัดย่อวิทยานิพนธ์เรื่อง "บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัย ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย" โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง)  
จากการศึกษาบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เฉพาะกรณีธรรมกายเป็นหลัก และกรณีอื่นๆ มีกรณีสันติอโศก เป็นต้น เป็นองค์ประกอบทำให้ผู้วิจัยได้ข้อค้นพบที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของงานวิจัยเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้

1. กรณีธรรมกายหมายถึงชื่อเรียกโดยรวมเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ที่สำนักวัดพระธรรมกายเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น พฤติการณ์ทั้งหมดที่สำนักวัดพระธรรมกายเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้นนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็มีสองลักษณะเท่านั้น คือ การทำพระธรรมวินัยให้วิปริต และการประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย

2. การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตที่พบว่ามีสาเหตุมาจากสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ การทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การพยายามปลอมปนคำสอนในลัทธิของตนลงในพระไตรปิฎก การพยายามยกย่องครูบาอาจารย์ของตน หรือแม้แต่นักวิชาการจากต่างประเทศให้มีฐานะสำคัญ ถึงขนาดที่ใช้ทัศนะของท่านเหล่านั้นขึ้นมาอ้างเป็นมาตรฐานเพื่อตัดสินหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างเรื่องนิพพาน เป็นต้น การพยายามให้อรรถาธิบายชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า บุญมีฐานะเป็นดุจสินค้าชนิดหนึ่ง และเมื่อทำบุญและอานิสงส์ของบุญจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่างๆ ได้อย่างปาฏิหาริย์ 

3. การประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยเฉพาะประเด็นหลัก ได้แก่ การพยายามนำเอาลัทธิทุนนิยมที่มีความโดดเด่นอยู่ที่ระบบการตลาดเข้ามาผสมผสานกับการบริหารจัดการวัด การจัดตั้งองค์กร รวมทั้งการระดมทุนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคล องค์กรทางธุรกิจ การเมือง และการศาสนาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการทำเช่นนี้ส่งผลให้สำนักวัดพระธรรมกายกลายเป็นสำนักที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในทางวัตถุ ทุนทรัพย์ และในทางเกียรติคุณชื่อเสียง แต่วิธีเหล่านี้เป็นพฤติการณ์ที่สวนทางอย่างสิ้นเชิงกับพระพุทธศาสนาเถรวาทที่เน้นความเรียบง่าย ความเป็นธรรมชาติชนิดที่ปราศจากการจัดตั้ง หรือการจัดการ และไม่เกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยม (รวมทั้งวัตถุนิยม) อย่างสิ้นเชิง

4. พฤติการณ์อันสืบเนื่องมาจากสำนักวัดพระธรรมกายทั้งหมดนั้น เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานชนิดที่ว่า ถ้าสำนักวัดพระธรรมกายทำสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่สำนักตั้งเอาไว้ ก็จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาทต้องสูญสิ้นอันตรธานไป และสังคมไทยก็อาจกลายเป็นสังคมที่มีค่านิยมหวังผลดลบันดาลเชื่อมั่นศรัทธาในเทพเจ้า ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และถูกหลอกให้เพลินจมอยู่ในสุขอันดื่มด่ำจากสมาธิวิธีที่ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิและเต็มไปด้วยผู้คนที่ตกเป็นทาสของลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม และวัตถุนิยมอย่างงมงายไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระไปจากการครอบงำของลัทธิเหล่านี้ได้

5. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เห็นว่า การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตก็ดี การประพฤติให้วิปริตจากพระธรรมวินัยก็ดี ล้วนไม่เป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนา ต่อสถาบันสงฆ์ และต่อสังคมไทย ท่านจึงได้อุทิศตนเองออกมาทำหน้าที่ในการรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ด้วยการชี้แจงแสดงหลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนาผ่านหนังสือชื่อ "กรณีธรรมกาย" และผ่านการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ

6. สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) สามารถดำเนินบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เป็นเพราะท่านเจริญรอยตามพุทธจริยาและปฏิปทาของบุรพาจารย์ทั้งหลายแต่ปางก่อน และเพราะท่านประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญก็คือ การมีจิตสำนึกแห่งความเป็นชาวพุทธ การถือธรรม และถือประโยชน์สุขของมหาชนเป็นใหญ่ การเป็นภิกษุผู้เปี่ยมด้วยกตัญญุตาธรรมต่อพระพุทธศาสนา และการมีคุณสมบัติของชาวพุทธชั้นนำตามที่พระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้อย่างครบถ้วน

7. ในกรณีธรรมกายที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ทำบทบาทที่สำคัญสองประการด้วยกัน บทบาทประการที่หนึ่งก็คือ การทำหน้าที่รักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เหมือนเดิม และบทบาทประการที่สองก็คือ การได้อุทิศตนเป็นแบบอย่างของชาวพุทธชั้นนำ ผู้มีศักยภาพพร้อมเต็มที่ที่จะทำหน้าที่รักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัยให้ยั่งยืนสืบต่อไปในอนาคตตราบนานเท่านาน บทบาททั้งสองประการนี้นอกจากจะช่วยให้กรณีธรรมกายคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีแล้ว ยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการรักษาพระธรรมวินัยแก่ชาวพุทธร่วมสมัย และแก่อนุชนในภายหลังได้อย่างมีนัยสำคัญไม่น้อยไปกว่าที่บุรพาจารย์ทั้งหลายได้เคยทำเอาไว้ในอดีตอีกด้วย 


 
http://www.alittlebuddha.com/


ข่าว : ข่าวสด

10 กันยายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ