ด่วนประจักษ์แจ้ง ดี-ชั่ว ในประวัติศาสตร์ ช้างล้ม ! อายัดทรัพย์ศิษย์เอกธรรมกาย โกงหมื่นล้านสหกรณ์คลองจั่น ช่วยแชร์เพื่อศึกษาครับ

ช้างล้ม !

อายัดทรัพย์ศิษย์เอกธรรมกาย

 "ศุภชัย ศรีศุภอักษร"

โกงหมื่นล้านสหกรณ์คลองจั่น







เปิดอภิมหากาพย์ "รวยไม่โกง" ภาค 2
และตำนาน แชร์แม่นกแก้ว #2




ศุภชัย ศรีศุภอักษร
นักธุรกิจและนักการสหกรณ์ดีเด่นระดับชาติ
รับรางวัลจนล้นมือ เป็นที่เชิดหน้าชูตาในสังคมไทย





ที่สำคัญก็คือ เขาเป็น "สาวก" ของวัดพระธรรมกายระดับนัมเบอร์วัน หรือถ้าจะใช้ศัพท์ระดับ "อัครสาวก" ของ "ท่านธัมมชโย" ก็คงไม่ผิด ถ้าไม่ติด "สตีฟ จ็อปส์" เสียคนเดียว ชื่อของศุภชัยไม่เคยเป็นสองรองใคร





ทำธุรกิจคู่กับทำบุญ
เป็นปฏิปทาที่เหล่ากัลยาณมิตร "เชื่อว่า" จะยิ่งรวย รวย รวย เหมือนดาวรวยที่ใช้โปรยให้พระธุดงค์ธรรมชัยเดินเข้าสู่กรุง




เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในวันที่-ไม่มีเครดิต




U-TOWER

บุญนำความสำเร็จ-สำเร็จเพราะบุญ







ปปง. และ ดีเอสไอ สนธิกำลังเข้าค้นบ้านของนายศุภชัย เพื่อยึดทรัพย์สิน


แต่ใครไหนเลยจะเชื่อว่า เหตุการณ์ช็อคโลก "ยึดทรัพย์ศุภชัย" จะเกิดขึ้นได้ในวันนี้ ทั้งๆ ที่ ก่อนหน้านี้ เคยมีข่าวว่า "แอน-สุทธิรัตน์" สาวิกาของธรรมกายก็เจ๊งไปหลายร้อยล้าน จนต้องเปลี่ยนไปนับถือสายหลวงพ่อชา แต่ผู้คนก็ไม่คิดว่า จะมาถึงศุภชัย เพราะแอนมิใช่นักธุรกิจดีเด่นระดับศุภชัย และศุภชัยก็มิใช่นักธุรกิจโนเนมเหมือนแอน แต่วันนี้ก็มีสถานะเท่าเทียมกันแล้ว ในนาม..กัลยาณมิตร ชิตัง เม..





'ดีเอสไอ-ปปง.' นำหมายศาลค้นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ ยักยอกทรัพย์ 12,000  ล้าน หลังบอร์ดธุรกรรม ปปง.สั่งอายัดทรัพย์ 'ปธ.สหกรณ์' มูลค่านับพันล้าน


เมื่อเวลา 10.30 น. นายนพดล อุเทน นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และนายกิติก้อง คณาจันทร์ พนักงานสอบสวนสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 กรมสอบสวนคดีพิศษ (ดีเอสไอ) พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่จากดีเอสไอและ ปปง. นำหมายค้นจากศาลอาญาเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 7 จุด อาทิ บ้านพักเลขที่ 118/23-24 หมู่บ้านบ้านสวยริมธาร เขตสะพานสูง กทม. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด อาคารยูทาวเวอร์ ถนนศรีนครินทร์ แฟลตคลองจั่นอาคาร 7 ห้อง 4 และ 5 โดยเจ้าหน้าที่ได้นำสื่อมวลชนร่วมตรวจสอบเป้าหมายสำคัญ 2 จุด คือ บริเวณห้องทำงานในสหกรณ์และบ้านพัก 2 หลังของนายศุภชัย

  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การตรวจค้นครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากคดีดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษหลังสมาชิกสหกรณ์ดังกล่าวกว่า 100 คน เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษว่านายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานสหกรณ์ฯกับพวก ร่วมกันยักยอกทรัพย์เป็นมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท ทำให้สมาชิกไม่สามารถเบิกถอนเงินได้ โดยนายศุภชัย เป็นผู้นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นห้องทำงานบริเวณ ชั้น 3 ซึ่งเจ้าหน้าที่สหกรณ์ได้นำกล้องถ่ายรูป และกล้องวีดีโอ บันทึกการเข้าค้นของเจ้าหน้าที่ตลอดการตรวจค้น

 ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในการเข้าตรวจค้นสหกรณ์ฯดีเอสไอได้ประสานเจ้าหน้าที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์เข้ามาช่วยตรวจสอบเอกสารการเงินและการบัญชี ซึ่งเบื้องต้นปปง.พบเอกสารเกี่ยวกับการเบิกเงินจำนวนมากหลายครั้ง โดยแต่ละครั้งเป็นมูลค่าหลักหลายร้อยล้านบาท โดยไม่มีผู้ลงลายมือชื่อ ทั้งนี้หลังการตรวจค้นยังพบเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการเบิกถอนเงินที่นายศุภชัยเป็นผู้ลงนามหลายฉบับ ซึ่ง ปปง.อายัดเอกสารไว้เพื่อนำมาตรวจสอบโดยเอกสารทั้งหมดถูกเก็บไว้ที่ห้องทำงานของนายศุภชัย อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเข้าตรวจค้นมีสมาชิกสหกรณ์หลายรายได้มาเฝ้าสังเกตการณ์ เนื่องจากได้แจ้งขอปิดบัญชีไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับเงิน โดยสหกรณ์อนุญาตให้เบิกถอนเฉพาะเงินปันผลเท่านั้นแต่ไม่สามารถถอนเงินต้นได้ โดยสมาชิกแต่ละรายมีเงินฝากหลักล้านบาทขึ้นไป

นายนพดล กล่าวว่า ล่าสุดคดีดังกล่าว ปปง.ได้ขออนุมัติหมายค้นภายหลังคณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้อายัดที่ดินในชื่อผู้ครอบครองคือ นายศุภชัยกับพวกรวมกว่า 300 แปลง ซึ่งเป็นที่ดินใน จ.กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครราชสีมา โดยราคาประเมินที่ดินบางแปลงสูงกว่า 90 ล้านบาท จึงคาดว่าที่ดินที่อายัดจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท นอกจากนี้ ยังอายัดบัญชีเงินฝากอีก 9 บัญชี รถยนต์ 10 คัน

นายกิติก้อง กล่าวว่า หลังจากนี้จะทยอยเรียกผู้เสียหายกว่า 100 ราย เข้าสอบปากคำ และแจ้งข้อกล่าวหานายศุภชัยกับพวกอีก 5-6 คน ที่เป็นกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ ขณะนี้ ดีเอสไอ และ ปปง.รับคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เป็นคดีพิเศษแล้ว หากผู้ใดยังจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินจะถือว่ามีความผิดข้อหาฟอกเงินและดีเอสไอพบว่า มีการข่มขู่พยานอย่างต่อเนื่อง จึงขอเตือนไปยังผู้ที่มีพฤติการณ์ข่มขู่พยานว่า ดีเอสไอได้คุ้มครองพยานสำคัญบางปากไว้แล้ว การข่มขู่คุกคามพยานในคดีจะถูกดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด

ขณะที่นายศุภชัย พยายามสอบถามถึงอำนาจในการเข้ามาตรวจค้น โดยอ้างว่า สหกรณ์เป็นของประชาชนไม่ใช่กิจการส่วนตัว การเข้าตรวจค้นอาจทำให้ประชาชนแตกตื่น ควรจะมีการสอบถามหรือเรียกตนเข้าชี้แจงก่อน แต่ในที่สุดนายศุภชัยก็ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้น เนื่องจากมีอำนาจตามหมายค้นของศาลอาญา แต่ขอไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไปบันทึกภาพภายในห้องทำงานส่วนตัว

นายศุภชัย กล่าวภายหลังการตรวจค้นว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่คณะกรรมการบริหารชุดเดิมได้แจ้งความดำเนินคดีกับตนไว้ที่กองบังคับการกองปราบปราม และส่วนหนึ่งเป็นคดีฟ้องร้องที่จบไปแล้ว โดยที่ผ่านมาสามารถปิดบัญชีได้ตามปกติซึ่งมีผู้ตรวจบัญชีจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบ หากมีความผิดปกติทางการเงินก็ต้องตรวจสอบพบกันไปแล้ว ยืนยันว่าสหกรณ์มีระบบการทำงาน ข้อสงสัยต่าง ๆ ตนสามารถให้ตรวจสอบได้

เมื่อถามถึงกรณีที่ ปปง. พบว่า เอกสารการเบิกเงินจำนวนมากหลายครั้งโดยไม่มีผู้ลงลายมือชื่อ นายศุภชัย กล่าวว่า โดยปกติการเบิกจ่ายเงินต้องมีผู้ลงนามทุกครั้งซึ่งผู้ที่มีอำนาจมีอยู่ 3 คน คือ ตนและรองประธานกรรมการบริหารและเหรัญญิก แต่โดยปกติตนกับรองประธานจะเป็นผู้ลงนามเพียง 2 คน ก็สามารถดำเนินการได้ทั้งหมดเป็นตามระเบียบ ทั้งนี้ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเบิกเงินโดยไม่มีผู้ลงลายมือชื่อ อย่างไรก็ตาม เอกสารสำคัญบางส่วนขณะนี้ถูกคณะกรรมการบริหารชุดเดิมนำออกไปจากสหกรณ์ฯ ตนก็ขอให้นำมาคืนเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้อย่างละเอียด



ข่าว : คมชัดลึก
21 กันยายน 2556




ชมข่าว เกาะติดสถานการ์สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จาก Thaipublica

(กดที่ภาพเพื่อชม)







วิบากกรรมไม่สิ้นสุด
เสี่ยอู๊ดถูกยึดทรัพย์ 23 ล้าน !






 



ปปง.สั่งยึดทรัพย์ "สิทธิกร บุญฉิม" 23 ล้าน


เมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่สำนักงานป้องและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.ในฐานะกรรมการ และเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรม แถลงผลการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมครั้งที่ 15/2556  เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มเติม ซึ่งมีนายวิรัช ชินวินิจกุล เป็นประธาน การประชุม โดยคณะกรรมการธุรกรรมได้พิจารณาผลการตรวจสอบทรัพย์สินในคดีสำคัญและเป็นที่สนใจของประชาชน  3 คดี 1.คดีอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี กับพวก ที่อนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัท ซิตี้เทรดดิ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด 2.คดีฉ้อโกงประชาชนในการจัดสร้างและให้เช่าบูชา “พระสมเด็จเหนือหัว” และ3.คดีทุจริตโครงการจำนำข้าวที่ จ.พิจิตร ตามที่สำนักงาน ปปง. เสนอ สรุปผลการพิจารณาและมีมติที่ประชุมดังนี้  มีมติให้อายัดทรัพย์สิน มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน อีกมูลค่ากว่า 25 ล้านบาท พร้อมเห็นชอบให้เลขาธิการ ปปง.พิจารณาดำเนินการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมาย

เลขาธิการปปง.กล่าวว่า คดีอดีตผู้บริหารบีบีซี ที่อนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัท ซิตี้เทรดดิ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด  คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีดังกล่าวปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวนั้น เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดยักยอกทรัพย์สินในสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3(4) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ดังนั้น จึงมีมติให้เลขาธิการ ปปง.ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็ว โดยคดีดังกล่าวมีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ซึ่งเป็นที่ดินในพื้นที่จ.นครราชสีมา  61 แปลง มูลค่ากว่า 25 ล้านบาท  ในส่วนคดี บีบีซี จะเร่งติดตามทรัพย์สินที่ยังอยู่ในประเทศอังกฤษและสวิสเซอร์แลนด์กว่า 2-3 พันล้านบาท โดยเฉพาะในอังกฤษ  ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยึดทรัพย์ในสวิสเซอร์แลนด์กว่า 4  ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไม่ต้องรอฟังคำพิพากษาจากศาล  เพราะเกิดความเสียหายกับบีบีซี  ทราบว่าทรัพย์สินบางส่วนมีการเปลี่ยนมือไปบ้างแล้ว  อย่างไรก็ตาม การอายัดทรัพย์เป็นเพียงการอายัดชั่วคราวไม่เกิน 90 วัน เพื่อตรวจสอบที่มาของทรัพย์สิน ขณะเดียวกัน ปปง.อยู่ระหว่างการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในทุกคดีเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย  หากพบว่ามีทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็จะเสนอต่อคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาและมีมติยึดและอายัดทรัพย์ต่อไป






 
ส่วนเรื่องที่ 2

คดีฉ้อโกงประชาชนในการจัดสร้างและให้เช่าบูชา “พระสมเด็จเหนือหัว” 

คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่ามีพฤติการณ์เกี่ยวกับการทำความผิดฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3(3)แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น จึงมีมติให้อายัดทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเงินฝากในบัญชีธนาคาร 4 บัญชี มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท ไว้ชั่วคราวมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย



เรื่องที่ 3.คดีทุจริตโครงการจำนำข้าวที่จ.พิจิตร  คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่ามีพฤติการณ์เกี่ยวกับการทำความผิดฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3)  แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และจากการตรวจสอบ พบว่ามีข้าวสารที่บรรจุกระสอบแล้ว 553 กระสอบ และข้าวสารที่อยู่ระหว่างการสี และบรรจุในไซโล ประมาณ 1,120 ตัน มูลค่ากว่า 13 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด   แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา  องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดพิจิตร ให้มีคำสั่งอายัดข้าวที่เก็บไว้ที่คลังสินค้าดังกล่าวของบริษัทแอลโกลด์แมนูแฟคเจอร์ จำกัด เลขที่ 97/2 หมู่ 4 ต.ท่าบัว อ.โพทะเล  จ.พิจิตร ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ซึ่งเป็นกรณีที่สามารถดำเนินการตามกฎหมายอื่นได้อยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการธุรกรรมจึงยังไม่มีมติให้ยึดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตาม คดีดังกล่าวมีชาวนาซึ่งถูกฉ้อโกงและได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงมีเหตุสมควรที่จะดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ดังนั้น จึงมีมติให้เลขาธิการ ปปง.เป็นผู้พิจารณาดำเนินการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามนัยมาตรา 49วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยเร็ว โดยให้ประสานงานกับอตก. เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย


สำหรับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินดังกล่าว เป็นเพียงการยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราวมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน  ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เพื่อทำการตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของทรัพย์สินต่อไป ขณะนี้ สำนักงาน ปปง.อยู่ระหว่างดำเนินการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังมีคดีอื่นๆ อีกหลายคดีที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจในภาพรวม รวมทั้งเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชน หากสำนักงาน ปปง.ดำเนินการตรวจสอบในเชิงลึกแล้วพบว่ามีทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็จะเร่งเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการธุรกรรม พิจารณาและมีมติยึดและอายัดทรัพย์สินโดยเร็ว และหากพบว่าผู้ใดมีการโอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิดมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ในความผิดมูลฐาน หรือกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด สำนักงาน ปปง.จะพิจารณาดำเนินคดีอาญาฐานฟอกเงินแก่ผู้นั้นอย่างเด็ดขาดแน่นอน


ข่าว : เดลินิวส์
21 กันยายน 2556



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง