ประวัติศาสตร์ หน้าที่ชาวพุทธ ?
หน้าที่ชาวพุทธ !
บทนำจากเดลินิวส์
อืม ! นึกว่าจะได้รับข่าวสารจากมหาเถรสมาคมหรือจากรัฐบาลไทย
ที่ไหนได้ กลับกลายเป็นบทความจากหนังสือพิมพ์แทน
กรณีเณรคำในวันนี้ มีแต่สื่อมวลชนที่ทำคดี ส่วนเจ้าคณะพระสังฆาธิการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลปกครองคณะสงฆ์ นับตั้งแต่มหาเถรสมาคมลงมานั้น กลับเข้าฌานกันเงียบกริบ !
1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช นั้น ท่านอายุมากแล้ว หมอไม่ให้รับแขก ก็ยกท่านไว้ในฐานะปูชนียบุคคล
2. สมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของสายธรรมยุต ยังแข็งแรง แต่ไม่ยอมทำอะไรเลย เห็นรับเป็นประธานหาทองคำ 250 กิโลกรัม นำไปโปะยอดพระมหาเจดีย์พุทธคยา ที่ประเทศอินเดีย
3. เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ก็มียศเป็นเพียงพระครู จะไปสู้กำลังมหาโจรไหวเหรอ
4. รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา แต่ว่ากลับมีคนเสื้อแดง คือ นายเทพนม นามลี เป็นประธาน นปช. จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาการันตีหลวงปู่เณรคำว่าไม่ผิด จึงไม่รู้ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะเลือกเอาอะไร ระหว่างพระพุทธศาสนากับคะแนนเสียงจากคนเสื้อแดง ?
สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกนิกาย ปกครองคณะธรรมยุตทั่วประเทศ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการทุกหมู่เหล่าในประเทศไทย
ถ้าบุคคลสำคัญทั้ง 3 ท่านเหล่านี้ ยังไม่รู้ไม่ชี้เกี่ยวกับข่าวคราวที่ประเดประดังทางสื่ออยู่ทุกชั่วยามนั้น ก็แสดงว่าพระพุทธศาสนาในประเทศไทยไร้คนดูแลเสียแล้ว เพราะมีผู้นำก็เหมือนไม่มี หรือมีแต่ไม่ยอมนำ ก็เห็นสมควรยุบเลิกมหาเถรสมาคมและตำแหน่งพระสังฆาธิการทุกระดับเสียให้สิ้น เพราะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ปล่อยให้พระสงฆ์สามเณรเขาปกครองตัวเองกันเสียเถิด หากเกิดปัญหาก็ให้เขาหาอาวุธเข้าเข่นฆ่ากันเอง มันจะยุติธรรมกว่าการมีผู้ปกครองแต่ไม่ยอมทำหน้าทีเป็นไหน ๆ
หน้าที่ชาวพุทธ !
บทนำจากเดลินิวส์
ทุกครั้งที่มีข่าวการกระทำ การวางตัวไม่เหมาะสม ขัดกับหลักพระธรรมวินัยในพุทธศาสนา ก็จะสร้างความเศร้าหมอง ทุกข์ใจแก่สาธุชนผู้นับถือศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด แม้ยังไม่มีปัญหาความสัมพันธ์กับสตรี แต่ภาพการวางตัว การใช้ชีวิตของพระรูปหนึ่ง ที่เดินทางด้วยเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์ส่วนตัว มีของใช้ส่วนตัวที่เป็นแบรนด์เนมราคาแพง หรือบางท่านก็สะสม หรือใช้รถยนต์หรู ซึ่งต้องสงสัยว่านำเข้า และสำแดงรายการเสียภาษีที่ไม่ตรงกับความจริง ก็ยิ่งทำให้ห่วงใยกันว่า จะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพระศาสนา จึงอยากให้มีหน่วยงานตรวจสอบหรือจัดการให้ผู้มีการกระทำอันไม่เหมาะสมพ้นไปจากวงการสงฆ์ไทย
ความห่วงใยของชาวพุทธต่อปัญหาที่เกิด และสภาพความไม่เหมาะสมอื่น ที่มีลักษณะคล้าย หรือใกล้เคียงที่พบเห็นโดยทั่วไป จนเกิดกังวลใจเลยไปถึงขั้นหวั่นเกรงจะมีความเสื่อมมากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกันจะพบว่าปฏิกิริยาของชาวพุทธที่แสดงการไม่ยอมรับ เป็นกระบวนการปกป้องพระพุทธศาสนาได้ดีอย่างหนึ่ง เพราะจะเป็นการควบคุม ระแวดระวังมิให้พระสงฆ์ที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องอยู่ได้ยาก ทั้งนี้การรักษาพระศาสนาให้สืบไปนั้น มิได้เจาะจงเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แต่ประกอบด้วยพุทธบริษัท 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ซึ่งหมายความว่าฆราวาสชาวพุทธมีบทบาทสำคัญในการดูแลสืบทอดพระศาสนาไม่จำกัดอยู่แต่พระสงฆ์เท่านั้น
ขณะเดียวกัน การวางตัวไม่เหมาะสม หรือบางรายเลยเถิดถึงขั้นผิดวินัยสงฆ์นั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการสนับสนุนจากการทำบุญ ถวายสิ่งของที่ดีที่สุดที่หาได้กับพระที่เชื่อ ศรัทธาหรือมีวิถีที่ถูกจริต โดยหลงลืมว่า เจตนาสูงสุดของการบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา คือการแสวงหาการหลุดพ้น ภิกษุจึงถูกกำหนดให้มีของใช้เพียงไม่กี่ชิ้น เท่าที่จำเป็นแก่การมีชีวิต เพื่อการปฏิบัติธรรม เผยแผ่พระศาสนา ชี้ทางพ้นทุกข์แก่ชาวบ้านเท่านั้น การถวายทรัพย์สิน สิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆที่เกินกว่าความจำเป็นจึงต้องพิจารณาว่า จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการติดยึดความสะดวกสบายจนเกินพอดีหรือไม่
ชาวพุทธที่ห่วงใยในพระศาสนาจึงควรตั้งหลัก วางตัว สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เป็นผู้มีบทบาทในการร่วมรักษาศาสนา ควรเรียนรู้หลักธรรมที่มุ่งไปสู่การพ้นทุกข์ มีสติรู้ตัว อยู่กับปัจจุบัน การแสวงหาสิ่งอื่น เช่น ความร่ำรวย เลขหวย หรือสวรรค์บันดาลสุขนั้น ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันองค์กรทางด้านศาสนาทั้งปวงก็ควรร่วมมีบทบาทเผยแพร่ความรู้ในการศึกษาหลักธรรมที่เหมาะสม เพื่อช่วยกันปกป้องมิให้บุคคลหรือสมมุติสงฆ์ใดมาสร้างความเสื่อมเสียหรือก่อทุกข์ให้แก่ชาวพุทธได้ง่าย ๆ.
ข่าว : เดลินิวส์
24 มิถุนายน 2556
ประมวลข่าวเณรคำ
|
เดินตามเสี่ยอู๊ด !
สร้างพระแก้วไม่ได้รับอนุญาต-หลอกลวงด้วยการโฆษณา
ศาลพิพากษา "คุก" เหนาะๆ 5 ปี
เรือนจำคลองเปรม-จุดหมายปลายทางของพระอรหันต์
เล็งสอบ "หลวงปู่เณรคำ" ไม่ขออนุญาต สร้างพระแก้วมรกตจำลอง
พศ.เผย "หลวงปู่เณรคำ" ไม่เคยขออนุญาติตั้งวัดป่าขันติธรรม เร่งหาข้อมูลส่งเจ้าคณะจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณาสอบข้อเท็จจริง ส่วนกรมศิลป์เล็งสอบเรื่องสร้างพระแก้วมรกตจำลองโดยพลการ ขณะที่ศิษย์คนสนิทเผย มีการแอบอ้างชื่อหลวงปู่สร้างบ้าน
กรณีมีผู้นำคลิปภาพพระอาจารย์ ดร. วิรพล ฉัตติโก หรือหลวงปู่เณรคำ เจ้าอาวาสวัดป่าขันติธรรม อ.กันทรารมย์ จ.ศรีษะเกษ ขณะนั่งอยู่บนเครื่องบินเจ็ต จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์วิจารณ์ในวงกว้าง ตามที่เสนอข่าวไปนั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพบว่า วัดป่าขันติธรรม ยังไม่ได้มีการขออนุญาตจัดตั้งวัด ดังนั้นหากนางลอน มนัส ที่ยืนยันว่าเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณวัดป่าขันติธรรม ต้องการที่จะให้พระรูปอื่นเข้ามาเป็นเจ้าอาวาส ก็สามารถทำได้ เพราะในการทำเรื่องขออนุญาตตั้งวัด ผู้ยื่นขอใบอนุญาต จะต้องมีการระบุชื่อพระที่จะมาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งผู้ที่จะมีสิทธิ์ในการทำเรื่องขออนุญาตตั้งวัดนั้นจะต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด กรณีไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ได้รับอนุญาตสร้าง หรือทายาท พร้อมหลักฐานประกอบ ดังนั้นหากนางลอน เป็นเจ้าของที่ดินจริง ก็สามารถดำเนินการในส่วนนี้ได้
ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินการตรวจสอบในเรื่องของหลวงปู่เณรคำนั้นทางสำนักงานพระพุทธศาสนา ไม่ได้นิ่งเฉย แต่เนื่องด้วย สำนักงานพระพุทธศาสนา ไม่มีอำนาจในการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพระที่ถูกกล่าวหากระทำผิดโดยตรง เนื่องจากเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะผู้ปกครอง โดยทางสำนักงานพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ในการหาข้อมูลมาสนับสนุนการดำเนินการตรวจสอบของพระสงฆ์เท่านั้น ด้านนายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรณีการก่อสร้างพระแก้วมรกตจำลองของวัดป่าขันติธรรม นั้น พระพุทธมณีมหารัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปสำคัญ 1ใน 61 รายการ ที่มีระเบียบว่า การจำลองจะต้องขออนุญาตจากกรมศิลปากรและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเช่นสำนักพระราชวัง
จากการตรวจสอบไปยังทะเบียนของสำนักช่างสิบหมู่ พบว่า ทางวัดป่าขันติธรรมไม่ได้ดำเนินการขออนุญาตเข้ามา ขณะเดียวกัน ทางสำนักพระราชวังยังได้หารือมายังกรมศิลปากรว่า ให้ช่วยดูแลการจำลองพระพุทธรูปสำคัญเพราะปัจจุบันมีการนำไปจัดสร้างโดยไม่ได้ผ่านการรับอนุญาตมากขึ้น โดยการจำลองพระพุทธรูปสำคัญมีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2520 ตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดว่า จะต้องขออนุญาตจากกรมศิลปากร เพื่อกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ส่วนระเบียบดังกล่าวนั้นไม่มีข้อกำหนดโทษ เนื่องจากไม่ไดเป็นข้อกำหนดในพระราชบัญญัติ
ข่าว : เดลินิวส์
24 มิถุนายน 2556
ศิษย์อีกแล้ว !
ปฏิเสธเรื่องบ้านว่ามิใช่ของบักเณรคำ
แต่เป็นขององค์อื่น ?
อืม ! ไอ้หมอนี่มันเก่งจริงนะ เรื่องบักเณรคำมันไม่รู้อะไรเลย แต่ดันไปรู้ว่า"พระรูปอื่น" เป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น ปัดสวะไปวันๆ เพราะโบ้ยว่า "พระรูปอื่น"โดยมิได้ระบุชื่อ ก็หาเจ้าทุกข์เอาเรื่องไม่ได้ ตีกินง่ายๆ แบบนี้แหละศิษย์บักเณรคำตอแหลนี่ แต่เรื่องแบบนี้หาหลักฐานไม่ยากหรอก ประเดี๋ยวก็รู้ว่ารูปไหนเป็นเจ้าของคฤหาสน์หลังงามแห่งนี้
บ้านปริศนา ยังหาเจ้าของไม่ได้
(ภาพ : มติชน)
กรณีที่มีการค้นพบบ้านหลังหนึ่งที่อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเจ้าของที่ดินระบุว่ามีพระรูปหนึ่งอ้างว่าชื่อหลวงปู่เณรคำ มาสร้างไว้เมื่อปี 2546 นั้น นายถาณุ สุขวัลลิ โฆษกฝ่ายฆราวาสประจำตัวหลวงปู่เณรคำฉัตติโก กล่าวว่า ยืนยันว่าหลวงปู่เณรคำ ไม่ได้เป็นผู้สร้างบ้านหลังดังกล่าวแน่นอน เพราะเมื่อปี 2546 หลวงปู่เณรคำยังอายุเพียง 24 ปี และเริ่มมีผู้ศรัทธา รวมทั้งบริจาคเงินให้วัดตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา และช่วงที่มีการบริจาคเงินมาที่วัดป่าขันติธรรมมากที่สุดคือช่วงปี 2552-2553ดังนั้นช่วงปี 2546 หลวงปู่เณรคำ จึงยังไม่สามารถสร้างบ้านให้ใครได้แน่นอน และเท่าที่ตรวจสอบข้อมูลบ้านหลังดังกล่าวมีพระสร้างขึ้นมาจริง แต่เป็นพระรูปอื่นไม่ใช่หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
ข่าว : เดลินิวส์
24 มิถุนายน 2556
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ