กลุ่มสตรียื่น สปช. ขอตีความ มติ มส. "ขัดต่อรัฐธรรมนูญ" กรณีห้ามบวชภิกษุณีในประเทศไทย

ยกระดับ !

กลุ่มสตรียื่น สปช. ขอตีความ มติ มส.
"ขัดต่อรัฐธรรมนูญ"
กรณีห้ามบวชภิกษุณีในประเทศไทย

ถ้าชนะ ก็แสดงว่า มหาเถรสมาคม สิ้นอำนาจ
แต่ถ้าแพ้..งานนี้ ไม่รู้ว่าผู้ที่บวชภิกษุณีจะมีสถานะเป็นอะไร
หรือเป็นได้แค่เพียง..ภิกษุณีเถื่อน

 

อา..ร้อนฉ่าไปท้้งมหาเถรสมาคมเลยล่ะทีนี้ นี่แหละคือฝีมือของ "ดร.ฉัตรสุมาลย์"เพราะถ้าไปบวชจากเมืองนอกมา ถือว่าไม่มีใครเห็น จึงเล่นของแรง ด้วยการนิมนต์พระสังฆราชศรีลังกามาบวชที่เมืองไทย จนจุดไฟในนาครได้ ใช้ดาราระดับ"สังฆราช" มาแสดง ไม่ดูภาพยนต์ไทยสายใหม่ สายพันธุ์ทาง ระหว่าง "ศรีลังกา-ไทย" ก็ให้มันรู้ไปสิ อิอิ !

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องพิจารณากันหลายยก สำคัญที่สุดก็คือ "มติของ สปช." ซึ่งอาจจะผ่านไปถึง "ศาลรัฐธรรมนูญ" อีกด้วย โดยนัยยะว่า ถ้า สปช. เสียงข้างมาก เห็นต่างจากมหาเถรสมาคม ก็จะสามารถผลักดันกฎหมาย "ให้ผู้ที่บวชภิกษุณีทั้งในและต่างประเทศเป็นนักบวชอย่างถูกต้อง" และ "รัฐต้องรับรอง" แต่ก็ต้องมองต่อไปว่า"จะให้ภิกษุณีอยู่ในการปกครองดูแลของใคร" เพราะมหาเถรสมาคมไม่รับรอง มหาเถรสมาคมรับรองเฉพาะ "ภิกษุ-สามเณร" รวมทั้งแม่ชีด้วยเท่านั้น นอกนั้นไม่รับรู้ แถมยังมีคำสั่งสมเด็จพระสังฆราช มติมหาเถรสมาคมอีกหลายวาระ ที่ห้ามไม่ให้ภิกษุรูปใดบวชภิกษุณีในประเทศไทย ใครฝ่าฝืนก็ถูกมหาเถรสมาคมลงโทษ

การเปิดกว้างของ สปช. ก็ต้องมองให้ดี อย่าคิดว่า "เปิดให้บวชเสรี" แล้วมันจะเสรีจริง ยังมีสิ่งที่ติดตามมาอีกมากมาย ขนาดคณะสงฆ์ไทยมีระเบียบการบวช ควบคุมทั้งเรื่องนิกาย วัด พระอุปัชฌาย์ และคุณสมบัติ อีกสารพัด แค่ไม่มีวัดอยู่เป็นหลักแหล่งก็จับสึกได้แล้ว แต่นี่จะเปิดให้บวชภิกษุณีโดยเสรี ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอะไรเป็นมาตรการรองรับ นับว่าสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายที่คาดไม่ถึง ถึงจะมองว่า "วิตกมากเกินไป ฯลฯ" แต่อย่างไรก็ต้อง..คิดให้รอบคอบ เพราะอำนาจที่หลุดมือไปแล้ว ย่อมไม่สามารถจะเรียกกลับคืนมา ไม่ว่ากรณีใดๆ

มองอีกมุมหนึ่งก็น่าเห็นใจ ภิกษุณีฉัตรสุมาลย์และภิกษุณีณัฐทิพย์ ทั้งสองท่าน ก็ล้วนแต่เป็น "ความหวัง" ของสตรีเพศทั่วประเทศไทย หวังว่าจะสามารถเรียกร้องสิทธิสตรีเพศเป็นภิกษุณีของไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

แต่ถึงอย่างไร กรณีที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชี้แจงว่า "ไม่ห้ามผู้ที่บวชภิกษุณีจากต่างประเทศมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย" นั่นถือว่าอันตราย เพราะการ "ไม่ห้าม" ก็คือการเปิดโอกาสโดยเสรี ซึ่งถ้ามีคนไม่มากก็คงไม่เท่าไหร่ แต่ปัจจุบัน เครือข่ายภิกษุณีผนวกเข้ากับองค์กรสตรีต่างๆ กระจายตัวไปทั่วประเทศ และสามารถได้รับการรับรองจากองค์กรต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ หากเป็นเช่นนี้ ต่อไปองค์กรเหล่านี้ก็สามารถจะ "ผนวกกัน" กลายเป็นพลังสำคัญที่มีเสียงดัง และอาจจะดังกว่ามหาเถรสมาคมด้วย อย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้

 

รุกฆาต หรือว่า เข้าตาจน

ซ้าย : ภิกษุณีธัมมนันทา (ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) หัวหน้านักบวชวัตรทรงธรรมกัลยาณี นครปฐม

ขวา : ภิกษุณีธัมมทีปา (ณัฐทิพย์ ตนุพันธ์) หัวหน้านักบวชอารามทิพยสถานธรรม เกาะยอ สงขลา

โฆษก พศ. พร้อมแจงข้อมูล สปช. เรื่องห้ามบวชภิกษุณีสายเถรวาทในไทย เหตุไม่มีอุปัชฌาย์ภิกษุณีขาดสายไปนานแล้ว หลังหลายฝ่ายมองเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ขณะที่คณะสงฆ์ไทยไม่ห้ามให้ภิกษุณีที่บวชในนิกายอื่นมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ

จากกรณีที่กลุ่มเครือข่ายคนไทยส่งเสริมและเติมเต็มพุทธบริษัทสี่ ตัวแทนเครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้า และขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือกับ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และนายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับมติมหาเถรสมาคม (มส.) ห้ามบวชภิกษุณีในประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยทางเครือข่ายฯอ้างว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2557 ขณะที่สมาชิกสปช. บางคน ยังเห็นว่ามติ มส. ดังกล่าว ขัดต่อรัฐธรรมนูญเช่นกันนั้น

วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสมชาย สุรชาตรี โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า มติมส.ดังกล่าว ผ่านการพิจารณาจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ใน มส. และเห็นตรงกันว่า ภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้นขาดสายมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้ไม่มีภิกษุณีผู้ที่จะมาทำการอุปัชฌาย์ได้อย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย จึงยืนยันว่าภิกษุณีในสายเถรวาทนั้นขาดตอนไปแล้ว ขณะที่พระสงฆ์ไทยเพียงฝ่ายเดียวก็ไม่สามารถจะไปทำการบวชให้ได้ เพราะจะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนพระธรรมวินัย

โฆษก พศ. กล่าวต่อไปว่า เรื่องดังกล่าว เป็นคนละประเด็นกับกับเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะคณะสงฆ์ไทยไม่ได้ห้ามบวชภิกษุณี หากจะไปบวชมาจากประเทศอื่น นิกายอื่น ก็สามารถทำได้ และยังสามารถมาสร้างสถานที่เผยแผ่หลักคำสอนในประเทศไทยได้ คณะสงฆ์ไทยไม่ห้าม แต่เรื่องภิกษุณีสายเถรวาท ที่ขาดสายไปแล้วนั้น เป็นเรื่องของพระธรรมวินัย จะนำเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนมาเกี่ยวข้องกับหลักพระธรรมวินัยไม่ได้ และที่อ้างว่าขัดหลักรัฐธรรมนูญ ในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการนับถือศาสนา ขอชี้แจงว่า คณะสงฆ์ไม่ได้ห้ามในการนับถือศาสนา ส่วนเรื่องการที่จะต้องให้มีการแจ้งมายัง มส.ก่อน หากพระสงฆ์ต่างประเทศจะมาทำพิธีในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่คณะสงฆ์หลายประเทศก็มีมาตรการแบบนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ประเทศตัวเอง อย่างไรก็ตามหาก สปช. ติดต่อ พศ. ให้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว ทาง พศ. ก็พร้อมที่จะนำประกาศของกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เรื่องห้ามพระเณรไม่ให้บวชหญิงเป็นบรรพชิต พ.ศ.2471 มติ มส. ครั้งที่ 31/2545 และมติ มส. เรื่องภิกษุณี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. เข้าชี้แจง

ที่มา : เดลินิวส์
17 ธันวาคม 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง