พฤติกรรมมารศาสนา?ในประวัติศาสตร์ไทยที่มหาเถรสมาคมรู้?เห็น?

เคาต์ดาวน์เจ้าคุณเสนาะ !

สตง. พบพิรุธ บัญชีเงินงานศพสมเด็จเกี่ยว

มัดคอเสนาะ "ใกล้ตะแลงแกง" เข้าไปทุกขณะ

 

 

ผู้ว่า สตง. ตั้งโต๊ะแถลง พบความผิดปรกติของงบงานศพสมเด็จเกี่ยว ขยายผลลงไปในการบริจาครายวัน ก็หมายถึงว่า เจ้าคุณเสนาะต้องรายงานรายละเอียดค่าใช้จ่ายในงานศพสมเด็จเกี่ยวตลอดเวลา 8 เดือน นับจากวันมรณภาพ (7 สิงหาคม 2556) ถึงวันพระราชทานเพลิงศพ (9 มีนาคม 2557) ละเอียดยิบ ทุกบาททุกสตางค์ ว่าแต่ละวัน มีใครบริจาค บริจาคเท่าใด จ่ายไปเท่าใด เหลืออยู่เท่าใด และปัจจุบัน "เงินนั้น" อยู่ที่ไหน ในบรรดาบัญชีเงินวัดสระเกศกว่า 100 บัญชี อย่าตกใจ อ่านว่า "หนึ่งร้อยบัญชี" นะฮะ ไม่ใช่ "สิบบัญชี" จะว่าวัดสระเกศมีบัญชีเงินฝากมากที่สุดในโลกเลยก็ได้

งานนี้ จะวัดฝีมือว่า "ระดับอดีตเลขาผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" ซึ่งควบตำแหน่ง "เลขาธิการมหาเถรสมาคม" อีกด้วยนั้น จะมีฝีมือระดับเทพดังเขาเล่าลือกันจริงหรือเปล่า เพราะเห็นกรรมการมหาเถรสมาคมนับตั้งแต่สมเด็จวัดปากน้ำลงมา ไม่มีใครกล้าแตกเจ้าคุณเสนาะเลย โชว์ฝีมือ "ปิดปาก" พระผู้ใหญ่ได้ผลชะงัด

 

 

ข่าวนี้น่าจะเป็นทั้ง "ข่าวดี" และ "ข่าวร้าย" ส่งท้ายปีเก่า 2557 นี้ก็ได้ เพราะกรณีนี้มี"สองฝ่าย" ที่ต่อสู้กันอยู่ จะสู้ด้วยเพื่อความยุติธรรมหรือสู้เพื่อแก้แค้นอะไรก็ตามแต่ แต่ก็ชัดเจนว่า มีอยู่สองฝ่าย ดังนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งได้รับข่าวดี ข่าวดีของฝ่ายนี้ก็ย่อมจะเป็น "ข่าวร้าย" ของฝ่ายตรงกันข้าม ตามทฤษฎี "ไม่มีสัมพันธภาพ" ของอัลเบิร์ต ไอแค๊กๆ

ก็ต้องจับตาไปที่ "มหาเถรสมาคม" หรือที่ "สมเด็จวัดปากน้ำ" จะทำการอย่างไรต่อไป ในเมื่อผู้ใหญ่ระดับ "ผู้ว่า สตง." ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเอง คนระดับนี้ ถ้าไม่มีพยานหลักฐานระดับ "ดิ้นไม่หลุด" อยู่ในมือ รับรองว่าไม่มีใครเสี่ยงออกมาพูด เพราะเดิมพันมันสูง ใช่เฉพาะตำแหน่งของเจ้าคุณเสนาะเท่านั้น แต่ตำแหน่ง "ผู้ว่า สตง." ก็สูงสุดเช่นกัน ดังนั้น จากพฤติกรรมของเจ้าคุณเสนาะที่ผ่านมา ซึ่งกระทบถึงสมเด็จวัดปากน้ำและสมเด็จวัดพิชัยญาติ ต้องตกเป็น "ลูกไล่" ให้แก่ สตง. ไปครั้งหนึ่งแล้ว มาบัดนี้ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องเจออะไรอีกเยอะ

 

 

สองสมเด็จ คือ วัดปากน้ำกับวัดพิชัยญาติ ยังไม่ต้องรีบปลดเจ้าคุณเสนาะหรอกนะฮะ รอฤกษ์งามยามดี ให้เจ้าหน้าที่เขาแจ้งข้อหา "โกงเงินหลวง" อย่างเป็นทางการกับเจ้าคุณเสนาะ (กก.มหาเถร เจ้าคณะภาค 12 ประธานสำนักงานพระธรรมทูตสายต่างประเทศ) เสียก่อน ถึงตอนนั้นก็ค่อยให้ "สมเด็จ" หรือ "กรรมการมหาเถรสมาคม" รูปใดรูปหนึ่ง เอาตำแหน่งไปเป็นประกัน มันต้องช่วยเหลือกันสิ เวลาเหนาะมีอำนาจก็เห็นระดับ "สมเด็จ" วิ่งเข้าไปหาถึงในวัดสระเกศ เรียกด้วยวาทะ "พระเดชพระคุณ"อย่างไม่เคอะเขิน วันนี้ พระเดชพระคุณพระพรหมสุธี มีปัญหา ก็หวังว่า "คนที่เคยช่วยๆ กันไว้" จะกลับมาช่วยเหลือกันบ้าง อย่าง "เจ้าคุณในสหรัฐอเมริกา" รุ่นล่าสุด ทั้งตั้งทั้งเลื่อน โดยเฉพาะสายธรรมกาย ซึ่งได้ถึง 4 พระหน่อนั้น ก็หวังว่าคงไม่ลืมบุญคุณนะ ว่าพวกท่านได้ดีเพราะใคร ?

เหตุผลสำคัญก็คือ "เราต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา" อย่ามโนว่าผิดก่อน ส่วนเรื่องจริยาพระสังฆาธิการที่เคยนำไปปลดหรือพักงาน 7 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรนาน 5 ปีที่ผ่านมานั้น ก็เป็นการบังคับใช้ระเบียบกับพระเด็กๆ เปล่าสองมาตรฐาน เพราะความจริงก็คือ มหาเถรสมาคมไม่มาตรฐานอยู่แล้ว อยากจะอ้างยังไงก็อ้าง เพราะอ้างแล้วไม่มีใครกล้าเถียง ก็แปลว่า กูถูกอยู่คนเดียว

งานนี้บอกให้ทราบก่อนนะครับว่า อย่าคิดว่า "เหนาะจะเน่าคนเดียว" แต่กระบวนการปั้นเหนาะ ซึ่งสมเด็จวัดปากน้ำ "ไฟเขียว" ให้เสนาะเสวยอำนาจมาตั้งแต่ต้น ไล่ไปจนถึง "สมเด็จพระพุทธชินวงศ์" ซึ่งลงมาเล่นบท "พี่เลี้ยง" ของเสนาะมาตั้งแต่ปีก่อน ก็เตรียมรับกับเสียง "ชะยันโต" เอาไว้ให้ดี หนีไม่พ้นแน่ มันจะเป็นระเบิดทำลายความชอบธรรมของมหาเถรสมาคมทั้งระบบ ว่าไอ้ที่ตั้งๆ ผ่านมหาเถรสมาคมกันมาตลอดน่ะ มีคุณภาพอะไรหรือไม่อย่างไร

 

นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง)

 

จากกรณีที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้ดำเนนินการตรวจสอบข้อมูลการใช้งบประมาณพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จำนวน 67 ล้านบาท ต่อพระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) หรือเจ้าคุณเสนาะ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะภาค 12 กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และผู้ที่เกี่ยวข้องนั้น

ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่า จากการที่ สตง. ได้ดำเนินการตรวจสอบการใช้งบประมาณพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ จำนวน 67 ล้านบาท แต่ สตง.ไม่ได้รับความร่วมมือในการตรวจสอบทั้งเอกสาร การใช้จ่ายงบประมาณ สมุดบัญชีต่างๆ สตง. จึงต้องทำหนังสือถึงสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จนได้รับเอกสารจากทาง พระพรหมสุธี และได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียด พร้อมกับลงพื้นที่จริงในการติดตามการใช้งบฯ

ในเบื้องต้น พบความผิดปกติของการใช้งบฯ 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1.งบประมาณพระไตรปิฎกที่ใช้แจก จำนวน 15 ล้านบาท พบว่า หลักฐานยังไม่ชัดเจนพอที่จะรับฟังได้

2.การจัดหาโต๊ะหมู่บูชา ที่จะนำไปถวายตามวัดต่างๆ ในงบฯ 11 ล้านบาท เมื่อ สตง. ไปสอบยันข้อมูลปรากฏว่า ไม่ได้ซื้อจากเงินที่อุดหนุนไป เนื่องจากมีเจ้าภาพจากภาครัฐและเอกชนไปบริจาคให้อยู่แล้ว จึงไม่น่าเชื่อได้ว่า จะจัดซื้อจากเงินที่ได้รับอุดหนุนไป

ดังนั้น สตง. จำเป็นจะมีการขยายการตรวจสอบเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวันในพิธีศพ ที่มีผู้มาทำบุญเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้งบฯ ที่รัฐได้อุดหนุนด้วย ว่าได้มีส่วนมาเกี่ยวข้องกับการจัดงานหรือไม่

"สตง. ได้รายงานผลเบื้องต้นให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้ทราบถึงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการตรวจสอบแล้วยังมีข้อสงสัย รวมถึงจะต้องขยายผลการตรวจสอบออกไปอีก โดยไม่ทราบว่าจะได้รับความร่วมมือหรือไม่ หากไม่ได้รับความร่วมมือ สตง. คงต้องมีมาตรการบางอย่าง เพื่อให้การตรวจสอบเดินหน้าต่อไปได้" ผู้ว่าการ สตง. กล่าว

โดยนายพิศิษฐ์ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สตง.ก็ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) รายงานเกี่ยวกับความผิดปกติของการใช้งบฯ 67 ล้านบาทและต้องขยายผลการตรวจสอบ เพื่อนำรายงานต่อมหาเถรสมาคม (มส.)ได้รับทราบ และร่วมพิจารณาปัญหา เพราะถือเป็นความจำเป็นจะต้องพิสูจน์หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณแผ่นดิน โดยขอความเมตตาจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และ มส. ที่จะทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะให้การตรวจสอบเดินหน้าต่อไปได้ เพื่อทำให้เกิดความกระจ่างชัดต่อสังคม อีกทั้งขอความร่วมมือกับเจ้าอาวาสให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวัดงานศพ ให้ สตง.ได้ตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใสความกระจ่าง มิเช่นนั้นเรื่องนี้ก็จะคลุมเครืออยู่อย่างนี้ และไม่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

ด้าน นายพนม ศรศิลป์ ผอ.พศ. กล่าวว่า ขณะนี้ทาง สตง.ได้เข้ามาตรวจสอบ พร้อมขอหลักฐานการให้งบประมาณ 67 ล้าน กับ พศ. ส่วนหนังสือรายงานเกี่ยวกับความผิดปกติของการใช้งบประมาณที่ สตง.จะรายงานต่อ มส.ขณะนี้ พศ.ยังไม่ได้รับข้อมูลดังกล่าว หากได้รับหนังสือก็จะนำรายงานต่อ มส.ต่อไป

ด้านพระพรหมสุธี กล่าวว่า ได้จัดส่งเอกสารตามที่ สตง.ร้องขอให้แก่ สตง.แล้ว ทั้งบัญชีการจ่ายเงิน ใบเสร็จต่างๆ และพร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ทาง สตง.มาสอบถามข้อเท็จจริงต่างๆ ส่วนผลการตรวจสอบนั้น ก็คงต้องรอให้ทาง สตง. ดำเนินการพิจารณาตามกระบวนการ

ที่มา : เดลินิวส์ 
29 ธันวาคม 2557

http://www.alittlebuddha.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ