การมีระบบสมณศักดิ์และองค์กรมหาเถรสมาคม เกิดจากบทบัญญัติ?

วันละนิด จิตแจ่มใส !

รับได้ VS รับไม่ได้

รับได้

 



รับไม่ได้

อาจมีข้อโต้แย้งว่า ภิกษุณีเถรวาทที่ไปบวชมาจากนิกายธรรมคุปต์ (นิกายย่อยของมหายาน) เป็น “เถรวาทกลาย” หากเถรวาทไทยจะให้การยอมรับ ก็เท่ากับเถรวาทไทยจะเป็นเถรวาทกลายไปด้วย

คำถามก็คือเถรวาทไทย (หรือเถรวาทศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา) ที่แยกเป็น “ธรรมยุต” และ “มหานิกาย” ใช่ “เถรวาทแท้” จริงๆ หรือ วัดจากอะไร?

หากอ้างว่า วัดจากการยึดถือปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ตามมติของพระเถระ ในการสังคายนาครั้งที่ 1 โดยไม่มีการถอน ไม่มีการเพิ่มบทบัญญัติใดๆ แล้วการมีระบบสมณศักดิ์และองค์กรมหาเถรสมาคม เกิดจากบทบัญญัติของพระธรรมวินัยในการสังคายนา ครั้งที่ 1 ข้อไหนหรือครับ

สุรพศ ทวีศักดิ์ : มติมหาเถรฯ ‘ห้ามบวชภิกษุณี’ ขัดพระธรรมวินัยเสียเอง

จริงเหรอ

รถสามล้อวิ่งไม่ได้ ?

พระพุทธเจ้าทรงวางพระพุทธศาสนาไว้กับ พระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สี่เหล่านี้ได้ประพฤดี ประพฤติชอบ รักษาศาสนาไว้ได้อย่างดี และพระภิกษุณีก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แตกต่างจากศาสนาอื่น เพราะฉะนั้น ภิกษุณีจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าพระภิกษุสงฆ์ ศาสนาจะขาดคนใดคนหนึ่งไปไม่ได้

เปรียบก็เสมือนรถที่มีสี่ล้อ ถ้ามีสามล้อก็วิ่งไม่ได้

พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า พระภิกษุณีมีสิทธิ์ที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ไม่แพ้ผู้ชาย อีกนัยหนึ่งผู้หญิงและผู้ชายเท่าเทียมกัน นี่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ

 

ส.ศิวลักษณ์ : สัมมนา เรื่อง เข้าใจเรื่อง “ภิกษุณีสงฆ์” ในสังคมไทย

ยกย่อง หรือ เหยียบย่ำ ?

ดิฉันรู้สึกช้ำใจมาก ที่เกิดเรื่องแบบนนี้ขึ้นมา คือผู้หญิงเราถูกลิดรอน ไม่ให้บวชภิกษุณีในประเทศไทย ดิฉันเคยถูกด่าว่า นรกไม่มีที่ยืนให้กับระเบียบรัตน์ ถ้าถามว่าจะให้ดิฉันบวชชีจะบวชไหม ดิฉันบอกเลยว่า ไม่บวชค่ะ

ดิฉันขอบอกว่า ระเบียบรัตน์ ไม่ใช่ผู้หญิงชำรุด ที่จะต้องบวชชี แต่ดิฉันต่อสู้เพื่อผู้หญิงด้วยกัน เพื่อผู้หญิงด้วยกัน เพราะสิทธิผู้กำลังถูกลิดรอนอย่างมาก

ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช : สัมมนา เรื่อง เข้าใจเรื่อง “ภิกษุณีสงฆ์” ในสังคมไทย

http://www.alittlebuddha.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ