มหาเถรสมาคมต้องปฎิรูป,?

FREEZE !
รอจนตาย?

สมเด็จวัดปากน้ำป่วย-งดรับแขก 1 เดือน

เท่ากับแช่แข็งงานคณะสงฆ์ 1 เดือน

ออกงานวันพ่อ 5 ธันวาคม พอดิบพอดี

เก้าอี้ที่ไร้คนนั่ง "กับ" งานที่ไม่มีคนทำ

เมื่อมีข่าวจากวัดปากน้ำภาษีเจริญแจ้งว่าสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  (วรปุญโญมหาเถร) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อาพาธ ต้องเข้ารับการรักษานัยน์ตา และจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือน จึงจะเป็นปรกติ ช่วงระยะเวลาหนึ่งเดือนนับจากวันที่ 30 ตุลาคม ไปจนถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน ศกนี้ สำนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จึงของดภารกิจ ไม่สามารถจะต้อนรับแขกได้

การประกาศ "งดรับแขก" ด้วยเหตุผล"ป่วย" ของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ในครั้งนี้ ก็เท่ากับการงดภารกิจของผู้นำประเทศ เช่น ประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรี ซึ่งโดยสากลนิยมแล้ว หากว่าผู้นำไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็จะต้องมีการ "ตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน" ซึ่งก็คือผู้ดำรงตำแหน่งในระดับรองลงไป อาทิเช่น ถ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ก็จะตั้งให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน เป็นต้น ส่วนอำนาจหน้าที่ของ "ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน" นั้น จะมีการกำหนดไว้หรือกำชับไว้เช่นไร ก็จะเป็นประเด็นปลีกย่อยในอีกขั้นตอนหนึ่ง

แต่สำหรับการ "พักหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" ของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ในครั้งนี้ ดูเป็นที่น่าประหลาดใจ เพราะจู่ๆ ท่านก็ออกประกาศว่า "ขอพักงานนาน 1 เดือน" แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย แถมยังไม่ยอมตั้งให้ใครเป็น "ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน" อีกต่างหากด้วย แล้วถามว่า งานของพระศาสนาหรือคณะสงฆ์จะปล่อยให้ถูก "แช่แข็ง" ไปตามสังขารของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ อย่างนั้นหรือ

ในการประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้นั่งเป็นประธานเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะประกาศ "หยุดพัก" นั้น มีการเล่าถึงบรรยากาศการประชุมว่า

ที่ประชุมได้สอบสวน พระพรหมสุธี(เสนาะ ปญฺญาวชิโร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ เจ้าคณะภาค 12 และอดีตรักษาการเจ้าอาวาสวัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ในประเด็น "สั่งพักงานผู้ช่วยเจ้าอาวาสจำนวน 7 รูป" ซึ่งยืดเยื้อยาวนานถึง 5 ปี ว่าสาเหตุใดจึงไม่มีการวินิจฉัย "ถูก-ผิด"ในเวลาเหมาะสม ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมาถึง 5 ปี ด้วยเหตุอันใด

ปรากฏว่า พระพรหมสุธี ได้ให้การว่า ได้สั่งพักงาน 7 ผู้ช่วย เพียง 3 ปี เท่านั้น

ครั้นถามว่า แล้วทำไมจึงไม่แก้ไขปัญหาให้เสร็จภายใน 3 ปี

พระพรหมสุธีก็แก้ตัวว่า "ช่วงนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ป่วยหนัก ไม่สามารถจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้"

สรุปว่า เจ้าคุณเสนาะ โยนความผิดไปให้แก่ "ความเจ็บป่วย" ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ซึ่งถึงแก่มรณภาพไปนานแล้ว

กรณีการพักงานของ "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" ในวันนี้ ก็เช่นเดียวกัน งานพระศาสนามีมหาศาล กำลังจ่อเข้ามหาเถรสมาคม ทั้งด้านการบริหาร การปกครอง รวมทั้งคดีความทางสงฆ์ เช่น ปัญหาวัดสระเกศ ปัญหาวัดโสธร เป็นต้น รวมทั้งโผสมณศักดิ์ในวันที่ 5 ธันวาคม ศกนี้ ที่ยังไม่มีการ "รวมบัญชีสองนิกายเข้าด้วยกัน" ซึ่งทุกอย่างจะต้องผ่าน "มหาเถรสมาคม" เพียงแห่งเดียว เพราะเป็นศูนย์รวมอำนาจทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และยุติธรรม ของคณะสงฆ์ไทยไว้เพียงจุดเดียว และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ก็เป็น "หัวหน้า 3 องค์กร" ดังกล่าว ในนามมหาเถรสมาคม เมื่อท่านป่วย ก็เหมือนมหาเถรสมาคมป่วยด้วย เพราะไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ถึงแม้ว่าใน พรบ.คณะสงฆ์ จะกำหนดให้สมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสโดยสมณศักดิ์ในระดับรองลงไป ทำหน้าที่ประธานในการประชุมแทนก็ตาม แต่อำนาจก็ยังไม่ชัดเจนว่า มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ได้แค่ไหน เพราะไม่ใช่ตัวจริงดังกล่าว

หากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สั่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ก็คงจะชัดเจนในเรื่องของอำนาจและการบังคับบัญชา แต่ว่าท่านไม่ทำ เรื่องสำคัญต่างๆ ก็คงต้อง "รอไปก่อน" อย่างน้อยก็ 1 เดือน จนกว่าสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์จะหายป่วยและกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ

แต่ก็ยังน่าห่วงว่า "จะเป็นข้ออ้าง" สำหรับกรรมการมหาเถรสมาคมรูปอื่นๆ ที่มีเรื่องราวสำคัญจะนำเข้ามหาเถรสมาคม ครั้นรอนานจนเกิดปัญหา ก็อาจจะอ้างว่า"เพราะตอนนั้นสมเด็จวัดปากน้ำป่วย เข้าประชุมไม่ได้ ทำให้เรื่องยืดเยื้อไปถึง 2 ปี"เหมือนเจ้าคุณเสนาะเผาสมเด็จเกี่ยวกลางที่ประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ศิษย์วัดสระเกศไม่พอใจคำชี้แจงของเจ้าคุณเสนาะอย่างแรง เพราะคนตายพูดอะไรไม่ได้

ก็หวังว่า สมเด็จวัดปากน้ำ คงจะไม่ถูกโยนบาปเช่นนั้น ในอนาคต

อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน
2 พฤศจิกายน 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง