ละเมิดลิขสิทธิ์

เจ้าของเว็บละเมิดหนีข้ามโลกยังถูกจับ
วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09.45 น. 

ขณะข้ามแดนจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 4 พ.ย.57 พร้อมกับภรรยาชาวลาว เป็นข่าวที่ได้รับความสนใจในต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวงการผลิตภาพยนตร์และเพลง

เพราะเขาคือ หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ไพเรต เบย์ ( The Pirate Bay) เว็บบิตทอเรนต์ ( BitTorrent) ซึ่งเป็นเว็บโหลดข้อมูลขนาดใหญ่ที่เปิดขึ้น เพื่อการแบ่งปันไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งซอฟต์แวร์ หนัง และเพลง

สารานุกรม วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลว่าไพเรต เบย์ ก่อตั้งในปี 2546 และประกาศตัวเมื่อวันที่ 15 พ.ย.51 ว่า มีผู้เข้าชมมากถึง 25 ล้านเครื่อง ผู้ลงทะเบียนใช้งานมีถึง 3.5ล้านชื่อ หรือไม่ลงทะเบียนก็เข้าใช้ได้

เนจ์ ไม่ได้ทำความผิดในประเทศไทย แต่ ต้องคำพิพากษา ศาลสวีเดน เมื่อเดือน เม.ย. 52 พร้อมกับจำเลยอื่นรวม 4 คน กรณีร่วมกันก่อตั้งเว็บไซต์แลกเปลี่ยนข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตในเว็บ ไพเรต เบย์ ให้จำคุก ข้อหาละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ของสวีเดน ทำให้คนนับสิบล้านรายถ่ายโอนข้อมูลเพลง ภาพยนตร์ เกมคอมพิวเตอร์ทางเว็บไซต์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมบันเทิงในประเทศ ทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหาย 3.6 แสนเหรียญสหรัฐ แก่กิจการบันเทิงหลายราย อาทิ "วอเนอร์ บราเธอร์ส", "โซนี่ มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนต์","อี เอ็มไอ" และ"โคลัมเบีย พิคเจอร์ส"

รายงานข่าวขณะนั้น แจ้งว่า จำเลยทั้งหมดให้ความเห็นว่า เว็บไซต์ไม่มีข้อมูลลิขสิทธิ์ใดๆ และจะไม่จ่ายเงินชดใช้ใดๆ และยื่นอุทธรณ์สู้คดี

มีรายงานข่าวว่าหลังจากนั้นก็หลบหนีระหว่างรอการพิจารณาจึงถูกออกหมายจับ

การถูกจับกุมดังกล่าว เพราะเนจ์ข้ามมาฝั่งไทยเพื่อซื้อของ โดยก่อนหน้านั้นเขาเข้าออกแล้วรวม 27 ครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้รับการประสานงานว่ามีหมายจับ จึงรวบตัวไว้ได้

รายงานข่าวแจ้งว่า เนจ์ ถูกควบคุมอยู่ไว้ที่สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองที่ กรุงเทพฯเพื่อรอการส่งตัวกลับไปดำเนินคดีที่ประเทศสวีเดน

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน ก.ย.55 ทางการกัมพูชา ก็เคยจับกุมเพื่อนของเนจ์ ที่หลบหนีเข้าประเทศได้ และดำเนินการเนรเทศ เพราะกัมพูชาและสวีเดนไม่มีข้อตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดน

การจับกุมครั้งนี้ ทำให้ผู้นิยมการโหลดบิต ในเมืองไทยมีข้อสงสัยว่า จะเกิดปัญหาใดหรือไม่ จากการสอบถามไปยังนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ระบุว่า กรณีของ เนจ์ เป็นความผิดในต่างประเทศ ต้องส่งตัวไปยังประเทศเจ้าของคดี แต่ในประเทศไทย ยังไม่ค่อยมีคดีทำนองนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีปัญหาในการดำเนินคดี โดยทางพนักงานอัยการยังมีข้อสงสัยในกรณีผู้เสียหายร้องเรียน ว่าพยานหลักฐานของคดีอยู่ตรงไหน ซึ่งยังไม่เป็นที่ยุติ

เพราะการโหลดบิต หรือการดาวน์โหลดผ่านบิตทอเรนต์ ไม่ใช่การดาวน์โหลดทีเดียวทั้งหมด แต่เป็นการโหลดคนละส่วน จำนวนมาก แล้วนำไปปะติดปะต่อ จึงขาดความชัดเจนว่า ผู้กระทำละเมิดเป็นส่วนใด

ความเห็นของหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ พิธีกรและนักสร้างสรรค์รายการไอที กล่าวว่า ทุกวันนี้การเคลื่อนไหวมีฟุตปรินต์ ยากที่จะหนีได้ การจะหนีความผิดจากที่หนึ่งไปยังโลกที่สาม ยังไงก็ไม่พ้น การโหลดบิต ผมเกลียดมากเพราะเป็นการทำลายอุตสาหกรรมโดยตรง เทคโนโลยีบิต ทอเรนต์ ออกมาก่อนที่ค่ายเพลงจะปรับตัว ถูกดาวน์โหลดฟรี จนพฤติกรรมคนเปลี่ยนไป คิดว่าคอนเทนต์ต้องได้ฟรี เพราะจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตแล้ว

“งานทุกชิ้นในโลกมีลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ที่สร้างสรรค์โดยการลงทุนเป็นพิเศษ จึงเอาไปฟรีๆไม่ได้ ส่วนที่ทางการไทยยังไม่สามารถดำเนินคดีได้ ผมว่าต้องพิจารณาใหม่ เพราะทุกคนรู้ว่า สิ่งที่ทำลงไปผิด ไม่ว่าจะผิดกฎหมายหรือจริยธรรม เพราะการดาวน์โหลดของที่มีลิขสิทธิ์ฟรีๆ เป็นการขโมย ส่วนจะผิดที่ใคร ก็ต้องเริ่มที่คนเปิดให้ดาวน์โหลดนั่นแหละ”

หนุ่ยบอกด้วยว่า สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะเยาวชน ควรทราบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นที่สาธารณะ ไม่ได้หมายความว่าทำอะไรก็ได้ แต่ต้องระลึกว่าต้องทำตามกติกาสากล คือไม่ทำละเมิด และไม่หมิ่นประมาท ด่าทอ ใส่ร้าย ใคร จะดูหนัง ฟังเพลง ก็ต้องซื้อ ถ้าเห็นว่าแพงก็อย่าฟัง ไม่ต้องเสพ

แม้ในทางกฎหมายเอาผิดไม่ได้ในวันนี้ แต่ถ้าสิ่งที่ทำไม่ถูกต้อง สักวันผู้กระทำก็ต้องรับผลกรรมนั้น

หนีข้ามโลกก็ไม่พ้น

http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=279156

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ